Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความบาดหมาง, บาดหมาง, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความบาดหมาง, 3281 found, display 2351-2400
  1. วิบัติ : น. พิบัติ, ความฉิบหาย, ความหายนะ, ความเป็นอัปมงคล, เช่น ทรัพย์สมบัติวิบัติ; ความเคลื่อนคลาด, ความผิด, เช่น อักขราวิบัติ. ก. ฉิบหาย เช่น ขอจงวิบัติทันตาเห็น. (ป., ส. วิปตฺติ).
  2. วิปฏิสาร, วิประติสาร : [วิบปะติสาน, วิปฺระ] น. ความเดือดร้อน, ความร้อนใจ, (ภายหลังที่ได้กระทําผิด หรือเนื่องด้วยการกระทําผิด). (ป. วิปฺปฏิสาร; ส. วิปฺรติสาร).
  3. วิปโยค, วิประโยค : [วิบปะโยก, วิปฺระโยก] น. ความพลัดพราก, ความกระจัดกระจาย, ความจากกัน. ว. เศร้าโศก เช่น วันวิปโยค แม่น้ำวิปโยค. (ป. วิปฺปโยค; ส. วิปฺรโยค).
  4. วิปัสสนา : [วิปัดสะนา] น. ความเห็นแจ้ง, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็น แจ้งในสังขารทั้งหลายว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. (ป.).
  5. วิภว : [พะวะ] น. ความเจริญ; สมบัติ; ความไม่มีไม่เป็น. (ป., ส.).
  6. วิภวตัณหา : น. ความปรารถนาในความไม่มีไม่เป็น. (ป.).
  7. วิภา : น. รัศมี, แสงสว่าง, ความแจ่มแจ้ง, ความสุกใส, ความงดงาม. (ป., ส.).
  8. วิมังสา : น. การสอบสวน, ความไตร่ตรอง, ความพิจารณา. (ป. วีมํสา; ส. มีมําสา).
  9. วิมัติ : น. ความเคลือบแคลง, ความสงสัย. (ป., ส. วิมติ).
  10. วิมุตติ : [วิมุด, วิมุดติ] น. ความหลุดพ้น; ชื่อหนึ่งของพระนิพพาน. (ป.; ส. วิมุกฺติ).
  11. วิโมกข์ : น. ความหลุดพ้น, การขาดจากความพัวพันแห่งโลก; พระนิพพาน. (ป.; ส. วิโมกฺษ).
  12. วิโยค : น. การจากไป, การพลัดพราก, ความร้าง, ความห่างเหิน. (ป., ส.).
  13. วิรตะ, วิรัต : ว. ปราศจากความยินดี, ไม่ยินดี. (ป. วิรตฺต; ส. วิรกฺต).
  14. วิรมณะ : [วิระมะ] น. การงดเว้น, การตัดความยินดี. (ป.).
  15. วิราคะ : น. ความปราศจากราคะ, ความหน่าย, ความไม่ไยดี; พระนิพพาน. (ป., ส.).
  16. วิริยภาพ : น. ความเพียร, ความบากบั่น; ความกล้า.
  17. วิริยะ : น. ความเพียร, ความบากบั่น, มักใช้เข้าคู่กับคำ อุตสาหะ เป็น วิริยอุตสาหะ; ความกล้า; วิริยภาพ ก็ใช้. (ป.; ส. วีรฺย).
  18. วิลย, วิลัย : [วิละยะ, วิไล] น. ความย่อยยับ, การสลาย, การทําให้สลาย. (ป., ส.).
  19. วิวรณ์ : น. การเปิด, การเผยแผ่, การไขความ. (ป., ส.).
  20. วิวรรธน์ : น. ความเจริญรุ่งเรือง, ความคลี่คลายไปในทางเจริญ. (ส. วิวรฺธน; ป. วิวฑฺฒน).
  21. วิวระ : [วะ] น. ช่อง, ปล่อง, เหว, รู, โพรง; ความผิด. (ป., ส.).
  22. วิวัฒน, วิวัฒน์ : [วัดทะนะ, วัด] น. ความเจริญรุ่งเรือง, ความคลี่คลาย ไปในทางเจริญ. (ป. วิวฑฺฒน; ส. วิวรฺธน)
  23. วิศวกรรม : [วิดสะวะกํา] น. ชื่อเทวดาตนหนึ่ง ผู้ชํานาญในการช่าง ทั้งปวง, วิษณุกรรม วิสสุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก. (ส.; ป. วิสฺสกมฺม, วิสฺสุกมฺม); การนําความรู้ทางคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้.
  24. วิศวกรรมศาสตร์ : [วิดสะวะกํามะสาด] น. วิชาที่เกี่ยวกับการนํา ความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ มีหลายสาขา เช่น วิศวกรรมโยธาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล. (อ. engineering).
  25. วิศัลย์ : ว. ปราศจากความเสียดแทง, ไม่ทุกข์ร้อน. (ส.; ป. วิสลฺล).
  26. วิสย, วิสัย : [วิสะยะ, วิไส] น. ความสามารถ เช่น อยู่ในวิสัยที่จะเลี้ยงดูบุตร ภรรยาได้ เป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะทำได้; ขอบ, เขต, เช่น คามวิสัย โคจรวิสัย อยู่ในทัศนวิสัย. (ป.).
  27. วิสัญญี : ว. หมดความรู้สึก, สิ้นสติ, สลบ, เช่น นางก็ถึงวิสัญญีสลบลงตรงหน้า ฉานปานประหนึ่งว่าพุ่มฉัตรทองอันต้องสายอัสนีฟาด (ม. ร่ายยาว มัทรี). (ป.).
  28. วิสัญญีภาพ : น. ความหมดความรู้สึก, ความสิ้นสติ, เช่น ถึงซึ่งวิสัญญีภาพ.
  29. วิสามัญฆาตกรรม : [วิสามันคาดตะกํา] (กฎ) น. ฆาตกรรมที่ผู้ตาย ถูกซึ่งเจ้าพนักงานอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย หรือถูกฆ่า ตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติ ราชการตามหน้าที่.
  30. วิสาสะ : น. ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม; การถือว่าเป็นกันเอง เช่น หยิบของไปโดยถือวิสาสะ. ก. พูดจาปราศรัยอย่างคุ้นเคยกัน เช่น ไม่เคยวิสาสะกันมาก่อน. (ป. วิสฺสาส; ส. วิศฺวาส).
  31. วิหิงสะ, วิหิงสา, วิเหสา : น. ความเบียดเบียน; การทําร้าย. (ป. วิหึสา, วิเหสา; ส. วิหึส).
  32. วีต : [วีตะ] ว. ไปแล้ว, หมดแล้ว, ปราศจาก, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น เช่น วีตราคะ ว่า หมดราคะ วีตโลภะ ว่า หมดความโลภ. (ป., ส.).
  33. วีรกรรม : [วีระกำ] น. การกระทําที่ได้รับยกย่องว่าเป็นความกล้าหาญ, การกระทําของผู้กล้าหาญ.
  34. วีรชน : [วีระชน] น. ผู้ที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ.
  35. วีรบุรุษ : [วีระบุหฺรุด] น. ชายที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ. (ส. วีรปุรุษ). วีรสตรี [วีระสัดตฺรี] น. หญิงที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ.
  36. วุ่นวาย : ก. เอาเป็นธุระมากเกินไป เช่น เขาชอบเข้าไปวุ่นวายกับ เรื่องของคนอื่นไม่ต้องเตรียมอะไรมากหรอก อย่าวุ่นวายไปเลย; ไม่สงบ เช่น บ้านเมืองวุ่นวายเกิดจลาจลไปทุกหนทุกแห่ง. น. ความไม่สงบ เช่น เกิดวุ่นวายไปทั่วบ้านทั่วเมือง.
  37. เวทคู : [เวทะคู] น. ผู้บรรลุถึงซึ่งความรู้ คือ พระอรหันต์. (ป.).
  38. เวทนา ๑ : [เวทะ] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกทุกข์สุข, (เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ); ความเจ็บปวด, ทุกข์ทรมาน. (ป., ส.).
  39. เวทมนตร์ : [เวดมน] น. ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่บริกรรมเพื่อให้สําเร็จ ความประสงค์ เช่น โบราณใช้เวทมนตร์ในการรักษาโรคบางอย่าง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ คาถา เป็น เวทมนตร์คาถา เช่น เขาใช้เวทมนตร์ คาถาล่องหนหายตัวได้.
  40. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  41. เว้น : ก. แยกเอาออก (ไม่ให้พัวพันกันอยู่กับสิ่งซึ่งพึงกระทําหรือไม่พึง กระทํา) เช่น ทำเลขทุกข้อเว้นข้อ ๔ เปิดทุกวันเว้นวันนักขัตฤกษ์ วันโกนไม่ละวันพระไม่เว้น, เป็นคําใช้ได้ทั่ว ๆ ไป ถ้าต้องการให้ ทราบชัดว่าเว้นด้วยลักษณะไหน ก็เอาคําอื่นซึ่งมีความหมายคล้ายคลึง กันมาประกอบเข้า เช่น งดเว้น ยกเว้น ละเว้น.
  42. เวมัต : น. ความต่าง, ความแปลกไป. (ป. เวมตฺต).
  43. เว้ย : ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงเว้ย ไปไหนเว้ย ไปตลาดมาเว้ย เบื่อจริงเว้ย, โว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น เว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, โว้ย ก็ว่า.
  44. เวร ๑ : น. ความพยาบาท, ความปองร้าย, บาป, เช่น เวรย่อมระงับด้วยการ ไม่จองเวรคําแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรม ของตนในอดีต เช่นเวรของฉันแท้ ๆ ทำเงินเดือนหายไปทั้งเดือน, กรรมเวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า. (ป.; ส. ไวร).
  45. เวรกรรม : [เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนใน อดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่, กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.
  46. เวโรจน์ : น. ความรุ่งเรือง, ความสุกใส. (ป.; ส. ไวโรจน).
  47. เวสมะ : [เวสะ] น. ความไม่เสมอกัน. (ป. วิสม).
  48. เวสารัช : น. ความเป็นผู้แกล้วกล้า. (ป. เวสารชฺช).
  49. แว่น ๑ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และ เรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่นอีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีน เป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่ว แผ่นเย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่น ทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนาม เรียกสิ่งกลม ๆที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด ๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.
  50. แวม ๆ, แว็ม ๆ : ว. ลักษณะของแสงที่เห็นเคลื่อนไหวอยู่เรือง ๆ ไร ๆ เช่น แสงของพรายน้ำแวม ๆ ในความมืด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | [2351-2400] | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3281

(0.0954 sec)