Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ส่วนหน้า, หน้า, ส่วน , then สวน, ส่วน, สวนหนา, ส่วนหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ส่วนหน้า, 2778 found, display 2201-2250
  1. สับเงา : ว. สัปหงก, อาการที่หน้าหงุบลงเพราะง่วงนอน.
  2. สัปหงก : [สับปะหฺงก] ว. อาการที่หน้าหงุบลงเพราะง่วงนอน.
  3. สัมปรายภพ, สัมปรายิกภพ : [ปะรายะ, ปะราย, ปะรายิกะ] น. ภพหน้า. (ป., ส.).
  4. สัมฤทธิ, สัมฤทธิ์ : [สําริดทิ, สําริด] น. ความสําเร็จ ในคําว่า สัมฤทธิผล; โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์ หรือ ทองบรอนซ์ ก็เรียก, โบราณเขียนว่าสําริด. (ส. สมฺฤทฺธิ; ป. สมิทฺธิ).
  5. สาขา : น. กิ่งไม้, กิ่งก้าน, เช่น ต้นจามจุรีมีสาขามาก; แขนง, ส่วนย่อย, ส่วนรอง, เช่น วิทยาศาสตร์กายภาพเป็นสาขาหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์ ธนาคาร ออมสินสาขาหน้าพระลาน. (ป.; ส. ศาขา).
  6. สาคร ๒ : [คอน] น. ชื่อขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปาก คาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ หรือ สำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ เรียกว่า ขันสาคร.
  7. สาคูเปียก : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ต้มสาคูเม็ดเล็กจนบานใส แล้วใส่น้ำตาล จะใส่เนื้อมะพร้าวอ่อนหรือแห้วเป็นต้นก็ได้ เมื่อจะกินจึงหยอดหน้าด้วยกะทิ.
  8. หก ๑ : ก. อาการที่ส่วนเบื้องสูงของร่างกาย ของภาชนะ หรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เอียงลง เทลง ในทันใดจากที่เดิม เช่น หกต่ำหกสูง น้ำหก ข้าวหก, โดย ปริยายเรียกอาการเช่นนั้น เช่น กระดานหก.
  9. หงส์แล่น : น. เครื่องประดับสันหลังคาหรือส่วนฐานของอาคาร ทำด้วยปูน ไม้ หรือหิน เป็นรูปหงส์เรียงกันเป็นแถว.
  10. หงาย : ก. พลิกเอาด้านหน้าขึ้น เช่น หงายหน้า หงายมือ หงายไพ่, ตรงข้ามกับ ควํ่า. ว. อาการที่พลิกเอาด้านหน้าขึ้น เช่น หน้าหงาย; เรียกคืนที่มี ดวงจันทร์ส่องแสงสว่าง ว่า คืนเดือนหงาย.
  11. หงิก : ว. งอที่ปลาย เช่น มือหงิก คือ มือเหยียดนิ้วไม่ออก, ใบไม้หงิก คือ ใบไม้ ปลายงอ; โดยปริยายหมายความว่า อาการที่เหนื่อยหน่ายเนื่องจากถูกดุ ถูกใช้ หรือทำงานหนักมากเป็นต้น เช่น ถูกแม่ดุเสียหงิกไปเลย, อาการ ที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า.
  12. หงึก ๆ : ว. อาการที่พยักหน้าเป็นการรับรู้, งึก ๆ ก็ว่า.
  13. หดหัว : ก. ชักหัวกลับ, โดยปริยายหมายความว่า กลัวหรือหลบไม่ยอม โผล่หน้าออกไป เช่น มัวหดหัวอยู่แต่ในบ้าน.
  14. หนวดพราหมณ์ ๒ : [หฺนวดพฺราม] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Polynemus longipectoralis ในวงศ์ Polynemidae ลําตัวยาว แบนข้าง หัวแหลมมน ปากอยู่ตํ่า ตาเล็ก เกล็ดเล็ก สากมือ ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางใหญ่เป็นแฉกเรียวแหลมตอนปลาย ที่สําคัญคือตรงส่วนล่างของครีบอกมีก้านครีบแยกเป็นเส้นยาวมากรวม ๗ เส้นยาวไม่เท่ากัน ลําตัวด้านหลังสีเทาหรือเขียวหม่น ส่วนท้องและ ครีบสีเหลืองหรือส้มคลํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร พบบ้างใน นํ้ากร่อยหรือทะเล.
  15. หนวดพราหมณ์ ๔ : [หฺนวดพฺราม] น. ปลายสายของซอสามสายที่พาดผ่านหย่องลงมาสอดเข้า ที่รูหน้าของทวนล่างไปออกทางด้านหลัง แล้วขมวดเข้าด้วยกัน ทิ้งชายซึ่ง เรียกว่าหนวดพราหมณ์ไว้.
  16. หน่วยคำ : น. หน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาซึ่งมีความหมาย อาจมีลักษณะเป็น ส่วนหนึ่งของคำหรือเป็นคำก็ได้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ หน่วยคำ อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังได้ เช่น นก บันได เรียน และ หน่วยคำไม่อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังไม่ได้ ต้องปรากฏ ร่วมกับหน่วยคำอื่นเสมอ เช่น นัก ชาว. (อ. morpheme).
  17. หนอนกอ : น. ชื่อหนอนของผีเสื้อซึ่งเจาะกินเข้าไปในลําต้นข้าว ทําให้ข้าว ไม่ออกรวง หรือออกรวงแต่เมล็ดลีบเป็นสีขาว ซึ่งเรียกว่า ข้าวหัวหงอก ส่วนใหญ่เป็นหนอนของผีเสื้อชีปะขาว.
  18. หนัง ๑ : น. ส่วนของร่างกายที่หุ้มเนื้ออยู่, หนังสัตว์ที่เอามาทําเป็นของใช้หรือ เป็นอาหาร; การมหรสพอย่างหนึ่งเอาหนังสัตว์มาสลักเป็นภาพ เช่น หนังตะลุง, หนังใหญ่, (ปาก) ภาพยนตร์ เช่น โรงหนัง ถ่ายหนัง ฉายหนัง เล่นหนัง.
  19. หนังกลางวัน ๑ : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพคล้าย หนังใหญ่ แต่ระบายสีต่าง ๆ เชิดหน้าจอ แสดงในเวลากลางวัน ใช้ปี่พาทย์ และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละคน.
  20. หนังตะลุง : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงา ให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง ''และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์.
  21. หนังเรียด : น. หนังที่ทําเป็นเส้นแบน ๆ เล็ก ๆ สําหรับใช้โยงเร่งเสียง โดย สอดเข้าไปกับไส้ละมานที่ถักไว้รอบ ๆ ขอบหนังทั้ง ๒ หน้าของตะโพน เปิงมาง กลองสองหน้า เป็นต้น มักร้อยถี่จนมองแทบไม่เห็นตัวหุ่นกลอง ถ้าเร่งหนังเรียดให้ตึงขึ้นเท่าใด หน้ากลองก็ตึงยิ่งขึ้นเท่านั้น.
  22. หนังสือพิมพ์ : น. สิ่งพิมพ์ข่าวและความเห็นเป็นต้นเสนอประชาชน ตาม ปรกติออกเป็นรายวัน; (กฎ) สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออก หรือเจตนาจะออกตามลําดับเรื่อยไป มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม.
  23. หนังสือราชการ : น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ หนังสือที่มี ไปมาระหว่างส่วนราชการ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่น ซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการ หนังสือที่หน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือ ที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อ เป็นหลักฐาน และเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ.
  24. หนังสือเวียน : น. หนังสือราชการที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีรหัสตัวพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง, ภาษาปากใช้ว่า จดหมายเวียน หนังสือที่ผู้บังคับบัญชาเวียนแจ้งให้ผู้ใต้ บังคับบัญชารับทราบหรือถือปฏิบัติ.
  25. หนังใหญ่ : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดใหญ่ กว่าหนังตะลุงมาก คีบด้วยไม้ตับ ๒ อันสำหรับจับเชิด เชิดได้ทั้งหลังจอ และหน้าจอ ใช้ปี่พาทย์และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็น คนละคนกัน.
  26. หนา ๒ : คําประกอบท้ายคําอื่นที่มีความหมายไปในเชิงบังคับหรืออ้อนวอน เช่น อยู่เถิดหนา.
  27. หน้าตา : น. เค้าหน้า เช่น เด็กคนนี้หน้าตาเหมือนแม่; เกียรติยศชื่อเสียง เช่น นักกีฬาไปแข่งขันชนะเลิศในต่างประเทศก็เป็นหน้าตาให้กับประเทศ ของตน.
  28. หนาม ๑ : น. ส่วนแหลม ๆ ที่งอกออกจากต้นหรือกิ่งของไม้บางชนิดเป็นต้น เช่น หนามงิ้ว หนามพุทรา.
  29. หนามเตย : น. ลายหยักบนตัวหนังสือขอม; ส่วนที่เป็นหยัก ๆบนหลัง จระเข้; โลหะที่มีลักษณะเป็นเขี้ยวคล้ายหนามสำหรับเกาะยึดหัวแหวน เป็นต้น.
  30. หน้าอก : น. ส่วนภายนอกของอก, นมของผู้หญิง, อก ก็ว่า.
  31. ห่ม ๒ : ก. ใช้ผ้าเป็นต้นคลุมหรือพันสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน เช่น ห่มผ้า ห่มสไบ เอาผ้าไปห่มต้นโพธิ์.
  32. หมก ๑ : ก. ซุกไว้ใต้ เช่น หมกดิน หมกโคลน หมกทราย, หลบหน้า เช่น ไปหมกหัว อยู่ที่ไหน, ทิ้งสุม ๆ ไว้ เช่น เสื้อผ้าใช้แล้วอย่าหมกไว้; เรียกวิธีทําอาหาร บางอย่างให้สุกด้วยการหมกไฟ เช่น หมกปลา หมกหัวมันเทศ.
  33. หมวกแก๊ป : น. หมวกทหารตํารวจหรือข้าราชการพลเรือนเป็นต้นที่มี กะบังหน้า.
  34. หมวกเห็ด : น. ส่วนที่เป็นดอกของเห็ด.
  35. หมอ ๓ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Anabas testudineus ในวงศ์ Anabantidae ลําตัวป้อม แบนข้าง ท้องกลม คอดหางกว้าง หัวโต ปากซึ่งอยู่ปลายสุดของหัวกว้าง และเชิดขึ้นเล็กน้อย ยืดหดไม่ได้ ฟันเล็กแต่แข็งแรง เกล็ดแข็ง ขอบเป็นจัก คล้ายหนามยึดแน่นกับหนังและคลุมตลอดทั้งลําตัวและหัว กระดูกแผ่น ปิดเหงือกหยักเป็นหนาม ใช้แถกเพื่อช่วยยึดยันให้เคลื่อนไปบนบกได้ดี ขอบครีบต่าง ๆ กลม ลําตัวและครีบมีสีดําคลํ้า ส่วนปลาขนาดเล็กมีสีจาง กว่าและมีลายบั้งพาดลําตัวเป็น ระยะ ๆ อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าแทบทุก ประเภท พบขึ้นมาบนบกในฤดูฝนเสมอ ซึ่งเป็นธรรมชาติการย้ายถิ่น ที่อยู่อาศัยแบบหนึ่ง และยังแสดงให้เห็นความสามารถในการหายใจใน ที่ดอนได้อีกด้วยขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, หมอไทย หรือ สะเด็ด ก็เรียก, อีสานเรียก เข็ง.
  36. หมอง : [หฺมอง] ว. ขุ่น, มัว, เช่น เครื่องแก้วหมอง เครื่องเงินหมอง, ไม่ผ่องใส, ไม่แจ่มใส, เช่น หน้าหมอง.
  37. หม่อง : น. คํานําหน้าชื่อผู้ชายพม่า (พม่า หม่อง ว่า น้อง); เรียกยาขี้ผึ้งชนิดหนึ่ง ใช้ทา นวด เป็นต้น ว่า ยาหม่อง.
  38. หมอช้างเหยียบ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Pristolepis fasciatus ในวงศ์ Nandidae พบทั่วไป รูปร่างคล้ายปลาหมอ หรือ ปลาเสือ แต่แบนข้างและกว้างกว่า ข้างตัวมี ลายคลํ้าหลายลายพาดขวาง ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, ช้างเหยียบ กระตรับ ตะกรับหน้านวล ก๋า หรือ อีก๋า ก็เรียก.
  39. หมอน : [หฺมอน] น. เครื่องสําหรับหนุนศีรษะหรือหนุนสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น, เรียกตาม รูปทรงก็มี เช่น หมอนขวาน หมอนตะพาบ หมอนหน้าอิฐ, เรียกตามวัตถุ ประสงค์ที่ใช้สอยก็มี เช่น หมอนหนุนศีรษะ หมอนหนุนเท้า หมอนหนุน รางรถไฟ, เรียกตามวัตถุที่ใช้ทำก็มี เช่น หมอนไม้ หมอนอิฐ; เครื่องสําหรับ อัดดินปืนในลํากล้องให้แน่น.
  40. หมอนขวาน : น. หมอนที่ทําหน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายขวาน ใช้อิง.
  41. หมอบ : [หฺมอบ] ก. กิริยาที่คู้เข่าลงและยอบตัวให้ท่อนแขนส่วนล่างราบอยู่กับพื้น, ยอบตัวลงในอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น; (ปาก) สิ้นเรี่ยวสิ้นแรง, ลุกไม่ขึ้น, เช่น ถูกตีเสียหมอบ เป็นไข้เสียหมอบ.
  42. หม่อม : น. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า, บุตร ชายหญิงของพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า, (โบ) เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือ หม่อมเจ้า ที่ต้องโทษถูกถอดจากบรรดาศักดิ์, คํานําหน้าชื่อราชนิกุล ราชินีกุลชั้นผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงที่ไม่มีตําแหน่ง, คํานําหน้าชื่อหญิงสามัญ ซึ่งไม่มีบรรดาศักดิ์ได้เป็นภรรยาของเจ้าคุณราชพันธ์ในตระกูลบุนนาค ทั้ง ๓ ชั้น เช่น หม่อมปาน หม่อมรอด, คํานําหน้านามบุคคลที่เป็นผู้ดีมี ตระกูลทั้งชายหญิง เช่น เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา สมัยธนบุรี เรียกว่า หม่อมบุนนาค.
  43. หม่อมเจ้า : น. คํานําหน้านามโอรสธิดาในพระองค์เจ้าชั้นพระบรมวงศ์.
  44. หม่อมราชวงศ์ : น. คํานําหน้าชื่อบุตรของหม่อมเจ้า.
  45. หม่อมหลวง : น. คํานําหน้าชื่อบุตรของหม่อมราชวงศ์.
  46. หม่อมห้าม : น. หญิงสามัญที่เป็นเมียของเจ้านาย, ใช้คํานําหน้านามว่า หม่อม.
  47. หมั่นไส้ : ก. ชังนํ้าหน้า, รู้สึกขวางหูขวางตา; (ปาก) ชวนให้รู้สึกเอ็นดู, (มักใช้แก่เด็ก), เช่น เด็กคนนี้อ้วนแก้มยุ้ย น่าหมั่นไส้, มันไส้ ก็ว่า.
  48. หมา ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ลําตัวมีขน ปกคลุม มีเขี้ยว ๒ คู่ ตีนหน้ามี ๕ นิ้ว ตีนหลังมี ๔ นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้ อวัยวะเพศของตัวผู้มีกระดูกอยู่ภายใน ๑ ชิ้น ที่ยังคงเป็นสัตว์ป่า เช่น หมาใน (Cuon alpinus) ที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน คือ ชนิด Canis familiaris.
  49. หมากป่น : น. เศษเนื้อหมากที่เหลือจากการทำหมากซอย หมากหน้าแว่น เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยรวมกันเข้า ตากแดดให้แห้ง.
  50. หมากแปะ : น. เนื้อหมากดิบสดทั้งลูกที่นำมาหั่นให้เป็นแผ่นกลมบาง ๆ ตากแดดจนแห้งแข็ง, หมากอีแปะ หรือ หมากหน้าแว่น ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | [2201-2250] | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2778

(0.1425 sec)