Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สำหรับ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สำหรับ, 424 found, display 301-350
  1. โรงทึม : น. โรงสำหรับตั้งหรือเก็บศพ.
  2. โรงนา : น. โรงที่ชาวนาสร้างขึ้นเป็นที่อยู่อาศัย มักจะสร้างบนเนินดิน ที่สูงกว่าพื้นนากันน้ำท่วม ด้านหนึ่งมียกพื้นสำหรับนอน มีที่ทำครัว และมีที่ว่างสำหรับไว้วัวควายด้วย.
  3. โรงพยาบาล : น. สถานที่ให้บริการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย คือทั้งตรวจ รักษา และป้องกันโรคให้แก่ประชาชน และมีเตียงสำหรับรับคนไข้เข้า พักรักษาตัวด้วย.
  4. โรงมหรสพ : น. สถานที่สำหรับเล่นมหรสพ เช่น งิ้ว ลิเก ละคร ภาพยนตร์ เพื่อเก็บเงินจากคนดู ไม่ว่าจะปลูกเป็นตึก เรือน โรง หรือกระโจมและ ที่ปลูกกำบังอย่างใด ๆ.
  5. โรงเลี้ยง : น. โรงสำหรับเป็นที่กินอาหารของทหาร.
  6. โรงอาหาร : น. โรงสำหรับเป็นที่กินอาหารของนักเรียน นักศึกษาเป็นต้น.
  7. ล็อกเกต : น. เครื่องประดับทำเป็นรูปตลับเล็ก ๆ หรือกรอบรูป มีห่วงสำหรับ คล้องสายสร้อยห้อยคอหรือกลัดติดเสื้อ. (อ. locket).
  8. ลังถึง : น. ภาชนะสําหรับนึ่งของ ทำด้วยโลหะมีลักษณะกลมคล้ายหม้อ ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ๒–๓ ชั้น ชั้นล่างใส่น้ำสำหรับต้มให้ร้อน ชั้น ที่ซ้อนที่ก้นเจาะเป็นรู ๆ เพื่อให้ไอน้ำร้อนผ่านให้ของในชั้นที่ ซ้อนสุก มีฝาครอบคล้ายฝาชี, ซึ้ง ก็ว่า.
  9. ลาดพระบาท : น. พรมทางสำหรับปูลาดเป็นทางทรงพระดำเนิน ของพระมหากษัตริย์และพระราชินี, ในปัจจุบันใช้ปูลาดเป็นทาง ทรงพระดำเนินของพระบรมราชวงศ์ชั้นสูงด้วย.
  10. ลาพอน : น. ชันชนิดหนึ่ง มีสีเหลืองนวล สำหรับใช้พอนเรือเป็นต้น, ชันพอน ก็ว่า.
  11. ลำราง : น. ทางน้ำเล็ก ๆ ที่ขุดสำหรับชักน้ำจากคลองเข้านาหรือ ระบายน้ำออกจากนา.
  12. ลิ้นกบ : น. ไม้แบน ๆ สำหรับประกับใบกบไสไม้ให้แน่น.
  13. ลิ้นกระดาน : น. ไม้ที่ทำเป็นลิ้นยื่นยาวไปตามตัวไม้สำหรับประกบ กับไม้อีกแผ่นหนึ่งที่ทำเป็นร่องยาวเพื่อให้เข้ากันแน่นสนิท.
  14. ลี่ ๒ : น. เครื่องดักปลาชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่เป็นซี่ ๆ ถักติดกันเป็นผืน สำหรับปักล้อมดักปลาที่ทางน้ำไหล.
  15. ลูกกุญแจ : น. เครื่องมือชนิดหนึ่ง ทำด้วยเหล็กหรือทองเหลือง เป็นต้น สำหรับไขแม่กุญแจ.
  16. ลูกคัน : น. ดินที่พูนขึ้นเป็นคันตามท้องนาสำหรับขังน้ำไว้, คันนา หรือ หัวคันนา ก็เรียก.
  17. ลูกชะเนาะ : น. ไม้สั้น ๆ สำหรับขัดบิดเชือกที่ผูกให้แน่นเช่นในการ ทำนั่งร้าน, ชะเนาะ ก็เรียก. ลูกชักครอก
  18. ลูกดาล : น. เหล็กสำหรับไขดาลประตู มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบ.
  19. ลูกทอย : น. ไม้แหลมสําหรับตอกต้นไม้เป็นต้นเพื่อเหยียบขึ้นไป, เหล็กแหลมหรือตะปูที่ตอกเข้ากับหุ่นขี้ผึ้งให้ติดกับแกนในสำหรับ พยุงพิมพ์ดินให้คงที่ในการหล่อโลหะเช่นพระพุทธรูป.
  20. ลูกน้ำ : น. ลูกอ่อนของยุงที่ยังอาศัยอยู่ในนํ้า เมื่อแก่เข้าหลุดจาก ปลอกเป็นยุง; ชื่อเครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ , สำหรับคั่นวรรค ตอนของข้อความ เรียกว่า จุดลูกนํ้า หรือ จุลภาค.
  21. ลูกลอย : น. อุปกรณ์ภายในถังน้ำของส้วมชักโครกเป็นต้น มีหน้าที่ รักษาระดับน้ำในถังน้ำให้คงที่; อุปกรณ์ชนิดหนึ่งสำหรับเครื่องยนต์ อยู่ในคาร์บูเรเตอร์ ทำหน้าที่รักษาระดับน้ำมันเชื้อเพลิงภายในห้อง ลูกลอยให้คงที่.
  22. ลูกสวน : น. ลูกพลาสติกหรือลูกยางมีลักษณะกลม ๆ ตอนบนแหลม มีรูใส่น้ำยาหรือน้ำสบู่สำหรับใช้สวนอุจจาระ.
  23. ลูกหนู ๓ : น. เครื่องมือช่างชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับตัดและขัดกระเบื้อง ปูพื้น.
  24. เลา ๒ : น. ไม้ลองในหรือกระบอกสำหรับสอดเพลาในดุมเกวียน.
  25. เลี้ยงแขก : ก. เลี้ยงอาหารแก่ผู้ได้รับเชิญเช่น เลี้ยงแขกในงานมงคล สมรส อาหารพวกนี้สำหรับเลี้ยงแขก.
  26. เลื่อม : น. วัสดุสำหรับปักลวดลายลงบนผ้า มักมีลักษณะบางเป็นรูปกลม แบนเล็ก ๆ ตรงกลางมีรู เป็นเงามันสำหรับใช้ปักลวดลาย เช่นเสื้อ โขนตัวทศกัณฐ์ พระราม พระลักษมณ์ เป็นต้น. ว. เป็นเงามัน.
  27. เลื่อยฉลุ : น. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่ง ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นรูปยาวรี ด้ามเป็นไม้สำหรับจับ อีกชนิด หนึ่งมีคันทำด้วยเหล็กเป็นรูปอย่างนี้ ? ด้ามเป็นไม้ติดอยู่ที่ปลาย ตอนล่าง ระหว่างปลายคันทั้งคู่ติดใบเลื่อยลักษณะเป็นเส้นแบน ขนาดเล็ก.
  28. เลื่อยชักไม้ : น. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ มีขนาดใหญ่ ใบเลื่อยมี ลักษณะเป็นปื้นหรือแถบยาวติดกับปลายขาคันเลื่อยทั้งคู่ มีไม้ยาว ที่เรียกว่า อกเลื่อย ยันอยู่ตรงกลาง ปลายขาคันเลื่อยด้านตรงข้าม มีเชือกคล้องรั้งและบิดเพื่อขึงใบเลื่อยให้ตึง ใช้คนชักเลื่อยคู่กัน ๒ คน.
  29. เลื่อยโซ่ : น. เครื่องมือสำหรับตัด ซอยไม้ หรือโค่นต้นไม้ ใบเลื่อย มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันคล้ายสายโซ่เคลื่อนที่หมุนเวียนบน คานแบน ๆ ด้วยกำลังมอเตอร์.
  30. เลื่อยตะขาบ : น. เครื่องมือสำหรับตัดหรือซอยไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแผ่นแบนยาว ท้องเลื่อยหย่อนโค้ง ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างทำ เป็นบ้อง สำหรับสอดไม้ท่อนกลม ๆ เพื่อใช้จับชักใบเลื่อย ใช้คน ชักเลื่อยคู่กัน ๒ คน, เลื่อยยมบาล ก็เรียก.
  31. เลื่อยธนู : น. เครื่องมือสำหรับตัดหรือซอยไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแถบยาว ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายคันเลื่อยซึ่งทำ ด้วยเหล็กดัดโค้งคล้ายคันธนู.
  32. เลื่อยโยง : น. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแถบยาว ปลายข้างบนผูกโยงกับคันคานดีด ปลายข้างล่าง ผูกโยงกับไม้รองกระเดื่อง ใช้กำลังคนเหยียบกระเดื่องชักใบเลื่อย ให้ทำงาน.
  33. เลื่อยลอ : น. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลายข้างหนึ่งมีด้ามสำหรับจับ.
  34. เลื่อยลันดา, เลื่อยวิลันดา : น. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ ใบเลื่อยมี ลักษณะเป็นปื้น โคนใหญ่ปลายรี ที่โคนมีด้ามทำด้วยไม้เป็นคัน สำหรับจับ.
  35. เลื่อยหางหนู : น. เครื่องมือสำหรับฉลุหรือโกรกไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแถบยาวปลายเรียวแหลมที่โคนมีด้ามทำด้วยไม้เป็นรูปขอ สำหรับจับ.
  36. เลื่อยเหล็ก : น. เครื่องมือสำหรับตัดเหล็ก ใบเลื่อยมีลักษณะเป็น แถบยาว ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายและโคนคันเลื่อย ซึ่งทำด้วยเหล็ก ที่โคนคันมีด้ามสำหรับจับ.
  37. เลื่อยอก : น. เครื่องมือสำหรับตัดหรือโกรกไม้ ลักษณะคล้ายเลื่อยชัก แต่ขนาดย่อมและสั้นกว่า.
  38. แล่น ๒ : น. หลอดสำหรับเป่าไฟเพื่อเชื่อมโลหะเช่นทอง นาก เงินให้ติดกัน, เรียกกิริยาที่ใช้หลอดเป่าไฟเพื่อเชื่อมโลหะดังกล่าวว่า เป่าแล่น.
  39. โล้ : ก. แล่นไปตามคลื่น (สำหรับเรือสําเภา) (พจน. ๒๔๙๓), ทําให้เรือ เคลื่อนที่โดยอาการโยกแจวให้ปัดนํ้าไปมา. น. เรียกเรือต่อชนิดหนึ่ง ท้ายตัด มีแจวอยู่ท้ายเรือสําหรับยืนโล้ไป ไม่มีหางเสือ ใช้ตามชายฝั่ง ทะเล ว่า เรือโล้.
  40. วงเล็บปีกกา : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ { } สำหรับใช้ควง คำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกันเพื่อให้รู้ว่าเป็นกลุ่ม เดียวกันหรือเชื่อมโยงกัน อาจใช้เพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ เช่น (มีรูปภาพ) ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นสมาชิกของเซตหรือกั้นกลุ่มตัวเลข หรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น A = {2, 4, 6, 8}, 2x 5{7 (x 6) + 3x} 28 = 39.
  41. วงเล็บเหลี่ยม : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กัน คำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะ หนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน,เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอก คำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า, พระขนงใช้กันข้อความในการเขียน บรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏใน หนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐาน ยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็น กลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 3{x + 5 4(x + 1)}] = 23, ใช้ ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อ แสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F2] = 1.05.106, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]2H2O. วงวัง น. การล้อม.
  42. วงเวียน : น. เครื่องมือสําหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีก ข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, (โบ) กงเวียน หรือ กางเวียน ก็ว่า; ที่ซึ่งมีลักษณะกลมเป็นที่รวมแห่งถนนหลาย ๆ สาย เช่น วงเวียนใหญ่ วงเวียน ๒๒ กรกฎา.
  43. วอพระประเทียบ : น. วอสำหรับเจ้านายฝ่ายใน.
  44. วาชเปยะ : [วาชะ] น. การดื่มเพื่อพลัง; ชื่อพิธีบูชาอย่างหนึ่งในอินเดีย โบราณที่จัดทำสำหรับบุคคลในวรรณะกษัตริย์และวรรณะ พราหมณ์. (ส.).
  45. วิ่งวิบาก : น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง มี ๒ ประเภท ประเภทหนึ่ง ระยะทาง ๓,๐๐๐ เมตร ผู้แข่งขันต้องวิ่งกระโดดข้ามรั้ว ๒๘ รั้ว กระโดดข้ามบ่อน้ำหรือลุยน้ำในบ่อ ๗ บ่อใครถึงเส้นชัยก่อน เป็นผู้ชนะ อีกประเภทหนึ่งระยะทาง ๒,๐๐๐ เมตร ใช้สำหรับ การแข่งขันประเภทเยาวชน ผู้แข่งขันต้องวิ่งกระโดดข้ามรั้ว ๑๘ รั้ว กระโดดข้ามบ่อน้ำหรือลุยน้ำในบ่อ ๕ บ่อ ใครถึงเส้นชัยก่อนเป็น ผู้ชนะ.
  46. วิหารราย : น. วิหารขนาดใกล้เคียงกับวิหารน้อย ตั้งเรียงรายภายใน พุทธาวาสโดยรอบ เช่น วิหารรายวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ศาลารายที่ใช้สำหรับพิธีสวดโอ้เอ้ วิหารราย เช่น ศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร.
  47. แว่นเวียนเทียน : น. แว่นสำหรับใช้ติดเทียนทำขวัญ ทำด้วยเงิน ทอง หรือทองเหลือง รูปแบน ๆ มีปลายแหลมเหมือนใบโพสำหรับติด เทียน มีด้ามถือ.
  48. ศร : [สอน] น. อาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันสำหรับยิง เรียกว่า คันศร กับลูกที่มีปลายแหลม เรียกว่า ลูกศร, เรียกสายคันศรว่า สายศร, เรียกอาการที่ยิงลูกศรออกไปว่า แผลงศร หรือ ยิงศร; (โบ) ปืน. (ส.).
  49. ศาลากลางย่าน : น. อาคารทรงไทย คล้ายศาลาการเปรียญ นิยม สร้างไว้กลางหมู่บ้าน สำหรับให้คนในหมู่บ้านมาประชุม ทำบุญ หรือฟังธรรม เช่น ศาลากลางย่านที่ตำบลบ้านบุ, ศาลาโรงธรรม ก็เรียก.
  50. ศาลาการเปรียญ : น. ศาลาวัดสำหรับพระสงฆ์แสดงธรรม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-424

(0.0285 sec)