Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ให้ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ให้, 4613 found, display 1351-1400
  1. ซื้อหน้า : ก. เสนอหน้า, สําแดงตัวออกมาให้เห็น, เช่น ครั้นตอบพี่มึงถึงแต้ม อีแสนแนมซื้อหน้าเข้ามาสู้. (ไกรทอง); กู้หน้า เช่น ยอมเสียเงิน เพื่อซื้อหน้า.
  2. ซุง ๒ : น. เชือกที่ใช้ปลายทั้ง ๒ ผูกกับอกว่าวห่างกันพอสมควรสําหรับ ต่อกับสายป่าน เพื่อให้ว่าวต้านลมได้ตรงตัว, สายซุง ก็เรียก.
  3. ซุบซิบ : ก. พูดกันเบา ๆ ไม่ต้องการให้คนอื่นได้ยิน, กระซุบกระซิบ ก็ว่า.
  4. เซ้ง : (ปาก) ก. โอนสิทธิหรือกิจการไปให้อีกคนหนึ่งโดยได้ค่าตอบแทน, รับโอนสิทธิหรือกิจการจากอีกคนหนึ่งโดยต้องเสียค่าตอบแทน เรียกว่า รับเซ้ง. (จ.).
  5. เซน : น. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แพร่หลายในจีนและ ญี่ปุ่น เป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุความรู้แจ้งอย่างฉับพลัน โดยการทําสมาธิและใช้ปัญญาขบคิดปริศนาธรรม. (ญิ.).
  6. เซ็น ๑ : น. ไม้ที่สอดเข้ากับลูกตั้งเรือนฝากระแชงอ่อนหรือฝาขัดแตะ. ก. เย็บแบบด้วยดอกไม้หรือใบไม้ให้เป็นแถบยาว เพื่อใช้ตกแต่ง ประดับโครงประทุนคลุมผ้าไตรเป็นต้น, สวน ก็ว่า.
  7. เซรุ่ม : น. ของเหลวสีเหลืองใสที่สกัดจากเลือดสัตว์ เช่น ม้า กระต่าย ซึ่งทําให้เกิดภูมิต้านทานเชื้อโรค แล้วนํามาฉีดในคนเพื่อให้เกิด ภูมิต้านทานเชื้อโรคนั้น. (อ. serum).
  8. เซลล์ : น. (ชีว) หน่วยชีวิตที่เล็กที่สุด; (ไฟฟ้า) เครื่องสําเร็จที่มีส่วนประกอบ ที่เหมาะสม ซึ่งใช้ปฏิกิริยาเคมีเป็นแหล่งกําเนิดพลังงานเป็นผลให้ เกิดมี กระแสไฟฟ้าขึ้นได้. (อ. cell). เซลล์ทุติยภูมิ น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วต้องนําไป อัดไฟเสียก่อน แล้วจึงจะนําไปใช้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลืองและแปรสภาพไป แต่อาจทําให้กลับคงคืนสู่สภาพเดิมได้อีก โดยวิธีนําเซลล์ไฟฟ้าไปอัด ไฟใหม่ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์. (อ. secondary cell). เซลล์ปฐมภูมิ น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นําไปใช้ เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ทันที เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบ บางส่วนจะหมดเปลืองไปโดยไม่กลับคงคืนเป็นสภาพเดิมได้อีก เช่น ถ่านไฟฉาย. (อ. primary cell).
  9. เซ้าซี้ : ก. พูดรบเร้ารํ่าไรเพื่อให้ได้ตามที่ต้องการ, กระเซ้ากระซี้ ก็ว่า.
  10. เซาะ : ก. ทําให้กร่อนหรือร่อยหรอเข้าไปทีละน้อย เช่น นํ้าเซาะตลิ่ง เซาะรูให้กว้าง. น. ซอกเขาเล็ก ๆ ที่นํ้าเซาะให้เป็นทางลงมา.
  11. เซาะลาย : ก. ทําให้เป็นลวดลายหรือรอยลึก.
  12. แซม : ก. แทรกขึ้นมาในระหว่าง เช่น ฟันแซม ขนแซม, เสียบเข้าไป ในระหว่าง เช่น เด็ดดอกไม้แซมผม, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหน็บแทรก หรือสอดเข้าไปเพื่อแทนสิ่งที่ชํารุดให้ดีขึ้น เช่น แซมกระบุง แซม หลังคา. น. เรียกม้าที่มีขนสีอื่นแทรกขึ้นมาในระหว่างขนที่เป็นพื้น ว่า ม้าแซม.
  13. แซะ ๑ : ก. เอาเครื่องมือแบน ๆ เช่นตะหลิวหรือเสียมแทงเบา ๆ โดยรอบแล้ว ช้อนขึ้นให้หลุดล่อนจากที่เดิม, โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัด เช่น ต้องคอยแซะให้ทํางานอยู่เรื่อย.
  14. โซเดียมไซคลาเมต : น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H11NHSO3Na ลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายนํ้าได้ มีรสหวานกว่านํ้าตาลทรายมาก ใช้เป็นตัวให้ความหวานในเครื่องดื่ม มีหลักฐานว่าสารนี้ก่อให้เกิด โรคมะเร็งได้. (อ. sodium cyclamate).
  15. โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต : น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร NaHCO3 ลักษณะเป็นผงสีขาว ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําให้ขนมมีลักษณะฟูพรุน เช่น ขนมปัง ใช้เป็นองค์ประกอบเคมีในเครื่องดับเพลิง ทางแพทย์ใช้ เป็นตัวลดกรดในกระเพาะอาหาร. (อ. Sodium hydrogen carbonate).
  16. โซม : ก. เปียกทั่ว เช่น เหงื่อโซมตัว; คําบอกให้ช้างย่อตัว.
  17. ไซ้ ๑ : ก. กิริยาที่นกหรือเป็ดเอาปากยํ้า ๆ ขนหรือหาอาหาร; อาการที่ทําให้ ปวดมวน เช่น ยาดําไซ้ท้อง.
  18. ไซโคลน : [–โคฺลน] น. ชื่อพายุหมุนที่มีกําลังแรงจัด ทําให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. (อ. cyclone).
  19. ไซเรน : น. เครื่องส่งสัญญาณเสียงเพื่อเตือนภัย บอกหมดภัย หรือเตือนให้ ยวดยานอื่นหลีกทางให้ เป็นต้น; เสียงที่เกิดจากเครื่องเตือนภัย เรียก เสียงไซเรน. (อ. siren).
  20. ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
  21. ญัตติ : น. คําประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทํากิจของสงฆ์ร่วมกัน เช่น ญัตติทุติยกรรมวาจา ญัตติจตุตถกรรมวาจา, คําเผดียงสงฆ์ ก็ว่า ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่; หัวข้อโต้วาที เช่น โต้วาทีในญัตติว่า ขุนช้างดีกว่าขุนแผน. (ป.).
  22. ฎีกา : น. คําอธิบายขยายความ เช่น ฎีกาพาหุง; ชื่อคัมภีร์หนังสือที่แก้หรือ อธิบายคัมภีร์อรรถกถา; หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์; ใบแจ้ง การขอเบิกเงินจากคลัง; ใบบอกบุญเรี่ยไร; (กฎ) คําร้องทุกข์ที่ ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์; ชื่อศาลยุติธรรมสูงสุด ของประเทศไทย ซึ่งเรียกว่าศาลฎีกา; การคัดค้านคําพิพากษาหรือ คําสั่งศาลอุทธรณ์ที่คู่ความยื่นต่อศาลชั้นต้น เพื่อเสนอให้ศาลฎีกา พิจารณาพิพากษาหรือวินิจฉัยชี้ขาด; (โบ) ใบเรียกเก็บเงิน. (ปาก) ก.ยื่นคําร้องขอหรือคําคัดค้านต่อศาลฎีกา เช่น คดีนี้จะฎีกาหรือไม่. (ป. ฏีกา).
  23. ฐานกรณ์ : [ถานกอน] (ไว) น. ที่ตั้งและเครื่องทําให้เกิดเสียงในการพูด.
  24. ฐานันดร : น. ลําดับในการกําหนดชั้นบุคคล เช่น ยศบรรดาศักดิ์. (ป. ?านนฺตร). ฐานานุกรม น. ลําดับตําแหน่งยศพระสงฆ์ที่พระ ราชาคณะมีอํานาจตั้งสมณศักดิ์ให้ตามทําเนียบ.
  25. ดง ๒ : ก. เอาหม้อข้าวที่เช็ดนํ้าข้าวแล้วขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ เพื่อให้ระอุ.
  26. ดนตรี : น. เสียงที่ประกอบกันเป็นทํานองเพลง, เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทําให้ รู้สึกเพลิดเพลินหรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น ได้ตาม ทํานองเพลง. (ส. ตนฺตฺรินฺ).
  27. ดล ๓ : [ดน] ก. ให้เป็นไป, ทําให้แล้ว, ตั้งขึ้น, เผอิญให้เป็นไป, บันดาลให้เป็นไป.
  28. ดลใจ : ก. มีเหตุอันไม่ปรากฏจูงใจให้คิดหรือให้ทํา เช่น เทวดาดลใจ กุศลดลใจ มารดลใจ.
  29. ดลบันดาล : ก. ให้มีให้เป็นหรือไม่ให้มีไม่ให้เป็น เช่น ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงดลบันดาลให้ประสบความสําเร็จหรือให้แคล้วคลาดจากภัยอันตราย.
  30. ด้วง ๓ : น. ชื่อเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ทําด้วยกระบอกไม้ยาวประมาณ ๕-๖ เซนติเมตร มีคันยาว ประมาณ ๑ เมตร มีสายห่วงติดกับกระบอกไม้ไผ่ ส่วนล่าง โยงไปผูกติดกับปลายคันมีไม้คํ้าอันหนึ่งเพื่อให้คันโก่ง กับไม้ลิ้น พาดปากกระบอกอีกอันหนึ่งทําหน้าที่เสมือนไก สําหรับดักแย้เป็นต้น. (รูปภาพ ด้วง)
  31. ด้วง ๔ : น. ชื่อซอชนิดหนึ่ง มีกระบอกมักทําด้วยไม้เนื้อแข็ง มีลักษณะคล้ายด้วง ดักสัตว์ ใช้หนังหรือ''กระดาษหลาย ๆ ชั้นปิดด้านหนึ่ง มีสาย ๒ สาย ขนาดค่อนข้างเล็กเพื่อให้มีเสียงสูงในเวลาสี.
  32. ด้วย : ว. คําแสดงกริยารวมหรือเพิ่ม เช่น สวยด้วยดีด้วย, แสดงกริยาร่วมกันหรือ ในทํานองเดียวกันเช่น กินด้วย, แสดงความขอร้อง เช่น ช่วยด้วย บอกด้วย. บ. คํานําหน้านามเพื่อให้รู้ว่านามนั้นเป็นเครื่องใช้หรือเป็นสิ่งที่ใช้เป็น เครื่องกระทํา เช่น ฟันด้วยมีด; ตาม เช่นทําด้วยอารมณ์. สัน. เพราะ, เหตุ, เช่น ด้วยปรากฏว่า.
  33. ดอก ๑ : น. ส่วนหนึ่งของพรรณไม้ที่ผลิออกจากต้นหรือกิ่ง มีหน้าที่ทําให้เกิดผล และเมล็ดเพื่อสืบพันธุ์ มีเกสรและเรณูเป็นเครื่องสืบพันธุ์, เรียกเต็มว่า ดอกไม้; ลวดลายที่เป็นดอกเป็นดวงตามผืนผ้าเป็นต้น; (ปาก) ค่าตอบแทน ที่บุคคลหนึ่งต้องใช้ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เพื่อการที่ได้ใช้เงินของบุคคล นั้น หรือเพื่อทดแทนการไม่ชําระหนี้หรือชําระหนี้ไม่ถูกต้อง, เรียกเต็มว่า ดอกเบี้ย; ลักษณนามของสิ่งของบางอย่าง เช่น ข้าวโพดดอกหนึ่ง สว่าน หนึ่งดอก.
  34. ดอก ๓ : ว. คําประกอบให้ได้ความชัดขึ้น เช่น ฉันดอก ไม่ใช่คนอื่น ทําไม่ได้ดอก, (ปาก) มักพูดว่า หรอก เช่น ไม่ไปหรอก. ก. หลอก เช่น บ้างดอกล้อแล้ว โลมคืน. (ม. คําหลวง ชูชก).
  35. ดอกเบี้ย : (กฎ) น. ค่าตอบแทนที่บุคคลหนึ่งต้องใช้ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เพื่อการที่ได้ใช้เงินของบุคคลนั้น หรือเพื่อทดแทนการไม่ชําระหนี้หรือ ชําระหนี้ไม่ถูกต้อง.
  36. ดอกไม้น้ำ : น. ดอกไม้ไฟที่จุดให้วิ่งไปบนผิวนํ้า.
  37. ดอกไม้รุ่ง : น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง ทําด้วยดินจุดใส่ในห่อกระดาษขด เหมือนไส้ไก่แขวนไว้ตามศาลาเพื่อจุดเวลาคํ่าให้มีแสงสว่างตลอดรุ่ง ใช้แทนโคม.
  38. ดอกยาง : น. ดอกของยางนอกที่หล่อเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เกาะถนน.
  39. ดอกลำเจียก : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า แร่งลงบนกระทะ ร้อน ๆ ให้ผงแป้งติดกันเป็นแผ่น ใส่ไส้หน้ากระฉีก โบราณพับเป็นรูป สามเหลี่ยม ปัจจุบันพับเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือม้วนคล้ายทองม้วน.
  40. ดอกสร้อย ๒ : น. ชื่อคําร้อยกรองชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่ ๑ ใช้ ๔ คํา มี เอ๋ย เป็นคําที่ ๒ มี ๔ คํากลอน และคําลงจบบทให้ลงว่า เอย เช่น แมวเอ๋ย แมวเหมียว... คอยดูอย่างไว้ใส่ใจเอย.
  41. ดอง ๑ : ก. แช่หรือหมักผัก ผลไม้ และสิ่งต่าง ๆ ไว้ในนํ้าส้ม นํ้าเกลือ เป็นต้น เพื่อเก็บรักษาไว้ให้อยู่ได้นาน ๆ เช่น ดองผัก ดองผลไม้ หรือเพื่อไม่ให้ เปื่อยเน่า เช่น ดองศพ; โดยปริยายหมายความว่า เก็บหมกไว้นานเกินควร เช่น เอาหนังสือไปดองไว้. ว. เรียกสิ่งที่ดองแล้วนั้น เช่น ผักดอง ยาดอง ศพดอง.
  42. ดอด : ก. อาการที่ไปมาหรือทําอย่างใดอย่างหนึ่งโดยอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้หรือโดย ไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ เช่น ดอดมา ดอดเอาไป ดอดไปหา.
  43. ดะโต๊ะยุติธรรม : (กฎ) น. ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอํานาจและหน้าที่ ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม.
  44. ดัก ๑ : ก. คอยสกัด เช่น ดักทําร้าย, วางเครื่องดักสัตว์มีกับเป็นต้น เพื่อให้สัตว์ เข้ามาติด เช่น ดักไก่ ดักนก.
  45. ดั้ง ๑ : ด้าง ก็มี; เรียกเสาเรือนเครื่องสับที่ตั้งอยู่กึ่งกลางบนหลังรอดขึ้นไปรับ อกไก่ว่า เสาดั้ง, เรียกเสาที่ตั้งบนขื่อสําหรับรับอกไก่ว่า ดั้งแขวน; เรียก เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบ เรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งไชยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ ก็ได้ ว่า เรือดั้ง; ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและ, ล้อมทัพ ช้างกัน ก็เรียก. ก. ป้องกัน.
  46. ดัง ๒ : ว. บังเกิดเสียงขึ้นหรือทําให้เสียงบังเกิดขึ้นอย่างแรง เช่น กลองดัง พูดดัง เสียงดัง.
  47. ดัด ๑ : ก. ทําให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ดัดไม้ ดัดนิสัย; ทําให้เที่ยงตรง เช่น พระดัดคดีดล โดยเยี่ยง ยุกดิ์นา. (ตะเลงพ่าย); ปลุก เช่น เคยดัดฤดีตาตื่นตรับ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). ว. ที่ทําให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ไม้ดัด ตะโกดัด.
  48. ดัดจริต : [-จะหฺริด] ก. แสร้งทํากิริยาหรือวาจาให้เกินควร.
  49. ดัดแปลง : [-แปฺลง] ก. แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม, เปลี่ยนจากรูปเดิม โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย, เช่น ดัดแปลงเรือนชั้นเดียวให้เป็น ๒ ชั้น; (กฎ) เปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วนนํ้าหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซม หรือการดัดแปลงที่กําหนดในกฎกระทรวง; ทําซํ้าโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจําลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสําคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทํางานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
  50. ดัดสันดาน : ก. แก้นิสัยให้ดี.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | [1351-1400] | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4613

(0.1236 sec)