Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ดก , then ดก, ตก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ดก, 523 found, display 151-200
  1. ลงอาญา, ลงอาชญา : ก. ลงโทษหรือทําโทษด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน.
  2. ลหุ : [ละ–] ว. เบา; เร็ว, ฉับไว; ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัว สะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย ? แทน, คู่กับ ครุ ซึ่งใช้ เครื่องหมาย ?แทน.
  3. ลหุกาบัติ : [ละหุกาบัด] น. อาบัติเบา ได้แก่ อาบัติที่เมื่อภิกษุต้องแล้ว จะต้อง บอกแก่ภิกษุด้วยกันจึงจะพ้นจากอาบัตินั้น ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต. (ป. ลหุกาปตฺติ).
  4. ละเมิดลิขสิทธิ์ : (กฎ) ก. กระทําอย่างหนึ่งอย่างใดต่องานที่มีลิขสิทธิ์ ตามกฎหมาย ได้แก่ ทําซํ้าหรือดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์.
  5. ลำนำ : น. บทกลอนที่ใช้ขับร้อง ได้แก่ บทละคร สักวา เสภา บท ดอกสร้อย.
  6. ลูกบ้าน : น. ชาวบ้านที่อยู่ในปกครองของนายบ้าน ซึ่งในปัจจุบัน ได้แก่ กํานันและผู้ใหญ่บ้านหรือนายอําเภอแล้วแต่กรณี.
  7. โลกามิส : น. เครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส. (ป. โลก + อามิส).
  8. วจีสุจริต : [วะจีสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางวาจา มี ๔ อย่าง ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ๑ การไม่พูดคำหยาบ ๑ การไม่พูด ส่อเสียด ๑ การไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑.
  9. วันแข็ง : (โหร) น. วันซึ่งถือว่าดาวมีพลังแรง ได้แก่ วันอาทิตย์ วันอังคาร วันเสาร์.
  10. ดก : [สะดก] น. หมวด ๑๐๐. (ส. ศตก; ป. สตก).
  11. ศาล : [สาน] น. (กฎ) องค์กรที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดย ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร; ที่ชำระความ เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา; ที่สิงสถิต ของเทวดา เทพารักษ์ หรือเจ้าผี เป็นต้น เช่น ศาลเทพารักษ์ศาลเจ้า ศาลเจ้าแม่ทับทิม.
  12. ศาลชั้นต้น : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีในชั้นต้นทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีตามที่ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ได้แก่ ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาล ยุติธรรมอื่น เช่น ศาลภาษีอากรกลาง.
  13. ศาลเยาวชนและครอบครัว : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมี อํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็ก หรือเยาวชนกระทําความผิด หรือคดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอํานาจ พิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตามกฎหมาย หรือคดีครอบครัว อันได้แก่คดีแพ่งที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทําการใด ๆ ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัวแล้วแต่กรณี ซึ่งจะต้อง บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือคดีที่ศาลจะ ต้องพิพากษาหรือสั่งเกี่ยวกับตัวเด็กและเยาวชนตามบทบัญญัติ ของกฎหมายซึ่งบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่ของศาลเยาวชน และครอบครัว ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลเยาวชน และครอบครัวจังหวัด หรือแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวใน ศาลจังหวัดซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชน และครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว.
  14. ศาลล้มละลาย : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่มิใช่ คดีอาญา เช่น คดีที่เจ้าหนี้ไม่มีประกันหรือเจ้าหนี้มีประกันฟ้อง ลูกหนี้ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวให้ล้มละลายนอกจากนั้นยังรวมถึง คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับคดีดังกล่าวด้วย ได้แก่ คดีแพ่งธรรมดาที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้บริหารแผนของลูกหนี้พิพาท กับบุคคลใด ๆ อันมีมูลจากสัญญาหรือละเมิดอันเนื่องมาจาก การจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้.
  15. ศาลอุทธรณ์ : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงถัดจากศาลฎีกาลงมา ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอํานาจพิจารณาพิพากษา บรรดาคดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นตามบท บัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์และว่าด้วยเขตอํานาจศาล และมีอำนาจพิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของ ศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต เมื่อคดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค วินิจฉัย ชี้ขาดคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตาม กฎหมาย และวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอํานาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นด้วย.
  16. ศิลปธาตุ : น. สิ่งที่เป็นส่วนประกอบร่วมในการสร้างสรรค์งาน ศิลปะ โดยเฉพาะงานประเภททัศนศิลป์ ได้แก่ เส้น สี ผิว เป็นต้น.
  17. ศิลปศาสตร์ : น. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทาง อาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วย วิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ เ๑. สูติ วิชาฟังสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชา เข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกาวิชากายบริหาร ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชา ดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.
  18. ศุลกากร : [สุนละกากอน] (กฎ) น. อากรที่เรียกเก็บจากสินค้าเข้า และสินค้าออก ได้แก่ อากรขาเข้าและอากรขาออก.
  19. ศูนย์บริการสาธารณสุข : น. สถานีอนามัยในเขตเมือง ได้แก่ เขตเทศบาล สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร และที่ตั้งเป็นเมืองพิเศษ.
  20. เศรษฐศาสตร์ : [เสดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการผลิต การจําหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชนมี ๒ สาขา คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจส่วนเอกชน หรือ ปัญหาการหาตลาดเป็นต้น และ เศรษฐศาสตร์มหัพภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเรื่องรายได้ของ ประชาชาติ การออมทรัพย์ของประชากร ปัญหาการลงทุน.
  21. ดก : [สะดก] (แบบ) น. หมวด ๑๐๐, จํานวนร้อย. (ป. สตก; ส. ศตก).
  22. สมาบัติ : [สะมาบัด] น. ภาวะที่จิตสงบประณีต, คุณวิเศษที่เกิดจากการที่จิต เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่, การบรรลุคุณวิเศษชั้นสูงด้วยอำนาจของการ เข้าสมาธิ, มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ, บางทีใช้เข้าคู่ กับคำ ฌาน เป็น ฌานสมาบัติ มี ๘ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔. (ป., ส. สมาปตฺติ).
  23. สังเวชนียสถาน : [สังเวชะนียะสะถาน] น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนา อันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินีปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบัน ได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันไ ด้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ ปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย.
  24. สัตตาหกาลิก : น. ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัช ทั้ง ๕ คือ เนยใส เนยข้น นํ้ามัน นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย. (ป.).
  25. สาคร ๒ : [คอน] น. ชื่อขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปาก คาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ หรือ สำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ เรียกว่า ขันสาคร.
  26. สาฎก : [สาดก] น. ผ้า. (ป. สาฏก; ส. ศาฏก).
  27. หน่วยคำ : น. หน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาซึ่งมีความหมาย อาจมีลักษณะเป็น ส่วนหนึ่งของคำหรือเป็นคำก็ได้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ หน่วยคำ อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังได้ เช่น นก บันได เรียน และ หน่วยคำไม่อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังไม่ได้ ต้องปรากฏ ร่วมกับหน่วยคำอื่นเสมอ เช่น นัก ชาว. (อ. morpheme).
  28. หนังสือราชการ : น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ หนังสือที่มี ไปมาระหว่างส่วนราชการ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่น ซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการ หนังสือที่หน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือ ที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อ เป็นหลักฐาน และเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ.
  29. หน้าเข้มคม : น. ใบหน้าหล่อมีเสน่ห์ คิ้วดกดำ ตาคม (ใช้แก่ผู้ชายผิวคล้ำ หรือดำแดง).
  30. หน้าคมขำ : น. ใบหน้าสวยซึ้งชวนพิศ คิ้วดกดำ ตาคม ''(ใช้แก่ผู้หญิงผิวคล้ำ หรือดำแดง).
  31. หมูป่า : น. ชื่อหมูซึ่งเป็นต้นกําเนิดของหมูบ้าน รูปร่างลักษณะคล้ายหมู บ้าน แต่ปากและจมูกยื่นยาวกว่าปลายบานใช้สําหรับดุดดิน ลําตัวมี ขนดกหยาบสีดํา ๆ ขนแผงคอยาว ตัวผู้มีเขี้ยวใหญ่ยื่นยาวพ้นปาก กินพืช ลูกอ่อนสีนํ้าตาลอ่อน มีลายขาวเป็นทางตามยาว ในประเทศไทย เป็นชนิด Sus scrofa พบในป่าทุกภาค.
  32. หัตถานึก : น. กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพ โบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ป.).
  33. อโฆษะ : ว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียง ไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระ ในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้องว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส. (ส.; ป. อโฆส).
  34. อนิฏฐารมณ์ : [อะนิดถารม] น. อารมณ์หรือสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าพอใจ ได้แก่ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ นินทา ทุกข์, ตรงข้ามกับ อิฏฐารมณ์. (ป. อนิฏฺ?ารมฺมณ).
  35. อนุสัย : น. กิเลสที่สงบนิ่งอยู่ในสันดาน, กิเลสอย่างละเอียด มี ๗ อย่าง ได้แก่ ๑. กามราคะ = ความกำหนัดในกาม ๒. ปฏิฆะ = ความ ขัดใจคือโทสะ ๓. ทิฏฐิ = ความเห็นผิด ๔. วิจิกิจฉา = ความลังเล สงสัย ๕. มานะ = ความถือตัว ๖. ภวราคะ = ความกำหนัดในภพ ๗. อวิชชา = ความไม่รู้แจ้งคือโมหะ. (ป. อนุสย; ส. อนุศย).
  36. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ : น. การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอน อันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็น ปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
  37. อโนดาต : น. ชื่อสระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์ ได้แก่ ๑. สระอโนดาต ๒. สระกัณณมุณฑะ ๓. สระรถการะ ๔. สระฉัททันตะ ๕. สระ กุณาละ ๖. สระมัณฑากินี ๗. สระสีหัปปปาตะ. (ป. อโนตตฺต).
  38. อบายมุข : [อะบายยะมุก] น. ทางแห่งความฉิบหาย, เหตุแห่งความ ฉิบหาย, มี ๒ หมวด คือ อบายมุข ๔ ได้แก่ ๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา ๓. เป็นนักเลงเล่นการพนัน ๔. คบคนชั่วเป็นมิตร กับ อบายมุข ๖ ได้แก่ ๑. ดื่มนํ้าเมา ๒. เที่ยวกลางคืน ๓. เที่ยวดูการเล่น ๔. เล่นการพนัน ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร ๖. เกียจคร้านทําการงาน. (ป.).
  39. อภิธรรม : [อะพิทํา] น. ชื่อปิฎกหนึ่งในพระไตรปิฎก ได้แก่ ๑. พระวินัยปิฎก ๒. พระสุตตันตปิฎก ๓. พระอภิธรรมปิฎก, ชื่อธรรมะชั้นสูง มี ๗ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. สังคณี ๒. วิภังค์ ๓. ธาตุกถา ๔. ปุคคลบัญญัติ ๕. กถาวัตถุ ๖. ยมก ๗. ปัฏฐาน นิยมใช้สวดในงานศพ. (ส. อภิธรฺม; ป. อภิธมฺม).
  40. อเวจี : น. ชื่อนรกขุม ๑ ในนรก ๘ ขุม ได้แก่ ๑. สัญชีวนรก ๒. กาฬสุตตนรก ๓. สังฆาฏนรก ๔. โรรุวนรก ๕. มหาโรรุวนรก ๖. ตาปนรก ๗. มหาตาปนรก ๘. อเวจีมหานรก ซึ่งเป็นนรกขุมลึกที่สุดสําหรับลงโทษ แก่ผู้ที่มีบาปหนักที่สุด, ใช้เป็น อวิจี หรือ อวีจิ ก็มี.
  41. อสัญแดหวา : [อะสันยะแดหฺวา] น. เทวดาต้นตระกูลของกษัตริย์ ๔ นครในบท ละครเรื่องอิเหนา คือ องค์ปะตาระกาหลา, ชื่อวงศ์กษัตริย์ผู้ครอง ๔ นครในบทละครเรื่องอิเหนา ได้แก่ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และ สิงหัดส่าหรี. (ช.).
  42. อัศวานึก : [อัดสะวานึก] น. กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า, เป็นส่วน หนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือจตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่า ทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพ เหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ส. อศฺวานีก; ป. อสฺสานีก).
  43. อาทิตย, อาทิตย์ : [ทิดตะยะ, ทิด] น. ''เชื้ออทิติ'' คือ เทวดาพวกหนึ่งซึ่งเป็นลูกนาง อทิติผู้เป็นชายาพระกัศยปประชาบดี เทวดาพวกนี้มีจํานวนกล่าวไว้ ต่างกัน บ้างว่ามี ๕ องค์ บ้างว่ามี ๗ องค์ บ้างว่ามี ๑๒ องค์ ได้แก่ อินทราทิตย์ (พระอินทร์) วรุณาทิตย์ (พระพิรุณ) ฯลฯ สูรยาทิตย์ (พระอาทิตย์ที่ส่องโลก); ชื่อเทวดาพระเคราะห์ คือ สูรยาทิตย์; ดวงตะวัน (ชื่อเทวดาองค์หนึ่งในนิยาย), ในตํารานพเคราะห์นับ เอาเป็นดาวพระเคราะห์ที่ ๑; ชื่อวันที่ ๑ ของสัปดาห์; รอบ ๗ วัน เช่น ไม่ว่างตลอดอาทิตย์. (ส.; ป. อาทิจฺจ).
  44. อาเทสนาปาฏิหาริย์ : น. การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคนได้อย่างน่า อัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
  45. อาบัติ : น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
  46. อิฏฐารมณ์ : น. อารมณ์หรือสิ่งที่น่าปรารถนาน่าพอใจ ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข, ตรงข้ามกับ อนิฏฐารมณ์. (ป. อิฏฺ?ารมฺมณ).
  47. อิทธิปาฏิหาริย์ : น. ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้น วิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ใน ปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และ อนุสาสนีปาฏิหาริย์. (ป.).
  48. อุตรกุรุทวีป, อุตรกุรูทวีป : [อุดตะระ] น. ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศ เหนือของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีป หรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป. (ป., ส. อุตฺตรกุร + ส. ทวีป).
  49. อุเทสิกเจดีย์ : น. เจดีย์ที่สร้างอุทิศพระพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธรูป.
  50. อุปเวท : [อุปะเวด, อุบปะเวด] น. คัมภีร์ ''พระเวทรอง'' ของอินเดียโบราณ เนื้อหามีลักษณะเป็นวิทยาการ ไม่นับว่าเป็นคัมภีร์ศาสนา ได้แก่ อายุรเวท (วิชาแพทย์ ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์อถรรพเวทหรือ อาถรรพเวท) ธนุรเวท (วิชายิงธนูและการใช้อาวุธอื่น ถือว่าเป็น สาขาของคัมภีร์ยชุรเวท) คันธรรพเวทหรือคานธรรพเวท (วิชา การดนตรี ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์สามเวท) และสถาปัตยเวท (วิชาการก่อสร้าง ไม่ระบุว่าเป็นสาขาของคัมภีร์พระเวทใด). (ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-523

(0.0403 sec)