Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเกี่ยวข้อง, เกี่ยวข้อง, ความ , then กยวของ, เกี่ยวข้อง, ความ, ความกยวของ, ความเกี่ยวข้อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเกี่ยวข้อง, 3316 found, display 951-1000
  1. ทหารผ่านศึก : (กฎ) น. ทหารหรือบุคคลซึ่งมีตําแหน่งหน้าที่ใน ราชการทหารหรือบุคคลซึ่งทําหน้าที่ทหารตามที่กระทรวง กลาโหมกําหนด และได้กระทําหน้าที่นั้นในการสงครามหรือ ในการรบไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรหรือในการ ปราบปรามการจลาจล; ทหารหรือบุคคลซึ่งทําการป้องกันหรือ ปราบปรามการกระทําอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความ ปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสํานัก นายกรัฐมนตรีกําหนด.
  2. ท้องขาว ๒ : น. ชื่อหนูขนาดกลางชนิด Rattus rattus ในวงศ์ Muridae ตัวสี นํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแดง พื้นท้องสีขาว มีเส้นสีนํ้าตาลหรือ ดําพาดขวางหน้าอก จมูกแหลม ใบหูใหญ่ หางสีดํายาวไล่เลี่ย กับความยาวของส่วนหัวและลําตัว กินเมล็ดพืชและเศษอาหาร มีชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย.
  3. ทองคำ : น. ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓?ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็น แผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณ ต่าง ๆ และทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วย หน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกําหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัด ราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).
  4. ทองเค : น. เรียกทองคําที่มีเกณฑ์สําหรับวัดความบริสุทธิ์เป็นกะรัตว่า ทองเค, ทอง ๒๔ กะรัต ถือเป็นทองแท้ ถ้ามีกะรัตตํ่าลงมา ก็มีโลหะ อื่นเจือมากขึ้นตามส่วน เช่น ทองคํา ๑๔ กะรัต หมายถึงมีเนื้อทอง ๑๔ ส่วน มีโลหะอื่นปน ๑๐ ส่วน, ทองนอก ก็เรียก.
  5. ทองแดง ๑ : น. ธาตุลําดับที่ ๒๙ สัญลักษณ์ Cu เป็นโลหะ ลักษณะ เป็นของแข็งสีแดง หลอมละลายที่ ๑๐๘๓?ซ. เนื้ออ่อนบุให้เป็น แผ่นบางและรีดเป็นเส้นลวดได้ง่าย เป็นตัวนําความร้อนและไฟฟ้า ได้ดี. (อ. copper).
  6. ทองหมั้น : น. ทองคําที่ฝ่ายชายมอบให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง แสดงความ มั่นหมายว่าจะแต่งงานด้วย.
  7. ทอดสนิท : ก. ผูกไมตรี, สร้างความสัมพันธ์, เช่น ซื้อของ มาฝากบ่อย ๆ เพื่อทอดสนิทให้เขารัก.
  8. ทอดสะพาน : ก. ใช้สื่อสายเข้าไปติดต่อทําความสนิทสนมกับผู้ที่ ต้องการคุ้นเคย, แสดงกิริยาท่าทางเป็นทํานองอยากติดต่อด้วย.
  9. ทอดแห : ก. เหวี่ยงแหให้แผ่กว้างออกไปเพื่อจับปลาเป็นต้น. ทอดอาลัย ก. ปล่อยไปตามบุญตามกรรมทั้ง ๆ ที่ยังมีใจผูกพันหรือ มีความเสียดายอยู่.
  10. ท้อถอย : ก. มีความพยายามลดน้อยถอยลง.
  11. ทอร์นาโด : น. ชื่อพายุประจำถิ่นขนาดเล็ก แต่มีความรุนแรงมาก มีขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลาง ๒-๓ กิโลเมตร บริเวณศูนย์กลางพายุมีความกด อากาศต่ำมาก จึงทำให้อากาศรอบนอกที่พัดเข้าหาศูนย์กลางพายุ มีความเร็วสูงมาก เมื่อเริ่มเกิดเมฆจะม้วนตัวเป็นรูปกรวยหรืองวง ยื่นออกมาจากฐานเมฆ ส่วนมากเกิดในบริเวณตอนกลางของ สหรัฐอเมริกาและทางตะวันตกของออสเตรเลีย, ลมงวง หรือ ลมงวงช้าง ก็เรียก. (อ. tornado).
  12. ทะ ๑ : คําใช้นําหน้าคําที่ขึ้นต้นด้วยตัว ท ในบทกลอน มีความแปล อย่างเดียวกับคําเดิมนั้น หรือเป็นคําซํ้าซึ่งคําหน้าเสียงกร่อน ไป เช่น ทะทัด ก. สะบัด. ทะทา น. นกกระทา. ทะทาย ก. จับ, ถือ. ทะท่าว ก. ล้ม, ทบ, ซํ้า, ยอบ, เติม. ทะท้าว ว. อาการที่ตัวสั่นเทา ๆ. ทะทึก ว. อาการที่ใจเต้นตึก ๆ.
  13. ทะนะ, ทะนา : (โบ; กลอน) ว. คําละมาจากคําว่า เทอญนะ เทอญนา เถิดนะ หรือ เถิดนา, มักใช้ในความชักชวน เช่น ไปทะนะ.
  14. ทะร่อทะแร่ : (ปาก) ก. เข้าไปเกี่ยวข้องทั้ง ๆ ที่ไม่มีหน้าที่, ทะร่อท่อแร่ ก็ว่า.
  15. ทะเลาะ : ก. ทุ่มเถียงกันด้วยความโกรธ, โต้เถียงกัน, เป็นปากเป็นเสียงกัน.
  16. ทักขิญ : [-ขิน] น. ความเป็นเบื้องขวา หมายความว่า สะดวกในการพูดจา ปราศรัย, ความอารีอารอบ, ความกรุณา. (ป. ทกฺขิ?ฺ?).
  17. ทักทาย : ก. ไต่ถามถึงความเป็นอยู่หรือทุกข์สุขอย่างเป็นกันเอง.
  18. ทักษะ : น. ความชํานาญ. (อ. skill).
  19. ทั้งคน : ว. ใช้ประกอบท้ายคําหรือความ เพื่อเน้นให้เห็นความสําคัญ ของคําหรือความข้างหน้า เช่น แม่ทั้งคน.
  20. ทัณฑ-, ทัณฑ์ : [ทันดะ-, ทันทะ-, ทัน] น. โทษที่เนื่องด้วยความผิด; (กฎ) โทษ ทางวินัยสถานหนึ่งที่ใช้แก่ข้าราชการบางจําพวก เช่น ทหาร ตํารวจ. (ป., ส.).
  21. ทัป : น. ความโง่, ความเซ่อ; ความโอ้อวด, ความจองหอง, ความเย่อหยิ่ง, ทรรป ก็ใช้ เช่น ขวนทรรป ว่า ใฝ่จองหอง. (ม. คําหลวง สักบรรพ). (ป. ทปฺป; ส. ทรฺป).
  22. ทัศนคติ : น. แนวความคิดเห็น.
  23. ทัศน-, ทัศน์, ทัศนะ, ทัศนา : [ทัดสะนะ-, ทัด, ทัดสะ-] น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทรรศนะ ก็ใช้. (ป. ทสฺสน; ส. ทรฺศน).
  24. ทัศนศึกษา : ก. ท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาความรู้. น. การเรียนรู้ด้วย การดูการเห็น, การศึกษานอกสถานที่.
  25. ทางพิเศษ : (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดินหรือพื้นนํ้า เพื่ออํานวยความสะดวกใน การจราจรเป็นพิเศษ.
  26. ทางสายกลาง : น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความ ดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง; การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใด ทางหนึ่ง.
  27. ท้าทาย : ก. ชวนวิวาท เช่น เพราะเขาว่าท้าทายว่าจะทําอันตรายแก่ ท่านไท้บรมนาถราชบิดา. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์); ชวนให้ทดลอง ความรู้ความสามารถ เช่น ท้าทายปัญญา ท้าทายความสามารถ.
  28. ท่าที : น. ความเป็นไปของสถานการณ์หรือบุคคลเป็นต้น, ทีท่า ก็ว่า.
  29. ท่าน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคํากลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่า ลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คําที่ใช้ประกอบหน้า ชื่อบรรดาศักดิ์หรือตําแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.
  30. ทาบ : ก. วางวัตถุสิ่งหนึ่งแนบกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ทาบผ้าทาบตัว, (ปาก) เปรียบ, เทียบ, เช่น เรามีความรู้น้อยจะไปทาบท่านผู้รู้ได้อย่างไร; ตบ, ตี, เช่น นกทาบปีก, ถาบ ก็ใช้.
  31. ทาบทาม : ว. หยั่งใจเขาดู, ลองหยั่งเสียงดู. ก. ติดต่อสอบถาม เพื่อฟังความเห็นก่อนที่จะตกลงกัน.
  32. ทาย ๑ : ก. บอกเหตุการณ์หรือความเป็นไปที่จะเกิดในเบื้องหน้า, ทํานาย ก็ว่า.
  33. ท้าว ๒ : (กลอน) ว. อาการสั่นรัว ๆ เช่น ความกลัวตัวสั่นอยู่ท้าวท้าว. (สังข์ทอง).
  34. ทาส, ทาส- : [ทาด, ทาดสะ-] น. ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น เป็นทาส ความรู้, ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอํานาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เป็นทาส การพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน; บ่าว ทั่วไป, ผู้ที่ขายตัวลงเป็นคนรับใช้หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา เรียกว่า ทาสนํ้าเงิน, ผู้ที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงิน เรียกว่า ทาสเรือนเบี้ย หรือ ทาสในเรือนเบี้ย, ทาสที่เอาเงินไปซื้อมา เรียกว่าทาสสินไถ่, ผู้ที่ เป็นคนเชลย เรียกว่า ทาสเชลย, ถ้าใช้คู่กันว่า ทาสทาสี ก็หมายความ ว่า ทาส เป็นบ่าวผู้ชาย และ ทาสี เป็นบ่าวผู้หญิง. (ป., ส.).
  35. ทาสปัญญา : [ทาดสะ-] น. ความคิดตํ่า. ว. โง่เขลาเบาปัญญา, มีสติปัญญาน้อย, เช่น คนทาสปัญญา. (ป.).
  36. ทำตา : ก. แสดงความรู้สึกด้วยสายตา เช่น ทําตาเล็กตาน้อย ทําตาขุ่นตาเขียว.
  37. ทำนาย : ก. บอกเหตุการณ์หรือความเป็นไปที่จะเกิดในเบื้องหน้า, ทาย ก็ว่า. (แผลงมาจาก ทาย).
  38. ทำร้ายร่างกาย : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็น เหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น เรียกว่า ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย.
  39. ทำเวร : ก. ผลัดเปลี่ยนเวรกันทํางาน โดยเฉพาะทําความสะอาด ห้องเรียนของนักเรียน; ก่อเวร, ผูกเวร, ทําเวรทํากรรม ก็ว่า.
  40. ทิ้งทวน : (ปาก) ก. ทําอย่างไว้ฝีมือ, ทําจนสุดความสามารถ, ไม่ทํา อีกต่อไป; ปล่อยฝีมือฝีปากเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเลิกไป; ฉวย โอกาสทําเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะหมดอํานาจ.
  41. ทิฏฐุชุกรรม : (แบบ) น. การทําความเห็นให้ตรง คือ เห็นถูกทาง เช่น เห็นว่า ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว (เป็นข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุกรรม). (ป. ทิฏฺฐุชุกมฺม).
  42. ทิฐิ : [ทิดถิ] น. ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด; ความอวดดื้อถือดี เช่น เขามีทิฐิมาก. (ป. ทิฏฺ??; ส. ทฺฤษฺฏิ).
  43. ทิพยจักษุญาณ : น. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, จุตูปปาตญาณ ก็เรียก. (ส. ทิพฺยจกฺษุ + ป. ?าณ; ป. ทิพฺพจกฺขุ?าณ).
  44. ทิพยญาณ : น. ความรู้เป็นทิพย์.
  45. ทิศาปาโมกข์ : น. อาจารย์ผู้มีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง.
  46. ที่จริง : ว. จริง, แท้, แน่นอน. สัน. คําขึ้นต้นประโยคหรือข้อความ แสดงถึงความที่ถูกที่ควร, อันที่จริง หรือ ตามที่จริง ก็ว่า.
  47. ที่ดิน : น. ผืนแผ่นดินหรือพื้นดิน; (กฎ) พื้นที่ดินทั่วไป และหมาย ความรวมถึงภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลํานํ้า ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย.
  48. ทีท่า : น. ความเป็นไปของสถานการณ์หรือบุคคลเป็นต้น, ท่าที ก็ว่า.
  49. ที่ปรึกษา : น. ผู้มีหน้าที่ให้ความเห็นแนะนำ.
  50. ที่ราบ : น. ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบซึ่งอาจจะราบเรียบหรือมีลักษณะ เป็นลูกคลื่น โดยปรกติความสูงตํ่าของพื้นที่ในบริเวณนั้นจะ แตกต่างกันไม่เกิน ๑๕๐ เมตร.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | [951-1000] | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3316

(0.1581 sec)