Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความสัมพันธ์, สัมพันธ์, ความ , then ความ, ความสมพนธ, ความสัมพันธ์, สมพนธ, สมฺพนฺธ, สัมพันธ์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความสัมพันธ์, 3289 found, display 3201-3250
  1. อุจเฉททิฐิ : [อุดเฉทะ] น. ความเห็นว่าตายแล้วสูญ (ไม่มีปฏิสนธิ วิญญาณหรือการเกิดใหม่). (ป. อุจฺเฉททิฏฺ??).
  2. อุณหภูมิ : [อุนหะพูม] น. ระดับความสูงต่ำของความร้อน นิยมวัด ได้ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์.
  3. อุดเตา : น. เตารีด, เครื่องทำด้วยโลหะ สำหรับรีดผ้าให้เรียบโดยอาศัย ความร้อนเช่นถ่าน หรือ ไฟฟ้า.
  4. อุดมคติ : [อุดมมะ, อุดม] น. จินตนาการที่ถือว่าเป็นมาตรฐาน แห่งความดี ความงาม และความจริง ทางใดทางหนึ่งที่มนุษย์ ถือว่าเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตของตน.
  5. อุตมภาพ : น. ภาวะอันสูงสุด, ความสูงสุด; ฐานะอันดี.
  6. อุตสาหกรรมศิลป์ : [อุดสาหะกําสิน] น. วิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิด ความชํานาญในการประดิษฐ์และเกิดความคุ้นเคยกับการใช้ เครื่องมือและเครื่องกล.
  7. อุตสาห, อุตส่าห์, อุตสาหะ : น. ความบากบั่น, ความพยายาม, ความขยัน, ความอดทน, ใช้ว่า อุษาหะ อุสสาหะ หรือ อุสส่าห์ ก็มี. ก. บากบั่น, พยายาม, ขยัน, อดทน. (ส. อุตฺสาห; ป. อุสฺสาห).
  8. อุทกศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยนํ้าบนพื้นโลกเกี่ยวกับการวัดหรือการ สํารวจแผนที่ทะเล โดยมีความมุ่งหมายเฉพาะเพื่อการเดินเรือ. (ป., ส. อุทก + ส. ศาสฺตฺร).
  9. อุททาม : [อุด] ว. คะนอง, ปราศจากความเหนี่ยวรั้ง. (ป. อุทฺทาม).
  10. อุทธัจ : [อุดทัด] น. ความฟุ้งซ่าน; ความประหม่า, ความขวยเขิน; อุธัจ ก็ว่า. (ป. อุทฺธจฺจ ว่า ความฟุ้งซ่าน; ส. เอาทฺธตฺย).
  11. อุทยานแห่งชาติ : (กฎ) น. พื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งที่ได้สงวน รักษาไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม เพื่อให้เป็นประโยชน์ แก่การศึกษาและความรื่นรมย์ของประชาชน โดยมีพระราชกฤษฎีกา ประกาศกําหนดให้เป็น อุทยานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วย อุทยานแห่งชาติ.
  12. อุทัย : น. การเกิดขึ้น เช่น สุโขทัย = การเกิดขึ้นแห่งความสุข, การตั้งขึ้น เช่น อรุโณทัย = การตั้งขึ้นแห่งอรุณ. ก. เริ่มส่องแสง ในคำว่า อาทิตย์อุทัย. (ป., ส.).
  13. อุทาร : [ทาน] ว. สูง, เลิศ, ประเสริฐ, ยิ่งใหญ่; ซื่อตรง, มีความจริงใจ; สุภาพ; ถูกต้อง. (ส.).
  14. อุธัจ : น. ความฟุ้งซ่าน; ความประหม่า, ความขวยเขิน; อุทธัจ ก็ว่า. (ป. อุทฺธจฺจ ว่า ความฟุ้งซ่าน; ส. เอาทฺธตฺย).
  15. อุ่นกายสบายใจ : ว. มีความรู้สึกสุขสบายทั้งกายและใจ.
  16. อุ่นใจ : ว. มีความรู้สึกสบายใจขึ้น, มีความมั่นใจ, ไม่มีกังวล, เช่น มีเงินมากอยู่ในกระเป๋าทำให้อุ่นใจ.
  17. อุ่นอกอุ่นใจ : ว. มีความรู้สึกสบายอกสบายใจและมีความมั่นใจขึ้น เช่น อยู่ใกล้ ๆ ผู้ใหญ่รู้สึกอุ่นอกอุ่นใจ.
  18. อุบ๊ะ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือประหลาดใจเป็นต้น, บ๊ะ ก็ว่า.
  19. อุบัติเหตุ : น. เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด, ความบังเอิญเป็น.
  20. อุเบกขา : น. ความเที่ยงธรรม, ความวางตัวเป็นกลาง, ความวางใจเฉยอยู่, เป็นข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป. อุเปกฺขา).
  21. อุปธิ : [อุปะทิ] น. กิเลส, ความพัวพัน, เหตุแห่งการเวียนเกิด; ขันธ์ ๕, ร่างกาย. (ป., ส.).
  22. อุปนิสัย : [อุปะนิไส, อุบปะนิไส] น. ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาใน สันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้อง ทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน, ความประพฤติที่เคยชินจน เกือบเป็นนิสัย เช่น นักเรียนคนนี้มีอุปนิสัยดี. (ป. อุปนิสฺสย).
  23. อุปริภาพ : น. ฐานะหรือความเป็นอยู่อย่างสูง. (ป., ส. อุปริภาว).
  24. อุปริมปริยาย : [ปะริยาย] น. เนื้อความอันสูงสุด.
  25. อุปสรรค : [อุปะสัก, อุบปะสัก] น. เครื่องขัดข้อง, ความขัดข้อง, เครื่อง ขัดขวาง. (ส. อุปสรฺค; ป. อุปสคฺค); คำสำหรับใช้เติมข้างหน้า คำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมาย แผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิม เป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตาม ปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่ายปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.
  26. อุยยาม : น. ความหมั่น, ความบากบั่น, ความขยันขันแข็ง. (ป.; ส. อุทฺยาม).
  27. อุยโยค : น. การจากไป, ความเสื่อมสิ้น; ความตาย. (ป.).
  28. อุลโลละ : [อุน] น. คลื่น; ความปั่นป่วน, ความไม่ราบคาบ. (ป., ส.).
  29. อุษณ : [อุดสะนะ] น. ความร้อน; ฤดูร้อน; ของร้อน. ว. ร้อน, อบอุ่น. (ส., ป. อุณฺห).
  30. อุษณกร : [กอน] น. ''ผู้กระทําความร้อน'' หมายถึง พระอาทิตย์.
  31. อุสภ ๑ : [อุสบ] น. วัวผู้ (เป็นเครื่องหมายแสดงความสามารถของบุรุษ ผู้นักรบ), เขียนเป็น อุสุภ ก็มี. (ป.; ส. ฤษภ, วฺฤษฺภ).
  32. อุสภ ๒ : [อุสบ] น. ชื่อมาตราวัดความยาวของอินเดียโบราณเท่ากับ ๑ เส้น ๕ วา, ๘๐ อุสภ เป็น ๑ คาวุต. (ป.).
  33. อุสุม : น. ไอ, ไออุ่น; ความร้อน; ฤดูร้อน, แผลงใช้เป็น อรสุม ก็มี เช่น อรสุมพล = กําลังไอนํ้า; ในไวยากรณ์เรียกเสียงพยัญชนะที่มี ลมเสียดแทรกออกมาระหว่างลิ้นกับฟัน ว่า มีเสียงอุสุม ได้แก่ เสียง ศ ษ ส. '' (ป.; ส. อุษฺมนฺ).
  34. อุเหม่ : (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธเพื่อขู่หรือตวาด, เหม่ หรือ เหม่ ๆ ก็ว่า.
  35. อู้ ๒ : ก. ถ่วง, แกล้งทําให้เสร็จช้าลง, เช่น อู้งาน, รอเวลาไว้เพื่อหวังเอา ประโยชน์ ในความว่า อู้ไว้กินบ้อ (ในการเล่นบ้อหุ้น).
  36. เอ ๒, เอ๊ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจ สงสัย เป็นต้น.
  37. เอกจิต : [เอกะ] น. ความคิดจําเพาะถึงสิ่งอย่างเดียว, ความคิด อันหนึ่งอันเดียว, ความคิดต้องกัน, ความเห็นพ้องกัน. (ป., ส. เอกจิตฺต).
  38. เอกฉันท์ : [เอกกะ] ว. มีความเห็นเป็นอย่างเดียวกันหมด.
  39. เอกรรถประโยค : [เอกัดถะ] น. ประโยคที่มีเนื้อความเดียว มีบท กริยาสําคัญเพียงบทเดียว.
  40. เอกลักษณ์ : [เอกกะ] น. ลักษณะที่เหมือนกันหรือมีร่วมกัน; (คณิต) ข้อความที่แสดงความเท่ากันของนิพจน์ ๒ นิพจน์ สําหรับทุกค่า ของตัวไม่ทราบค่าที่ปรากฏในนิพจน์นั้น ๆ. (อ. identity).
  41. เอกสาร : [เอกกะ] น. หนังสือที่เป็นหลักฐาน; (กฎ) กระดาษหรือ วัตถุอื่นใด ซึ่งได้ทําให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่น อันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น.
  42. เอกัคตา : [เอกักคะ] น. ''ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว'' หมายถึง ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว. (ป. เอกคฺคตา).
  43. เอ็ด ๒ : ก. ทําเสียงดัง, ดุ, ดุเสียงดัง; แพร่งพราย; มักใช้ในความปฏิเสธว่า อย่าเอ็ดไป. ว. เอะอะ, อึกทึก.
  44. เอ๊ย : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการว่าพูดผิดไปเป็นต้น. ว. คําลงท้ายชื่อ หรือถ้อยคําเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความเอ็นดู, เอ๋ย ก็ว่า.
  45. เอ๋ย : ว. คําลงท้ายชื่อหรือถ้อยคําเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความ เอ็นดู, เอ๊ย ก็ว่า; คําที่ใช้ในตอนขึ้นต้นคํากลอนหรือบทดอกสร้อย เช่น กาเอ๋ย กาดํา รถเอ๋ยรถทรง.
  46. เอ่ย ๒ : ก. เปล่งเสียงพูด, เริ่มพูด. ว. คําออกเสียงใช้ในความเพื่อให้ทาย เช่น นกอะไรเอ่ย.
  47. เออ ๆ คะ ๆ : ก. รับฟังโดยไม่ขัดคอ, รับฟังไปตามเรื่องตามราว โดยไม่แสดงความคิดเห็น, เช่น ฉันก็เออ ๆ คะ ๆ ไปอย่างนั้นแหละ.
  48. เออแน่ะ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความพิศวงว่า ไม่น่าจะเป็น อย่างนั้น.
  49. เอ้อเฮอ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความพิศวงหรือประหลาดใจเป็นต้น.
  50. เอ๊ะ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความฉงน ไม่เข้าใจ หรือไม่พอใจ เป็นต้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | [3201-3250] | 3251-3289

(0.1522 sec)