Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความดูแล, ดูแล, ความ , then ความ, ความดูแล, ดล, ดูแล .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความดูแล, 3363 found, display 2651-2700
  1. สอบข้อเขียน : ก. สอบความรู้โดยให้ผู้สอบเขียนคำตอบลงในกระดาษ.
  2. สอบซ้อม : ก. ทดสอบความรู้ก่อนสอบไล่ (ใช้ในโรงเรียน).
  3. สอบใบขับขี่ : ก. สอบเพื่อแสดงว่ามีความรู้ในกฎจราจรและสามารถ ขับขี่ยานยนต์ได้.
  4. สอบไล่ : ก. สอบความรู้ที่เล่าเรียนมาว่าได้ตามมาตรฐานของหลักสูตร แต่ละขั้นหรือทั้งหมด.
  5. สอบสวน : (กฎ) ก. รวบรวมพยานหลักฐานและดําเนินการอย่างอื่น ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทําไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะ ทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทําผิด มาฟ้องลงโทษ.
  6. สอบสัมภาษณ์ : ก. สอบท่วงทีวาจาและไหวพริบพิจารณาดูชั้นเชิงและ ความสามารถของผู้เข้าสอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่.
  7. สะกด : ก. กลั้นไว้, ข่มไว้, เช่น เมื่อเกิดความไม่พอใจ ก็รู้จักสะกดอารมณ์ ไว้บ้าง; เขียนหรือบอกตัวอักษรที่ประกอบกันเป็นคํา, เรียกพยัญชนะ ที่บังคับตัวอักษรข้างหน้าให้เป็นมาตราต่าง ๆ เช่น แม่กน น สะกด แม่กด ด สะกด. น. เรียกลูกประคําที่เป็นลูกคั่นว่า ลูกสะกด. (เทียบ ข. สงฺกด).
  8. สะกดจิต : ก. ใช้อำนาจจิตเป็นสื่อสะกดให้หลับแล้วบังคับให้กระทํา ตามความต้องการของตน.
  9. สะดุ้ง ๑ : ก. ไหวตัวขึ้นทันทีด้วยความตกใจ เพราะไม่ทันรู้ตัวหรือไม่ได้นึก คาดหมายไว้เป็นต้น เช่น เมื่อได้ยินเสียงระเบิดก็สะดุ้งสุดตัว.
  10. สะดุ้งสะเทือน : ก. หวั่นไหว, เดือดร้อน, กังวลใจ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ใครจะนินทาว่าร้ายอย่างไรก็ไม่สะดุ้งสะเทือน มหาเศรษฐีเสียเงิน ล้านสองล้านไม่สะดุ้งสะเทือนหรอก.
  11. สะดุด ๒, สะดุด ๆ : ว. ไม่ราบเรียบ (ใช้แก่ภาษาหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง) เช่น เรียงความสำนวนนี้อ่านสะดุด ๆ, ตะกุกตะกัก เช่น เด็กคนนี้ยังอ่าน หนังสือสะดุดมาก, ไม่สม่ำเสมอ เช่น เครื่องจักรเดินสะดุด ๆ.
  12. สะดุดหู : ก. กระทบหูชวนให้อยากฟัง หรือรู้สึกเคลือบแคลงใจเป็นต้น เช่น ได้ยินเสียงเพลงเขมรไทรโยค รู้สึกสะดุดหูทำให้นึกถึงความหลัง ได้ยินเสียงคนพาลพูดแขวะ รู้สึกสะดุดหูทันที.
  13. สะบัด ๆ : ว. อาการที่พูดห้วน ๆ ไม่มีหางเสียง แสดงความไม่พอใจ เช่น แม่ค้าไม่พอใจที่ลูกค้าต่อราคามากไป จึงพูดสะบัด ๆ.
  14. สะบัดก้น : ก. อาการที่ลุกผละไปทันทีด้วยความไม่พอใจเป็นต้น เช่น กินแล้วก็สะบัดก้นไป พูดยังไม่ทันรู้เรื่องก็โกรธสะบัดก้นไปแล้ว.
  15. สะบัดย่าง : ว. อาการที่ม้าเดินเหยาะย่างอย่างสง่างามพร้อมกับสะบัด หางด้วย ในความว่า ม้าเดินสะบัดย่าง.
  16. สะบัดร้อนสะบัดหนาว : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้ เพราะเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจ กลัวว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น เช่น ผู้ที่ทำความผิดไว้ พอ เห็นผู้บังคับบัญชามาก็รู้สึกสะบัดร้อนสะบัดหนาว, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ หนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ว่า.
  17. สะบั้น : ว. อาการที่แยกหรือขาดจากกันอย่างเด็ดขาด เช่น สัมพันธภาพขาด สะบั้น ความรักขาดสะบั้น, โดยปริยายหมายความว่า อย่างยิ่ง, อย่างมาก, เช่น กินสะบั้น.
  18. สะเพร่า : [เพฺร่า] ว. อาการที่ทําอย่างหวัด ๆ ลวก ๆ, ขาดความรอบคอบ, ไม่ถี่ถ้วน, ไม่เรียบร้อย, เช่น เขียนหนังสือสะเพร่าตก ๆ หล่น ๆ ล้างแก้วสะเพร่า ไม่สะอาด.
  19. สะลาบ : น. ผิวของพิมพ์หล่อพระที่แตกออกเป็นกาบเล็ก ๆ เมื่อความร้อน ลดลงกะทันหัน.
  20. สักกัจจะ : ว. ด้วยความเคารพ. (ป.).
  21. สักกายทิฐิ : น. ความยึดถือว่ากายหรือตัวเป็นของตน. (ป. สกฺกายทิฏฺ??).
  22. สัขยะ : [สักขะยะ] (แบบ) น. มิตรภาพ, ความสนิทสนมกัน, ความรักใคร่กัน. (ส.).
  23. สังกร : [กอน] น. ความปะปน, ความคาบเกี่ยว. (ป.; ส. สํกร).
  24. สังกัปปะ : น. ความดําริ. (ป.).
  25. สังขาร, สังขาร : [ขาน, ขาระ, ขานระ] น. ร่างกาย, ตัวตน, สิ่งที่ประกอบและปรุง แต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารร่วงโรย สังขารไม่เที่ยง; ความคิด เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. (ป.; ส. สํสฺการ). ก. ตาย เช่น ถึงซึ่งสังขาร, ในบทกลอนใช้ว่า สังขาร์ ก็มี.
  26. สังเขป : น. ใจความย่อ, เค้าความย่อ, เช่น เขียนมาพอเป็นสังเขป. (ป.; ส. สํเกฺษป).
  27. สังโขภ : [โขบ] (แบบ) น. ความปั่นป่วน เช่น ธาตุสังโขภ ว่า ความปั่นป่วน แห่งธาตุ. (ป.; ส. สํโกฺษภ).
  28. สังคมศาสตร์ : [สังคมมะ, สังคม] น. ศาสตร์ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับ สังคม มีหมวดใหญ่ ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ (เกี่ยวกับสังคม) มานุษยวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ จิตวิทยาสังคม.
  29. สังคม, สังคม : [คมมะ] น. คนจํานวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญร่วมกัน เช่น สังคมชนบท; วงการ หรือสมาคมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น สังคมชาวบ้าน. ว. ที่เกี่ยวกับ การพบปะสังสรรค์หรือชุมนุมชน เช่น วงสังคม งานสังคม. (ป.).
  30. สังค, สังค์ : [สังคะ, สัง] น. ความข้องอยู่, การติดอยู่. (ป.; ส. สํค).
  31. สังคหะ : (แบบ) น. การรวบรวม; การย่อ; ความเกื้อกูล, ความเอื้อเฟื้อ; การ สงเคราะห์. (ป.; ส. สํคฺรห).
  32. สังวร : [วอน] น. ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน. ก. สํารวม, เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวร ญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวร ไว้อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. (ป., ส. สํวร).
  33. สังเวคะ : น. ความสลด. (ป., ส. สํเวค).
  34. สังเวชนียสถาน : [สังเวชะนียะสะถาน] น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนา อันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินีปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบัน ได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันไ ด้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ ปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย.
  35. สังสดมภ์ : น. ความแข็งทื่อ, การต้านทาน; เครื่องคํ้าจุน. (ส. สํสฺตมฺภ).
  36. สังสรรค์ : ก. พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความสนิทสนม เช่น จัดงาน สังสรรค์กันในหมู่พนักงาน เพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันในงาน ชุมนุมศิษย์เก่า. ว. ที่พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความ สนิทสนม เช่น งานสังสรรค์. (ส. สํสรฺค).
  37. สังสิทธิ : [สิดทิ] น. ความสําเร็จ, ความเรียบร้อย, ความดีเลิศ; ผลสุดท้าย. (ส. สํสิทฺธิ).
  38. สังสุทธ์, สังสุทธิ : [สุด, สุดทิ] น. ความบริสุทธิ์, ความสะอาด; การชําระ, การล้าง. (ส. สํศุทฺธ, สํศุทฺธิ).
  39. สังหรรษ : [หัด] น. ความเต็มตื้นด้วยความยินดี, ความปีติยินดี; ความเสียวซ่าน. (ส. สํหรฺษ).
  40. สัจกิริยา : [สัดจะ] น. การตั้งความสัตย์.
  41. สัจญาณ : [สัดจะ] น. ความรู้เรื่องแห่งความจริง, ในพระพุทธศาสนา ประสงค์เอาปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ. (ป. สจฺจ?าณ).
  42. สัจธรรม : [สัดจะทำ] น. ความจริงแท้ เช่น บรรลุสัจธรรม เข้าถึง สัจธรรม.
  43. สัจ, สัจ, สัจจะ : [สัด, สัดจะ] น. ความจริง, ความจริงใจ, เช่น ทำงานร่วมกันต้องมี สัจจะต่อกัน. (ป. สจฺจ; ส. สตฺย).
  44. สัญเจตนา : [เจดตะนา] น. ความตั้งใจ, ความจงใจ.
  45. สัญชาต : [ชาตะ, ชาดตะ] ว. เกิดเอง เช่น สัญชาตสระ ว่า สระที่เกิดเอง. (ป.). สัญชาตญาณ [ชาดตะ] น. ความรู้ที่มีมาแต่กําเนิดของคนและสัตว์ ทําให้มีความรู้สึกและกระทําได้เองโดยไม่ต้องมีใครสั่งสอน เช่น สัญชาตญาณในการป้องกันตัว สัญชาตญาณในการรวมหมู่, สัญชาตเวค ก็ว่า. (อ. instinct).
  46. สัญชาติ : [ชาด] น. ความเกิด, การเป็นขึ้น, ความอยู่ในบังคับ คืออยู่ในความ ปกครองของประเทศชาติเดียวกัน เช่น ฝรั่งถือสัญชาติไทย, โดยปริยาย หมายความว่า สันดาน เช่น สัญชาติพาล สัญชาติคางคก ยางหัวไม่ตก ก็ไม่รู้สึก. (ป. สญฺชาติ ว่า ความเกิด, การเป็นขึ้น); (กฎ) สถานะตาม กฎหมายของบุคคลที่แสดงว่าเป็นพลเมืองหรือคนในบังคับของ ประเทศใดประเทศหนึ่ง. (อ. nationality).
  47. สัญญา : น. (กฎ) ข้อตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายหรือหลายฝ่ายว่าจะกระทําการ หรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง; ข้อตกลงกัน, คำมั่น, เช่น เขาให้สัญญาว่าจะมาหาพรุ่งนี้; ความจํา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ก. ให้คํามั่น, รับปาก, ทําความ ตกลง, กัน เช่น แม่สัญญากับลูกว่าถ้าสอบได้ที่ ๑ จะให้รางวัล. (ป.).
  48. สัญญี : ว. มีความหมายรู้ได้, มีความรู้สึก, มีความระลึก, มีความจําได้. (ป.).
  49. สัญประกาศ : [สันยะปฺระกาด] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ใช้ขีดไว้ใต้คํา หรือข้อความที่สําคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ, ขีดเส้นใต้ ก็เรียก.
  50. สัณฐิติ : น. ความตั้งมั่น. (ป.; ส. สํสฺถิติ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | [2651-2700] | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3363

(0.1507 sec)