อคติ : [อะคะ] น. ความลําเอียง มี ๔ อย่าง คือ ฉันทาคติ = ความลําเอียง เพราะรัก โทสาคติ = ความลําเอียงเพราะโกรธ ภยาคติ = ความลําเอียง เพราะกลัว โมหาคติ = ความลําเอียงเพราะเขลา. (ป.).
อฆะ ๑ : [อะคะ] น. ความชั่ว, บาป, ความทุกข์ร้อน. (ป., ส.).
องครักษ์ : [องคะ] น. ผู้ทําหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกัน เช่น องครักษ์นักการเมือง.
องควิการ : [องคะวิกาน] น. ความชํารุดแห่งอวัยวะต่าง ๆ มีตาบอด แขนหัก เป็นต้น. (ป.).
องควิทยา : [องคะ] น. ความรู้เรื่องลักษณะดีชั่วปรากฏตามร่างกาย. (ส.; ป. องฺควิชฺชา).
อจิตติ : น. ความขาดสติ, ความมัวเมา. (ส.).
อจินตา : [จิน] น. การขาดความคิด. (ส.).
อจินไตย : [จินไต] ว. ที่พ้นความคิด, ไม่ควรคิด, (สิ่งที่เป็นอจินไตยมีอยู่ ๔ อย่างด้วยกัน คือ พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัย ของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑). (ป. อจินฺเตยฺย; ส. อจินฺตฺย).
อดทน : ก. บึกบึน, ยอมรับสภาพความยากลำบาก.
อติมานะ : น. ความเย่อหยิ่ง, ความจองหอง. (ป.).
อธิคม : น. การบรรลุ, ความสําเร็จ, การได้. (ป., ส.).
อธิบดี : [อะทิบอดี, อะทิบบอดี] น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้ปกครอง, หัวหน้า, เช่น อธิบดีสงฆ์ อธิบดีผู้พิพากษา; ตําแหน่งหัวหน้ากรมในราชการ. ว. มีความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์นิยมให้ประกอบ การมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็นอธิบดี ทั้งนี้ ตลอดปีนั้น ๆ, ตรงข้ามกับโลกาวินาศ. (ป., ส. อธิปติ).
อธิบาย : [อะทิบาย] ก. ไขความ, ขยายความ, ชี้แจง. (ป. อธิปฺปาย).
อธิปไตย : [อะทิปะไต, อะทิบปะไต] น. อํานาจสูงสุดของรัฐที่ จะใช้บังคับบัญชาภายในอาณาเขตของตน. (ป. อธิปเตยฺย ว่า ความเป็นใหญ่ยิ่ง). (อ. sovereignty).
อธิมุตติ : [อะทิมุดติ] น. อัชฌาสัย, ความพอใจ, ความตั้งใจ. (ป.; ส. อธิมุกฺติ).
อธิโมกข์ : น. ความตัดสินเด็ดขาด, ความเด็ดเดี่ยว; ความน้อมใจเชื่อ. (ป.; ส. อธิโมกฺษ).
อธิวาสนะ : [วาสะนะ] น. ความอดกลั้น, ความอดทน. (ป.).
อนธการ : น. ความมืด, ความมัว, ความมืดมน; เวลาคํ่า; ความเขลา; อันธการ ก็ว่า. (ป.).
อนยะ : [อะนะ] น. เคราะห์ร้าย, ทุกข์, ความฉิบหาย. (ป., ส.).
อนัญคติ : [อะนันยะคะติ] น. หนทางเดียว; ความจําเป็น. (ป. อน?ฺ?คติ).
อนาจาร : [อะนาจาน] น. ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติน่าอับอาย; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานกระทําการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกํานัล โดยเปลือยหรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทําการลามกอย่างอื่น. ว. ลามก, น่าบัดสี, ทําให้เป็นที่อับอาย, เป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อื่น ในด้านความดีงาม. (ป., ส.).
อนาทร ๑ : [อะนาทอน] น. ความไม่เอื้อเฟื้อ, ความไม่เอาใจใส่, ความไม่พะวง. (ป., ส.).
อนาทร ๒ : [อะนาทอน] ก. เป็นทุกข์เป็นร้อน, ร้อนอกร้อนใจ, มักใช้ในความ ปฏิเสธว่า ไม่อนาทร อย่าอนาทร หมายความว่า ไม่เป็นทุกข์เป็นร้อน อย่าร้อนอกร้อนใจ.
อนาธิปไตย : [อะนาทิปะไต, อะนาทิบปะไต] ว. ภาวะที่บ้านเมืองไม่มีรัฐบาล ไม่มีกฎหมายและระเบียบ ทำให้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง. (อ. anarchy).
อนามัย : น. ความไม่มีโรค, สุขภาพ. ว. เกี่ยวกับสุขภาพ, ถูกสุขลักษณะ, เช่น ข้าวอนามัย กรมอนามัย, (ปาก) สะอาดปราศจากสารพิษ เจือปน เช่น ผักอนามัย. (ป., ส.).
อนารยธรรม : น. ความตํ่าช้า, ความป่าเถื่อน.
อนาลัย : น. การไม่มีที่อยู่; การหมดความอยาก, การหมดความพัวพัน; ชื่อหนึ่งของพระนิพพาน. (ป.).
อนิจกรรม : น. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่ได้รับพระราชทานเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทยขึ้นไป หรือ ทุติยจุลจอมเกล้า หรือทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ว่า ถึงแก่อนิจกรรม.
อนิจจัง ๒, อนิจจา : [อะนิด] อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความสงสารสังเวชเป็นต้น.
อนิฏฐารมณ์ : [อะนิดถารม] น. อารมณ์หรือสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าพอใจ ได้แก่ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ นินทา ทุกข์, ตรงข้ามกับ อิฏฐารมณ์. (ป. อนิฏฺ?ารมฺมณ).
อนุ : คําประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).
อนุบาล : ก. ตามเลี้ยงดู, ตามระวังรักษา. ว. ที่คอยตามเลี้ยงดู, ที่คอยตามระวัง รักษา, เรียกโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีอายุระหว่าง ๓ ขวบครึ่ง ถึง ๗ ขวบ ว่า โรงเรียนอนุบาล, เรียกครูที่สอนโรงเรียนอนุบาลว่า ครูอนุบาล, เรียกนักเรียนโรงเรียนอนุบาลว่า นักเรียนอนุบาล; (กฎ) เรียกผู้ที่ศาลมี คําสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถว่า ผู้อนุบาล. (ป., ส. อนุปาล).
อนุประโยค : น. ประโยคเล็กที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ได้ความดีขึ้น แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ นามานุประโยค คุณานุประโยค และวิเศษณานุประโยค.
อนุปริญญา : [อะนุปะรินยา] น. ชั้นความรู้ระดับอุดมศึกษารองจากปริญญาตรี ซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามหลักสูตรที่กําหนดไว้.
อนุโมทนาบัตร : น. บัตรที่แสดงความพลอยยินดีหรืออนุโมทนาต่อ บุญกุศลที่บุคคลนั้น ๆ ได้ทําแล้ว.
อนุโลม : ก. ใช้แทนกันได้ตามความเหมาะสม, คล้อยตาม; (กฎ) นำมาใช้ โดยอาศัยหลักการอย่างเดียวกัน แต่ให้แก้ไขในรายละเอียดได้ ตามควรแก่กรณี. ว. ตามลําดับ เช่น ท่องแบบอนุโลม, คู่กับ ปฏิโลม คือ ย้อนลําดับ. (ป., ส.).
อนุสติ : [อะนุดสะติ] น. ความระลึกถึง; ชื่อธรรมหมวดหนึ่ง เรียกว่า อนุสติ ๑๐ มีพุทธานุสติเป็นต้น. (ป. อนุสฺสติ).
อนุสัญญา : น. ความตกลงระหว่างประเทศในเรื่องที่สําคัญเฉพาะเรื่อง ที่ ทําเป็นตราสารสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับสนธิสัญญา เช่น อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยสงคราม อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยเชลยศึก และผู้บาดเจ็บ. (อ. convention).
อเนก, อเนก : [อะเหฺนก, อะเหฺนกกะ] ว. มาก, หลาย, เช่น อเนกประการ. (ป., ส.). อเนกประสงค์ [อะเหฺนกปฺระสง] ว. ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง แล้วแต่ความต้องการ.
อบ : ก. ปรุงกลิ่นด้วยควันหรือรมด้วยกลิ่นในที่ที่ควันหรือกลิ่นกระจาย ออกไปไม่ได้; ทําให้ร้อนหรือสุกด้วยไอนํ้าหรือไอไฟในที่ที่ความ ร้อนออกไม่ได้; อากาศถ่ายเทไม่ได้.
อบอุ่น : ว. อุ่นสบาย; โดยปริยายหมายความว่า ปราศจากความว้าเหว่.
อบายภูมิ : [อะบายยะพูม] น. ภูมิที่เกิดอันปราศจากความเจริญ มี ๔ คือ นรก เปรตวิสัย อสุรกายภูมิ และกําเนิดดิรัจฉาน. (ป., ส. อปาย).
อบายมุข : [อะบายยะมุก] น. ทางแห่งความฉิบหาย, เหตุแห่งความ ฉิบหาย, มี ๒ หมวด คือ อบายมุข ๔ ได้แก่ ๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา ๓. เป็นนักเลงเล่นการพนัน ๔. คบคนชั่วเป็นมิตร กับ อบายมุข ๖ ได้แก่ ๑. ดื่มนํ้าเมา ๒. เที่ยวกลางคืน ๓. เที่ยวดูการเล่น ๔. เล่นการพนัน ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร ๖. เกียจคร้านทําการงาน. (ป.).
อบาย, อบาย : [อะบาย, อะบายยะ] น. ที่ที่ปราศจากความเจริญ; ความฉิบหาย. (ป.).
อป : [อะปะ] คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ปราศจาก, เช่น อปมงคล = ไม่เป็นมงคล, ปราศจากมงคล. (ป., ส.).
อปการ : [อะปะกาน] น. ความผิด, โทษ; การทําร้าย, การดูถูก. (ส.).
อปจายน : [อะปะจายะนะ] น. การแสดงความเคารพ, การนับถือ, การนอบน้อม. (ป., ส.).
อปจายนธรรม : น. การแสดงความเคารพ, การนับถือ, การนอบน้อม, การถ่อมตน. (ป. อปจายนธมฺม).
อประมาท, อัประมาท : [อะปฺระหฺมาด, อับปฺระหฺมาด] น. ความไม่มึนเมา; ความไม่เลินเล่อ, ความระวัง, ความเอาใจใส่. (ส.; ป. อปฺปมาท).
อปราชัย, อัปราชัย : [อะปะ, อับปะ] น. ความไม่แพ้, ความชนะ; (กลอน) บางทีใช้ หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคนชั่วอัปราชัย. (ป.).