Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความบาดหมาง, บาดหมาง, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความบาดหมาง, 3281 found, display 951-1000
  1. ทัศน-, ทัศน์, ทัศนะ, ทัศนา : [ทัดสะนะ-, ทัด, ทัดสะ-] น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทรรศนะ ก็ใช้. (ป. ทสฺสน; ส. ทรฺศน).
  2. ทัศนศึกษา : ก. ท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาความรู้. น. การเรียนรู้ด้วย การดูการเห็น, การศึกษานอกสถานที่.
  3. ทางพิเศษ : (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดินหรือพื้นนํ้า เพื่ออํานวยความสะดวกใน การจราจรเป็นพิเศษ.
  4. ทางสายกลาง : น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความ ดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง; การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใด ทางหนึ่ง.
  5. ท้าทาย : ก. ชวนวิวาท เช่น เพราะเขาว่าท้าทายว่าจะทําอันตรายแก่ ท่านไท้บรมนาถราชบิดา. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์); ชวนให้ทดลอง ความรู้ความสามารถ เช่น ท้าทายปัญญา ท้าทายความสามารถ.
  6. ท่าที : น. ความเป็นไปของสถานการณ์หรือบุคคลเป็นต้น, ทีท่า ก็ว่า.
  7. ท่าน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคํากลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่า ลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คําที่ใช้ประกอบหน้า ชื่อบรรดาศักดิ์หรือตําแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.
  8. ทาบ : ก. วางวัตถุสิ่งหนึ่งแนบกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ทาบผ้าทาบตัว, (ปาก) เปรียบ, เทียบ, เช่น เรามีความรู้น้อยจะไปทาบท่านผู้รู้ได้อย่างไร; ตบ, ตี, เช่น นกทาบปีก, ถาบ ก็ใช้.
  9. ทาบทาม : ว. หยั่งใจเขาดู, ลองหยั่งเสียงดู. ก. ติดต่อสอบถาม เพื่อฟังความเห็นก่อนที่จะตกลงกัน.
  10. ทาย ๑ : ก. บอกเหตุการณ์หรือความเป็นไปที่จะเกิดในเบื้องหน้า, ทํานาย ก็ว่า.
  11. ท้าว ๒ : (กลอน) ว. อาการสั่นรัว ๆ เช่น ความกลัวตัวสั่นอยู่ท้าวท้าว. (สังข์ทอง).
  12. ทาส, ทาส- : [ทาด, ทาดสะ-] น. ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น เป็นทาส ความรู้, ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอํานาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เป็นทาส การพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน; บ่าว ทั่วไป, ผู้ที่ขายตัวลงเป็นคนรับใช้หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา เรียกว่า ทาสนํ้าเงิน, ผู้ที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงิน เรียกว่า ทาสเรือนเบี้ย หรือ ทาสในเรือนเบี้ย, ทาสที่เอาเงินไปซื้อมา เรียกว่าทาสสินไถ่, ผู้ที่ เป็นคนเชลย เรียกว่า ทาสเชลย, ถ้าใช้คู่กันว่า ทาสทาสี ก็หมายความ ว่า ทาส เป็นบ่าวผู้ชาย และ ทาสี เป็นบ่าวผู้หญิง. (ป., ส.).
  13. ทาสปัญญา : [ทาดสะ-] น. ความคิดตํ่า. ว. โง่เขลาเบาปัญญา, มีสติปัญญาน้อย, เช่น คนทาสปัญญา. (ป.).
  14. ทำตา : ก. แสดงความรู้สึกด้วยสายตา เช่น ทําตาเล็กตาน้อย ทําตาขุ่นตาเขียว.
  15. ทำนาย : ก. บอกเหตุการณ์หรือความเป็นไปที่จะเกิดในเบื้องหน้า, ทาย ก็ว่า. (แผลงมาจาก ทาย).
  16. ทำร้ายร่างกาย : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็น เหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น เรียกว่า ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย.
  17. ทำเวร : ก. ผลัดเปลี่ยนเวรกันทํางาน โดยเฉพาะทําความสะอาด ห้องเรียนของนักเรียน; ก่อเวร, ผูกเวร, ทําเวรทํากรรม ก็ว่า.
  18. ทิ้งทวน : (ปาก) ก. ทําอย่างไว้ฝีมือ, ทําจนสุดความสามารถ, ไม่ทํา อีกต่อไป; ปล่อยฝีมือฝีปากเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเลิกไป; ฉวย โอกาสทําเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะหมดอํานาจ.
  19. ทิฏฐุชุกรรม : (แบบ) น. การทําความเห็นให้ตรง คือ เห็นถูกทาง เช่น เห็นว่า ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว (เป็นข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุกรรม). (ป. ทิฏฺฐุชุกมฺม).
  20. ทิฐิ : [ทิดถิ] น. ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด; ความอวดดื้อถือดี เช่น เขามีทิฐิมาก. (ป. ทิฏฺ??; ส. ทฺฤษฺฏิ).
  21. ทิพยจักษุญาณ : น. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, จุตูปปาตญาณ ก็เรียก. (ส. ทิพฺยจกฺษุ + ป. ?าณ; ป. ทิพฺพจกฺขุ?าณ).
  22. ทิพยญาณ : น. ความรู้เป็นทิพย์.
  23. ทิศาปาโมกข์ : น. อาจารย์ผู้มีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง.
  24. ที่จริง : ว. จริง, แท้, แน่นอน. สัน. คําขึ้นต้นประโยคหรือข้อความ แสดงถึงความที่ถูกที่ควร, อันที่จริง หรือ ตามที่จริง ก็ว่า.
  25. ที่ดิน : น. ผืนแผ่นดินหรือพื้นดิน; (กฎ) พื้นที่ดินทั่วไป และหมาย ความรวมถึงภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลํานํ้า ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย.
  26. ทีท่า : น. ความเป็นไปของสถานการณ์หรือบุคคลเป็นต้น, ท่าที ก็ว่า.
  27. ที่ปรึกษา : น. ผู้มีหน้าที่ให้ความเห็นแนะนำ.
  28. ที่ราบ : น. ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบซึ่งอาจจะราบเรียบหรือมีลักษณะ เป็นลูกคลื่น โดยปรกติความสูงตํ่าของพื้นที่ในบริเวณนั้นจะ แตกต่างกันไม่เกิน ๑๕๐ เมตร.
  29. ที่ไหน : น. แห่งใด, แห่งใดแห่งหนึ่ง, แห่งใดก็ตาม, เช่น ไปที่ไหน ก็ได้; คําใช้ในข้อความคาดคะเนว่าคงจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ มี ความหมายว่า ไฉน, ฉันใด, อย่างไร, เช่น เขาก็เห็นว่าที่ไหนเราจะได้.
  30. ที่ไหนได้ : (ปาก) ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คําใช้แสดงความ ประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท.
  31. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  32. ทุกข-, ทุกข์ : [ทุกขะ-, ทุก] น. ความยากลําบาก, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ. (ป.; ส. ทุะข).
  33. ทุกขนิโรธ : [ทุกขะนิโรด] น. ความดับทุกข์, เป็นชื่อของอริยสัจ ข้อที่ ๓. (ป.).
  34. ทุกขลาภ : [ทุกขะลาบ] น. การที่ต้องรับทุกข์เสียก่อนจึงมีลาภ, ลาภที่ได้มาด้วยความทุกข์ยาก, ลาภที่ได้มาแล้วมีทุกข์ติดตามมาด้วย.
  35. ทุกขเวทนา : [ทุกขะเวทะนา] น. ความรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ, ความรู้สึกเจ็บปวดทรมาน. (ป.).
  36. ทุกข์สุข : น. ความเป็นอยู่หรือความเป็นไปของชีวิตในขณะนั้น.
  37. ทุกขารมณ์ : น. ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ.
  38. ทุกฏ : [ทุกกด] (แบบ) น. ความชั่ว; ชื่ออาบัติจําพวกหนึ่งในอาบัติ ทั้ง ๗. (ป. ทุกฺกฏ).
  39. ทุกรกิริยา : น. การกระทํากิจที่ทําได้โดยยาก ได้แก่ การทําความเพียร เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ ทั้ง ๒ ประสานพระอุระ. (พุทธเจดีย์). (ป. ทุกฺกรกิริยา).
  40. ทุคตะ : [ทุกคะตะ] ว. ยากจน, เข็ญใจ. (ป. ทุคฺคต ว่า ถึงความยากแค้น).
  41. ทุคติ : [ทุกคะติ] น. ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความทุกข์ความลําบาก, นรก. (ป. ทุคฺคติ).
  42. ทุจริต : [ทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. ก. โกง เช่น ทุจริต ในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. ว. ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต. (ป. ทุจฺจริต).
  43. ทุด : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือติเตียน.
  44. ทุน : น. ของเดิมหรือเงินเดิมที่มีไว้ ลงไว้ กําหนดไว้ จัดตั้งไว้ เพื่อ ประโยชน์ให้งอกงาม เช่น มีความรู้เป็นทุน มีเงินเป็นทุน; เงินหรือ ทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ตั้งไว้สําหรับดําเนินกิจการเพื่อหาผลประโยชน์.
  45. ทุพพลภาพ : [ทุบพนละพาบ] ว. หย่อนกําลังความสามารถที่จะ ประกอบการงานตามปรกติได้.
  46. ทุ้ม : ว. ไม่แหลม, ตํ่าแต่มีความนุ่มนวลไม่แกร่งกร้าว, (ใช้แก่เสียง). น. เรียกระนาดที่มีเสียงตํ่ากว่าระนาดเอก แต่มีเสียงนุ่มนวลกว่า มีไม้นวม ๒ อันสําหรับตีว่า ระนาดทุ้ม.
  47. ทุ่มตลาด : ก. นําสินค้าจํานวนมากออกขายในราคาที่ตํ่ากว่าราคา ปรกติ; (กฎ) นําสินค้าเข้ามาจําหน่ายในประเทศในราคาที่ตํ่ากว่า ราคาปรกติของสินค้านั้น อันก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหาย แก่กิจการอุตสาหกรรมภายในประเทศ. (อ. dumping).
  48. ทุ่มเท : ก. ยอมเสียสละให้อย่างล้นเหลือหรือเต็มกําลังความสามารถ เช่น ทุ่มเทเงินทอง ทุ่มเทกําลังความคิด.
  49. ทุรกันดาร : ว. ที่ไปมาลําบากมาก, ที่ห่างไกลความเจริญ.
  50. ทุราจาร : น. ความประพฤติชั่วช้าเลวทรามในที่ซึ่งไม่ควร. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | [951-1000] | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3281

(0.0840 sec)