Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทรง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทรง, 352 found, display 151-200
  1. ธิติ : (แบบ) น. ความทรงไว้, ความมั่นคง, ปัญญา. (ป.).
  2. นวลระหง : ว. มีรูปทรงงาม.
  3. นาขอบเหล็ก : น. นาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีก, นาเชิงทรง ก็ว่า.
  4. นางกำนัล : น. นางอยู่งานที่ทรงใช้สอยในพระราชมนเทียร และได้รับ พระราชทานหีบหมากกาไหล่ แต่ยังไม่นับว่าเป็นเจ้าจอม.
  5. นามาภิไธย : น. ชื่อ (ใช้เฉพาะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จ พระบรมราชินีสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนามาภิไธย เช่น ทรงลงพระนามาภิไธย.
  6. นิพนธ์ : น. เรื่องที่แต่งขึ้น, (ราชา) พระนิพนธ์, พระราชนิพนธ์. ก. ร้อยกรอง ถ้อยคํา, แต่งหนังสือ, (ราชา) ทรงนิพนธ์, ทรงพระนิพนธ์, ทรงพระราช นิพนธ์. (ป., ส. นิพนฺธ).
  7. นุ่น : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Ceiba pentandra (L.) Gaertn. ในวงศ์ Bombacaceae ลําต้นและกิ่งก้านสีเขียว มีหนามสั้น ๆ ที่โคนต้น กิ่ง ทอดขนานกับพื้น ทิ้งใบในฤดูแล้ง ดอกสีขาวนวล ผลรูปทรงกระสวย ใช้ปุยในผลอย่างเดียวกับง้าวและงิ้ว.
  8. แน่ง : น. นาง. แน่งน้อย ว. มีรูปทรงแบบบาง (มักใช้แก่หญิงสาว).
  9. ในกรม : (ปาก) น. เรียกเจ้านายที่ทรงกรม, ย่อมาจากคําว่า เสด็จในกรม.
  10. บันทึก : ก. จดข้อความเพื่อช่วยความทรงจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, จดหรือ ถ่ายทําไว้เพื่อช่วยความจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, เช่น บันทึกรายงาน การประชุม บันทึกภาพ บันทึกเสียง, จดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม; ย่นย่อ, ทําให้สั้น, เช่น บันทึกมรรคา. น. ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วย ความทรงจํา; หรือเพื่อเป็นหลักฐาน, ข้อความที่นํามาจดย่อ ๆ ไว้ เพื่อให้รู้เรื่องเดิม(กฎ) หนังสือที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ จดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึก คําร้องทุกข์และคํากล่าวโทษด้วย.
  11. บ้า ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Leptobarbus hoevenii ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัวค่อนข้างยาวหนาเกือบเป็นรูปทรงกระบอก หัวกว้าง มีหนวด ๒ คู่ ท้องกลมมน ด้านหลังและข้างตัวสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีขาว แต้มเหลือง ครีบท้อง ครีบก้น และครีบหลังสีแดงอ่อน ในปลา ขนาดเล็กมีแถบสีดําคลํ้าพาดตลอดข้างตัว พบอาศัยตามแม่นํ้า ลําคลองและบึงใหญ่ทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ใน ธรรมชาติกินผลไม้รวมทั้งผลกระเบา เมื่อมีผู้นําไปบริโภค ทําให้เกิดอาการมึนเมา, อ้ายบ้า หรือ พวง ก็เรียก.
  12. เบญจคัพย์ : น. เต้านํ้า อยู่ในหมู่ของใช้ในการพระราชพิธี ตาม ราชประเพณีของไทยใช้สําหรับพระมหากษัตริย์ทรงรับนํ้า อภิเษกหรือใส่นํ้าเทพมนตร์ ซึ่งจะรดถวายให้แก่พระมหากษัตริย์ หรือพระมหากษัตริย์ทรงรดพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าซึ่งมีพระ ชนนีเป็นเจ้า, บางแห่งเขียนว่า เบญจครรภ.
  13. ปฐมโพธิกาล : [ปะถมมะโพทิกาน] น. กาลแรกตรัสรู้ คือ ระยะเวลา นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนถึงทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา ในแคว้นมคธ. (ป.).
  14. ปโยธรา : น. ''ที่ทรงนํ้านมไว้'' คือ ทรวงอกหรือนมหญิง. (ส.).
  15. ปรมาภิไธย : [ปะระมาพิไท, ปอระมาพิไท] น. ชื่อ (ใช้เฉพาะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) เช่น ในพระปรมาภิไธย ทรงลง พระปรมาภิไธย. (ป. ปรมาภิเธยฺย).
  16. ประกันชีวิต : (กฎ) น. ชื่อสัญญาประกันภัยชนิดหนึ่ง ซึ่งบุคคล คนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับประกันภัย ตกลงจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่ ผู้รับประโยชน์โดยอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง และในการนี้ผู้เอาประกันภัยตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย ให้แก่ผู้รับประกันภัย, สัญญาประกันชีวิต ก็เรียก. (ปาก) ก. ทําสัญญา ประกันชีวิต.
  17. ประณาม ๑ : ก. น้อมไหว้ เช่น ขอประณามบาทบงสุ์พระทรงศรี. (ส. ปฺรณาม; ป. ปณาม).
  18. ประทัง : ก. ทําให้ทรงอยู่ได้, ทําให้ดํารงอยู่ได้, เช่น กินพอประทังชีวิต เรือนโย้เอาเสาไปคํ้าพอประทังไว้ก่อน.
  19. ปรางค์ : [ปฺราง] น. สิ่งก่อสร้างมียอดสูงขึ้นไปมีรูปทรงคล้ายฝักข้าวโพด และมีฝักเพกาปักอยู่ข้างบน, ถ้าเป็นเจดีย์มียอดเช่นนั้น เรียกว่า เจดีย์ยอดปรางค์.
  20. ปริมาตร : [ปะริมาด] น. ขนาดของสิ่งใด ๆ ที่มีรูปทรง ๓ มิติ และระบุ ปริมาณเป็นหน่วยลูกบาศก์ เช่น ลูกบาศก์เมตร ลูกบาศก์ฟุต.
  21. ปลิงทะเล : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Holothuroidea ลำตัวยาว อ่อนนุ่ม รูปร่างทรงกระบอกยืดหดได้ หัวท้ายยาวรี อาศัยอยู่ใน ทะเล บางชนิดรับประทานได้ เช่น ปลิงขาว (Holothuria scabra) ปลิงดํา (H. atra) ในวงศ์ Holothuriidae.
  22. ปะการัง : น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง จําพวกเดียวกับดอกไม้ทะเล แต่ละตัวมีรูปร่างทรงกระบอก ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็น กระจุก สร้างหินปูนออกมาพอกทับถมกันเป็นโครงรูปร่างต่าง ๆ อาศัยและเจริญเติบโตในทะเลตื้นเขตร้อน ที่พบมากในน่านนํ้าไทย คือ ชนิด Porites lutea และ ปะการังเขากวาง ในสกุล Acropora, โครงสร้างของตัวปะการังที่เกาะติดอยู่กับที่และมีซากปะการังตาย ทับถมเพิ่มพูนขึ้นตามลําดับ เรียกว่า หินปะการัง, ถ้ามากจนเป็นโขด เกาะ หรือ เทือก ก็เรียกว่า โขดปะการัง เกาะปะการัง หรือ เทือก ปะการัง, บางทีเรียกเป็น กะรัง.
  23. ปัทมปาณี : น. ผู้มีดอกบัวในมือ คือ พระพรหม พระวิษณุ, ชื่อหนึ่ง หรือปางหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระหัตถ์ทรงดอกบัว.
  24. ปาติโมกข์ : น. คัมภีร์ว่าด้วยวินัยของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ, ชื่อบาลีที่ประมวล พุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา ได้แก่ อาทิพรหม จริยกาสิกขา มีพระพุทธานุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกวัน อุโบสถ. (ป.).
  25. แปวง : น. แปที่วางอยู่บนจันทันกันสาดหรือจันทันระเบียงของ เรือนไทย โบสถ์ วิหาร หรือวางอยู่บนจันทันสำหรับอาคารที่มี หลังคาทรงปั้นหยา.
  26. ไปล่ปลิว : ก. ขจรไป เช่น ทรงนํ้ามันกันไรไปล่ปลิว. (อิเหนา), เชิด ขึ้นไปคล้ายเส้นขอบนอกชามปากไปล่.
  27. ผงร : [ผะหฺงอน] ก. หงาย, ชูขึ้น, ทรงไว้, เช่น ข้าแต่พระผู้ผงรแผ่นแผ้ว. (ม. คําหลวง จุลพน); ชะเง้อขึ้น เช่น เสือผกผงร. (เสือโค). (ข. ผฺงาร).
  28. ผลึก : [ผะหฺลึก] น. ชื่อแก้วอย่างหนึ่งมีสีใสขาว เรียกว่า แก้วผลึก, สิ่งมี ลักษณะขาวใสดั่งแก้ว เช่น น้ำตาลตกผลึก ผลึกน้ำตาล. (ป. ผลิก); (วิทยา) ของแข็งที่มีโครงสร้างเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่แน่นอน เฉพาะตัว. (อ. crystal).
  29. ผ้ากฐิน : น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุเฉพาะ กฐินกาล.
  30. ผีถ้วยแก้ว : น. เรียกการเล่นทรงเจ้าเข้าผีวิธีหนึ่ง โดยผู้เล่นเอานิ้ว แตะที่ถ้วยแก้วแล้วถ้วยแก้วจะเคลื่อนไปตามตัวอักษรต่าง ๆ ให้ ผู้เล่นอ่านเอาความได้.
  31. เผละผละ : ว. อ้วนจนเนื้อเหลวไม่มีรูปมีทรง เช่น อ้วนเผละผละ.
  32. ฝนหลวง : น. ฝนเทียมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำขึ้นเพื่อบรรเทาความแห้งแล้ง.
  33. ฝาละมี : น. สิ่งที่ปิดปากหม้อดินที่เป็นหม้อข้าวหม้อแกง; เรียกส่วน พระเจดีย์ที่เป็นฐานรองรับปล้องไฉนของเจดีย์ทรงกลมหรือทรงลังกา คล้ายฝาละมี ว่า บัวฝาละมี.
  34. พรต : [พฺรด] น. กิจวัตร, การปฏิบัติ; มรรยาท, เขตแห่งความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, การสมาทานหรือประพฤติตามลัทธิศาสนา, การจําศีล (เช่น การเว้นบริโภค เว้นเมถุนธรรม); การสมาทานบริโภค อาหารอย่างเดียวเป็นนิตย์ (เช่น มธุพรต คือ การสมาทานกินแต่นํ้าผึ้ง); ข้อกําหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ มีศีลวินัยเป็นต้น เช่น บําเพ็ญพรต ทรงพรต ถือพรต, เรียกผู้บําเพ็ญพรตว่า นักพรต. (ส. วฺรต; ป. วตฺต).
  35. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  36. พระกรน้อย : (ราชา) น. ชื่อเสื้อชั้นในที่แขนต่อแถบรัดคู่กับฉลอง พระองค์ทรงประพาส, ฉลองพระกรน้อย ก็ว่า.
  37. พระราชกฤษฎีกา : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกําหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน.
  38. พระราชกำหนด : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
  39. พระราชบัญญัติ : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย คําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา.
  40. พระสนม : น. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตา ยกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยา ราชาวดี.
  41. พล, พล : [พน, พนละ, พะละ] น. กําลัง, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็น กำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตํารวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).
  42. พัดยศ : น. พัดพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อ พระราชทานแก่ภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญธรรมได้ตั้งแต่ ๓ ประโยค ขึ้นไป หรือแก่พระภิกษุที่มีความรู้ความสามารถในการศึกษา การ บริหารหรือการเผยแผ่พระศาสนา เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแสดง ลำดับชั้นแห่งสมณศักดิ์ มีรูปและชื่อต่าง ๆ กัน คือ พัดหน้านาง พัดพุดตาน พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์.
  43. พาน ๑ : น. ภาชนะมีเชิงประเภทหนึ่ง มีหลายชนิด บางชนิดมีรูปทรงคล้าย จาน บางชนิดมีรูปทรงคล้ายขัน เชิงมีรูปร่างต่าง ๆ กัน ใช้สําหรับ ใส่สิ่งของมีดอกไม้ธูปเทียนเป็นต้น.
  44. พานพระขันหมาก, พระขันหมาก : (โบ; ราชา) น. พานมีรูปทรง คล้ายพานแว่นฟ้า ทำด้วยทองคำ จำหลักลวดลายลงยาสี เป็นเครื่อง ราชูปโภค ใช้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดินในพานประกอบด้วย ตลับพู่ใส่ ขี้ผึ้ง ๑ มังสี ๒ สำหรับใส่หมากเจียน ๑ หมากทั้งลูก ๑ซองพลู ๒ สำหรับใส่พลูจีบ ๑ พลูทั้งใบ ๑ ตลับใส่กระวาน ๑ ตลับใส่ยาฝอย ๑ และพระแสงกรรบิด ๑, พานพระศรี ก็ว่า.
  45. พานแว่นฟ้า : น. พานที่ซ้อนกัน ๒ ชั้น ชนิดหนึ่งประดับมุกหรือ กระจกเป็นต้น ใบบนเป็นพานทรงสูงซ้อนกันอยู่บนตะลุ่ม อีก ชนิดหนึ่งทําด้วยโลหะจําหลักลายกะไหล่ทอง ใบบนเป็นพานเล็ก ซ้อนอยู่บนพานใหญ่.
  46. พิโรธ : (ราชา) ก. โกรธ, เคือง, ใช้ว่า ทรงพระพิโรธ. (ป., ส. วิโรธ ว่า การขัดขวาง).
  47. พีระมิด : น. สิ่งก่อสร้างที่มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านข้างทั้ง ๔ เป็น รูปสามเหลี่ยม มีปลายสุดไปบรรจบกันที่ยอด, ในอียิปต์เดิมใช้เป็น ที่ฝังพระศพ ต่อมาบางทีก็ใช้เป็นเทวสถาน, ส่วนพีระมิดที่เม็กซิโก ใช้เป็นเทวสถานอย่างเดียว, เรียกสิ่งหรือรูปที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้นว่า รูปพีระมิด; (คณิต) รูปทรงตันชนิดหนึ่ง มีฐานเป็นรูป หลายเหลี่ยม และด้านข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกัน. (อ. pyramid).
  48. พุ่ม : น. ลักษณะกิ่งก้านของต้นไม้ที่รวมกัน มีทรงเกือบกลมยอดนูน คล้ายกระพุ่มมือ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ต้นมะขามแตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม พุ่มต้นเข็ม, ชื่อดอกไม้ไฟอย่างหนึ่ง ใช้ดอกไม้เทียนเสียบซี่ไม้เป็นชั้น ๆ กลางพองเป็นรูปพุ่ม.
  49. พุ่มข้าวบิณฑ์ : ดู พุ่มทรงข้าวบิณฑ์.
  50. ฟื้น : ก. กลับคืนมาใหม่ เช่น ฟื้นความทรงจํา ฟื้นสติ, คืนความรู้สึก เช่น ฟื้นจากสลบ, พลิกกลับขึ้นมา เช่น ฟื้นดิน; ถอนขึ้น เช่น ฟื้นมัน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-352

(0.0113 sec)