Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สำหรับ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สำหรับ, 424 found, display 151-200
  1. ปั๊ม : ก. ใช้เครื่องที่เป็นแบบพิมพ์ตอกลงหรือกดลงบนกระดาษหรือโลหะ เป็นต้นให้มีรูปหรือลวดลายตามแบบพิมพ์นั้น เช่น ปั๊มตรา ปั๊มกระดุม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปั๊มแบงก์ ปั๊มเงิน; ใช้เครื่องสูบหรือดูดของเหลวหรือแก๊ส เช่น ปั๊มน้ำ ปั๊มลม, ใช้เครื่อง ช่วยทำให้หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติ เรียกว่า ปั๊มหัวใจ. น. เรียก เครื่องยนต์สำหรับสูบน้ำว่า เครื่องปั๊มน้ำ, เรียกเครื่องยนต์สำหรับ สูบลมหรือแก๊สว่า เครื่องปั๊มลม, เรียกเครื่องอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้ หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติว่า เครื่องปั๊มหัวใจ; (ปาก) สถานีบริการ น้ำมันเชื้อเพลิง, เรียกเต็มว่า ปั๊มน้ำมัน.
  2. ปากคีบ : น. เครื่องคีบเป็นเหล็ก ๒ ขา ส่วนมากมีปลายแหลม สำหรับคีบสิ่งของ.
  3. ปืนพก : น. ปืนขนาดเล็ก สำหรับพกพาติดตัวไปได้.
  4. ปืนยาว : น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง ลำกล้องยาวตั้งแต่ ๒๐ นิ้ว ขึ้นไป มีแหนบสำหรับบรรจุกระสุน มักใช้ล่าสัตว์.
  5. ปืนสั้น : น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง ลำกล้องยาว ๒-๖ นิ้ว มีแหนบหรือ ลูกโม่สำหรับบรรจุกระสุน.
  6. แป้งกระแจะ : น. แป้งที่ผสมผงกระแจะ ใช้ละลายน้ำ สำหรับทา หรือเจิม.
  7. แปรก, แปรกบัง : [ปะแหฺรก, ปะแหฺรก-] น. ไม้ยาวสำหรับประกับหัวเพลาทั้ง ๒ ข้าง ของเกวียนหรือราชรถ กันไม่ให้ลูกล้อเลื่อนหลุด โดยมีไม้ขวาง ทางหรือแปรกขวางทางยึดหัวท้ายทั้ง ๒ ด้าน.
  8. แปวง : น. แปที่วางอยู่บนจันทันกันสาดหรือจันทันระเบียงของ เรือนไทย โบสถ์ วิหาร หรือวางอยู่บนจันทันสำหรับอาคารที่มี หลังคาทรงปั้นหยา.
  9. โป ๑ : น. เครื่องเล่นการพนันของจีน กลักทําด้วยทองเหลืองสี่เหลี่ยม มีลูกแดงขาวข้างในใช้ปั่น, ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือ เอาลิ้นโปใส่ลงในฝาครอบโป ไม่ให้คนแทงเห็น ปิดฝาครอบโป แล้วตั้งให้แทง โดยยอมให้คนแทงปั่นโปได้ตามใจชอบ เมื่อเปิด ถ้าลิ้นชักโปซีกขาวตรงกับช่องแต้มไหน ก็นับว่าโปออกแต้มนั้น โปมีประตูสำหรับแทงเพียง ๔ ประตูคือ หน่วย สอง สาม และครบ มีวิธีแทง ๗ วิธี คือ เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, โปปั่น ก็เรียก.
  10. โปปั่น : น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือเอาลิ้นโปใส่ลงใน ฝาครอบโปไม่ให้คนแทงเห็น ปิดฝาครอบโปแล้วตั้งให้แทง โดย ยอมให้คนแทงปั่นโปได้ตามใจชอบ เมื่อเปิด ถ้าลิ้นชักโปซีกขาว ตรงกับช่องแต้มไหน ก็นับว่าโปออกแต้มนั้น โปมีประตูสำหรับ แทงเพียง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ มีวิธีแทง ๗ วิธี คือ เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, โป ก็เรียก.
  11. โปสต์การ์ด : น. แผ่นกระดาษหนาพอประมาณด้านหนึ่งมักเป็นภาพ อีกด้านหนึ่ง สำหรับเขียนข้อความ และติดไปรษณียากรเพื่อส่งทางไปรษณีย์ โดยไม่ต้องบรรจุซอง. ว. เรียกขนาดภาพถ่ายเป็นต้น ที่มีความ กว้างยาวประมาณ ๓''x๕'' ว่า ขนาดโปสต์การ์ด. (อ. postcard).
  12. โป๊ะ ๑ : น. ที่สำหรับดักปลาทะเล ทำด้วยเสาไม้จริงปักเป็นวง ใช้ไม้ไผ่ทำ เป็นเฝือกกรุข้างใน มีประตูตรงกลาง ข้างประตูโป๊ะใช้เสาไม้จริง ปักยาวเหยียดออกไปทั้ง ๒ ข้าง เพื่อกั้นปลาให้ว่ายเลียบเลาะมาเข้า โป๊ะ เรียกว่า ปีกโป๊ะ, ลักษณนามว่า ปาก หรือ ลูก; เรียกเรือสำหรับ จับปลาในโป๊ะว่า เรือโป๊ะ; ทุ่นสำหรับเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้า หรือให้คนขึ้นลง; เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ.
  13. ไปรษณียากร : [ไปฺรสะนียากอน] น. ดวงตราไปรษณียากร, แสตมป์ ก็เรียก; (กฎ) ค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียสำหรับส่งไปรษณียภัณฑ์ทาง ไปรษณีย์.
  14. ผนึก : [ผะหฺนึก] ก. ติดให้แน่น เช่น ผนึกซอง ผนึกตรา, อัดให้แน่นเป็น ปึก เช่น ผนึกกระดาษหลาย ๆ แผ่นให้เป็นปึกเดียวกัน, ปิดให้แน่น เช่น ผนึกไห, รวมกันให้เป็นปึกแผ่น เช่นผนึกกําลัง. น. การนํา ช้างเล็กไปโดยใช้ช้างใหญ่ขนาบไป; เครื่องใช้ที่มีลักษณะแคบ สำหรับสอดใส่สิ่งของ.
  15. ผอบ : [ผะ] น. ภาชนะสำหรับใส่ของ มีเชิง ฝาครอบมียอด มักทำด้วย โลหะหรือไม้กลึงเป็นต้น.
  16. ผ้าเกี้ยว : น. ผ้าลายหรือผ้าปูมสมัยเก่าสำหรับขุนนางนุ่งหรือ ห่อคัมภีร์เป็นต้น, สมปัก ก็เรียก.
  17. ผ้าเช็ดมือ : น. ผ้ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสำหรับเช็ดมือหรือเช็ดปาก ที่โต๊ะอาหาร.
  18. ผ้าม่วง : น. ผ้าไหมสำหรับผู้ชายนุ่ง มีสีม่วงครามหรือม่วงชาด เป็นต้น.
  19. แผงไฟ : น. แผงที่รวมสายไฟสำหรับควบคุมกระแสไฟ.
  20. ฝักบัว ๑ : น. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง ขึ้นตามหลังและต้นคอ มีลักษณะเหมือน ฝักบัว มีหัวหลายหัว; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งผสมเชื้อ มีลักษณะ เหมือนฝักบัว; ที่สําหรับโปรยนํ้า ให้เป็นฝอย มีลักษณะเหมือนฝักบัว ติดอยู่ที่ท่อประปาสำหรับอาบน้ำหรือติดที่กระป๋อง รดน้ำต้นไม้.
  21. พนัง : น. ทํานบกั้นนํ้าอย่างใหญ่; เครื่องกั้นเครื่องกําบัง เช่น พนังม้า คือแผ่นหนังสำหรับปิดข้างม้าทั้ง ๒ ข้าง พนังที่นอน คือแผ่นผ้า ที่เย็บปิดกั้นรอบข้างที่นอนหรือกั้นภายในที่นอนให้เป็นช่อง ๆ เพื่อยัดนุ่นเป็นลูก ๆ พนังหมอน คือแผ่นผ้าที่เย็บปิดกั้นรอบ หมอน.
  22. พระยาโต๊ะทอง : น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยา และได้รับพระราชทานโต๊ะทอง (พานก้นตื้น) เป็นเครื่อง สำหรับยศ, ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูล จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่ง ที่ได้รับโต๊ะทอง.
  23. พระยาพานทอง : น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยา และได้รับพระราชทานพานทอง เป็นเครื่องสำหรับยศ, ผู้ที่ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้าชั้น ทุติยจุลจอมเกล้าขึ้นไป มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่งที่ได้รับพานทอง.
  24. พวน ๑ : น. เชือกเกลียวขนาดใหญ่สำหรับใช้โยงเรือ เป็นต้น; แนว.
  25. พะเนิน : น. ค้อนขนาดใหญ่สำหรับตีเหล็กหรือทุบหิน เป็นต้น; ของกองสุม กันขึ้นไปจนสูง, พะเนินเทินทึก ก็ว่า.
  26. พะอง : น. ไม้ไผ่ป่าตัดแขนงให้ยาวพอที่เท้าจะเหยียบขึ้นลงได้ สำหรับผูก พาดขึ้นต้นไม้ต่างบันไดถ้าต้นไม้สูงมากก็อาจใช้ไม้ไผ่หลายลำผูก ต่อ ๆ กันขึ้นไป, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  27. พังก๊ำ : น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่จักเป็นเส้น สานควบกับ เส้นปอเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีกรอบทั้ง ๔ ด้าน ใช้ทำเป็นฝากั้นล้อม หรือเป็นแผงหน้าบ้านหรือหน้าต่างสำหรับค้ำยันให้ปิดเปิดได้.
  28. พานพระขันหมาก, พระขันหมาก : (โบ; ราชา) น. พานมีรูปทรง คล้ายพานแว่นฟ้า ทำด้วยทองคำ จำหลักลวดลายลงยาสี เป็นเครื่อง ราชูปโภค ใช้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดินในพานประกอบด้วย ตลับพู่ใส่ ขี้ผึ้ง ๑ มังสี ๒ สำหรับใส่หมากเจียน ๑ หมากทั้งลูก ๑ซองพลู ๒ สำหรับใส่พลูจีบ ๑ พลูทั้งใบ ๑ ตลับใส่กระวาน ๑ ตลับใส่ยาฝอย ๑ และพระแสงกรรบิด ๑, พานพระศรี ก็ว่า.
  29. พาย : น. เครื่องมือสําหรับพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน ทำด้วยไม้ มีด้ามกลมยาว ประมาณ ๒ ศอก สำหรับจับด้านที่ใช้พุ้ยน้ำมีลักษณะแบน, ถ้า ลอกลวดเป็นคิ้วตลอดกลางใบพาย เรียกว่า พายคิ้ว, ถ้าด้ามสั้น ใบป้อม เพื่อให้จับได้ถนัด เรียกว่า พายทุย, เรียกไม้แบน ๆ ที่มี รูปคล้ายพาย เช่น พายกวนขนม. ก. เอาพายพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน.
  30. พุก ๓ : น. เครื่องกระเบื้องที่ตรึงกับฝาเป็นต้นสำหรับยึดสายไฟฟ้า.
  31. พุ่มดอกไม้ : น. ดอกไม้ที่จัดบนพานให้มีลักษณะเป็นพุ่มยอดแหลม สำหรับบูชาพระเป็นต้น นิยมใช้ดอกไม้สด เช่น ดอกบานไม่รู้โรย ดอกผกากรอง.
  32. โพล่ : น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สำหรับใส่เสบียงกรังและของใช้ต่าง ๆ เช่น ข้าวสาร เสื้อผ้า ประกอบด้วยกระชุ ๒ ใบ สานเป็นตาชะลอม กรุด้วย กาบไผ่ กระชุนั้นผูกติดกับคันซึ่งทำเป็นขา ๒ ขา ส่วนบนไขว้กัน มีหูสำหรับสอดไม้คานเพื่อหาบไป ด้านบนมีกัญญาซึ่งสานด้วยไม้ ไผ่เป็นตาชะลอมแล้วกรุด้วยใบไม้ผูกติดกับคันสำหรับกันแดดกันฝน. (รูปภาพ โพล่)
  33. มงคล, มงคล- : [มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่ง ซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้าย มากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องราง ของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกัน ภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้น สำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทย หรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).
  34. มาตร ๑, มาตร- ๑ : [มาด, มาดตฺระ-] น. เครื่องสำหรับวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตรน้ำ มาตรไฟฟ้า, มิเตอร์ ก็ว่า. (ส. มาตฺร; ป. มตฺต).
  35. มาตรฐาน : [มาดตฺระ-] น. สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช, สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนด ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้ ยังไม่เข้ามาตรฐาน.
  36. มาลัยชำร่วย : น. มาลัยพวงเล็ก ๆ สำหรับให้เป็นของชำร่วย มีหลายแบบ เช่น มาลัยตุ้ม มาลัยตัวด้วง.
  37. มาลา : น. ดอกไม้, ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สำหรับวางที่อนุสาวรีย์ พระบรมรูป หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ เรียกว่า พวงมาลา; หมวก (ราชาศัพท์ใช้ว่า พระมาลา); สร้อยคอ; สาย, แถว. (ป., ส.).
  38. มิเตอร์ : น. เครื่องสำหรับวัดขนาด จำนวน เวลา และ มุม เช่น มิเตอร์น้ำ มิเตอร์ไฟฟ้า, มาตร ก็ว่า. (อ. meter).
  39. มีด : น. เครื่องใช้สำหรับฟัน ผ่า จัก เหลา เป็นต้น ทำด้วยโลหะมีเหล็ก เป็นต้น ใบมีดมีลักษณะเป็นแผ่น รูปยาวรี มีคมด้านหนึ่ง มีสันอยู่อีก ด้านหนึ่ง หรือมีคมทั้ง ๒ ด้าน ปลายมีดรูปร่างแหลมก็มี ป้านก็มี โคนมีดเป็นกั่นรูปเดือยเรียวแหลม หรือเป็นแผ่นสอดติดอยู่ในด้าม ซึ่งมักทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์ มีชื่อเรียกต่าง ๆ ตามลักษณะและ วัตถุประสงค์ที่ใช้.
  40. มีดโกน : น. มีดสำหรับโกนผมหรือหนวดเคราเป็นต้น มีดโกนอย่าง เก่ารูปร่างคล้ายมีดโต้ สันหนา คมบาง ปรกติมีฝักหุ้มส่วนคม มีดโกนอย่างใหม่ใบมีดยาวรี สันหนา คมบาง มีฝักหุ้มคมเช่นกัน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มีดโกนโมกุล.
  41. มีดขอ : น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดยาว ปลายงอเป็นรูปขอ ด้ามยาว ๑-๒ ศอก ใช้สำหรับเกี่ยว ตัด ลิด หรือราน, พร้าขอ ก็เรียก.
  42. มีดควั่นอ้อย : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปยาวรี ปลายมน มีด้าม เจาะรู ที่ปลายใบมีดสำหรับสอดปลายเข้ากับหลักควั่นอ้อย ใช้ควั่นอ้อย.
  43. มีดดาบ : น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปยาวรีประมาณ ๑ ศอก ปลายงอน ขึ้นเล็กน้อย ด้ามทำด้วยไม้ยาว ๑ คืบ ดาบของหลวงปรกติสอดไว้ในฝัก ดาบเชลยศักดิ์ไม่นิยมทำฝักสำหรับสอดดาบ ใช้เป็นอาวุธ มีชื่อเรียก ต่างกันออกไปตามลักษณะปลายดาบ, ถ้าปลายแหลม หัวงอน เรียกว่า มีดดาบหัวปลาซิว, ถ้าปลายมนแหลมเรียกว่า มีดดาบหัวปลาหลด, ถ้าปลายตัดขวางเรียกว่า มีดดาบหัวตัด, ถ้าปลายแหลมตัดปลายสันเฉียง ปัดไปทางปลายดาบเรียกว่า มีดดาบหัวเผล้.
  44. มีดแป๊ะกั๊ก : น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปแบนยาวประมาณ ๑ ศอก สันหนา ด้ามทำด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ ๓ ศอก ใช้เป็นอาวุธสำหรับทหารเดินเท้า ในกองทัพสมัยโบราณ.
  45. มีดสปริง : น. มีดที่มีปุ่มสำหรับกดให้ใบมีดพุ่งออกมาหรือถอยกลับ เข้าที่เดิมได้.
  46. มีดเสือซ่อนเล็บ : น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดแบนเรียวปลายแหลม ยาวประมาณครึ่งฝ่ามือ ชุดหนึ่งมี ๒ เล่ม ด้ามมีดทำเป็นท่อน สี่เหลี่ยมยาว มีช่องสำหรับสอดใบมีดอีกเล่มหนึ่งสวนเข้าไปเก็บไว้ ได้มิดชิด มีดทั้ง ๒ เล่มเมื่อสอดใบมีดเข้าไปในด้ามของกันและกัน แล้ว แลดูเหมือนไม้สี่เหลี่ยมท่อนสั้น ๆ ใช้พกเป็นอาวุธ.
  47. มีดหมอ : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างคล้ายมีดเหน็บ แต่โคนมีดมี ชายแหลมโค้งออจากคมเล็กน้อย ใช้สำหรับประกอบในพิธีทาง ไสยศาสตร์.
  48. มีดหวด : น. มีดขนาดใหญ่ รูปเพรียวยาว ด้ามงอ ๆ สำหรับหวดหญ้า, พร้าหวด ก็เรียก.
  49. มือจับ : น. ส่วนที่ทำไว้สำหรับจับเวลาเปิดปิดประตูหรือในการ ใช้งานอื่น ๆ เป็นต้น เช่น มือจับประตูรถยนต์ มือจับกบไสไม้ มือจับลิ้นชัก.
  50. มือโม่ : น. ไม้ที่ยื่นออกมาจากตัวโม่ มีเดือยสำหรับจับหมุน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-424

(0.0443 sec)