Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความสัมพันธ์, สัมพันธ์, ความ , then ความ, ความสมพนธ, ความสัมพันธ์, สมพนธ, สมฺพนฺธ, สัมพันธ์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความสัมพันธ์, 3289 found, display 3101-3150
  1. อัน : น. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คําบอกลักษณะ สิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากําหนดสําหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือ ข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธาน หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่า ทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).
  2. อันดก : [ดก] น. ความตาย. (ป., ส. อนฺตก).
  3. อันต ๑ : [อันตะ] น. เขต, แดน; ปลายทาง, ที่จบ, อวสาน, ที่สุด; ความตาย, ความเสื่อมสิ้น. (ป., ส.).
  4. อันตกะ : [อันตะกะ] น. ''ผู้ทําที่สุด'' หมายถึง ความตาย คือ พระยม. (ป., ส.).
  5. อันตคู : น. ผู้ถึงที่สุด, ผู้ชํานะความทุกข์. (ป.).
  6. อันตรการณ์ : น. เหตุขัดข้อง, อุปสรรค, ความติดขัด. (ป.).
  7. อันตราย : [อันตะราย] น. เหตุที่อาจทําให้ถึงแก่ความตายหรือพินาศ. (ป., ส. อนฺตราย ว่า อุปสรรคหรือภัยอันมาในระหว่าง).
  8. อันติมสัจ : [มะสัด] (ปรัชญา) น. ความจริงขั้นสุดท้าย, ความจริง ขั้นสูงสุด.
  9. อันติม, อันติมะ : [อันติมะ] ว. สุดท้าย, สูงสุด, เช่น ความจริงอันติมะ คือ ความจริง สุดท้าย ความจริงสูงสุด. (ป.; อ. ultimate).
  10. อันธการ : น. ความมืด, ความมัว, ความมืดมน; เวลาคํ่า; ความเขลา; อนธการ ก็ว่า. (ป.).
  11. อันว่า : ว. ใช้เป็นคํานําหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความ ต่าง ๆ เช่น อันว่าทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อัน ก็มี เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มี กําหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า).
  12. อัป : [อับปะ] คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ไร้, ไปจาก, ปราศจาก, เช่น อัปภาคย์ ว่า ไร้โชค ปราศจากโชค, อัปยศ ว่า ไร้ยศ, ใช้ อป ก็ได้. (ป., ส. อป).
  13. อัประมาท : [อับปฺระหฺมาด] น. ความไม่มึนเมา; ความไม่เลินเล่อ, ความระวัง, ความเอาใจใส่; อประมาท ก็ว่า. (ส.; ป. อปฺปมาท).
  14. อัปราชัย : [อับปะราไช] น. ความไม่แพ้, ความชนะ, คู่กับ ปราชัย คือ ความแพ้; (กลอน) บางทีใช้หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคน ชั่วอัปราชัย; อปราชัย ก็ว่า. (ป., ส.).
  15. อัพยากฤต : [อับพะยากฺริด] น. กลาง ๆ ระหว่างกุศลกับอกุศล คือไม่จัดเป็นกุศล หรืออกุศล ในความว่า ธรรมที่เป็นอัพยากฤต. (ส.; ป. อพฺยากต).
  16. อัม, อัม : [อำ, อำมะ] น. ไข้เจ็บ, โรค; ชีวิต; ภัย, ความกลัว. (ส. อมฺ).
  17. อัยการ : [ไอยะ] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา ทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงาน อัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงาน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการ ในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้น ก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.
  18. อัศจรรย์ : [อัดสะจัน] ว. แปลก, ประหลาด. น. ปรากฏการณ์อันเนื่องแต่ บุญญาภินิหารของพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้า เช่นเมื่อพระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้แสดงปฐมเทศนา ปลงอายุสังขาร และปรินิพพาน จะมี ความหวั่นไหวปั่นป่วนของโลกธาตุบังเกิดขึ้น. (ส. อาศฺจรฺย; ป. อจฺฉริย).
  19. อัศวโกวิท : น. ผู้มีความชํานาญในเรื่องม้า. (ส. อศฺว + โกวิท).
  20. อัศวโกศล : ว. ผู้มีความชำนาญในเรื่องม้า. (ส. อศฺว + โกศล).
  21. อัษฎางคิกมรรค : [อัดสะดางคิกะมัก] น. ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ ตามหลักพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดําริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ เรียกว่า อริยมรรค มีองค์ ๘ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง.
  22. อัสสาสะ : (แบบ) น. ลมหายใจเข้า, คู่กับ ปัสสาสะ คือ ลมหายใจออก; การหายใจ คล่อง; ความโปร่งใจ. (ป.).
  23. อา ๒ : (กลอน) ว. คําออกเสียงท้ายคําพูดในความรําพึงหรือวิตกเป็นต้น เช่น แม่อา พี่อา.
  24. อ้า ๒ : ว. คำออกเสียงขึ้นต้นประโยคในคำประพันธ์ ใช้ในความรำพึง หรือพรรณนาวิงวอนอย่างเดียวกับคำ โอ้ หรือ โอ้ว่า.
  25. อากร : [กอน] น. หมู่, กอง, เช่น พลากร (พล + อากร); บ่อเกิด, ที่เกิด, เช่น ทรัพยากร ศิลปากร; ค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่รัฐบาลเรียก เก็บ เช่น อากรรังนก อากรมหรสพ; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น ดารากร นรากร ทวิชากร ประชากร หรืออาจมีความหมายคงเดิมก็ได้ เช่น พระปฏิมากร.
  26. อากังขา : น. ความจํานง, ความหวัง. (ป.; ส. อากางฺกฺษา).
  27. อากัมปนะ, อากัมปะ : [กําปะ] น. ความหวั่นไหว. (ส.).
  28. อาการนาม : [อาการะนาม] (ไว) น. คํานามที่บอกกิริยาอาการหรือ ความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคํากริยา หรือคําวิเศษณ์ที่มักมีคํา ''การ'' หรือ ''ความ'' นําหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย.
  29. อาการ, อาการ : [อากาน, อาการะ] น. ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, สภาพ, เช่น อาการไข้; กิริยาท่าทาง เช่น อาการพิรุธ; ลักษณะเดียวกัน เช่น โดยอาการนั้น; ส่วนของร่างกายซึ่งนิยมว่ามี ๓๒ อย่าง เรียกว่า อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น. (ป., ส.).
  30. อากาศธาตุ : [ทาด] น. ที่ว่าง, ที่ว่างเปล่า; ลม, แก๊ส; โดยปริยาย หมายถึงความว่างเปล่า เช่น ลงทุนทําการค้าไปหลายล้านบาท บัดนี้กลายเป็นอากาศธาตุไปหมดแล้ว.
  31. อาขยาต : [ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์ บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัยเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).
  32. อ้างอิง : ก. ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน, ยกมากล่าวเป็นหลัก, เช่น ในการให้ความหมายของคำ เขามักอ้างอิงพจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน. ว. ที่ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน เช่น พจนานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิง เอกสารอ้างอิง.
  33. อาจ : ว. กล้า ในคำว่า อาจหาญ; สามารถ เช่น เรื่องยาก ๆ อย่างนี้เขาทำได้ ผมไม่อาจทำได้อย่างเขา; เป็นคําช่วยกริยาบอกความคาดคะเน เช่น พรุ่งนี้เขาอาจมาประชุมได้ หรือใช้แสดงว่าสิ่งหนึ่งใช้แทนอีก สิ่งหนึ่งได้ เช่น เมื่อไม่มีกะทิก็อาจใช้นมสดได้.
  34. อาจารย์ : น. ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดง ความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง. (ส.; ป. อาจริย).
  35. อาจาร, อาจาร : [จาน, จาระ] น. ความประพฤติ, ความประพฤติดี; จรรยา, มรรยาท; ธรรมเนียม, แบบแผน, หลัก. (ป., ส.).
  36. อาชญา : [อาดยา, อาดชะยา] น. อํานาจ; โทษ (มักใช้สําหรับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาชญา. (ส.; ป. อาณา); (กฎ; โบ; เลิก) คดีที่เกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า คดีอาชญา หรือ ความอาชญา, คู่กับ ความแพ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยโทษหลวง เช่นความมรดก; ศาลที่ชําระความเกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า ศาลอาชญา คู่กับ ศาลแพ่ง ซึ่งชําระความแพ่ง; คํา อาชญา นี้ปัจจุบันนิยมใช้คํา อาญา เป็นพื้น.
  37. อาชญากร : [อาดยากอน, อาดชะยากอน] น. ผู้ก่ออาชญากรรม, ผู้กระทําความผิดที่เป็นคดีอาญา.
  38. อาชญากรรม : [อาดยากำ, อาดชะยากำ] น. การกระทําความผิด ทางอาญา.
  39. อาชวะ : [อาดชะวะ] น. ความซื่อตรง, ความตรงไปตรงมา, ความมีสัตย์, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป. อาชฺชว, ส. อารฺชว).
  40. อ้าซ่า : ว. อาการที่นั่งหรือนอนถ่างขาอย่างเปิดเผย ในความว่า นั่งถ่างขา อ้าซ่า นอนถ่างขาอ้าซ่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เปิดอกอ้าซ่า, ลักษณะที่ประตูหรือหน้าต่างเปิดแบะออกเต็มที่ เช่น เปิดประตูอ้าซ่า.
  41. อาญา : น. อํานาจ; โทษ (มักใช้สําหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาญา. (ป. อาณา; ส. อาชฺ?า); (กฎ) คดีที่เกี่ยวกับการ กระทําความผิดตามกฎหมายอาญา เรียกว่า คดีอาญา แตกต่างกับ คดีที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน ซึ่งเรียกว่า คดีแพ่ง.
  42. อาฏานา : น. เรียกชื่อพิธียิงปืนเพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจตามประเพณีความเชื่อใน ระหว่างพระสงฆ์สวดอาฏานาฏิยสูตรในวันทําพิธีตรุษว่า ยิงปืน อาฏานา, อัฏนา ก็ว่า.
  43. อาดุลย์, อาดูลย์ : น. ความชั่งไม่ได้, ความไม่มีที่เทียบ, ความไม่มีที่เปรียบ. (ป., ส. อตุลฺย).
  44. อาทร : [ทอน] น. ความเอื้อเฟื้อ, ความเอาใจใส่, ความห่วงใย. (ป., ส.).
  45. อาธาร : [ทาน] น. เครื่องคํ้าจุน, ฐานที่รองรับ, เช่น ปัตตาธาร = เชิงบาตร, ตีนบาตร คุณาธาร = ฐานที่รองรับคุณความดี; การอุปถัมภ์; อ่าง, หม้อนํ้า, ที่ขังนํ้า, สระ. (ป., ส.).
  46. อานนท์ ๑, อานันท์ : น. ความเพลิดเพลิน, ความยินดี, ความปลื้มใจ, มักใช้เป็นส่วนท้าย ของคำสมาส เช่น จิตกานนท์. (ป., ส.).
  47. อ่านเล่น : ก. อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น เอาหนังสือไปอ่านเล่น สัก ๒ เล่มซิ. ว. ที่แต่งขึ้นให้อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน ในคำว่า หนังสืออ่านเล่น.
  48. อานะ : น. ลูก, น้อง, (ใช้เป็นคำเรียกแสดงความรู้สึกรักและเอ็นดู), อะนะ หรือ อะหนะ ก็ว่า. [ช. anak ว่า ลูก (ใช้ได้ทั้งลูกคนและลูกสัตว์)].
  49. อานุภาพ, อานุภาวะ : น. อํานาจ, ฤทธิ์เดช, ความยิ่งใหญ่. (ป., ส.).
  50. อาบแดด : ก. ให้ผิวกายส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดถูกแดด เพื่อ สุขภาพหรือความงาม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | [3101-3150] | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3289

(0.1427 sec)