Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไกล , then กล, ไกล .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไกล, 296 found, display 101-150
  1. ลวง ๑ : ก. ทําให้หลงผิด เช่น ขุดหลุมพรางลวงข้าศึก. ลวงตา ก. ทําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น แสงแดดกล้า ที่ปรากฏในระยะไกลลวงตาให้เห็นถนนลาดยางเป็นน้ำ. ว. เรียก ภาพที่ทำให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงว่า ภาพลวงตา.
  2. ล้อต๊อก : น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เล่นโดยปล่อยเงินเหรียญให้ ล้อไปบนกระดานเป็นต้นที่วางเอียง ๆ ถ้าใครล้อได้ไกลกว่าแต่ ต้องไม่เลยเส้นกำหนด จะได้ทอยคนที่ล้อใกล้กว่า ถ้าทอยถูกก็กิน ถ้าทอยผิดก็เริ่มต้นเล่นใหม่.
  3. ลับตา : ว. มิดชิดหรือห่างไกลจนพ้นสายตา.
  4. ลิ้นห้อย : ว. อาการที่เหน็ดเหนื่อยมากเปรียบเหมือนวิ่งมาไกล เหนื่อยจนลิ้นห้อย, อาการที่เหน็ดเหนื่อยเนื่องจากต้องทำงาน หนักมาก.
  5. ลิบลับ : ว. พ้นสายตาไป เช่น อยู่เสียไกลลิบลับ.
  6. ลิบ, ลิบ ๆ : ว. สุดสายตา (ใช้เฉพาะไกลกับสูง) เช่น ไกลลิบ สูงลิบ ห่างกันลิบ ทิ้งกันลิบ มองเห็นยอดปราสาทลิบ ๆ.
  7. ลิบลิ่ว : ว. ไกลหรือสูงสุดสายตา เช่น ไกลลิบลิ่ว สูงลิบลิ่ว.
  8. ลิ่ว ๑ : ก. เคลื่อนไปโดยเร็วจากตํ่าไปหาสูง หรือจากใกล้ไปหาไกล, เคลื่อนไปโดยเร็วด้วยอํานาจกระแสลมหรือกระแสนํ้า. ว. อาการ ที่ตรงเข้ามาหรือออกไปในลักษณะเช่นนั้น เช่น ตรงลิ่วเข้าไป.
  9. ลิ่ว ๒ : ว. อาการที่เห็นไกลลิบหรือสูงลิบ เช่น เรืออยู่ไกลลิ่ว ภูเขาสูงลิ่ว.
  10. ลึก : ว. ตํ่าลงไปจากขอบมากกว่าปรกติ เช่น ชามก้นลึก, ไกลตํ่าลงไป จากผิวหน้าหรือขอบบน เช่น ทะเลลึก นํ้าลึก เหวลึก, ไกลเข้าไป จากขอบเป็นต้น เช่น ป่าลึก ซอยลึก; หยั่งรู้ได้ยาก เช่น ความคิดลึก; ตรงข้ามกับ ตื้น.
  11. ลึกลือ : ว. ลึกมาก, ไกลมาก, เช่น เก็บของในที่ลึกลือ จอดรถในที่ ลึกลือ.
  12. วอมแวม, วอม ๆ แวม ๆ, ว็อมแว็ม, ว็อม ๆ แว็ม ๆ : ว. ลักษณะของแสงที่มองเห็นเรือง ๆ ไหว ๆ อยู่ในระยะไกล เช่น ในเวลากลางคืนพอมองเห็นแสงไฟวอมแวมอยู่ในที่ไกล ก็รู้สึกใจ ชื้นขึ้นมาหน่อย กระท่อมหลังนั้นคงมีคนอยู่ เพราะเห็นไฟวอม ๆ แวม ๆ อยู่ มีแสงไฟจากเรือหาปลาว็อมแว็ม.
  13. วิ่งทน : ก. วิ่งแข่งระยะทางไกล กำหนดระยะทางตามมาตรฐานการ แข่งขันโอลิมปิก คือ ๒๖ ไมล์ ๓๘๕ หลา หรือ ๔๑.๘ กิโลเมตร, วิ่งมาราธอน ก็ว่า.
  14. วิ่งมาราธอน : ก. วิ่งแข่งระยะทางไกล กำหนดระยะทางตาม มาตรฐานการแข่งขันโอลิมปิก คือ ๒๖ ไมล์ ๓๘๕ หลา หรือ ๔๑.๘ กิโลเมตร, วิ่งทน ก็ว่า.
  15. วิทัศน์ : น. การมองการณ์ไกล, วิสัยทัศน์. (อ. vision).
  16. วิทูร ๒ : ว. ไกล, ห่าง, พ้นออกไป. (ป., ส.).
  17. วิสัยทัศน์ : น. การมองการณ์ไกล, วิทัศน์. (อ. vision). วิสาข, วิสาขะ ๒, วิสาขา [วิสาขะ] น. ชื่อเดือนที่ ๖ แห่งจันทรคติ ตกราวเดือนพฤษภาคม, ถ้าในปีอธิกมาสจะตกราวเดือนมิถุนายน. (ป.).
  18. แว่ว : ก. ได้ยินแต่ไม่ชัดแจ้ง เช่น มีข่าวแว่วมาว่าปีนี้จะได้เงินเดือนขึ้น, ได้ยินมาจากที่ไกล เช่น แว่วเสียงขลุ่ยมาจากชายป่า.
  19. ศาลาตักบาตร, ศาลาบาตร : น. ศาลาที่ลักษณะเป็นโรงยาว มีฐาน สำหรับตั้งบาตรได้หลายลูก มักปลูกไว้ในย่านกลางหมู่บ้านที่อยู่ ไกลวัด ในเวลาเทศกาลที่นิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ ก็จะ ตั้งบาตรเรียงไว้ที่ศาลานั้นเพื่อให้ประชาชนได้ตักบาตร.
  20. ส่งเสียง : ก. ร้องเสียงดัง, แผดเสียง, เช่น ดีใจอะไรส่งเสียงมาแต่ไกล ส่งเสียงอื้ออึง.
  21. สมจร : ก. ร่วมประเวณี เช่น เจ้าสมจรด้วยเมียข้าคนตนเองไซ้ ท่านให้ไหมให้ผัวมันเปนไท ข้าสมจรด้วยกันพ่อแม่แลเจ้า ข้ามิให้แลมันภากันหนีไกล (สามดวง) มีนิทานเรื่องนางนาค สมจรกับงูดิน.
  22. สมรรถนะ : [สะมัดถะนะ] น. ความสามารถ (ใช้แก่เครื่องยนต์) เช่น รถยนต์แบบนี้ มีสมรรถนะดี เยี่ยมเหมาะสำหรับเดินทางไกล.
  23. สะดุดตา : ก. กระทบตาชวนให้มอง เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยสะดุดตา จริง ๆ วันนี้เขาใส่เสื้อสีสะดุดตา, ชวนให้สนใจ เช่น เขามีบุคลิก ลักษณะเด่นกว่าคนอื่น ๆ เห็นแล้วรู้สึกสะดุดตาทีเดียว, ที่เห็นเด่นชัด เช่น ร้านอาหารร้านนี้ทาสีแดง สะดุดตาแต่ไกล.
  24. สัญญาณ : น. เครื่องหมายหรือเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยินเป็นต้นแม้อยู่ ในระยะไกล เพื่อให้รู้ล่วงหน้าจะได้ระวังอันตรายหรือกระทําตามที่ บอกหรือแนะไว้ เช่น สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง ตีระฆังเป็น สัญญาณให้พระลงโบสถ์.
  25. หน่วยก้าน : น. ท่วงที, ท่าที, แวว, เช่น เด็กคนนี้หน่วยก้านดี อนาคตคงไป ได้ไกล.
  26. หน้าพาทย์ : น. เรียกเพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการ เคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการเดินระยะใกล้ เสมอมาร สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธี ต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่า เพลงหน้าพาทย์. ว. ที่เกี่ยวกับเพลงหน้าพาทย์ เช่น รําหน้าพาทย์ บอกหน้าพาทย์.
  27. หน้าเริด : ว. อาการที่แสดงหน้าตาตื่น (ใช้แก่กริยาวิ่ง) เช่น เห็นแม่มา แต่ไกลก็วิ่งหน้าเริดเข้าไปหา,หน้าตั้ง ก็ว่า.
  28. หลงลม, หลงลมปาก : (ปาก) ก. หลงเชื่อถ้อยคำ เช่น อย่าหลงลมปากคน ชวนไปหาลาภทางไกล.
  29. หึ่ง ๑ : ว. อาการที่กลิ่นกระจายไป (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เหม็นหึ่ง ได้กลิ่นหึ่ง มาแต่ไกล.
  30. หูกว้างตากว้าง : ว. รอบรู้ทันเหตุการณ์, มองเห็นการณ์ไกล, หูยาวตายาว ก็ว่า.
  31. หูป่าตาเถื่อน : ว. รู้ไม่ทันเหตุการณ์เพราะอยู่ห่างไกลหรือไม่สนใจ เป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้ขนบธรรมเนียมว่าควรปฏิบัติ อย่างไรเพราะไม่ได้รับการอบรม เช่นคนสามัญเดินบนลาดพระบาท.
  32. หูยาวตายาว : ว. รอบรู้ทันเหตุการณ์, มองเห็นการณ์ไกล, หูกว้างตากว้าง ก็ว่า.
  33. เหวย ๆ : อ. คำร้องเรียกแสดงว่ามีอำนาจหรือแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยามเป็นต้น เช่น เหวย ๆ เจ้าเด็กน้อย. ว. เสียงร้องเรียกที่ได้ยินแต่ที่ไกล เช่น ได้ยินเสียง ใครมาร้องเรียกอยู่เหวย ๆ.
  34. อัทธคต : น. ผู้ที่ได้ผ่านทางไกลหรืออยู่มานาน, คนแก่. (ป.).
  35. อัทธ, อัทธ์, อัทธา, อัทธาน : [อัดทะ] น. ทาง, ทางไกล, ระยะไกล; กาล, กาลยาวนาน. (ป.; ส. อธฺวนฺ).
  36. เอาอยู่ : ว. เอาการ, เอาเรื่อง, เช่น ระยะทางไกลเอาอยู่, ถ้าใช้ใน ลักษณะปรารภเชิงขอความเห็นหรือแสดงความหนักใจเป็นต้น มักใช้ว่า เอาอยู่นะ เช่น ปัญหานี้ยากเอาอยู่นะ. ก. ปกครองได้, ควบคุมได้, เช่น เด็กคนนี้เกเรมาก คิดว่าจะเอาอยู่ไหม.
  37. เอื้อม : ก. ยื่นมือไปเพื่อหยิบของในที่ไกลมือ; โดยปริยายหมายความว่า ใฝ่สูง.
  38. กลฉ้อฉล : [กน-] (กฎ) น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดง ข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ ผู้อื่นหลงผิดแสดงเจตนาทำนิติกรรม การแสดงเจตนาเพราะถูก กลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ. (อ. fraud).
  39. กลบท : [กนละบด] น. คําประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คําหรือสัมผัส เป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เช่น อมรแมนแม่นแม้นเจ้างามโฉม. (กลบทตรีประดับ).
  40. กลไฟ : [กน-] น. เรียกเรือโดยสารหรือบรรทุกสินค้าที่ใช้ฟืนเป็นต้น เป็นเชื้อเพลิง มีขนาดใหญ่กว่าเรือไฟ นิยมใช้แล่นในท้องทะเลหรือ มหาสมุทร ว่า เรือกลไฟ.
  41. กลละ : [กะละละ] (แบบ) น. รูปเริ่มแรกที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา เช่น ผู้หญิงอันมีครรภ์ด้วยชลามพุชโยนิ เมื่อแรกก่อเป็นนั้น น้อยนักหนา เรียกชื่อว่า กลละหัวปีมีเท่านี้. (ไตรภูมิ). (ป., ส.).
  42. กลพยาน : [กน-] น. พยานที่ถูกวานให้ไปถามเป็นคํานับ. (สามดวง).
  43. กลอกแกลก : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. เหลวไหล, ไม่แน่นอน.
  44. กลี่ : [กฺลี่] น. ภาชนะสําหรับใส่หมากบุหรี่ โดยมากมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีลิ้นข้างใน ยกออกได้.
  45. กลู่ : [กฺลู่] (โบ; กลอน) ก. เกลื่อน, ใช้เข้าคู่กับคํา กลาด เช่น โกยกลู่กลาดคือลาญใน. (ม. คําหลวง จุลพน).
  46. กะโล่ : น. ภาชนะสานของโบราณ ทารัก รูปแป้น ปากคลุ่ม ใช้ใส่ของมีเครื่องตัดผมเป็นต้น; ภาชนะสานคล้ายกระด้ง มีหลายขนาด แต่ชนิดที่ทาชันเพื่อไม่ให้น้ารั่วออก สําหรับหมักขี้ไต้นั้น มีขนาดใหญ่กว่ากระด้งมาก; เรียกสีหน้าที่แสดงความดีใจหรือภาคภูมิใจมากว่า หน้าบานเป็นกะโล่; ชื่อหมวกกันแดดชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่ม มีปีกแข็งโดยรอบ โครงทําด้วยไม้ฉําฉาหรือไม้ก๊อกเป็นต้น แล้วหุ้มผ้าหรือทําด้วยใบลาน เรียกว่า หมวกกะโล่. (รูปภาพ กะโล่)
  47. แกล่ : [แกฺล่] (โบ) ว. ใกล้, เกือบ, เช่น สามลักษณะนี้ใกล้ แกล่แม้นไป่มี. (โลกนิติ).
  48. ไกล : [ไกฺล่] ก. ทา, ไล้.
  49. ชอบมาพากล : ว. ชอบกล, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ชอบมาพากล.
  50. รังปืนกล : น. ที่ซุ่มกำบังดักยิงข้าศึกทำเป็นมูนดินหรือทำด้วยกระสอบ ทรายเป็นต้น มีช่องสำหรับสอดปืนกลออกไป.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-296

(0.0386 sec)