แผลเก่า : (สํา) น. ความเจ็บชํ้าที่ฝังใจอยู่ไม่รู้ลืม.
แผลงฤทธิ์, แผลงฤทธิ์แผลงเดช : (ปาก) ก. อาละวาดด้วยความโกรธ เพราะถูกขัดใจ, ออกฤทธิ์ ก็ว่า.
โผลกเผลก : [โผฺลกเผฺลก] ว. กะโผลกกะเผลก, อาการเดินไม่ปรกติ คือยกขา ข้างหนึ่งไม่ได้ระดับกับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน, อาการ ที่เดินไปด้วยความลำบากหรือเคลื่อนไปบนพื้นที่ที่ขรุขระลุ่ม ๆ ดอน ๆ, โขยกเขยก ก็ว่า.
ฝนทั่งให้เป็นเข็ม : (สํา) ก. เพียรพยายามสุดความสามารถจนกว่าจะ สําเร็จผล.
ฝนหลวง : น. ฝนเทียมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำขึ้นเพื่อบรรเทาความแห้งแล้ง.
ฝักถั่ว : (ปาก) น. การแสดงความอ่อนน้อม อ้อนวอน หรือขอร้องโดย วิธียกมือไหว้ เช่น มืออ่อนเป็นฝักถั่ว, การพลอยยกมือแสดงความ เห็นชอบตามเขาไป มักใช้พูดตําหนิ นักการเมืองในเวลาลงคะแนนเสียง.
ฝากครรภ์ : ก. ฝากตัวให้อยู่ในความดูแลของแพทย์หรือผดุงครรภ์ ในระหว่างตั้งครรภ์, ฝากท้อง ก็ว่า.
ฝากตน, ฝากตัว, ฝากเนื้อฝากตัว : ก. มอบตัวให้อยู่ในความดูแลหรือ อุปการะของผู้อื่น, ฝากกาย ก็ว่า.
ฝ่าฟัน : ก. ต่อสู้กับความยากลําบาก.
ฝ่ายค้าน : น. ฝ่ายที่แสดงความเห็นโต้แย้งความเห็นของฝ่ายเสนอ ในการโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายเสนอ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของพรรคที่ไม่ได้ร่วมเป็นรัฐบาล ซึ่งทําหน้าที่ค้านรัฐบาลในรัฐสภา, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความเห็นโต้แย้งกับผู้อื่น เช่น เรื่องนี้แม้ใคร จะเห็นด้วยก็ตาม แต่ฉันขอเป็นฝ่ายค้าน.
ฝ่ายเสนอ : น. ฝ่ายที่แสดงความเห็นให้ฝ่ายค้านโต้แย้งตามญัตติใน การโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายค้าน.
ฝาไหล : น. แผ่นไม้กระดานวางตามแนวยืน แต่ละแผ่นเว้นช่องว่าง เท่าความกว้างของไม้แผ่นหนึ่งตลอดทั้งแผง ฝาชนิดนี้ประกอบด้วย แผงดังกล่าววางชิดและซ้อนขนานกันในรางซึ่งเลื่อนเปิดปิดได้.
ฝีเท้า : น. ความสามารถในการเดิน วิ่ง ช้าหรือเร็ว หนักหรือเบา เป็นต้น เช่น ม้าฝีเท้าดีม้าฝีเท้าจัด คนฝีเท้าหนัก, ฝีตีน ก็ว่า.
ฝีพาย : น. คนที่มีความสามารถในการพายเรือ โดยเฉพาะในการ พายเรือพระที่นั่งหรือเรือแข่งเป็นต้น.
ฝีมือ : น. ความเชี่ยวชาญในการใช้มืออย่างมีศิลปะ เช่น มีฝีมือในการ เย็บปักถักร้อย มีฝีมือในการปรุงอาหาร, เรียกการช่างทำด้วยมืออย่างมี ศิลปะ ว่า การช่างฝีมือ, ราชาศัพท์ว่า ฝีพระหัตถ์; โดยปริยายหมายถึง ความสามารถหรือทักษะและชั้นเชิงในการปฏิบัติการใด ๆ เช่น เขามี ฝีมือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้โดยรวดเร็ว.
ฝีไม้ลายมือ : น. ความสามารถในวิชาความรู้.
ฝึก : ก. ทํา (เช่นบอก แสดง หรือปฏิบัติ เป็นต้น) เพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจจนเป็นหรือมีความชํานาญ เช่น ฝึกทหาร ฝึกกายบริหาร ฝึกงาน.
เฝือ ๒ : ว. รก, ยุ่ง, เรื้อ; เคลือบคลุม, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความยังเฝืออยู่, หมดความสำคัญ เช่น มากเสียจนเฝือ, บ่อย ๆ หรือซ้ำ ๆ ซาก ๆ จนทำให้หมดความสำคัญหรือหมดความสนใจ เช่น เรื่องนี้พูดกัน จนเฝือ.
แฝง : ก. หลบ แอบ ซ่อน เร้น โดยอาศัยสิ่งกําบัง. ว. เคลือบคลุม, ที่ซ่อนเร้น เช่น ความร้อนแฝง.
ใฝ่สูงจนเกินศักดิ์, ใฝ่สูงให้เกินศักดิ์ : (สํา) ก. หวังสิ่งที่เกินฐานะของตน (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าใฝ่สูงจนเกินศักดิ์ อย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์.
พจนานุกรม : [กฺรม] น. หนังสือว่าด้วยถ้อยคำในภาษาใดภาษาหนึ่ง เรียงตามลำดับตัวอักษร โดยทั่ว ๆ ไปจะบอกความหมายและที่มา ของคำเป็นต้นด้วย.
พจนารถ : [พดจะนาด] น. เนื้อความของคําพูด. (ส.).
พ้นวิสัย : ว. เกินความสามารถ, ที่ไม่อาจเป็นไปได้หรือไม่สามารถ จะกระทําได้.
พนัน : ก. เล่นเอาเงินหรือสิ่งอื่นโดยอาศัยความฉลาด ความชำนาญ เล่ห์เหลี่ยม ไหวพริบและฝีมือ รวมทั้งโชคด้วย. น. การเล่นเช่นนั้น เรียกว่า การพนัน.
พนัส, พนัส : [พะนัด, พะนัดสะ] น. ป่า, พง, ดง. (มาจาก พน แต่เพิ่มตัว ส เพื่อ ความสะดวกในการสนธิ). (ส. วนสฺ; ป. วน).
พบปะ : ก. พบด้วยความสนิทสนมคุ้นเคย.
พบพาน : ก. ปะกัน, เจอกัน, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่ประสบ พบพาน.
พยติเรก : [พะยะติเหฺรก] ว. แปลกออกไป; ในไวยากรณ์ใช้เป็นชื่อประโยค ใหญ่ที่แสดงเนื้อความแย้งกัน; ชื่อนิบาตในภาษาบาลีพวกหนึ่ง. (ป., ส. วฺยติเรก).
พยัก : [พะยัก] ก. อาการที่ก้มหน้าลงเล็กน้อยแล้วเงยหน้าขึ้นโดยเร็วเป็นการ แสดงความรับรู้เรียกว่า พยักหน้า.
พยาธิ ๑ : [พะยาทิ] น. ความเจ็บไข้ เช่น โรคาพยาธิ ชาติชราพยาธิ. (ป. พฺยาธิ, วฺยาธิ; ส. วฺยาธิ).
พร : [พอน] น. คําแสดงความปรารถนาให้ประสบสิ่งที่เป็นสิริมงคล เช่น ให้พร ถวายพระพร, สิ่งที่ขอเลือกเอาตามประสงค์ เช่น ขอพร. (ป. วร).
พรต : [พฺรด] น. กิจวัตร, การปฏิบัติ; มรรยาท, เขตแห่งความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, การสมาทานหรือประพฤติตามลัทธิศาสนา, การจําศีล (เช่น การเว้นบริโภค เว้นเมถุนธรรม); การสมาทานบริโภค อาหารอย่างเดียวเป็นนิตย์ (เช่น มธุพรต คือ การสมาทานกินแต่นํ้าผึ้ง); ข้อกําหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ มีศีลวินัยเป็นต้น เช่น บําเพ็ญพรต ทรงพรต ถือพรต, เรียกผู้บําเพ็ญพรตว่า นักพรต. (ส. วฺรต; ป. วตฺต).
พรสวรรค์ : น. ความสามารถพิเศษหรือคุณสมบัติเด่นของบุคคล ที่มีมาแต่กําเนิด.
พรหมบถ : น. ทางไปสู่พระพรหม, ทางไปสู่ความดีสูงสุด. (ส.).
พรหมยาน : น. ยานที่นําไปสู่ความเป็นพรหม คือการบริจาคอัน ยิ่งใหญ่ เช่นบุตรทารทาน. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). (ป.).
พรหมเรขา, พรหมลิขิต : [พฺรมมะ, พฺรม] น. อํานาจที่กําหนดความ เป็นไปของชีวิต (ถือกันว่า พระพรหมเขียนไว้ที่หน้าผากของเด็กซึ่ง เกิดได้ ๖ วัน). (ส.).
พรหมัญตา : [พฺรมมันยะ] น. ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่พราหมณ์. (ป.).
พร้อมหน้า, พร้อมหน้าพร้อมตา : ว. รวมอยู่เป็นจํานวนมากอย่าง พร้อมเพรียงกัน (ใช้แก่คนที่มีความเกี่ยวข้องกัน) เช่น มากันพร้อม หน้า มากันพร้อมหน้าพร้อมตา.
พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
พระพุทธเจ้าอยู่หัว : น. คําเรียกพระเจ้าแผ่นดินด้วยความนับถือ.
พระราชกำหนด : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่ง กฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในเรื่องที่ รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เพื่อขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เช่น พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราขึ้นได้ต่อเมื่อมีบท บัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ ส่วนกระบวน การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเหมือนกับการ ตราพระราชบัญญัติทั่วไป.
พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก : (สํา) น. ความทุกข์ยากลําบากที่เกิด ซ้อน ๆ เข้ามาในขณะเดียวกัน.
พรากเด็ก : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานพาเอาเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยปราศจากเหตุอัน สมควร.
พรากผู้เยาว์ : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานพาเอาผู้เยาว์ที่มีอายุเกิน ๑๕ ปี แต่ยังไม่เกิน ๑๘ ปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย.
พริบ : ก. กะพริบ ในคำว่า พริบตา. ว. ฉับพลัน, ทันทีทันใด, ในความว่า ชั่วพริบตาเดียว ในพริบตาเดียว.
พริบไหว : น. ความรู้เท่าในกิจการ, ความรู้ทันท่วงที, โดยมากมักใช้ว่า ไหวพริบ.
พฤฒิ, พฤฒิ : [พฺรึดทิ] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์, ความอวบ, พฤทธิ์ ก็ว่า. (ส.).
พฤติกรรม : น. การกระทําหรืออาการที่แสดงออกทางกล้ามเนื้อ ความคิด และความรู้สึก เพื่อตอบสนองสิ่งเร้า.
พฤติการณ์ : น. เหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่จะเป็นไป, ความเป็นไป ในเวลากระทำการ เช่น พฤติการณ์ของเขาแสดงว่ามีเมตตากรุณา พฤติการณ์ของเขาแสดงถึงความทารุณโหดร้าย.