Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเกี่ยวข้อง, เกี่ยวข้อง, ความ , then กยวของ, เกี่ยวข้อง, ความ, ความกยวของ, ความเกี่ยวข้อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเกี่ยวข้อง, 3316 found, display 1701-1750
  1. ภาคภูมิใจ : ก. กระหยิ่มใจ, รู้สึกว่ามีเกียรติยศ, เช่น เขาภาคภูมิใจใน ความสำเร็จ.
  2. ภาพนิ่ง : น. ภาพขยายที่ไม่มีการเคลื่อนไหวบนจอ เกิดจากการฉายแสง ที่มีความเข้มมาก ผ่านแผ่นสไลด์หรือแผ่นฟิล์มภาพไปยังจอ.
  3. ภาพพจน์ : [พาบพด] น. ถ้อยคำที่เป็นสํานวนโวหารทําให้นึกเห็นเป็น ภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผล ต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่าง กว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา. (อ. figure of speech).
  4. ภาพ, ภาพ– : [พาบ, พาบพะ–] น. ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วน ท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย; รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึก เห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน, สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบ ไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย. (ป., ส. ภาว).
  5. ภาพลวงตา : น. ภาพที่ปรากฏให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น เห็น พยับแดดเป็นนํ้า เห็นเชือกเป็นงู.
  6. ภาพลักษณ์ : [พาบลัก] น. ภาพที่เกิดจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าควรจะ เป็นเช่นนั้น, จินตภาพ ก็ว่า. (อ. image).
  7. ภาร, ภาร–, ภาระ ๑ : [พาน, พาระ–] น. ของหนัก, นํ้าหนัก; ธุระที่หนัก, การงานที่หนัก; หน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่มีภาระในการเลี้ยงดูลูก ครูมีภาระในการ อบรมสั่งสอนศิษย์, ความรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่ตายหมด พี่ต้องรับภาระ ส่งเสียเลี้ยงดูน้อง. ว. หนัก. (ป.).
  8. ภารโรง : [พาน–] น. ผู้รักษาและทําความสะอาดสถานที่.
  9. ภาระติดพัน : น. ความผูกพันที่จะต้องกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  10. ภาวนา : [พาวะ–] น. การทําให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทางจิตใจ. ก. สำรวมใจให้แน่วแน่ เป็นสมาธิ เช่น สวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจตั้งความปรารถนา เช่น นั่ง ภาวนาขอให้พระช่วย. (ป.).
  11. ภาว–, ภาวะ : [พาวะ–] น. ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ, เช่น ภาวะน้ำท่วม ภาวะ เศรษฐกิจตกต่ำ. (ป., ส.).
  12. ภาวศุทธิ : [พาวะสุดทิ] น. ความบริสุทธิ์แห่งใจ. (ส.).
  13. ภาวะฉุกเฉิน : น. ภาวะอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัย แห่งราชอาณาจักร หรืออันอาจทําให้ประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือ ภาวะการรบหรือการสงคราม.
  14. ภาษา : น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษา ราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและ แต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษา จาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.
  15. ภาษาคำโดด : น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยน แปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่อง กับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำ สองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language).
  16. ภาษาคำติดต่อ : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการเติมอุปสรรค อาคม หรือปัจจัย ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระและไม่มีความหมาย ผสานเข้ากับคำ บางคำซึ่งเป็นคำตั้ง ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ แต่จะมีรูปและความหมายเกี่ยว เนื่องกับคำตั้งนั้น เช่น ภาษาเขมร ภาษาญี่ปุ่น ภาษาตุรกี ภาษาฮังการี. (อ. agglutinative language).
  17. ภาษาธรรม : น. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมาย ที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาว บ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.
  18. ภาษาปาก : น. ภาษาพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า.
  19. ภาษาศาสตร์ : น. วิชาที่ศึกษาภาษาในแง่ต่าง ๆ เช่น เสียง โครงสร้าง ความหมาย โดยอาศัยวิธีการวิทยาศาสตร์ เช่น มีการตั้งสมมุติฐาน เก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปผล.
  20. ภาษิต : น. ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็น คติ เช่น กงเกวียนกําเกวียน. (ส.).
  21. ภาษี : น. เงินที่รัฐหรือท้องถิ่นเรียกเก็บจากบุคคล เพื่อใช้จ่ายในการบริหาร ประเทศหรือท้องถิ่น เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีบํารุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม; ความได้เปรียบ เช่น เขามีภาษีกว่า.
  22. ภิญโญภาพ : น. ความยิ่ง, ความยิ่งขึ้นไป.
  23. ภิยโยภาพ : น. ภิญโญภาพ, ความยิ่ง, ความยิ่งขึ้นไป.
  24. ภูติ, ภูตี : [พูติ, พูตี] น. ความรุ่งเรือง, ความมั่งคั่ง. (ป., ส. ภูติ).
  25. ภูมิ ๒ : [พูม] น. พื้น, ชั้น, พื้นเพ; ความรู้ เช่น อวดภูมิ อมภูมิ.
  26. ภูมิประเทศ : [พูมิ–] น. ลักษณะทางกายภาพและทางธรรมชาติของแผ่นดิน รวมถึงความสูงตํ่าของผิวโลก ทะเลสาบ ถนนหนทาง และเมืองต่าง ๆ.
  27. ภูมิปัญญา : [พูม–] น. พื้นความรู้ความสามารถ.
  28. ภูมิรู้ : [พูม–] น. ความรู้, พื้นความรู้.
  29. ภูมิศาสตร์ : [พูมิ–] น. วิชาที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติกับสังคมที่ปรากฏในดินแดนต่าง ๆ ของโลก.
  30. ภูริ ๓, ภูรี : น. ความฉลาด, ปัญญา. (ป.).
  31. เภท : น. การแบ่ง, การแตกแยก, การทำลาย, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส, เช่น สามัคคีเภท สังฆเภท; ส่วน, ภาค; ความแตกต่าง, ความแปลก; ชนิด, อย่าง. ก. แตก, หัก, ทําลาย, พัง. (ป., ส.).
  32. เภรวะ : [–ระ–] น. ความขลาด, ความกลัว. (ป.).
  33. โภชนากร : [โพชะนา–, โพดชะนา–] น. ผู้ที่มีความรู้เรื่องโภชนาการแล้ว สามารถให้ความรู้และคําแนะนําในเรื่องอาหารแก่บุคคลอื่นต่อไปได้.
  34. มงกุฎ : น. เครื่องสวมพระเศียรโดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน มียอดสูง, เครื่อง สวมศีรษะ มีลักษณะต่าง ๆ กัน มักใช้สวมเป็นเครื่องหมายแห่งความ เป็นผู้ชนะเลิศในการประกวดความงาม เช่น มงกุฎนางงามจักรวาล มงกุฎนางสาวไทย. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม.
  35. มงคล, มงคล- : [มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่ง ซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้าย มากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องราง ของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกัน ภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้น สำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทย หรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).
  36. มงคลวาท : [มงคนละวาด] น. คําให้พร, คําแสดงความยินดี.
  37. มติ : [มะติ] น. ความเห็น, ความคิดเห็น, เช่น ที่ประชุมลงมติ มติของข้าพเจ้า, ความรู้; ข้อวินิจฉัยญัตติที่เสนอต่อที่ประชุม. (ป., ส.).
  38. มติมหาชน : น. ความคิดเห็นหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่เห็นพ้องต้องกันใน เรื่องใดเรื่องหนึ่ง.
  39. มทนียะ : [มะทะ-] ว. เป็นที่ตั้งแห่งความเมา, ที่ควรเมา. (ป.).
  40. มทะ : [มะทะ] น. ความเมา; นํ้ามันช้างที่ตกมัน; สภาพช้างที่ตกมัน. (ป., ส.).
  41. มธุร-, มธุระ : [มะทุระ-] น. อ้อยแดง; ความหวาน, ความไพเราะ. ว. หวาน, ไพเราะ. (ป., ส.).
  42. มนัสดาป : [มะนัดสะดาบ] น. ความร้อนใจ. (ส.).
  43. มนัสวี : [มะนัดสะ-] น. ผู้เป็นปราชญ์, ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว, ผู้มีความคิดสูง. (ส.).
  44. มนุษยสัมพันธ์ : [มะนุดสะยะ-, มะนุดสำพัน] น. ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่าง มนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน.
  45. มนุษย์อวกาศ : น. คนที่ฝึกจนมีความชํานาญเพื่อเดินทางออกนอกบรรยากาศของโลก.
  46. มโนกรรม : น. การกระทำทางใจ, การคิด, ความคิด. (ป. มโนกมฺม).
  47. มโนคติ : น. ความคิด. (ส.).
  48. มโนช : น. ''เกิดแต่ใจ'' คือ ความรัก. (ส.).
  49. มโนทุจริต : [มะโนทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางใจ มี ๓ อย่าง ได้แก่ ความโลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความพยาบาท ๑ ความเห็น ผิดจากทำนองคลองธรรม ๑.
  50. มโนธรรม : น. ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี, ความรู้สึกว่าอะไรควรทําอะไร ไม่ควรทํา.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | [1701-1750] | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3316

(0.1931 sec)