Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความช่วยเหลือ, เหลือ, ช่วย, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความช่วยเหลือ, 3590 found, display 701-750
  1. แคลเซียมคาร์ไบด์ : น. ชื่อสารประกอบ มีสูตรเคมี CaC2 ลักษณะเป็น ของแข็งสีเทา เมื่อทําปฏิกิริยากับนํ้าจะได้แก๊สอะเซทิลีนซึ่งจุดไฟติด ให้ความสว่าง ใช้เป็นตะเกียงได้. (อ. calcium carbide).
  2. แคลเซียมไซคลาเมต : น. ชื่อสารประกอบ มีสูตรเคมี (C6H11NHSO3)2 Ca?2H2O ลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายนํ้าได้ มีรสหวานมากกว่า นํ้าตาลทรายมาก ใช้เป็นตัวให้ความหวานในเครื่องดื่ม มีหลักฐานว่า สารนี้ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้. (อ. calcium cyclamate).
  3. แคล้ว : [แคฺล้ว] ก. รอดไป, พ้นไป, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น เป็นเนื้อคู่กัน แล้วไม่แคล้วกัน ไม่แคล้วไม้เรียว.
  4. แคลอรี : น. หน่วยวัดปริมาณความร้อน ๑ แคลอรี คือ ปริมาณความร้อน ที่ทําให้นํ้าบริสุทธิ์ ๑ กรัม ร้อนขึ้น ๑?ซ. (อ. calorie).
  5. โคไซน์ : (คณิต) น. โคไซน์ของมุมใดคืออัตราส่วน (เศษ ความยาวของด้านประชิด มุมนั้น ส่วนความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก) ในเมื่อถือเอารูปสามเหลี่ยม มุมฉาก (ที่มีมุมนั้น) เป็นหลัก. (อ. cosine).
  6. โคตร, โคตร- : [โคด, โคดตฺระ-] น. วงศ์สกุล, เผ่าพันธุ์, ต้นสกุล, เช่น โคตมโคตร; คํานี้บางทีก็นําไปใช้ในความหมายไม่สุภาพหรือเป็นคําด่า เช่น ก่นโคตร. (ส. โคตฺร; ป. โคตฺต ว่า โรงวัว, คอกวัว, วงศ์, ตระกูล).
  7. โคตรภู : [โคดตฺระพู] (แบบ) น. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลําดับ อริยมรรค, พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนามีขนบธรรมเนียมห่าง จากธรรมวินัย แต่ยังถือตนว่าเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์. (ส. โคตฺรภู ว่า อ้างแต่เพศ ไม่มีคุณความดีของเพศ).
  8. โคบอลต์ : น. ธาตุลําดับที่ ๒๗ สัญลักษณ์ Co เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๙๕ํซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือเพื่อให้มี สมบัติพิเศษบางประการ เช่น ผสมกับเหล็กทําให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และเมื่อนําไปทําเป็นแม่เหล็กก็จะได้แม่เหล็กที่มีกําลังมากเป็นพิเศษ ใน อุตสาหกรรมเครื่องแก้วและเครื่องดินเผาใช้สารประกอบของโคบอลต์ เป็นตัวให้สีนํ้าเงิน. (อ. cobalt).
  9. โครเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๒๔ สัญลักษณ์ Cr เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอม ละลายที่ ๑๘๗๕?ซ.ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า ไม่เป็นสนิม อุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงเป็น พิเศษเพื่อใช้ทําเครื่องมือช่าง และในอุตสาหกรรมชุบโลหะ ด้วยโครเมียม. (อ. chromium).
  10. โคราช : น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวโคราชที่ว่าแก้กันเป็นทํานอง ตีฝีปากโต้คารมกันบ้าง เกี้ยวพาราสีกันบ้าง คล้ายเพลงฉ่อย วรรคหนึ่ง ใช้คําตั้งแต่ ๔ ถึง ๗ คํา ๓ คํากลอนเป็นบทหนึ่ง ความไพเราะอยู่ที่สัมผัส ในการเล่นคําเล่นความให้สละสลวยบาทสุดท้ายจะเอื้อนเสียงในเวลาร้อง.
  11. ใคร่ : [ไคฺร่] ก. อยาก, ต้องการ, ปรารถนา, ใฝ่; ใช้เป็นคำช่วยกริยาแสดงการ ขอร้องอย่างสุภาพ เช่น ใคร่ขออนุญาตดำเนินการ.
  12. ใคร ๒, ใคร ๆ : [ไคฺร] ส. ผู้ใดผู้หนึ่ง, คนใดคนหนึ่ง, (ซึ่งมิได้กำหนดแน่นอนลงไป) เช่น ฉันไม่อยากพึ่งใคร ใคร ๆ ก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้.
  13. ฆ้องปากแตก : (สํา) ว. ปากโป้ง, เก็บความลับไม่อยู่, ชอบนําความลับ ของผู้อื่นไปโพนทะนา.
  14. โฆษณาการ : น. การป่าวร้องให้ทราบ, การแจ้งความให้ทราบ. (ส. โฆษณา + อาการ).
  15. โฆษณาชวนเชื่อ : ก. เผยแพร่อุดมการณ์หรือความคิดเห็น ด้วยกล อุบายต่าง ๆ เพื่อโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้เห็นคล้อยตาม.
  16. งก ๆ, ง่ก ๆ : ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก เช่น ทำงานง่ก ๆ ทั้งวันจนไม่มีเวลาหยุดพัก.
  17. งง : ก. ฉงน, คิดไม่ออกเพราะยุ่งยากซับซ้อน, ทําอะไรไม่ถูกเพราะยังตั้งสติ ไม่อยู่; อาการมึนเกิดเพราะหัวหรือบริเวณหน้าได้รับความกระทบ กระเทือนอย่างแรงเป็นต้น.
  18. งมงาย : ก. หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล หรือโดยไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น หรือเหตุผลของผู้อื่น.
  19. งอมพระราม : (สํา) ว. มีความทุกข์ยากลําบากเต็มที่ เช่น ทศกัณฐ์จะ งอมพระรามที่ไหน เกรงพระรามจะงอมพระรามไปเองเสียอีก. (ลักวิทยา).
  20. งัดข้อ : ก. เกร็งแขนขัดกัน แล้วออกกําลังกดให้แขนอีกฝ่ายหนึ่งล้มลง, โดยปริยายหมายความว่า โต้เถียงกัน, มีความเห็นขัดแย้งกัน, ไม่ลงรอยกัน.
  21. งานอดิเรก : น. งานที่ทำเพื่อความเพลิดเพลิน.
  22. ง่าม ๑ : น. ลักษณะหรือสิ่งที่แยกออกเป็น ๒ หรือ ๓ เป็นต้น เช่น ง่ามไม้ ไม้ง่าม สามง่าม, โดยปริยายใช้หมายถึงถ้อยคําที่มีความหมายได้ ๒ ทาง คือ ทั้ง ทางสุภาพและไม่สุภาพ เช่น พูดสองง่าม.
  23. งำ : ก. ปิด เช่น งําความ, ปกครอง เช่น งำเมือง, รักษา ในคำว่า เก็บงำ, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา ครอบ เป็น ครอบงํา.
  24. งู ๆ ปลา ๆ : ว. มีความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่รู้จริง, ในคําว่า รู้งู ๆ ปลา ๆ.
  25. เงอะ, เงอะงะ : ว. แสดงกิริยาอาการเคอะเขินไม่แนบเนียนเพราะหย่อนความชํานาญเป็นต้น.
  26. เงินดาวน์ : (ปาก) น. เงินที่ต้องชำระครั้งแรกเมื่อทำสัญญา โดยมีข้อตกลง ว่าเงินส่วนที่เหลือจะผ่อนส่งเป็นงวด ๆ ตามจำนวนที่กำหนด.
  27. เงินนอน : น. เงินเหลือใช้ที่เก็บไว้.
  28. เงี่ยน : ก. อยากจัด, กระหายจัด, มีความรู้สึกอยากหรือกระหายเป็นกําลัง, (โดยมากใช้เฉพาะของเสพติดและกามคุณ).
  29. เงือก ๓ : น. ชื่อนกในวงศ์ Bucerotidae ส่วนใหญ่ลําตัวสีดํา ปากใหญ่ อยู่รวมกัน เป็นฝูงในป่าลึกเวลาบินเสียงดังมาก ขณะตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหารและอุจจาระปิดปากโพรงไว้ เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหา อาหารมาป้อนให้ขณะกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อนได้ ร้องเสียงดังมาก กิน เนื้อสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น เงือกกรามช้าง (Rhyticeros undulatus) เงือกหัวแรด (Buceros rhinoceros) แก๊ก (Anthracoceros albirostris).
  30. จงรัก, จงรักภักดี : ก. ผูกใจรักด้วยความเคารพนับถือหรือรู้คุณอย่างยิ่ง.
  31. จตุปาริสุทธิศีล : [จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือ เครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สํารวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สํารวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).
  32. จตุรงคประดับ : [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอน ๔ วรรค ในแต่ละบทขึ้นต้นวรรคด้วยคำ ๒ คำซ้ำกัน ตัวอย่างว่า พระหน่อไทยได้สดับแสดงกิจพระหน่อคิดจิตวาบระหวาบหวาม พระหน่อ ตรึกนึกคะเนคะนึงความ พระหน่อนามแจ้ง กระจัดกระจ่างใจ. (ชุมนุมตำรากลอน).
  33. จตุรพิธพร : [-พิดทะพอน] น. พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ, ใช้ในการให้พรขอให้มีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ และมีกําลังแข็งแรง.
  34. จบ ๒ : ก. ยกของขึ้นหรือพนมมือเหนือหน้าผากเพื่อตั้งใจอุทิศให้เวลาทำบุญทำทาน; กิริยาที่ช้างชูงวงขึ้นเหนือหัวทําความเคารพ ในคำว่า ช้างจบ.
  35. จรณะ : [จะระ-] น. ความประพฤติ, ในพระพุทธศาสนาหมายความว่า ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุวิชชา. (ป.).
  36. จรรยา : [จัน-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ เช่น จรรยาแพทย์, นิยมใช้ในทางดี เช่น มีจรรยา หมายความว่า มีความ ประพฤติที่ดี. (ส. จรฺยา; ป. จริยา).
  37. จรรยาบรรณ : [จันยาบัน] น. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพ การงานแต่ละอย่างกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้.
  38. จริง, จริง ๆ : [จิง] ว. แน่ เช่น ทําจริง ชอบจริง ๆ; แท้, ไม่ปลอม, เช่น ของจริงไม่ใช่ของเทียม; เป็นอย่างนั้นแน่แท้ ไม่กลับเป็นอย่างอื่น เช่น ข้อนี้เป็นความจริง, ไม่เท็จ, ไม่โกหก, ไม่หลอกลวง, เช่น เรื่องจริง พูดจริง, เป็นไปตามนั้น เช่น ความฝัน กลายเป็นความจริง.
  39. จริงอยู่แต่, จริงอยู่...แต่ : สัน. ใช้แสดงความยืนยันข้อความที่กล่าวมาแล้ว ข้างหน้าและแสดงว่ามีข้อความขัดแย้งตามมาข้างหลัง.
  40. จริต : [จะหฺริด] น. ความประพฤติ, กิริยาหรืออาการ, เช่น พุทธจริต เสียจริต วิกลจริต, บางทีใช้ในทางไม่ดี เช่น ดัดจริต มีจริต, จริตจะก้าน ก็ว่า. (ป.).
  41. จริย- : [จะริยะ-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคำสมาส เช่น จริยศึกษา. (ป.).
  42. จริยวัตร, จริยาวัตร : น. หน้าที่ที่พึงประพฤติปฏิบัติ; ความประพฤติ ท่วงทีวาจา และกิริยามารยาท.
  43. จริยศาสตร์ : น. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิต มนุษย์ แสวงหาเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่าอย่างไหน ถูกไม่ถูก ดีไม่ดีควรไม่ควร และพิจารณาปัญหาเรื่องสถานภาพของค่าทาง ศีลธรรม. (อ. ethics).
  44. จริยศึกษา : น. การศึกษาเกี่ยวกับความเจริญงอกงามในทางความประพฤติ และการปฏิบัติตน เพื่อให้อยู่ในแนวทางของศีลธรรมและวัฒนธรรม. (อ. moral education).
  45. จริยา : [จะ-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคําสมาส เช่น ธรรมจริยา.
  46. จลนี ๒ : [จะ-] (กลอน) น. ชะนี เช่น จลนีหวนโหนปลายทูม. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป.). [จะ-] (แบบ) น. ธูป, ของหอม; แสงสว่าง, ฟ้าแลบ, เช่น จลาจเลนทร์. (ม. คําหลวง แปลจากคํา คนฺธมาทโน; ส. จล + อจล + อินฺทฺร). [จะลาจน] น. ความปั่นป่วนวุ่นวายไม่มีระเบียบ. (ป., ส. จล + อจล).
  47. จองกฐิน : ก. แจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้น ๆ ไว้เป็น การล่วงหน้า.
  48. จะ ๒ : เป็นคําช่วยกริยาบอกอนาคต เช่น จะไป จะอยู่.
  49. จ๊ะจ๋า : ว. เรียกอาการที่เด็กเริ่มหัดพูดพูดอย่างน่ารักน่าเอ็นดู เช่น ลูกฉันเริ่มหัดพูด จ๊ะจ๋าแล้ว. ก. อาการที่คู่รักพูดคุยกันอย่างมีความสุข เช่น สองคนนั้นเขา กำลังจ๊ะจ๋ากันอยู่อย่าไปกวนเขา.
  50. จัก ๒ : (ไว) คําช่วยกริยาบอกกาลภายหน้า แสดงเจตจำนง เช่น จักกิน จักนอน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3590

(0.0930 sec)