Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเกี่ยวข้อง, เกี่ยวข้อง, ความ , then กยวของ, เกี่ยวข้อง, ความ, ความกยวของ, ความเกี่ยวข้อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเกี่ยวข้อง, 3316 found, display 2051-2100
  1. ราชธรรม : น. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของ ผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่ ๑. ทาน–การให้ ๒. ศีล–ความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ–การบริจาค, ความเสียสละ ๔. อาชชวะ–ความซื่อตรง ๕. มัททวะ–ความอ่อนโยน ๖. ตปะ–ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะ–ความ ไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา–ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ–ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ–ความไม่คลาดธรรม. (ส.).
  2. ราชบัณฑิต : [–บันดิด] น. นักปราชญ์หลวงมีความรู้ทางภาษาบาลี; สมาชิกองค์การวิทยาการของรัฐที่เรียกว่า ราชบัณฑิตยสถาน.
  3. ราชบัลลังก์ : น. บัลลังก์ของพระมหากษัตริย์; ความเป็นพระมหากษัตริย์ เช่น สละราชบัลลังก์.
  4. ราชย์ : น. ความเป็นพระราชา, ราชสมบัติ, เช่น ขึ้นครองราชย์ เสวยราชย์. (ส.; ป. รชฺช).
  5. ราชสมบัติ : น. สมบัติของพระมหากษัตริย์; ความเป็นพระมหากษัตริย์ เช่น ขึ้นครองราชสมบัติ.
  6. ราชสีห์ : น. พญาสิงโต, สิงหราช หรือ สีหราช ก็เรียก; สัตว์ในนิยาย ถือว่ามีความ ดุร้ายและมีกําลังมาก, สิงห์ ก็เรียก. (ป. ราช + สีห; ส. ราช + สึห).
  7. ราชินูปถัมภ์ : น. ความอุปถัมภ์ของพระราชินี ใช้ว่า พระบรมราชินูปถัมภ์.
  8. ราชูปถัมภ์, ราโชปถัมภ์ : [ราชูปะถำ, ราโชปะถำ] น. ความอุปถัมภ์ของ พระราชา ใช้ว่า พระบรมราชูปถัมภ์. (ป.).
  9. ราบคาบ : ว. อาการที่ยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เช่น ยอมแพ้อย่างราบคาบ; เรียบร้อยปราศจากเสี้ยนหนามหรือความกระด้างกระเดื่อง เช่น บ้านเมือง สงบราบคาบตำรวจปราบโจรผู้ร้ายเสียราบคาบ.
  10. ร้ายกาจ : ว. ร้ายมาก, ร้ายยิ่ง, เช่น เด็กคนนี้ความประพฤติร้ายกาจ ขยะ ส่งกลิ่นเหม็นร้ายกาจ.
  11. ร้ายแรง : ว. รุนแรง เช่น น้ำท่วมทำให้บ้านเมืองเกิดความเสียหายอย่าง ร้ายแรง, ร้ายมาก เช่น ทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง.
  12. ร้าวระบม : ก. ปวดร้าวเพราะความบอบช้ำ.
  13. ราศี ๒ : น. ความสง่างาม, ลักษณะดีงามของคน, เช่น หน้าตามีราศี, โดยปริยาย หมายความว่าความอิ่มเอิบ, ความภาคภูมิ, เช่น ได้ตำแหน่งดี ดูมีราศีขึ้น; สิริมงคล เชื่อกันว่าเวลาเช้าราศีอยู่ที่หน้า เวลากลางวันราศีอยู่ที่หน้าอก เวลากลางคืนราศีอยู่ที่เท้า.
  14. รำพัน : ก. พรํ่าพรรณนาตามอารมณ์ เช่น เขารำพันถึงความทุกข์ของตน แม่รำพัน แต่ความดีของลูก.
  15. รำพึง : ก. คิดถึง, คิดคำนึงอยู่ในใจ, เช่น เขารำพึงถึงความหลังด้วยความเศร้าใจ. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย เป็นกิริยารำพึง.
  16. ร่ำเรียน : ก. ท่องบ่น, เพาะความรู้, หาความรู้ฝึกหัด.
  17. ริ้วรอย : น. ลักษณะที่เป็นแนวเป็นทาง เช่น ถูกหนามเกี่ยวเป็นริ้วรอย ถูกแมวข่วนเป็นริ้วรอย,โดยปริยายหมายความว่า ร่องรอย เช่น หน้าตา มีริ้วรอยแห่งความทุกข์.
  18. รีดนาทาเน้น, รีดนาทาเร้น : ก. ขูดรีดเอาทรัพย์สินจนแทบหมดเนื้อหมดตัว; เคี่ยวเข็ญให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกินกำลังความสามารถ เช่น รีดนาทาเน้นเด็ก ให้ทำงานหนัก.
  19. รื้อ : ก. แยกออกหรือถอดออกเป็นต้นจากสิ่งที่เป็นรูปแล้วให้เสียความเป็น กลุ่มก้อนของรูปเดิม เช่น รื้อบ้าน รื้อหลังคา รื้อข้าวของกระจุยกระจาย; เอาขึ้นมาใหม่ เช่น รื้อเรื่องราวที่ระงับไว้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ รื้อเรื่องเดิม ขึ้นมาเขียนใหม่; ขนออก เช่น รื้อสัตว์จากวัฏสงสาร.
  20. รุ่งเรือง : ว. สว่างไสว เช่น จุดโคมไฟรุ่งเรืองแสงจับท้องฟ้า, งามสุกใส เช่น ปราสาทราชมนเทียรดูรุ่งเรืองเมื่อต้องแสงจันทร์, เจริญ, อุดมสมบูรณ์, เช่น บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองอนาคตรุ่งเรือง, งอกงาม เช่น ให้มีความรุ่งเรือง ในพระศาสนา.
  21. รุจนะ : [รุดจะนะ] น. ความชอบใจ, ความพอใจ. (ป.).
  22. รุจิ, รุจี : น. แสง, ความรุ่งเรือง; ความงาม; ความชอบใจ. ว. รุ่งเรือง, สว่าง. (ป., ส. รุจิ).
  23. รุชา : น. ความไม่สบาย, ความเสียดแทง; โรค. (ป., ส.).
  24. รุนแรง : ว. หนักมาก, แรงมาก, เกินปรกติ, เช่น ดุว่าอย่างรุนแรง คัดค้าน อย่างรุนแรง ความคิดเห็นรุนแรง.
  25. รู้เขารู้เรา : ก. รู้จักขอบเขตความสามารถของตนเองและผู้อื่น.
  26. รู้คุณ : ก. ระลึกถึงความดีที่ผู้อื่นทำให้แก่ตน เช่น ลูกศิษย์รู้คุณอาจารย์ ลูกรู้คุณพ่อแม่.
  27. รูดซิป : ก. ดึงซิปให้ติดกันหรือให้แยกออก; โดยปริยายหมายความว่า ไม่ยอมเปิดปากพูดในเรื่องที่เป็นความลับ.
  28. รู้ตื้นลึกหนาบาง : ก. รู้ความเป็นไปของผู้อื่นอย่างละเอียด.
  29. รู้เต็มอก : ก. รู้ความเป็นไปอย่างดี แต่ไม่อาจพูดออกมาได้ เช่น รู้เต็มอก ว่าเขาไม่ซื่อสัตย์ แต่ก็บอกใครไม่ได้, รู้อยู่แก่ใจ รู้อยู่เต็มใจ หรือ รู้อยู่ เต็มอก ก็ว่า.
  30. รู้ไต๋ : ก. รู้ความลับ, รู้ความในใจ, เช่น พอเขามาตีสนิทก็รู้ไต๋แล้วว่า ต้องการอะไร.
  31. รู้ทัน : ก. รู้ถึงเหตุการณ์หรือความคิดของบุคคลอื่นไม่เพลี่ยงพล้ำเสีย เปรียบ เช่น รู้ทันว่าน้ำจะท่วมจึงขนของหนีเสียก่อน รู้ทันความคิด ของเพื่อนว่าจะหักหลังเรื่องผลประโยชน์, รู้เท่าทัน ก็ว่า.
  32. รู้ท่า : ก. รู้ทันความคิด, รู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งคิดอย่างไร, เช่น เห็นหน้าน้อง ก็รู้ท่าว่าจะมาขอเงิน.
  33. รู้เท่า : ก. รู้สึกสภาพที่เป็นจริง, รู้ตามความเป็นจริง, เช่น รู้เท่าสังขาร; รู้ทัน เช่น รู้เท่าความคิดของผู้อื่น, รู้เท่าทัน ก็ว่า.
  34. รู้น้อยพลอยรำคาญ : (สํา) ก. รู้น้อยไม่เข้าใจ ทําให้เกิดความรําคาญใจ, มักพูดเข้าคู่กับ รู้มากยากนาน เป็น รู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรําคาญ.
  35. รูปทรง : น. ทรวดทรง สัณฐาน ประกอบด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น เรือลำนี้รูปทรงเพรียว; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นเป็นกลุ่มก้อน หรือเห็นแต่ ๒ ด้านขึ้นไป มีลักษณะจำกัดด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น รูปทรงพีระมิด.
  36. รูปร่าง : น. ลักษณะร่างกาย เช่น เขามีรูปร่างสูงโปร่ง, ทรวดทรง, ทรง, เช่น หลังคานี้รูปร่างเหมือนเก๋งจีน; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอก เป็นกำหนด มีลักษณะจำกัดเพียงความกว้างกับสูง เช่น รูปร่างพื้นฐาน ได้แก่ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม เป็นต้น.
  37. รู้รส : ก. รู้สึกถึงผลที่ได้รับ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ถ้าเด็กดื้อต้องตีเสีย บ้าง จะได้รู้รสไม้เรียว ฉันเพิ่งรู้รสความหิว.
  38. รู้เรื่อง : ก. เข้าใจเรื่อง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดเท่าไร ๆ ก็ไม่ รู้เรื่อง.
  39. รู้ไส้ : ก. รู้ความในหรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นเป็นอย่างดี (มักใช้เกี่ยว กับฐานะการเงิน).
  40. รู้หนเหนือหนใต้ : ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วไม่รู้หนเหนือหนใต้, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้หนเหนือ หนใต้, รู้เหนือรู้ใต้ ก็ว่า.
  41. รู้เห็นเป็นใจ : ก. รู้เห็นเหตุการณ์และให้ความร่วมมือร่วมใจด้วย เช่น เขารู้เห็นเป็นใจกับโจร.
  42. รู้เหนือรู้ใต้ : ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงมาก ไปแล้วไม่รู้เหนือรู้ใต้, โดยปริยาย หมายความว่าไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้เหนือรู้ใต้, รู้หนเหนือ หนใต้ ก็ว่า.
  43. เรขาคณิตบริสุทธิ์ : (คณิต) น. เรขาคณิตที่ใช้กฎเกณฑ์ของระบบ ตรรกศาสตร์โดยเริ่มต้นจากบทนิยามและสัจพจน์ที่เกี่ยวกับรูปทรง มาเรียบเรียงให้เป็นทฤษฎีบทแล้วอนุมานผลลัพธ์จากทฤษฎีบท. เรขาคณิตวิเคราะห์ (คณิต) น. เรขาคณิตที่ใช้สมการมาควบคุมเซต ของจุดที่เรียงกันเป็นรูปทรงต่าง ๆ แล้วอนุมานผลลัพธ์จากการแก้ สมการนั้น ๆ พร้อมทั้งการแปลความหมายด้วย.
  44. เร้น : ก. หลบให้ลับตาคน, แฝง, เช่น เร้นกายเข้าไปในความมืด เร้นเข้าไป ในถ้ำไม่ให้คนเห็น, หลีกให้พ้นจากผู้คนเพื่อหาความวิเวก เช่น พระภิกษุหลีกไปเร้นอยู่ในป่า.
  45. เรา : สรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคน ก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะ ต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม.
  46. เร่า, เร่า ๆ : ว. สั่นระรัว, ไหวถี่ ๆ, เช่น ดิ้นเร่า ๆ, อาการที่ซอยเท้าถี่ ๆ ด้วยความ โกรธเป็นต้น เช่น เต้นเร่า ๆ, เรื่อย ๆ ไม่หยุดเสียง เช่น นกกาเหว่าเร่าร้อง.
  47. เริด ๒ : ว. เรียกอาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับว่า นอนตาเริด; เรียกอาการ ที่วิ่งมาอย่างเร็วด้วยความตื่นเต้นหรือกลัวเป็นต้นว่า วิ่งหน้าเริด; ร่นสูง ขึ้นมามากเช่น นั่งกระโปรงเริดเลยหัวเข่า, (ปาก) สวยมากเป็นพิเศษ เช่น แต่งตัวเสียเริด.
  48. เรียกร้อง : ก. ร้องขอแกมบังคับให้ทำหรือให้งดการกระทำ เช่น เรียกร้อง ขอความเป็นธรรม เรียกร้องขอความเห็นใจ.
  49. เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
  50. เรียน ๒ : ใช้เป็นคำประกอบหน้ากริยาอื่นเพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เรียนถาม เรียนเชิญ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | [2051-2100] | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3316

(0.1589 sec)