Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รวม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รวม, 501 found, display 351-400
  1. รังสีวิทยา : น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยรังสีเอกซ์และกัมมันตภาพรังสี รวมทั้งการใช้รังสีวิเคราะห์และรักษาโรค. (อ. radiology).
  2. รัฐธรรมนูญ : [รัดถะทํามะนูน, รัดทํามะนูน] น. บทกฎหมายสูงสุดที่ จัดระเบียบการปกครองประเทศ โดยกำหนดรูปแบบของรัฐว่าเป็นรัฐ เดียวหรือรัฐรวม ระบอบการปกครองของรัฐรวมทั้งสถาบันและองค์กร การใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐ เช่น รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐). (อ. constitution).
  3. รัฐวิสาหกิจ : [รัดถะวิสาหะกิด, รัดวิสาหะกิด] น. กิจการที่รัฐเป็นผู้ลงทุน หรือถือหุ้นข้างมาก, (กฎ) องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจซึ่งรัฐ เป็นเจ้าของ หรือกิจการของรัฐ หรือบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐมีทุนรวม อยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ ๕๐.
  4. ราง ๑ : น. ร่องที่ขุดเป็นทางสำหรับให้น้ำไหล; สิ่งสำหรับรองน้ำฝนที่ชายคา เป็นต้น มักทำด้วยสังกะสียาวเป็นแนวไปตามชายคา; ไม้ที่ขุดหรือต่อ ให้เป็นร่องยาว ๆ หรือปล้องไม้ไผ่ผ่าซีก มีด้านสกัดหัวท้าย สำหรับ ใส่อาหารหมูหรือย้อมผ้าเป็นต้น; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้าย คลึงเช่นนั้น เช่น รางระนาด; เหล็กที่ใช้เป็นทางเดินของล้อเลื่อน เช่น รางรถไฟ; ไม้เจาะเป็นร่องยาวสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันได้ ๘๐ เหรียญหรือ ๑ ชั่ง, ปัจจุบันเป็นแผ่นไม้เจาะเป็นร่องสำหรับใส่เหรียญ บาทเรียงกันเป็นแถว ๆ แผ่นหนึ่งมี ๑๐ แถว แถวหนึ่งใส่เหรียญบาท ได้ ๑๐ เหรียญ รวมเป็น ๑๐๐ บาท; ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็น ราง เช่น ลูกคิดรางหนึ่ง ระนาด ๒ ราง รางรถไฟ ๓ ราง.
  5. ราชกิจจานุเบกษา : น. หนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์ โดยสํานักงานราชกิจจานุเบกษา สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สําหรับ ลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศ ของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน บริษัท.
  6. ราชสีห์สองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ : (สํา) น. คนที่มีอํานาจหรืออิทธิพลพอ ๆ กันอยู่รวมกันไม่ได้, เสือสองตัวอยู่ถํ้าเดียวกันไม่ได้ หรือ จระเข้สองตัวอยู่ ถํ้าเดียวกันไม่ได้ ก็ว่า.
  7. ราชาศัพท์ : น. คําเฉพาะใช้สําหรับเพ็ดทูลพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านาย, ต่อมาหมายรวมถึงคําที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการ และสุภาพชนด้วย.
  8. รีดักชัน : (เคมี) น. ปฏิกิริยาเคมีที่ทําให้สารได้รับธาตุไฮโดรเจนมารวมตัวด้วย, ปฏิกิริยาเคมีที่ทําให้สารสูญเสียธาตุออกซิเจนไป, ปฏิกิริยาเคมีที่ทําให้ อะตอมของธาตุได้รับอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น. (อ. reduction).
  9. รุงรัง : ว. อาการที่สิ่งเป็นเส้นยาว ๆ พัวพันกันยุ่งยุ่มย่าม เช่น ขนยาวรุงรัง ผม เผ้ารุงรัง หนวดเครารุงรัง, อาการที่สิ่งต่าง ๆ รวมกันอยู่อย่างระเกะระกะ หรือแยกกระจัดกระจายกันอยู่ยุ่งเหยิง เช่น ห้องรกรุงรัง ห้อยผ้าไว้รุงรัง; พะรุงพะรัง เช่น หอบของมารุงรัง, นุงนัง เช่น หนี้สินรุงรัง.
  10. รุทระ : [รุดทฺระ] ว. น่ากลัวยิ่งนัก. น. เทวดาหมู่หนึ่งมี ๑๑ องค์ รวมเรียกว่า เอกาทศรุทร, ชื่อเทพสําคัญองค์หนึ่งในพระเวท ซึ่งพวกฮินดูถือว่าเป็น องค์เดียวกับพระศิวะ. (ส.; ป. รุทฺท).
  11. รุม ๑ : ก. อาการที่คนหลายคนหรือสัตว์หลายตัวรวมกันเข้ามาทําอย่างใดอย่างหนึ่ง แก่ผู้หนึ่งหรือสิ่งหนึ่งอย่างไม่มีระเบียบ เช่น รุมตี รุมด่า แมลงวันรุมตอม เมล็ดทุเรียน, ประดังห้อมล้อมเข้ามา เช่น กลุ้มรุม รุมกันเข้าไปซื้อของ, ประดังกันเข้ามา เช่น โดนโรครุมเสียแย่; กรุ่นอยู่ภายในเพราะพิษไข้ เป็นต้น เช่น เป็นไข้ร้อนรุมอยู่หลายวัน.
  12. เรา : สรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคน ก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะ ต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม.
  13. เรือนจำ : น. ที่ขังนักโทษและผู้ต้องหา; (กฎ) ที่ซึ่งใช้ควบคุมกักขัง ผู้ต้องขังกับทั้งสิ่งที่ใช้ต่อเนื่องกัน และหมายความรวมตลอดถึงที่อื่น ใดซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้กําหนดและประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาวางอาณาเขตไว้โดยชัดเจน.
  14. เรือประจัญบาน : น. เรือรบขนาดใหญ่ระวางขับน้ำประมาณ ๒๐,๐๐๐ ตันขึ้นไป มีเกราะป้องกันตนเอง มีอาวุธสมัยใหม่หลายประเภท รวมทั้ง อาวุธนำวิถีพื้นสู่พื้น และพื้นสู่อากาศ มีหน้าที่หลักในการต่อตีเรือข้าศึก และระดมยิงฝั่งเพื่อสนับสนุนการรบสะเทินน้ำสะเทินบก.
  15. แร่ ๑ : น. ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีสูตรเคมีและ สมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัดและนำมาถลุงได้ เช่น แร่ดีบุกนำมาถลุงได้โลหะดีบุก แร่ทองคำนำมาถลุงได้โลหะทองคำ; (กฎ) ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วนประกอบทางเคมีกับ ลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยไม่ว่าจะต้อง ถลุงหรือหลอมก่อนใช้หรือไม่ และหมายความรวมตลอดถึงถ่านหิน หินนํ้ามัน หินอ่อน โลหะและตะกรันที่ได้จากโลหกรรม นํ้าเกลือใต้ดิน หินซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และ ดินหรือทรายซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทราย อุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงนํ้าเกลือสินเธาว์ ลูกรัง หิน ดิน หรือทราย. แร่ธาตุ น. แร่.
  16. แรงงาน : น. คนงาน, ผู้ใช้แรงในการทำงาน, เช่น การพัฒนาชนบทต้อง อาศัยแรงงานจากท้องถิ่น งานก่อสร้างต้องการแรงงานเพิ่ม, ประชากร ในวัยทํางาน ไม่รวมถึงคนพิการ คนวิกลจริต นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน นักบวช ทหาร ผู้ต้องขัง และผู้ประกอบกิจการเพื่อหากําไร เช่น วัน แรงงาน, แรงที่ใช้ในการทำงาน เช่น ถนนนี้สร้างสำเร็จด้วยแรงงานของ ชาวบ้าน; ความสามารถในการทํางานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ, กิจการที่คนงานทําในการผลิตเศรษฐทรัพย์.
  17. แรงงานสัมพันธ์ : (กฎ) น. ความสัมพันธ์ในด้านการจ้างงานระหว่างนาย จ้างกับลูกจ้างในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการว่าจ้างทํางาน นับตั้งแต่เงื่อนไข การจ้าง สภาพการทํางานและผลประโยชน์จากการทํางานร่วมกันของ ทั้ง ๒ ฝ่าย รวมทั้งสาเหตุต่าง ๆ ที่มีผลต่อสัมพันธภาพระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้าง ตลอดจนการร่วมเจรจาต่อรองและการสร้างความเข้าใจอันดี ต่อกันเพื่อการอยู่ร่วมกันต่อไป.
  18. โรงงาน : (กฎ) น. อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักร มีกําลัง รวมตั้งแต่ ๕ แรงม้าหรือกําลังเทียบเท่าตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป หรือใช้ คนงานตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตามสําหรับทํา ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบํารุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลําเลียง เก็บรักษา หรือทําลายสิ่งใด ๆ ทั้งนี้ตามประเภทหรือชนิดของโรงงาน ที่กําหนดในกฎกระทรวง.
  19. โรงรับจำนำ : น. สถานที่รับจำนำสิ่งของ, ถ้าเป็นของเทศบาลหรือ กรุงเทพมหานคร เรียกว่า สถานธนานุบาล, ถ้าเป็นของกรมประชา สงเคราะห์ เรียกว่า สถานธนานุเคราะห์; (กฎ) สถานที่รับจํานําซึ่ง ประกอบการรับจํานําสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปรกติธุระ แต่ละรายมีจํานวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และหมายความรวม ตลอดถึงการรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้สําหรับสิ่งของนั้นเป็น ปรกติธุระ แต่ละรายมีจํานวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีข้อตกลง หรือเข้าใจกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย.
  20. โรงเรือน : (กฎ) น. ตึก บ้าน เรือน โรงหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่ง บุคคลอาจเข้าอยู่หรืออาจเข้าใช้สอยได้และหมายความรวมถึงแพด้วย.
  21. ลงขัน : ก. เอาเงินใส่ลงในขันเป็นต้นเพื่อช่วยในงานต่าง ๆ เช่น งานตัดจุก, ช่วยกันออกเงินเพื่อการใดการหนึ่ง เช่น ลงขันซื้อตู้เย็น ไว้ใช้เป็นส่วนกลาง ลงขันเพื่อรวมเงินเป็นค่าอาหารในเวลาเดินทาง.
  22. ลงเงิน : ก. เอาเงินมารวมกันเพื่อทํากิจการต่าง ๆ เช่น ลงเงินกัน จัดรถไปทัศนาจร.
  23. ล็อก ๑ : น. หมู่อาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง หรือที่ดินที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ เช่น ที่ดินผืนนี้มี ๓ ล็อก.
  24. ลอม : ก. รวมตะล่อมกันขึ้นไปให้เป็นจอม; อาการที่โค้งเข้าหากันเป็นวง เช่น ควายเขาลอม, รอม ก็ว่า. น. เรียกกองฟางกองข้าวเป็นต้นซึ่งมี ลักษณะเช่นนั้นว่า ลอมฟาง ลอมข้าว.
  25. ล้อเลื่อน : น. คํารวมเรียกรถต่าง ๆ; (กฎ) ยานพาหนะอันประกอบ ด้วยเพลาและล้อซึ่งเคลื่อนไปด้วยกําลังคนหรือสัตว์ เช่น รถ เกวียน.
  26. ลักทรัพย์ : (กฎ) ก. ชื่อความผิดอาญาฐานเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือ ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต.
  27. ลักสี : ก. ทําสีหนึ่งซึ่งขัดกับอีกสีหนึ่งให้กลืนกันโดยเอาสีอื่นเข้ารวม.
  28. ล้างสมอง : ก. ทําให้บุคคลเปลี่ยนความคิดเห็นหรือความเชื่อถือ ของตนโดยเฉพาะในลัทธิการเมือง สังคม หรือศาสนาไปอย่าง สิ้นเชิง และยอมรับความคิดเห็นหรือความเชื่อใหม่โดยใช้วิธีการ ต่าง ๆ รวมทั้งอาจมีการทรมานจิตใจอย่างรุนแรง.
  29. ลายมือชื่อ : (กฎ) น. ชื่อของบุคคลซึ่งบุคคลนั้นเขียนลงไว้ในหนังสือ หรือเอกสารเพื่อรับรองหรือแสดงว่าตนเป็นผู้ทําหนังสือหรือเอกสาร นั้น และหมายความรวมถึงลายพิมพ์นิ้วมือและเครื่องหมายซึ่งบุคคล ลงไว้แทนลายมือชื่อของตนด้วย; (ปาก) ลายเซ็น.
  30. ลิขสิทธิ์ : [ลิกขะสิด] น. สิทธิทางวรรณกรรม ศิลปกรรม และประดิษฐกรรม ซึ่งผู้เป็นต้นคิดได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย; (กฎ) สิทธิแต่ผู้เดียว ที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตน ได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงาน นั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย. (อ. copyright).
  31. ลิ้นเสือ ๒ : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Pseudorhombus วงศ์ Bothidae ลำตัวแบนข้างมาก ตามีลักษณะเหมือนปลาตาเดียวแต่ตาทั้ง ๒ ข้าง อยู่ทางซีกซ้ายของหัว พื้นลําตัวสีนํ้าตาลและส่วนมากมีจุดประสีเข้ม เป็นวงแหวนเด่น เรียกรวม ๆ กันโดยทั่วไปว่า ใบขนุน ลิ้นควาย หรือ ลิ้นหมา.
  32. ลูกขุน ณ ศาลหลวง : (โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายตุลาการ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีหน้าที่พิพากษาคดีอย่าง ศาลยุติธรรม แต่มิได้เป็นผู้พิจารณาคดี เพราะมีตระลาการที่จะ พิจารณาคดีแล้วขอคําตัดสินจากลูกขุน ณ ศาลหลวงอีกชั้นหนึ่ง, กฎหมายตราสามดวงมักใช้ว่า ลูกขุน ณ สานหลวง.
  33. ลูกขุน ณ ศาลา : (โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายธุรการ ซึ่งมี ตําแหน่งต่าง ๆ มีเสนาบดีเป็นต้น รวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลา.
  34. ลูกบวบ : น. ชื่อไม้ไผ่ที่มัดรวมกันกลม ๆ แล้วทําเป็นแพ เรียกว่า แพลูกบวบ; ชายจีวรภิกษุที่ม้วนให้กลมแล้วพาดบ่าหรือหนีบ รักแร้เมื่อเวลาครองผ้า เช่น พาดลูกบวบ หนีบลูกบวบ.
  35. เลเซอร์ : (ฟิสิกส์) น. เครื่องซึ่งแปลงลําแสงที่ผ่านเข้าไปให้ออกมาเป็นลําแสง สีเดียวที่อัดรวมกันจนมีขนาดลําแสงแคบอย่างยิ่ง และมีความเข้ม สูงมาก, เรียกลําแสงที่ได้ออกมาลักษณะเช่นนี้ว่า ลําแสงเลเซอร์. (อ. laser).
  36. เลเพ : ว. เรี่ยราย, ไม่รวมกัน.
  37. โลกายัต : น. ชื่อหนึ่งของลัทธิปรัชญาฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ถือว่า โลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเองของวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ชีพหรือชีวิตเป็นเพียงผลิตผลของวัตถุธาตุที่รวมตัวกันนั้น คนเรา เกิดครั้งเดียว ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีโลกหน้า จึงควรแสวงหากามสุข เสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้เราอาจตาย, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็น อุจเฉททิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าตายแล้วสูญ, จารวาก ก็เรียก. (ป., ส.).
  38. วง : น. รูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น วงกลม วงรี, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รวมกัน เป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่น วงราชการ วงดนตรี; ส่วนสัดของมือที่ใช้ใน การรํา, คู่กับ เหลี่ยม คือ ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา; ลักษณนาม ใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คน นั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วงหรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็น ชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วง ประชันกัน. ก. ล้อมรอบ, ทําเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอ เขียนป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์.
  39. วงเวียน : น. เครื่องมือสําหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีก ข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, (โบ) กงเวียน หรือ กางเวียน ก็ว่า; ที่ซึ่งมีลักษณะกลมเป็นที่รวมแห่งถนนหลาย ๆ สาย เช่น วงเวียนใหญ่ วงเวียน ๒๒ กรกฎา.
  40. วรรณกรรม : น. งานหนังสือ, งานประพันธ์, บทประพันธ์ทุกชนิด ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง, เช่น วรรณกรรมสมัย รัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศส วรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน; (กฎ) งานนิพนธ์ที่ทำขึ้น ทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัยสุนทรพจน์ และหมายความรวมถึงโปรแกรม คอมพิวเตอร์ด้วย.
  41. วศิน : (แบบ) น. ผู้ชํานะตนเอง, ผู้สํารวมอินทรีย์. (ส.).
  42. วัสสานฤดู : [วัดสานะรึดู] น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อน อันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละ ท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้น, วันแรมค่ำหนึ่ง เดือน๘ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ บางทีก็เขียนเพี้ยน ไปเป็น วสันต์. (ป. วสฺสาน + ส. ฤตุ = ฤดูฝน).
  43. วางผังเมือง : ก. ควบคุมและกำหนดแนวทางในการพัฒนาเมือง และสภาพแวดล้อมโดยคำนึงถึงความสุข ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย ความประหยัด และความสวยงามของชุมชน เป็นส่วนรวม.
  44. วินาศภัย : [วินาดสะไพ] (กฎ) น. ความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาที่ พึงประมาณเป็นเงินได้ และหมายความรวมถึงความสูญเสียในสิทธิ ผลประโยชน์หรือรายได้ด้วย.
  45. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  46. ศัลยกรรมตกแต่ง : น. การผ่าตัดอวัยวะเพื่อรักษาหรือปรับปรุง รูปร่างของอวัยวะให้สวยงามและเหมาะสม โดยอวัยวะนั้น ๆ คงทำหน้าที่ได้ตามปรกติ รวมทั้งเป็นการบูรณะส่วนที่ผิดปรกติ ให้กลับสู่สภาพปรกติด้วย.
  47. ศาลฎีกา : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงสุดซึ่งมีอํานาจพิจารณา พิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค และคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์หรือฎีกา และคดีที่กฎหมาย อื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมี อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตาม กฎหมาย.
  48. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ : (กฎ) น. ศาล ยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาล ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เช่น คดีอาญาและ คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และคดีแพ่ง เกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือสัญญา อนุญาตให้ใช้สิทธิ คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือตราสารการเงินระหว่างประเทศหรือการให้บริการระหว่าง ประเทศการขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัย และนิติกรรม อื่นที่เกี่ยวเนื่อง คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในการ ออกแบบวงจร รวมการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ชื่อทางการค้า ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดของสินค้า ความลับ ทางการค้าและการคุ้มครองพันธุ์พืช.
  49. ศาลล้มละลาย : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่มิใช่ คดีอาญา เช่น คดีที่เจ้าหนี้ไม่มีประกันหรือเจ้าหนี้มีประกันฟ้อง ลูกหนี้ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวให้ล้มละลายนอกจากนั้นยังรวมถึง คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับคดีดังกล่าวด้วย ได้แก่ คดีแพ่งธรรมดาที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้บริหารแผนของลูกหนี้พิพาท กับบุคคลใด ๆ อันมีมูลจากสัญญาหรือละเมิดอันเนื่องมาจาก การจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้.
  50. ศาลอาญา : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มี อำนาจพิจารณาคดีอาญาแล้วแต่กรณี.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-400] | 401-450 | 451-500

(0.0302 sec)