Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ก่อน , then กอน, ก่อน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ก่อน, 410 found, display 251-300
  1. ฤๅษี : น. ฤษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบําเพ็ญ พรตแสวงหาความสงบ.
  2. ลงคราม : ก. เอาผ้าขาวที่ซักแล้วชุบลงในน้ำผสมครามอ่อน ๆ ก่อนนำขึ้นตาก เพื่อให้ผ้าขาวนวลเมื่อแห้งแล้ว.
  3. ลงพื้น : ก. เอาวัตถุเช่นดินสอพองหรือรักสมุกทาลงบนพื้นเพื่อให้ ผิวเรียบก่อนที่จะทาน้ำมัน ทาสี หรือ เขียนลวดลาย.
  4. ลงหญ้าช้าง : น. การลงโทษในสมัยก่อน คือ เอาตัวไปเป็นคนเลี้ยงช้าง.
  5. ลดหลั่น : ว. ต่ำลงไปเป็นชั้น ๆ เช่น นั่งลดหลั่นกันไปตามขั้นบันได, ตามลำดับชั้น เช่น พนักงานได้รับโบนัสมากน้อยลดหลั่นกันไป, ก่อนหลังกันเป็นลำดับ เช่น ข้าราชการเข้ารับพระราชทานเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ลดหลั่นไปตามลำดับชั้น.
  6. ล้มทั้งยืน : ก. ล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวังอย่าง รุนแรงโดยไม่เคยคาดค ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น พอ รู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน.
  7. ล่วงรู้ : ก. รู้เสียก่อน, รู้ทัน, เช่น ล่วงรู้ความลับของผู้อื่น.
  8. ล่อนแก่น : ก. สิ้นเนื้อประดาตัว (ใช้แก่การพนัน) เช่น กินก่อนล่อนแก่น.
  9. ล้างหน้าผี, ล้างหน้าศพ : ก. ผ่ามะพร้าวห้าวให้น้ำรดลงไปบนหน้า ศพก่อนเผา.
  10. ลาดเลา : น. ลู่ทาง, เค้าเงื่อน, (มักใช้แก่กริยาดู) เช่น ตำรวจดูลาดเลาก่อนจับ การพนัน.
  11. ลาภมิควรได้ : (กฎ) น. ทรัพย์ที่บุคคลได้มาเพราะบุคคลอีกคนหนึ่ง กระทําเพื่อชําระหนี้ หรือได้มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้ มีมิได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว หรือได้มา เพราะประการอื่น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็น ทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ.
  12. เลิก : ก. ยกหรือเปิดสิ่งที่ปูลาดหรือคลุมอยู่เป็นต้น เช่น เลิกเสื่อ เลิกผ้าคลุม นอนไม่เรียบร้อย ผ้านุ่งเลิกสูงขึ้นไป; เพิกถอนสิ่งที่เคยปฏิบัติมา เช่น เลิกทาส เลิกประเพณีหมอบคลาน เลิกกินหมาก เลิกสัมปทานป่าไม้ ผัวเมียเลิกกัน; สิ้นสุดลงชั่วคราวหรือตลอดไป เช่น โรงเรียนเลิกแล้ว กลับบ้าน เลิกเรียนเพราะจบชั้นสูงสุดแล้ว เมื่อก่อนเป็นนักแสดง เดี๋ยวนี้เลิกแล้ว, หยุด, งดกระทำสิ่งซึ่งกำลังทำอยู่, เช่น เลิกพูด เลิกกิน เลิกเล่น.
  13. เลี้ยงตอบ, เลี้ยงตอบแทน : ก. เลี้ยงอาหารเป็นต้น ตอบแทนแก่ผู้ที่เคย เลี้ยงอาหารตนมาก่อน.
  14. เลี้ยงลา : ก. เลี้ยงอาหารเป็นการอำลาของผู้ที่จะจากไป เช่น นายแดง เลี้ยงลาเพื่อน ๆ ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่อื่น.
  15. แลหน้าแลหลัง : ก. พิจารณาให้รอบคอบ เช่น จะทำอะไรต้องแล หน้าแลหลังให้ดีเสียก่อน.
  16. ไล่ ๑ : ก. ตามไปติด ๆ เพื่อให้ทันหรือเพื่อกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไล่ยิง ไล่กัด ไล่ขวิด ไล่จิก; ขับ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น ไล่ขับ หมายความว่า บังคับให้ออกไปให้พ้น, บังคับให้ไปหรือให้ออก จากที่เดิม เช่น ไล่ควายเข้าคอก ไล่คนออกจากบ้าน; ต้อนให้จนมุม เช่น เอาม้าและเรือไล่ขุน; สอบดูลำดับก่อนหลังเพื่อทบทวนความรู้ ความจำเป็นต้น เช่น เรียกนักเรียนมาไล่แบบ.
  17. วันโกน : น. วันที่พระปลงผม คือ วันขึ้นและวันแรม ๑๔ คํ่า หรือวันแรม ๑๓ คํ่าของเดือนขาด, (ปาก) ชื่อวันก่อนวันพระ วันหนึ่งเดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ ขึ้น ๗ คํ่า ขึ้น ๑๔ คํ่า แรม ๗ คํ่าและ แรม ๑๔ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๓ คํ่า.
  18. วันทาสีมา : ก. ไหว้พัทธสีมาก่อนที่จะเข้าอุโบสถในพิธีอุปสมบท (ใช้แก่นาค).
  19. วันสุกดิบ : น. วันเตรียมงาน ซึ่งเป็นวันก่อนถึงกําหนดวันงานพิธี ๑ วัน.
  20. วัยอุ้ม : น. วัยของเด็กก่อนวัยจูง.
  21. วา ๒ : น. เพลงปี่พาทย์ทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงก่อนตัวแสดงออกแสดง เพื่อให้ผู้ชมรู้ว่าการแสดงจะเริ่มแล้ว.
  22. ว่ากลอนสด : ก. กล่าวกลอนที่ผูกขึ้นอย่างปัจจุบันโดยมิได้คิด มาก่อน; โดยปริยายหมายถึงกล่าวข้อความที่ไม่ได้เตรียมมาก่อน, พูดกลอนสด ก็ว่า.
  23. วาน ๒ : น. วันก่อนวันนี้วันหนึ่ง, มักใช้ว่า เมื่อวาน หรือ เมื่อวานนี้.
  24. วานซืน : น. วันก่อนเมื่อวานนี้วันหนึ่ง, วันก่อนวันนี้ไป ๒ วัน, มักใช้ว่า เมื่อวานซืน.
  25. ว่าไปทำไมมี : ก. พูดไปก็เสียเวลาเปล่า ๆ เช่น ว่าไปทำไมมี เมื่อก่อนก็ไม่มีสมบัติอะไรติดตัวอยู่แล้ว; ใช้เป็นคำขึ้นต้นประโยค หมายความว่า อันที่จริง เช่น ว่าไปทำไมมี เราคนกันเองทั้งนั้น.
  26. วิ่งกระโดดข้ามรั้ว, วิ่งข้ามรั้ว : น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขัน ต้องวิ่งเร็วแล้วกระโดดข้ามรั้วที่วางไว้เป็นระยะ ๆ ตามเส้นทางที่ กําหนดไว้ ใครถึงหลักชัยก่อนถือว่าชนะ.
  27. วิ่งกระสอบ : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแต่ละคนสวมกระสอบวิ่ง แข่งกัน ใครวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ, วิ่งสวมกระสอบ ก็ว่า.
  28. วิ่งเก็บของ : ก. วิ่งเก็บสิ่งของเช่นส้ม มะนาว ที่วางเป็นระยะ ๆ แล้ว ไปใส่ภาชนะที่วางไว้ที่ตั้งต้น ใครเก็บหมดก่อนเป็นผู้ชนะ.
  29. วิ่งแข่งกัน : ใครวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ, วิ่งกระสอบ ก็ว่า.
  30. วิ่งเต้น. : น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขันต้องวิ่งให้เร็วที่สุด เพื่อให้ ถึงหลักชัยก่อน ตามระยะทางที่กำหนด เช่น วิ่ง ๑๐๐ เมตร วิ่ง ๔๐ เมตร.
  31. วิ่งผลัด : น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง แบ่งออกเป็นชุด ๆ ชุดละ ๔ คน แต่ละชุดจัดคนยืนอยู่ในลู่ของตนตามจุดต่าง ๆ ที่กำหนด คนแรก จะเริ่มวิ่งจากต้นทาง แล้วส่งไม้ให้คนที่ ๒ คนที่ ๒ วิ่งไปส่งให้คน ที่๓ และคนที่ ๓ วิ่งไปส่งให้คนที่ ๔ ตามลำดับ คนที่ ๔ ของชุดใดวิ่ง ถึงหลักชัยก่อนเป็นผู้ชนะ.
  32. วิ่งวิบาก : น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง มี ๒ ประเภท ประเภทหนึ่ง ระยะทาง ๓,๐๐๐ เมตร ผู้แข่งขันต้องวิ่งกระโดดข้ามรั้ว ๒๘ รั้ว กระโดดข้ามบ่อน้ำหรือลุยน้ำในบ่อ ๗ บ่อใครถึงเส้นชัยก่อน เป็นผู้ชนะ อีกประเภทหนึ่งระยะทาง ๒,๐๐๐ เมตร ใช้สำหรับ การแข่งขันประเภทเยาวชน ผู้แข่งขันต้องวิ่งกระโดดข้ามรั้ว ๑๘ รั้ว กระโดดข้ามบ่อน้ำหรือลุยน้ำในบ่อ ๕ บ่อ ใครถึงเส้นชัยก่อนเป็น ผู้ชนะ.
  33. วิชาเลือกเสรี : น. รายวิชาที่เลือกเรียนได้อย่างเสรี โดยผู้เรียนไม่ต้อง ถามอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน. (อ. free elective course).
  34. วิปัสสนายานิก : น. ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน, ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ โดยมิได้เคยฝึกหัดเจริญสมาธิใด ๆ มาก่อน.
  35. วิลาด, วิลาศ : ว. ที่เป็นของยุโรป (เป็นคําที่ชาวอินเดียในสมัยก่อนเรียก ชาวตะวันตกโดยเฉพาะชาวอังกฤษ) เช่น สาคูวิลาด เหล็กวิลาด ผ้าวิลาศ. (เปอร์เซีย wilayat).
  36. วิสาสะ : น. ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม; การถือว่าเป็นกันเอง เช่น หยิบของไปโดยถือวิสาสะ. ก. พูดจาปราศรัยอย่างคุ้นเคยกัน เช่น ไม่เคยวิสาสะกันมาก่อน. (ป. วิสฺสาส; ส. วิศฺวาส).
  37. วู่วาม : ว. อาการที่พูดหรือทำอย่างรีบร้อนโดยไม่ใคร่ครวญให้ดีเสียก่อน, ขาดสติ, หุนหันพลันแล่น, เช่น อารมณ์วู่วาม ทำไปอย่างวู่วาม.
  38. เวรกรรม : [เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนใน อดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่, กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.
  39. แว่นส่องหน้า : น. สิ่งที่ทำด้วยโลหะขัดจนเป็นเงา ใช้ส่องหน้าใน สมัยก่อนที่จะมีกระจกเงา.
  40. แวะ : ก. หยุดชั่วคราวระหว่างทาง เช่น แวะตลาดก่อนกลับบ้าน แวะรับส่ง คนโดยสาร.
  41. ศิลปศาสตร์ : น. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทาง อาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วย วิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ เ๑. สูติ วิชาฟังสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชา เข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกาวิชากายบริหาร ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชา ดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.
  42. สงวนท่าที, สงวนทีท่า : ก. ไม่แสดงท่าทีให้ปรากฏชัดแจ้งเพื่อไม่ให้ ผู้อื่นรู้ความคิดของตน เช่น เขาสงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความคิดเห็น ในที่ประชุม, ระมัดระวังกิริยาวาจาไม่ให้ใครดูถูก เช่น ก่อนจะทักทาย ใคร ควรสงวนทีท่าไว้บ้าง.
  43. สนามวัด : น. สถานที่ที่สำนักเรียนพระปริยัติธรรมแต่ละสำนักได้ กำหนดให้เป็นที่ทดสอบบาลีก่อนที่จะส่งเข้าสอบบาลีสนามหลวง.
  44. สบาย : [สะบาย] ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มี วิตกกังวลใด ๆ; สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัว สบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย; พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย; ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือน เมื่อก่อน; ไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้; มีความ พอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).
  45. สมถยานิก : น. ผู้มีสมถะเป็นยาน, ผู้บำเพ็ญสมถะจนได้ฌานก่อน แล้วจึงเจริญวิปัสสนา. (ป.).
  46. สมทบ : ก. รวมเข้าด้วย เช่น เดินล่วงหน้าไปก่อนแล้วจะตามไปสมทบ.
  47. สมัยเก่า : น. สมัยโบราณ เช่น ถ้วยชามชุดนี้เป็นของสมัยเก่า. ว. พ้นสมัย, ไม่ใช่สมัยใหม่, ก่อนเวลาปัจจุบัน, เช่น เขามีความคิดอย่างคนสมัยเก่า. สมัยนิยม
  48. สมุก ๑ : [สะหฺมุก] น. ถ่านทําจากใบตองแห้งใบหญ้าคาเป็นต้นป่นให้เป็น ผงประสมกับรักนํ้าเกลี้ยง สําหรับทารองพื้นบนสิ่งต่าง ๆ เช่นบาน ประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารก่อนที่จะเขียนลายรดนํ้าปิดทอง.
  49. สอบซ้อม : ก. ทดสอบความรู้ก่อนสอบไล่ (ใช้ในโรงเรียน).
  50. สะดวก : ว. คล่อง, ไม่ติดขัด, เช่น ทางสะดวก การเดินทางสมัยนี้สะดวกกว่า สมัยก่อน, มักใช้เข้าคู่กับคำ สบาย เป็น สะดวกสบาย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-410

(0.0269 sec)