Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความสะดวก, สะดวก, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความสะดวก, 3349 found, display 701-750
  1. แจ้ง : ก. แสดงให้รู้, บอกให้รู้, เช่น แจ้งความประสงค์. ว. กระจ่าง, สว่าง, ชัด, เช่น แจ้งใจ.
  2. แจง ๒ : ก. กระจายออกเป็นส่วน ๆ เช่น แจงเบี้ย แจงถั่ว, พูดหรือเขียนขยายความ ออกไปในคำว่า ชี้แจง. น. เรียกเทศน์สังคายนาว่า เทศน์แจง.
  3. โจทเจ้า : ก. เอาความผิดของเจ้าไปโพนทะนา; เอาใจออกหาก.
  4. ใจ : น. สิ่งที่ทําหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด เช่น ใจก็คิดว่าอย่างนั้น, หัวใจ เช่น ใจเต้น, ลมหายใจ เช่น กลั้นใจ อึดใจ หายใจ, ความรู้สึกนึกคิด เช่น ใจคด ใจซื่อ; จุดสำคัญของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ใจมือ, บริเวณที่ถือว่าเป็นจุด สำคัญของสถานที่ เช่นใจบ้านใจเมือง.
  5. ใจกว้าง : ว. มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่.
  6. ใจขาด : ว. จนสุดความสามารถ เช่น สู้ใจขาด.
  7. ใจแข็ง : ว. ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, อดกลั้นความเจ็บปวดหรือ ทุกข์โศกไว้ได้.
  8. ใจดำ : ว. เห็นแก่ตัว, ไม่เอื้อเฟื้อใคร, ขาดกรุณา. น. ความในใจ เช่น พูดถูกใจดํา แทงใจดํา; จุดดําที่อยู่กลางเป้า.
  9. ใจเดียว : ว. ไม่หลายใจ, มีความรักและซื่อตรงในบุคคลเดียวหรือ สิ่งเดียวไม่เปลี่ยนแปลง.
  10. ใจเดียวกัน : ว. มีความรู้สึกนึกคิดตรงกัน.
  11. ใจหาย : ว. อาการที่ตกใจเสียวใจขึ้นทันที, ใช้ประกอบท้ายคําอื่นมี ความหมายว่า มาก เช่น ดีใจหาย แพงใจหาย.
  12. ฉบับ : [ฉะ-] น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสํานวนแตกต่างกันเป็นต้น เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือ เขียน เรียกว่า ต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกหนังสือเล่มหรือหนังสือเป็นแผ่น ที่ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ เช่น จดหมาย ๓ ฉบับ สลากกินแบ่ง ๕ ฉบับ หนังสือสัญญา ๒ ฉบับ. (ข. จฺบาบ่).
  13. ฉล : [ฉะละ, ฉน] น. ความฉ้อโกง. ก. โกง. (ป., ส.).
  14. ฉลอง ๑ : [ฉะหฺลอง] ก. ทําบุญหรือบูชาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นงานเอิกเกริกเพื่อแสดง ความปีติยินดี เช่น ฉลองพระ ฉลองหนังสือ ฉลองอายุ, จัดงานเอิกเกริก เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ เช่น ฉลองปริญญา, บางทีใช้เข้าคู่ กับคำ เฉลิม เป็น เฉลิมฉลอง.
  15. ฉ้อโกง : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานหลอกลวงผู้อื่นโดยทุจริต ด้วยการ แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยการหลอกลวง ดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือ บุคคลที่สาม หรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือ ทําลายเอกสารสิทธิ เรียกว่า ความผิดฐานฉ้อโกง.
  16. ฉ้อฉล : ก. ใช้อุบายหลอกลวงโดยเอาความเท็จมากล่าวเพื่อให้เขาหลงผิด.
  17. ฉะ ๒ : คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ฉ เป็นพยัญชนะต้นใน บทกลอน เช่น ฉาดฉาด กร่อนเป็น ฉะฉาด ฉ่ำฉ่ำ กร่อนเป็น ฉะฉ่ำ มี คำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.
  18. ฉันท- ๒, ฉันท์ ๒, ฉันทะ : น. ความพอใจ, ความรักใคร่, ความชอบใจ, ความยินดี; ความร่วมความคิด ความเห็นกัน เช่น ลงมติเป็นเอกฉันท์, ความไว้เนื้อเชื่อใจ เช่น มอบฉันทะ. (ป.).
  19. ฉันทาคติ : น. ความลำเอียงเพราะความรักใคร่ชอบใจ เป็นอคติ ๑ ในอคติ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. (ป. ฉนฺท + อคติ).
  20. ฉันทานุมัติ : [ฉันทานุมัด] น. ความเห็นชอบตามโดยความพอใจ, การได้รับ มอบหมายด้วยความเต็มใจ. (ป. ฉนฺท + อนุมติ).
  21. ฉาตกภัย : [ฉาตะกะไพ] น. ภัยที่เกิดจากความแห้งแล้ง, ภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง. (ป. ฉาต, ฉาตก, ว่า หิว, อิดโรยเพราะการอดอาหาร).
  22. ฉีกหน้า : ก. ทําให้ได้รับความอับอาย.
  23. ฉุกเฉิน : ว. ที่เป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วนและจะต้องรีบแก้ไขโดยฉับพลัน เช่น เหตุฉุกเฉิน, ที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่ง ราชอาณาจักร เช่น ภาวะฉุกเฉิน สถานการณ์ฉุกเฉิน.
  24. เฉย ๆ : ว. ใช้ประกอบข้อความหรือคําอื่น มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ ข้อความแวดล้อม เช่น หยิบไปเฉย ๆ คือ หยิบไปโดยไม่ได้บอกกล่าว, อยู่บ้านเฉย ๆ คือ อยู่บ้านโดยไม่ทําอะไรให้เป็นกิจจะลักษณะ หรือไม่ได้ ทํามาหากินอะไร; ไม่ยินดียินร้ายเช่น เขาเป็นคนเฉย ๆ, เท่านั้น เช่น ปลูกเรือนไว้เฉย ๆ ไม่ให้ใครอยู่.
  25. เฉลย : [ฉะเหฺลย] ก. อธิบายหรือชี้แจงข้อปัญหาต่าง ๆ ให้เข้าใจ เช่น เฉลยปัญหา เฉลยความ. (ข. เฉฺลิย ว่า ตอบ).
  26. เฉิบ, เฉิบ ๆ : ว. คําร้องบอกจังหวะในการเต้นหรือรํา, มีท่าทางเนิบ ๆ เป็นจังหวะ เช่น รําเฉิบ ๆ เดินเฉิบ ๆ พายเรือเฉิบ ๆ, ใช้ประกอบคําอื่นมีความหมายไป ในทางที่มีอาการประหนึ่งว่าเป็นเช่นนั้น เช่น นั่งสบายใจเฉิบ.
  27. แฉโพย : ก. เปิดเผยข้อที่ปิดบังหรือความลับ. (จ.).
  28. ชนักติดหลัง : (สํา) น. ความชั่วหรือความผิดที่ยังติดตัวอยู่.
  29. ชม ๑ : ก. สรรเสริญ, ยกย่อง; ดู (ใช้ในที่สุภาพ) เช่น เชิญชมของ ในร้าน, ดูเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจหรือชื่นใจ เช่น ชมสวน ชมนกชมไม้.
  30. ชมเปาะ : ก. ชมไม่ขาดปาก, ชมด้วยความจริงใจ.
  31. ชมเลาะ : (โบ) ก. ทะเลาะ เช่น ความชมเลาะกันก็จแรก. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ข. เฌฺลาะ ว่า ทะเลาะ).
  32. ชม้อย : [ชะ] ก. ช้อนตาลอบชําเลืองดูด้วยความสนใจ.
  33. ชม้าย : [ชะ] ก. ชายหางตาดูด้วยความสนใจ.
  34. ชโย : [ชะ] น. ความชนะ. (คําเดียวกับ ชัย). อ. คําที่เปล่งเสียง อวยชัยให้พรหรือแสดงความดีใจเมื่อได้รับชัยชนะเป็นต้น.
  35. ชราธรรม : ว. มีชราเป็นธรรมดา, มีความแก่ความชํารุด ทรุดโทรมเป็นธรรมดา.
  36. ชราภาพ : น. ความแก่ด้วยอายุ, ความชํารุดทรุดโทรม, เช่น อันทุพพลชรา ภาพแล้ว. (โลกนิติ).
  37. ชวน ๒ : [ชะวะนะ] (แบบ) น. ความเร็ว, ความไว, ความเร็ว ของปัญญาหรือความคิด, แผลงเป็น เชาวน์ ก็มี. (ป., ส.).
  38. ชวร, ชวระ : [ชวน, ชะวะระ] (แบบ) น. ไข้, ความไข้. ก. เป็นไข้, ป่วย. (ส.; ป. ชร).
  39. ชวาล : [ชะ] (แบบ) น. ความรุ่งเรือง, เปลวไฟ, โคมไฟ; ความสว่าง. ว. ซึ่งลุกโพลง, สว่างโพลง. (ส. ชฺวาล; ป. ชาลา).
  40. ช็อก : น. สภาวะที่ร่างกายเสียเลือดจนความดันเลือดต่ำมาก หรือถูก กระทบจิตใจอย่างรุนแรงหรือถูกกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เป็นต้น จนทำให้เป็นลมหรือหมดสติในทันที. (อ. shock).
  41. ช่องว่าง : น. ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงที่ทำให้เข้ากันยาก เช่น ช่องว่างระหว่างชนชั้น ช่องว่างระหว่างวัย.
  42. ชอบมาพากล : ว. ชอบกล, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ชอบมาพากล.
  43. ชะดีชะร้าย : (ปาก) ว. เผื่อว่า, บางทีแสดงถึงความไม่แน่นอน, โดยปรกติ มักใช้ในลักษณะเหตุการณ์ที่สังหรณ์หรือกริ่งเกรงว่าอาจจะ เกิดขึ้นตามที่คาดไว้.
  44. ชักซุงตามขวาง : (สํา) ก. ทําอะไรที่ไม่ถูกวิธีย่อมได้รับความ ลําบาก; ขัดขวางผู้มีอํานาจย่อมได้รับความเดือดร้อน.
  45. ชักรอก : ก. อาการที่ทำให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเคลื่อน ผ่านร่องของรอกเพื่อยกลาก หรือดึงของหนักหรือคนเป็นต้น ให้เบาแรงและ สะดวกคล่องขึ้น. น. เรียกโขนที่ชักรอกผู้ แสดง เช่น หนุมาน เบญกาย ขึ้นไปจากพื้นเวทีแสดงท่าเหาะ ว่า โขนชักรอก.
  46. ชัย, ชัย : [ไช, ไชยะ] น. การชนะ, ความชนะ. (ป., ส.).
  47. ชัยศรี : [ไชสี] น. ความสง่าผ่าเผยด้วยความชนะ (ใช้ประกอบ กับชื่อต่าง ๆ ที่ถือว่าเป็นมงคล) เช่น พระขรรค์ชัยศรี นครชัยศรี.
  48. ชา ๒ : ว. อาการที่รู้สึกน้อยกว่าปรกติ เนื่องจากเส้นประสาทรับ ความรู้สึก ถูกกด ถูกตัดขาด หรือถูกสารพิษ เช่น มือชา เท้าชา; เรียกปลาที่จวนจะตายอยู่แล้วว่า ปลาชา.
  49. ชาคระ : [ชาคะระ] (แบบ) น. ความเพียร, ความตื่นอยู่. (ป., ส.).
  50. ชาคริยานุโยค : [ชาคะริยานุโยก] น. การประกอบความเพียรเพื่อจะชําระใจ ให้หมดจดไม่เห็นแก่นอนมากนัก. (ป.; ส. ชาครฺยา + อนุโยค).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3349

(0.0785 sec)