Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เริ่ม , then รม, เริ่ม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เริ่ม, 309 found, display 201-250
  1. กรมวัง : [กฺรมมะ-] น. แผนกราชการที่บริหารกิจการในพระราชสํานัก; ข้าราชการแผนกนี้ เช่น กรมวังรับสั่งใส่เกศี. (อิเหนา).
  2. กรมศักดิ์ : [กฺรมมะสัก] (กฎ; โบ) น. ชื่อกฎหมายลักษณะหนึ่ง ซึ่งกําหนดระวางโทษปรับตามศักดินา อายุ และความร้ายแรง หนักเบาของความผิดที่กระทํา. (สามดวง).
  3. กรรชิง : [กัน-] น. เครื่องเข้ากระบวนแห่ในการพระราชพิธีบางอย่างเช่น รับช้างเผือกหรือแรกนาขวัญเป็นต้น รูปคล้ายกลด มีคันถือคล้าย ร่ม, โบราณใช้เป็นร่มเครื่องยศ คู่กันกับคานหามตามบรรดาศักดิ์ มีชั้นตามที่หุ้มผ้าแดงหรือหุ้มผ้าขาวโรยทอง เรียกว่า พื้นกํามะลอ, ถ้ามีริ้วขาวและน้ำเงินสลับกันที่ระบาย เรียกว่า กรรชิงเกล็ด, กระชิง กระฉิ่ง กะชิง กันฉิ่ง หรือ กันชิง ก็เรียก.
  4. กรรภิรมย์ : [กัน-] น. ฉัตร ๕ ชั้นสํารับหนึ่ง ทําด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง ใช้ถุงปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูง ใช้กางเชิญนํา พระราชยานเวลาเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้เข้าพิธีคชกรรมเชิญนําช้างเผือกขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.
  5. กรรมกร : [กำมะกอน] น. คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน. (ส. กฺรม = การงาน + กร = ผู้ทำ; ป. กมฺม + กร).
  6. กรรมวาจก : [กํามะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการก หรือผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็น กรรมการก คือ ผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้ สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิด ถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' เช่น หนังสือ เล่มนี้แต่งดีมาก.
  7. กรรมวาจาจารย์ : [กํามะวาจาจาน] น. อาจารย์ผู้ให้สําเร็จกรรมวาจา คือ คู่สวด. (ส. กรฺมวาจา + อาจารฺย = อาจารย์).
  8. กระดูกร้องได้ : (สํา) น. ผลสะท้อนของฆาตกรรมที่ทําให้จับตัว ผู้กระทําผิดมาลงโทษได้ คล้ายกับว่ากระดูกของผู้ตายร้องบอก.
  9. กระทรวง ๒ : [-ซวง] (กฎ) น. ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; (โบ) ส่วนราชการ ที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็น กระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไป แพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือ ทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. (สามดวง). (เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย).
  10. กระลด : [-หฺลด] (กลอน; แผลงมาจาก กลด) น. ร่ม เช่น เทียวทองธงชัย และแซงกระลดชุมสาย. (สมุทรโฆษ).
  11. กลิ้ง : [กฺลิ้ง] ก. อาการอย่างของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น ซุงกลิ้ง ครกกลิ้ง ลูกหินกลิ้ง, ทําให้ของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น กลิ้งครก กลิ้งซุง กลิ้งลูกหิน; โดยปริยายหมายความว่า คล่อง, ไม่มีติด, เช่น คนคนนี้กลิ้งได้รอบตัว. (โบ) น. ร่ม เช่น เมลืองมล่านกลิ้งเพรื้อม เพรอศพราย. (ยวนพ่าย). (มลายู giling ว่า กลิ้ง, คลึง, มวน).
  12. กัณหธรรม : น. ธรรมฝ่ายดํา คือ อกุศล.
  13. กันภัย, กันภัยมหิดล : น. ชื่อไม้เถาชนิด Afgekia mahidolae Burtt et Chermsir. ในวงศ์ Leguminosae พบทางจังหวัดกาญจนบุรี ใบเป็นใบประกอบ ช่อหนึ่งมีใบย่อยหลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีน้ำตาล ดอกเป็นช่อตั้ง สีขาวปนม่วง ฝักสั้นป้อมแบน ๆ ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเฉลิม พระเกียรติแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี.
  14. กัปปิยภัณฑ์ : น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.
  15. กำลอง : (โบ; กลอน) ก. ลอง, ประลอง, เช่น เสร็จสองแทงกันจระโจรม จักแล่นแรดโซรม กำลองกำลังถเมินเชิง. (สมุทรโฆษ).
  16. โกรม : [โกฺรม] (แบบ) ว. ใต้, ต่า, ล่าง, ใต้ฟ้า เช่น อนนสองดไนยหน่อเหน้า เหง้ากรุงโกรมกษัตริย. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข.).
  17. ขรม : [ขะหฺรม] ว. เอ็ดอึง, แซ่, (ใช้แก่เสียง).
  18. ขัดเกลา : ก. ทําให้เกลี้ยงเกลา, ทําให้เรียบร้อย, อบรมพรํ่าสอน, เช่น ขัดเกลานิสัย.
  19. ครึกโครม : [คฺรึกโคฺรม] ว. อึกทึก, อื้ออึง, ชวนให้ตื่นเต้น, เป็นที่เล่าลือกันแพร่หลาย.
  20. ครุกรรม : [คะรุกำ] น. กรรมหนัก มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล, การได้บรรลุ ฌานสมาบัติเป็นครุกรรมฝ่ายกุศล การกระทำอนันตริยกรรมเป็น ครุกรรมฝ่ายอกุศล.
  21. โครม : [โคฺรม] ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงคนหรือของหนัก ๆ ล้มหรือตกเป็นต้น.
  22. งาน ๑ : น. สิ่งหรือกิจกรรมที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคำ การ เช่น การงาน เป็นการ เป็นงาน ได้การได้งาน; การพิธีหรือการรื่นเริงที่คนมาชุมนุมกัน เช่น งานบวช งานปีใหม่.
  23. จงกรม : [-กฺรม] ก. เดินไปมาโดยมีสติกำกับอย่างพระเดินเจริญกรรมฐาน เรียกว่า เดินจงกรม. (ส.; ป.จงฺกม).
  24. ฉัตร ๑, ฉัตร- : [ฉัด, ฉัดตฺระ-] น. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายร่มที่ซ้อนกันขึ้นไปเป็น ชั้น ๆ ชั้นบนมีขนาดเล็กกว่า ชั้นล่างลดหลั่นกันไปโดยลําดับ สําหรับ แขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ. (ส. ฉตฺร; ป. ฉตฺต ว่า ร่ม); ส่วนที่ต่อจากปุ่มฆ้องเป็นฐานแผ่ออกไปแล้วงองุ้มลงมาเป็นขอบ โดยรอบอย่างฉัตร; ชื่อดาวฤกษ์อารทรา.
  25. ชนกกรรม : [ชะนะกะกํา] น. กรรมอันนําให้เกิดหรือกรรมอัน เป็นต้นเค้าทั้งข้างดีหรือข้างชั่ว เช่น กรรมอันทําให้เกิดเป็นคน ชั้นสูง เป็นชนกกรรมฝ่ายกุศล. (อรรถศาสน์).
  26. ชันตาฆระ : [ชันตาคะระ] (แบบ) น. เรือนไฟ, ห้องสําหรับรมไฟ เพื่อให้เหงื่อออก. (ป.).
  27. ช่างฝีมือ : น. ผู้มีความรู้ความสามารถในงานวิชาชีพโดยเฉพาะ ด้านหัตถกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม และวิศวกรรม.
  28. โชรม : [โชฺรม] (โบ) ก. โซม.
  29. ดิเรกคุณาภรณ์ : น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช.
  30. ตรม : [ตฺรม] ก. ระทม, เจ็บอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น ตรมใจ; กลัด เช่น ตรมหนอง, กรม ก็ว่า.
  31. ตรมวล : [ตฺรม-วน] (โบ) น. ตําบล เช่น เขาแก้วว่าวงกาจล ตรมวลใดท้าวธบอก. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  32. ตรอมใจ, ตรอมตรม : [ตฺรอม-, -ตฺรม] ก. ระทมใจจนเหี่ยวแห้ง, กรอมใจ หรือ กรอมกรม ก็ว่า.
  33. ตะโกรม : [-โกฺรม] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล Crassostrea วงศ์ Ostreidae ลักษณะ เหมือนหอยนางรม แต่มีขนาดใหญ่ มีหลายชนิด เช่น ชนิด Crassostrea iredalei, C. belcheri, นางรมใหญ่ ก็เรียก.
  34. ทศพล : น. ผู้มีกําลัง ๑๐ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า. ทศพิธราชธรรม น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็น หลักธรรมประจําพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน - การให้ ๒. ศีล - การรักษากายวาจา ให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ - ความซื่อตรง ๕. มัททวะ - ความอ่อนโยน ๖. ตบะ - การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ - ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ - ความ อดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.
  35. ธรรม ๓ : น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์.
  36. ธรรมาธรรม : [ทํามา] น. ธรรมและอธรรม, ความถูกและความผิด, ยุติธรรมและอยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมาธมฺม).
  37. ธุรกิจ : น. การงานประจําเกี่ยวกับอาชีพค้าขาย หรือกิจการอย่างอื่นที่สําคัญ และที่ไม่ใช่ราชการ; (กฎ) การประกอบกิจการในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หัตถกรรม พาณิชยกรรมการบริการ หรือกิจการอย่างอื่น เป็นการค้า.
  38. นันทนาการ : [นันทะ] น. กิจกรรมที่ทําตามสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความ สนุกสนานเพลิดเพลินและผ่อนคลายความตึงเครียด, การสราญใจ. (อ. recreation).
  39. นามานุกรม : [นุกฺรม] น. พจนานุกรมคําวิสามานยนาม.
  40. นิโครม : [โคฺรม] น. โลหะเจือชนิดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยโครเมียมและนิกเกิล ใช้ประโยชน์นําไปทําเป็นเส้นลวดในอุปกรณ์ไฟฟ้าเพราะมีความ ต้านทานสูง และทนทานต่อความร้อนได้ดีมาก. (อ. nichrome).
  41. นิยยานิก : [นิยะยานิกะ] (แบบ) ว. ที่นําออกไปจากทุกข์ เช่น นิยยานิกธรรม คือ ธรรมที่นําสัตว์ออกจากทุกข์. (ป., ส. นิรฺยาณิก).
  42. นิรุตติปฏิสัมภิทา : น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉาน ในนิรุตติ คือ ความเข้าใจในภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำพูดอธิบายให้คนเข้าใจ ตลอดจนรู้ภาษาต่าง ๆ อาจชักนำคนให้เชื่อถือหรือนิยมตามคำพูด, กล่าวสั้น ๆ ว่า เข้าใจพูด. (ป.).
  43. นิษกรม : [นิดสะกฺรม] (แบบ; กลอน) ก. เฉย, ปราศจากกิริยา, เช่น ใจเน่งนิษกรม. (อนิรุทธ์). (ส.).
  44. บรมบพิตร : [บอรมมะบอพิด] น. คําที่พระสงฆ์ใช้สําหรับแทน พระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสี, เดิมใช้ว่า มหาบพิตร.
  45. บรม, บรม- : [บอรมมะ-] ว. อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นําหน้าคําที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศ ยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม); (ปาก) อย่างที่สุด เช่น ขี้เกียจบรม บรมขี้เกียจ.
  46. บรรณานุกรม : [บันนานุกฺรม] น. บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบ การค้นคว้า, บัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยุคใด ยุคหนึ่ง หรือของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง มักจะมีรายละเอียดหรือ บทวิจารณ์สั้น ๆ ประกอบ.
  47. บรากรม : [บะรากฺรม] (แบบ) น. ความเพียร, ความบากบั่น, ความพยายาม, ความแข็งขัน, ความก้าวไปเพื่อคุณในเบื้องหน้า. (ส. ปฺรากรฺม; ป. ปรกฺกม).
  48. บริกรม : [บอริกฺรม] (แบบ) ก. เดินไป, ผ่านไป, พ้นไป, จากไป. (ส. ปริกฺรม).
  49. บริรม : [บอริรม] ก. ชอบใจ, ยินดี. (ส. ปริรม).
  50. บุพ-, บุพพ- : [บุบพะ-] ว. ก่อน, ทีแรก; เบื้องต้น, เบื้องหน้า. (ป. ปุพฺพ; ส. ปูรฺว). บุพกรรม น. กรรมที่ทําไว้แต่ปางก่อน. (ป. ปุพฺพ + ส. กรฺมนฺ; ป. ปุพฺพกมฺม).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-309

(0.0520 sec)