Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความสะดวก, สะดวก, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความสะดวก, 3349 found, display 2101-2150
  1. รำพัน : ก. พรํ่าพรรณนาตามอารมณ์ เช่น เขารำพันถึงความทุกข์ของตน แม่รำพัน แต่ความดีของลูก.
  2. รำพึง : ก. คิดถึง, คิดคำนึงอยู่ในใจ, เช่น เขารำพึงถึงความหลังด้วยความเศร้าใจ. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย เป็นกิริยารำพึง.
  3. ร่ำเรียน : ก. ท่องบ่น, เพาะความรู้, หาความรู้ฝึกหัด.
  4. ริ้วรอย : น. ลักษณะที่เป็นแนวเป็นทาง เช่น ถูกหนามเกี่ยวเป็นริ้วรอย ถูกแมวข่วนเป็นริ้วรอย,โดยปริยายหมายความว่า ร่องรอย เช่น หน้าตา มีริ้วรอยแห่งความทุกข์.
  5. รีดนาทาเน้น, รีดนาทาเร้น : ก. ขูดรีดเอาทรัพย์สินจนแทบหมดเนื้อหมดตัว; เคี่ยวเข็ญให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกินกำลังความสามารถ เช่น รีดนาทาเน้นเด็ก ให้ทำงานหนัก.
  6. รื้อ : ก. แยกออกหรือถอดออกเป็นต้นจากสิ่งที่เป็นรูปแล้วให้เสียความเป็น กลุ่มก้อนของรูปเดิม เช่น รื้อบ้าน รื้อหลังคา รื้อข้าวของกระจุยกระจาย; เอาขึ้นมาใหม่ เช่น รื้อเรื่องราวที่ระงับไว้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ รื้อเรื่องเดิม ขึ้นมาเขียนใหม่; ขนออก เช่น รื้อสัตว์จากวัฏสงสาร.
  7. รุ่งเรือง : ว. สว่างไสว เช่น จุดโคมไฟรุ่งเรืองแสงจับท้องฟ้า, งามสุกใส เช่น ปราสาทราชมนเทียรดูรุ่งเรืองเมื่อต้องแสงจันทร์, เจริญ, อุดมสมบูรณ์, เช่น บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองอนาคตรุ่งเรือง, งอกงาม เช่น ให้มีความรุ่งเรือง ในพระศาสนา.
  8. รุจนะ : [รุดจะนะ] น. ความชอบใจ, ความพอใจ. (ป.).
  9. รุจิ, รุจี : น. แสง, ความรุ่งเรือง; ความงาม; ความชอบใจ. ว. รุ่งเรือง, สว่าง. (ป., ส. รุจิ).
  10. รุชา : น. ความไม่สบาย, ความเสียดแทง; โรค. (ป., ส.).
  11. รุนแรง : ว. หนักมาก, แรงมาก, เกินปรกติ, เช่น ดุว่าอย่างรุนแรง คัดค้าน อย่างรุนแรง ความคิดเห็นรุนแรง.
  12. รู้เขารู้เรา : ก. รู้จักขอบเขตความสามารถของตนเองและผู้อื่น.
  13. รู้คุณ : ก. ระลึกถึงความดีที่ผู้อื่นทำให้แก่ตน เช่น ลูกศิษย์รู้คุณอาจารย์ ลูกรู้คุณพ่อแม่.
  14. รูดซิป : ก. ดึงซิปให้ติดกันหรือให้แยกออก; โดยปริยายหมายความว่า ไม่ยอมเปิดปากพูดในเรื่องที่เป็นความลับ.
  15. รู้ตื้นลึกหนาบาง : ก. รู้ความเป็นไปของผู้อื่นอย่างละเอียด.
  16. รู้เต็มอก : ก. รู้ความเป็นไปอย่างดี แต่ไม่อาจพูดออกมาได้ เช่น รู้เต็มอก ว่าเขาไม่ซื่อสัตย์ แต่ก็บอกใครไม่ได้, รู้อยู่แก่ใจ รู้อยู่เต็มใจ หรือ รู้อยู่ เต็มอก ก็ว่า.
  17. รู้ไต๋ : ก. รู้ความลับ, รู้ความในใจ, เช่น พอเขามาตีสนิทก็รู้ไต๋แล้วว่า ต้องการอะไร.
  18. รู้ทัน : ก. รู้ถึงเหตุการณ์หรือความคิดของบุคคลอื่นไม่เพลี่ยงพล้ำเสีย เปรียบ เช่น รู้ทันว่าน้ำจะท่วมจึงขนของหนีเสียก่อน รู้ทันความคิด ของเพื่อนว่าจะหักหลังเรื่องผลประโยชน์, รู้เท่าทัน ก็ว่า.
  19. รู้ท่า : ก. รู้ทันความคิด, รู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งคิดอย่างไร, เช่น เห็นหน้าน้อง ก็รู้ท่าว่าจะมาขอเงิน.
  20. รู้เท่า : ก. รู้สึกสภาพที่เป็นจริง, รู้ตามความเป็นจริง, เช่น รู้เท่าสังขาร; รู้ทัน เช่น รู้เท่าความคิดของผู้อื่น, รู้เท่าทัน ก็ว่า.
  21. รู้น้อยพลอยรำคาญ : (สํา) ก. รู้น้อยไม่เข้าใจ ทําให้เกิดความรําคาญใจ, มักพูดเข้าคู่กับ รู้มากยากนาน เป็น รู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรําคาญ.
  22. รูปทรง : น. ทรวดทรง สัณฐาน ประกอบด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น เรือลำนี้รูปทรงเพรียว; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นเป็นกลุ่มก้อน หรือเห็นแต่ ๒ ด้านขึ้นไป มีลักษณะจำกัดด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น รูปทรงพีระมิด.
  23. รูปร่าง : น. ลักษณะร่างกาย เช่น เขามีรูปร่างสูงโปร่ง, ทรวดทรง, ทรง, เช่น หลังคานี้รูปร่างเหมือนเก๋งจีน; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอก เป็นกำหนด มีลักษณะจำกัดเพียงความกว้างกับสูง เช่น รูปร่างพื้นฐาน ได้แก่ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม เป็นต้น.
  24. รู้รส : ก. รู้สึกถึงผลที่ได้รับ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ถ้าเด็กดื้อต้องตีเสีย บ้าง จะได้รู้รสไม้เรียว ฉันเพิ่งรู้รสความหิว.
  25. รู้เรื่อง : ก. เข้าใจเรื่อง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดเท่าไร ๆ ก็ไม่ รู้เรื่อง.
  26. รู้ไส้ : ก. รู้ความในหรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นเป็นอย่างดี (มักใช้เกี่ยว กับฐานะการเงิน).
  27. รู้หนเหนือหนใต้ : ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วไม่รู้หนเหนือหนใต้, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้หนเหนือ หนใต้, รู้เหนือรู้ใต้ ก็ว่า.
  28. รู้เห็นเป็นใจ : ก. รู้เห็นเหตุการณ์และให้ความร่วมมือร่วมใจด้วย เช่น เขารู้เห็นเป็นใจกับโจร.
  29. รู้เหนือรู้ใต้ : ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงมาก ไปแล้วไม่รู้เหนือรู้ใต้, โดยปริยาย หมายความว่าไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้เหนือรู้ใต้, รู้หนเหนือ หนใต้ ก็ว่า.
  30. เรขาคณิตบริสุทธิ์ : (คณิต) น. เรขาคณิตที่ใช้กฎเกณฑ์ของระบบ ตรรกศาสตร์โดยเริ่มต้นจากบทนิยามและสัจพจน์ที่เกี่ยวกับรูปทรง มาเรียบเรียงให้เป็นทฤษฎีบทแล้วอนุมานผลลัพธ์จากทฤษฎีบท. เรขาคณิตวิเคราะห์ (คณิต) น. เรขาคณิตที่ใช้สมการมาควบคุมเซต ของจุดที่เรียงกันเป็นรูปทรงต่าง ๆ แล้วอนุมานผลลัพธ์จากการแก้ สมการนั้น ๆ พร้อมทั้งการแปลความหมายด้วย.
  31. เร้น : ก. หลบให้ลับตาคน, แฝง, เช่น เร้นกายเข้าไปในความมืด เร้นเข้าไป ในถ้ำไม่ให้คนเห็น, หลีกให้พ้นจากผู้คนเพื่อหาความวิเวก เช่น พระภิกษุหลีกไปเร้นอยู่ในป่า.
  32. เรา : สรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคน ก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะ ต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม.
  33. เร่า, เร่า ๆ : ว. สั่นระรัว, ไหวถี่ ๆ, เช่น ดิ้นเร่า ๆ, อาการที่ซอยเท้าถี่ ๆ ด้วยความ โกรธเป็นต้น เช่น เต้นเร่า ๆ, เรื่อย ๆ ไม่หยุดเสียง เช่น นกกาเหว่าเร่าร้อง.
  34. เริด ๒ : ว. เรียกอาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับว่า นอนตาเริด; เรียกอาการ ที่วิ่งมาอย่างเร็วด้วยความตื่นเต้นหรือกลัวเป็นต้นว่า วิ่งหน้าเริด; ร่นสูง ขึ้นมามากเช่น นั่งกระโปรงเริดเลยหัวเข่า, (ปาก) สวยมากเป็นพิเศษ เช่น แต่งตัวเสียเริด.
  35. เรียกร้อง : ก. ร้องขอแกมบังคับให้ทำหรือให้งดการกระทำ เช่น เรียกร้อง ขอความเป็นธรรม เรียกร้องขอความเห็นใจ.
  36. เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
  37. เรียน ๒ : ใช้เป็นคำประกอบหน้ากริยาอื่นเพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เรียนถาม เรียนเชิญ.
  38. เรียนรู้ : ก. เข้าใจความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยประสบการณ์.
  39. เรียบเรียง : ก. แต่ง เช่น เรียบเรียงข้อความ เรียบเรียงถ้อยคำ, ตกแต่ง ถ้อยคำให้สละสลวยและเรียงลำดับความให้ชัดเจน เช่น แปลและเรียบ เรียงหนังสือ, จัดเสียงเพิ่มเติมจากทำนองที่มีอยู่แล้วตามหลักวิชาการ ดนตรีเพื่อให้บทเพลงไพเราะขึ้น ในความว่า เรียบเรียงเสียงประสาน.
  40. เรื่อง : น. ภาวะหรือเนื้อหาของสิ่งซึ่งเนื่องกับข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์อย่างใด อย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องการเมือง เรื่องเศรษฐกิจ; เนื้อความ เช่น อ่านเอาเรื่อง, คดี, เหตุ, เช่น ไปก่อเรื่อง ไปมีเรื่อง.
  41. เรื่องสั้น : น. บันเทิงคดีร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยาย แต่สั้นกว่าโดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย มักจบแบบพลิก ความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งให้คิดเป็นต้น เช่น เรื่องสร้อยคอที่หาย ของประเสริฐอักษร เรื่องจับตาย ของมนัส จรรยงค์ เรื่องมอม ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช.
  42. เรือพระที่นั่งกราบ : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะเสด็จไปอย่าง ลำลอง เป็นเรือขุดเสริมกราบขนาดใหญ่ สะดวกแก่การประทับทรง สำราญพระอิริยาบถไปทางไกล ๆ เช่น เรือศรีเมือง เรือเฟื่องฟ้า เรือทิพากร.
  43. เรือรบ : น. เรือที่ต่อหรือดัดแปลงขึ้นเพื่อใช้ในการรบ มีขีดความสามารถ ต่าง ๆ เช่น ต่อตีเรือข้าศึก คุ้มกันกระบวนเรือลำเลียง และระดมยิงฝั่ง เป็นต้น มีหลายประเภท เรียกชื่อตามลักษณะและหน้าที่ที่สำคัญ เช่น เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือดำน้ำ เรือลาดตระเวน เรือวางทุ่นระเบิด.
  44. เรือลาดตระเวน : น. เรือรบขนาดใหญ่ ระวางขับน้ำประมาณ ๖,๐๐๐– ๒๐,๐๐๐ ตัน มีความเร็วและมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานมากกว่า เรือประจัญบานมีหน้าที่ลาดตระเวน ตรวจการรุกล้ำทางฝั่งน้ำและทาง อากาศยาน คุ้มกัน สนับสนุนกองเรือลำเลียงเป็นต้น.
  45. แรงงาน : น. คนงาน, ผู้ใช้แรงในการทำงาน, เช่น การพัฒนาชนบทต้อง อาศัยแรงงานจากท้องถิ่น งานก่อสร้างต้องการแรงงานเพิ่ม, ประชากร ในวัยทํางาน ไม่รวมถึงคนพิการ คนวิกลจริต นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน นักบวช ทหาร ผู้ต้องขัง และผู้ประกอบกิจการเพื่อหากําไร เช่น วัน แรงงาน, แรงที่ใช้ในการทำงาน เช่น ถนนนี้สร้างสำเร็จด้วยแรงงานของ ชาวบ้าน; ความสามารถในการทํางานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ, กิจการที่คนงานทําในการผลิตเศรษฐทรัพย์.
  46. แรงงานสัมพันธ์ : (กฎ) น. ความสัมพันธ์ในด้านการจ้างงานระหว่างนาย จ้างกับลูกจ้างในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการว่าจ้างทํางาน นับตั้งแต่เงื่อนไข การจ้าง สภาพการทํางานและผลประโยชน์จากการทํางานร่วมกันของ ทั้ง ๒ ฝ่าย รวมทั้งสาเหตุต่าง ๆ ที่มีผลต่อสัมพันธภาพระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้าง ตลอดจนการร่วมเจรจาต่อรองและการสร้างความเข้าใจอันดี ต่อกันเพื่อการอยู่ร่วมกันต่อไป.
  47. แรงเทียน : น. หน่วยวัดความเข้มของความสว่างของแหล่งกําเนิดแสง, กําลังเทียน ก็ว่า.
  48. โรคจิต : น. โรคทางจิตใจที่มีความผิดปรกติของความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมอย่างแรงถึงขนาดคุมสติไม่อยู่ เช่น มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน, วิกลจริต ก็เรียก. (อ. psychosis).
  49. โรคจิตเภท : น. กลุ่มอาการของโรคทางจิตที่ทําให้ความคิด การรับรู้ อารมณ์ และบุคลิกภาพผิดปรกติ. (อ. schizophrenia).
  50. โรคประสาท : น. โรคทางจิตใจที่มีความกังวลเป็นอาการสําคัญ คนไข้อาจมีอาการแสดงออกเป็นความกังวล เช่น กลุ้มใจ เป็นอาการหงุดหงิด หรืออาจแสดงออกทางกาย เช่น ใจสั่น เหงื่อออก เป็นลม กลัวที่สูง. (อ. neurosis).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | [2101-2150] | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3349

(0.1641 sec)