Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พอ , then พอ, วอ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พอ, 339 found, display 251-300
  1. วัดเหวี่ยง : ก. พอสู้กันได้, ปานกัน.
  2. วาบหวาม : ว. รู้สึกเสียวซ่านในใจ (มักใช้ในทางชู้สาว) เช่น พอเห็นหน้าคนรักก็รู้สึกวาบหวามใจ.
  3. ว้าเหว่ : ว. รู้สึกอ้างว้าง, เปลี่ยวใจ, เช่น ไปต่างถิ่น พอเย็นลงก็รู้สึก ว้าเหว่ คิดถึงบ้าน.
  4. วิเคราะห์ : ก. ใคร่ครวญ เช่น วิเคราะห์เหตุการณ์; แยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อ ศึกษาให้ถ่องแท้ เช่น วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ วิเคราะห์ข่าว. (ส. วิคฺรห).
  5. แวดล้อม : ก. เฝ้าระวังรักษาอยู่โดยรอบ เช่น ตำรวจแวดล้อมบุคคล สำคัญ ผู้มีอำนาจไปไหนก็มีมือปืนแวดล้อม; ห้อมล้อม เช่น มีบริวารแวดล้อมพอร้องเพลงจบก็มีคนมาแวดล้อมขอลายเซ็น. ว. ที่ห้อมล้อม, ที่อยู่โดยรอบ, เช่น สิ่งแวดล้อม ภาวะแวดล้อม.
  6. แว่น ๑ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และ เรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่นอีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีน เป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่ว แผ่นเย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่น ทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนาม เรียกสิ่งกลม ๆที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด ๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.
  7. โวยวาย : ก. ส่งเสียงร้องเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่ พอใจ เป็นต้น เช่น พอประกาศเงินเดือนขึ้นอีกกลุ่มก็โวยวาย. ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจ เป็นต้น เช่น เขาไม่ได้เงินเดือนขึ้นก็ส่งเสียงโวยวาย, กระโวยกระวาย ก็ว่า.
  8. ศอกกลับ : ก. หมุนตัวตีศอกทางด้านหลัง เป็นท่ามวยไทยท่าหนึ่ง; โดยปริยายหมายความว่า ย้อนว่าสวนคํา, พูดตอบสวนควัน, เช่น พอเขาว่ามาก็ศอกกลับไป.
  9. ศักราช : [สักกะหฺราด] น. อายุเวลาซึ่งกําหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่ จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สําคัญ เรียงลําดับกัน เป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, .. จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา, คํา ศักราชในคํา เช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราชจะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คํา เช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคําว่า รัตนโกสินทรศกไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้น เหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.
  10. ส่ง ๆ : (ปาก) ว. ลวก ๆ, มักง่าย, เช่น พูดส่ง ๆ พอเอาตัวรอด, ส่งเดช ก็ว่า.
  11. ส่งเดช : (ปาก) ว. ลวก ๆ, มักง่าย, เช่น ทำส่งเดชพอให้พ้นตัว, ส่ง ๆ ก็ว่า.
  12. สบาย : [สะบาย] ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มี วิตกกังวลใด ๆ; สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัว สบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย; พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย; ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือน เมื่อก่อน; ไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้; มีความ พอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).
  13. สมน้ำสมเนื้อ : ว. พอเหมาะพอดีกัน เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง สมน้ำสมเนื้อ กันดีแล้ว.
  14. สมส่วน : ว. มีส่วนสัดเหมาะเจาะ เช่น การออกกำลังกายทำให้ร่างกาย สมส่วน, รับกันพอเหมาะพอดี เช่น หลังคากับตัวเรือนสมส่วนกันดี.
  15. ส่วน : น. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทําบุญ; การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออก เป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่ พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน. สัน. ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉัน ไปเชียงใหม่.
  16. สวนคำ : ว. อาการที่พูดย้อนตอบทันที เช่น พอเขาว่ามา ฉันก็ว่าสวน คำไป.
  17. ส่วนสัด : น. ขนาดที่พอเหมาะพอดีตามเกณฑ์ที่กําหนดหรือที่นิยม เช่น ผู้หญิงคนนี้มีรูปร่างได้ส่วนสัด; (ศิลปะ) ส่วนที่กําหนดขึ้นให้มี ความสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดความพอดี.
  18. สะเทิ้น, สะเทิ้นอาย : ก. แสดงกิริยาวาจาอย่างขัด ๆ เขิน ๆ เพราะรู้สึกขวยอาย (มักใช้แก่ หญิงสาว) เช่น หญิงสาวพอมีผู้ชายชมว่าสวยก็รู้สึกสะเทิ้น หญิงสาว พอมีชายหนุ่มมาจ้องมองก็สะเทิ้นอาย.
  19. สะลึมสะลือ : ว. ครึ่งหลับครึ่งตื่นหรืองัวเงียเพราะเมาหรือง่วง เช่น พอเมาได้ที่ก็นั่ง สะลึมสะลือ เมื่อคืนนอนดึก ตื่นขึ้นมาเลยสะลึมสะลือ.
  20. สะอึก : ก. อาการที่หายใจชะงักเนื่องจากกะบังลมหดตัว และช่องสายเสียง ก็ปิดตามมาทันทีทันใดในเวลาเดียวกัน; โดยปริยายหมายความว่า ชะงักงัน เช่น พอถูกถามปัญหาแทงใจดำเข้าก็สะอึกทันที.
  21. สะอึกเข้าใส่ : ก. กรากเข้าใส่, พรวดเข้าใส่, เช่น เมื่อมีคนจะทำร้ายนาย ลูกน้องก็สะอึกเข้าใส่ทันที พอถูกฝ่ายหนึ่งชกก็สะอึกเข้าใส่.
  22. สัก ๔ : ว. อย่างน้อย, เพียง, ราว, เช่น ขอเวลาสัก ๒ วัน. สักแต่ว่า, สักว่า ว. เพียงแต่ว่า...เท่านั้น เช่น สักแต่ว่ากวาดบ้าน ยังมี ขี้ผงอยู่เลย สักว่าทำพอให้พ้นตัว.
  23. สังเกตการณ์ : ก. เฝ้าดูหรือศึกษาเหตุการณ์หรือเรื่องราวพอรู้เรื่อง. น. เรียกผู้เข้าร่วมประชุมที่ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงว่า ผู้สังเกตการณ์.
  24. สังเขป : น. ใจความย่อ, เค้าความย่อ, เช่น เขียนมาพอเป็นสังเขป. (ป.; ส. สํเกฺษป).
  25. สังเวช, สังเวช : [สังเวด, สังเวชะ] ก. รู้สึกเศร้าสลดหดหู่ต่อผู้ที่ได้รับทุกขเวทนา หรือต้องตายไป หรือต่อผู้ที่ตนเคารพนับถือซึ่งประพฤติตนไม่ เหมาะสมเป็นต้น เช่น เห็นผู้คนประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกแล้ว สังเวช พอรู้ข่าวว่าญาติผู้ใหญ่ของตนพัวพันคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง ก็สังเวช. (ป., ส. สํเวชน).
  26. สั่งเสีย : ก. เตือน, กําชับ, บอกให้เข้าใจ, เช่น พอแม่จะออกจากบ้าน ก็สั่งเสียลูกให้ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย; บอกไว้อาลัยในการที่ จะจากไป, บอกเป็นการอำลา, เช่น เขาตายโดยไม่ได้สั่งเสียลูกเมีย.
  27. สัมผัส : ก. ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายาม ให้เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน; คล้องจองกัน เช่น คําในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี. น. การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไป ข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ; ความคล้องจองของถ้อยคํา เช่น ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว; (วรรณ) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้ เสียงรับกัน. (ป. สมฺผสฺส; ส. สํสฺปรฺศ).
  28. หงายท้อง, หงายหลัง : (สำ) ก. ผิดไปจากที่คาดหวังไว้อย่างมาก เช่น มั่นใจ ว่าจะต้องสอบได้แน่ แต่พอไปดูประกาศผลการสอบ ไม่พบชื่อตัวเอง ก็หงายท้องกลับมา.
  29. หนักท้อง : ว. พอให้อิ่ม, พอประทังหิว, เช่น กินพอให้หนักท้อง.
  30. หน้าแว่น : น. เครื่องโรยขนมจีนเป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือ ทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่วแผ่น เย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรู ให้พอเหมาะกับแผ่นทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, แว่น ก็เรียก, เรียก ขนมปังกรอบที่มีรูปเช่นนั้นว่า ขนมปังหน้าแว่น; ผิวดินที่กระเทาะเป็น แผ่นบาง ๆ.
  31. หน้าหงาย : ว. อาการที่หน้าเงยแหงนขึ้น เช่น เขาถูกชกหน้าหงาย; โดย ปริยายหมายถึงอาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า เช่น ตั้งใจจะไป ขอยืมเงินเขา เขาบอกว่าหนี้เก่าก็ไม่ได้ชำระยังจะมาขอยืมอีก เลยต้อง หน้าหงายกลับมา; ที่ผิดไปจากที่คาดหวังไว้มาก เช่น เขาคุยว่าสอบเข้า มหาวิทยาลัยได้แน่ ๆ แต่พอประกาศผลแล้วไม่ได้ ก็หน้าหงายกลับมา.
  32. หน้าไหว้หลังหลอก : (สำ) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือ หาทางทำร้าย, ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก ก็ว่า.
  33. หนำ : ว. มากพอกับความต้องการ เช่น อิ่มหนำสำราญ.
  34. หมดราศี : ว. มีหน้าตาหมองคล้ำ เช่น พอหมดอำนาจก็หมดราศี.
  35. หมากหลุม : น. ผลหมากที่เกิดจากการนำหมากสุกทั้งเปลือกบรรจุลงใน หลุมที่ลึกประมาณ ๑ ศอก ราดน้ำพอชุ่มแล้วปิดคลุมปากหลุมให้มิดชิด ทิ้งไว้จนเปลือกเน่า เพื่อเก็บไว้กินแรมปี.
  36. หมากไห : น. ผลหมากที่เกิดจากการนำหมากสุกมาลอกผิวนอกออก บรรจุ ลงในไหให้เต็ม เติมน้ำสะอาดพอท่วม ปิดฝาให้แน่น ทิ้งไว้จนเปลือกเน่า เพื่อเก็บไว้กินแรมปี.
  37. หมี่ ๑ : น. เรียกแป้งข้าวเจ้าที่โรยเป็นเส้นลงในนํ้าเดือดพอสุกแล้วนํามาตากแห้ง ว่า เส้นหมี่, ชื่ออาหารประเภทหนึ่งที่ทําด้วยเส้นหมี่ เช่น หมี่กรอบ หมี่กะทิ. (จ.).
  38. หย็อง ๑ : ก. กลัว, ไม่สู้, หวาดกลัว, เช่น พอเห็นคู่ต่อสู้ก็หย็องเสียแล้ว. ว. มีอาการ หวาดกลัว เช่น พอถูกขู่เข้าหน่อยก็ทําท่าหย็อง.
  39. หยิบยืม : ก. ยืมสิ่งของบางอย่างที่พอหยิบได้.
  40. หรุ่ม ๑ : น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ไส้ทําด้วยหมูหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผัดกับถั่วลิสง หัวหอม และเครื่องปรุง ห่อด้วยไข่โรยฝอยขนาดพอดีคํา.
  41. หลง : [หฺลง] ก. สําคัญผิด, เข้าใจผิด, เช่น กาหลงเข้าใจว่าไข่นกดุเหว่าเป็นไข่ ของตน; หมกมุ่น, มัวเมา, คลั่งไคล้, เคลิบเคลิ้ม, เช่น หลงในอบายมุข หลงเสน่ห์; พลัด เช่น กาหลงเข้าไปในฝูงหงส์, เข้าไปแล้วหาทางออก ไม่ได้ เช่น หลงป่า หลงทางเหลืออยู่, ตกค้างอยู่, เช่น มะม่วงหลง ฝน หลงฤดู; มีความจำเลอะเลือน, สติเฟือนไป, เช่น พอแก่ก็ชักจะหลงแล้ว; เรียกเสียงที่แผดดังผิดปรกติ หรือเสียงที่ผิดระดับเสียงดนตรีว่า เสียงหลง.
  42. หลุดมือ : ก. หลุดไปจากมือ เช่น ปลาหลุดมือไป, โดยปริยายหมายความว่า สูญเสียสิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น พอมีการเปลี่ยนรัฐบาล ตำแหน่งของเขาก็หลุดมือ ไป, คาดว่าจะได้แต่ไม่ได้ เช่น ตำรวจคาดว่าจะจับผู้ร้ายได้ แต่ไปถึงผิดเวลา ไปหน่อยเดียว ผู้ร้ายจึงหลุดมือไปได้.
  43. หลุดลอย : ก. พ้นจากที่ยึดไว้แล้วล่องลอยไป เช่น เรือที่ผูกไว้กับหลัก พอถูกคลื่นซัดก็หลุดลอยไป, โดยปริยายหมายความว่า ขาดพ้นไป, สูญสิ้นไป, หมดโอกาสที่จะได้, เช่น ลาภที่ควรได้หลุดลอยไป โอกาส หลุดลอยไป.
  44. หลุมพอ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Intsia palembanica Miq. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าดิบทางภาคใต้ เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง, กะลําพอ หรือ ตะลุมพอ ก็เรียก.
  45. หอบ ๑ : ก. เอาแขนทั้ง ๒ ข้างรวบสิ่งของไป; ขนสมบัติย้ายไป เช่น หอบข้าว หอบของ หอบลูกหอบเต้า; พัดพาไป เช่น ลมหอบเมฆฝนไปหมด. น. ปริมาณของฟืนหรือผักหญ้าเป็นต้นที่พอ ๒ แขนรวบได้ เรียกว่า หอบหนึ่ง.
  46. หัวอ่อน : ว. ว่าง่าย, สอนง่าย, เช่น เขาเป็นคนหัวอ่อน บอกอะไรก็เชื่อ, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง. ก. ยอมอ่อนตามง่าย เช่น เด็กคนนี้หัวอ่อนมาก พอชี้แจงให้เข้าใจก็เปลี่ยนความคิดทันที, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง.
  47. หาเช้ากินค่ำ : ก. หาเลี้ยงชีพด้วยความลำบากยากแค้นพอประทังชีวิตไป วันหนึ่ง ๆ.
  48. หายหัว : ก. หายไปนาน เช่น ใช้ให้ไปซื้อของใกล้ ๆ แค่นี้ หายหัวไปไหน มา, หลบลี้หนีหน้า เช่น พอจะใช้ให้ทำงานก็หายหัวไปเลย, หายตัว หรือ หายหน้า ก็ว่า.
  49. เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง : (สํา) ก. ทําเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกําลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น หรือเห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือ ประสานรัดก้น.
  50. เหมาะเจาะ : ว. พอดี, พอดิบพอดี.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-339

(0.0400 sec)