Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปา , then บา, , ปะ, ปา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปา, 5436 found, display 5101-5150
  1. อิริยาบถ : น. อาการที่ร่างกายอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง คือ ยืน เดิน นั่ง นอน. (ป.).
  2. อิรุพเพท : [รุบเพด] น. ฤคเวท. (ป.).
  3. อิส : [อิด] น. หมี. (ป. อิส, อิสฺส; ส. ฤกฺษ).
  4. อิสร, อิสระ : [อิดสะหฺระ] ว. เป็นใหญ่, เป็นไทแก่ตัว, เช่น อิสรชน, ที่ปกครอง ตนเอง เช่น รัฐอิสระ, ไม่ขึ้นแก่ใคร, ไม่สังกัดใคร, เช่น อาชีพอิสระ นักเขียนอิสระ. น. ความเป็นไทแก่ตัว เช่น ไม่มีอิสระ แยกตัวเป็น อิสระ. (ป. อิสฺสร; ส. อีศฺวร).
  5. อิสริย, อิสริยะ : [อิดสะริยะ] น. ความเป็นใหญ่, ความเป็นเจ้า, ความยิ่งใหญ่. (ป. อิสฺสริย; ส. ไอศฺวรฺย).
  6. อิสสา : [อิด] น. ความหึงหวง, ความชิงชัง. (ป.; ส. อีรฺษฺยา).
  7. อิสินธร : [สินทอน] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๒ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็น วงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป. อิสินฺธร, อีสธร; ส. อีษาธร). (ดูสัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
  8. อิสิ, อิสี : น. ผู้แสวงคุณความดี, ฤษี, ผู้ถือบวช. (ป.; ส. ฤษิ).
  9. อีศ : [อีด] น. ผู้เป็นใหญ่. (ส.; ป. อีส).
  10. อีส : [อีด] น. ผู้เป็นใหญ่. (ป.; ส. อีศ).
  11. อีสา : น. งอนไถ. ว. งอนช้อนขึ้น. (ป.; ส. อีษา).
  12. อีสาน ๑ : น. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ. (ป. อีสาน; ส. อีศาน).
  13. อุกกา : [อุก] น. คบเพลิง. (ป.; ส. อุลฺกา).
  14. อุกกาบาต : น. ผีพุ่งไต้, อุกลาบาต ก็เรียก. (ป. อุกฺกาปาต; ส. อุลฺกาปาต).
  15. อุกฤษฏ์ : [กฺริด] ว. สูงสุด. (ส. อุตฺกฺฤษฺฏ; ป. อุกฺกฏฺ?).
  16. อุกลา : [อุกกะลา] น. คบเพลิง. (ส. อุลฺกา; ป. อุกฺกา).
  17. อุกลาบาต : [อุกกะลาบาด] น. อุกกาบาต. (ส. อุลฺกาปาต; ป. อุกฺกาปาต).
  18. อุคหนิมิต : น. ''อารมณ์ที่เจนใจ'' คือ เป็นวิธีแห่งผู้เพ่งกสิณชํานาญ จนรูปที่ตนเพ่งอยู่นั้นติดตาถึงแม้หลับตาเสีย รูปนั้นก็ปรากฏเป็น เครื่องหมายอยู่ รูปที่ปรากฏนี้ เรียกว่า อุคหนิมิต. (ป. อุคฺคหนิมิตฺต; ส. อุทฺคฺรห + นิมิตฺต).
  19. อุคห, อุคหะ : [อุกคะหะ] น. การเล่าเรียน. ว. เจนใจ. (ป. อุคฺคห).
  20. อุค, อุคระ : [อุก, อุกคฺระ] ว. ร้าย, ดุร้าย; ยิ่งใหญ่, มีอํานาจ. (ป. อุคฺค; ส. อุคฺร).
  21. อุโฆษ : [โคด] ว. กึกก้อง. (ส. อุทฺโฆษ; ป. อุคฺโฆส).
  22. อุจ : ว. สูง, ระหง. (ป., ส. อุจฺจ).
  23. อุจจารมรรค : [อุดจาระมัก] น. ทวารหนัก. (ส.; ป. อุจฺจารมคฺค).
  24. อุจจาร, อุจจาระ : [อุดจาระ] น. ขี้, (ปาก) อึ. (ป., ส.).
  25. อุจฉุ : [อุด] น. อ้อย. (ป.).
  26. อุจเฉททิฐิ : [อุดเฉทะ] น. ความเห็นว่าตายแล้วสูญ (ไม่มีปฏิสนธิ วิญญาณหรือการเกิดใหม่). (ป. อุจฺเฉททิฏฺ??).
  27. อุจเฉท, อุจเฉท : [อุดเฉด, อุดเฉทะ] ก. ขาดสิ้น, สูญ. (ป., ส.).
  28. อุชุ : ว. ตรง, ซื่อตรง. (ป.; ส. ฤชุ).
  29. อุฏฐาการ : [อุดถากาน] ก. ลุกขึ้น. (ป.).
  30. อุณห, อุณหะ : [อุนหะ] ว. ร้อน, อบอุ่น. (ป.; ส. อุษฺณ).
  31. อุณหาการ : น. อาการร้อน, อาการเร่าร้อน. (ป. อุณฺหาการ; ส. อุษฺณาการ).
  32. อุณหิส : [อุนนะหิด] น. กรอบหน้า, มงกุฎ. (ป. อุณฺหีส; ส. อุษฺณีษ).
  33. อุณา : น. ขนแกะ; ขนระหว่างคิ้ว. (ป. อุณฺณา; ส. อูรฺณา).
  34. อุณานาภี : น. แมงมุม. (ป. อุณฺณานาภี; ส. อูรฺณานาภิ).
  35. อุดม, อุดม : [ดม, ดมมะ] ว. สูงสุด, ยิ่ง, เลิศ, มากมาย, บริบูรณ์. (ป., ส. อุตฺตม).
  36. อุดร : [ดอน] น. ทิศเหนือ ใช้ว่า ทิศอุดร; ข้างซ้าย. (ป., ส. อุตฺตร).
  37. อุตดม, อุตตมะ, อุตม : [อุดดม, อุดตะมะ] ว. สูงสุด, ยิ่ง, เลิศ, มากมาย, บริบูรณ์. (ป., ส. อุตฺตม).
  38. อุตดร, อุตร : [อุดดอน, อุดตะระ] น. อุดร. (ป., ส. อุตฺตร).
  39. อุตตรายัน : [อุดตฺรา] (ดารา) น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ ปรากฏในราววันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวัน ยาวที่สุด เรียกว่า อุตตรายัน (summer solstice), คู่กับ ทักษิณายัน, ครีษมายัน ก็เรียก. (ป. อุตฺตร + ส. อายน).
  40. อุตตานภาพ : [อุดตานะพาบ] (กลอน) ก. นอนหงาย เช่น รวบพระกรกระหวัด ทั้งซ้ายขวาให้พระนางอุตตานภาพ. (ม. ร่ายยาว กุมาร), เขียนเป็น อุตตานะภาพ ก็มี เช่น ฉวยกระชากชฎาเกษเกล้าให้นางท้าวเธอ ล้มลงอุตตานะภาพ. (ม. กาพย์ กุมารบรรพ). (ป. อุตฺตาน ว่า หงาย + ภาว).
  41. อุตบล : [อุดบน] น. อุบล, บัวสาย, เช่น นีโลตบล ว่า บัวขาบ. (ส. อุตฺปล; ป. อุปฺปล).
  42. อุตมัตถ์ : [อุดตะมัด] น. ผลอันยอดเยี่ยม หมายถึง พระนิพพาน. (ป. อุตฺตมตฺถ).
  43. อุตรกุรุทวีป, อุตรกุรูทวีป : [อุดตะระ] น. ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศ เหนือของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีป หรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป. (ป., ส. อุตฺตรกุร + ส. ทวีป).
  44. อุตรนิกาย : [อุดตะระ] น. ชื่อนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนา คือ นิกายฝ่ายเหนือ ซึ่งเรียกว่า มหายาน. (ป., ส. อุตฺตรนิกาย).
  45. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี : [อุดตะระผนละคุนี] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๒ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปงูเหลือม แรดตัวเมีย หรือเพดานตอนหลัง, ดาวเพดาน หรือ ดาววัวตัวเมีย ก็เรียก. (ส. อุตฺตรผาลฺคุนี; ป. อุตฺตรผคฺคุนี).
  46. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ : [อุดตะระพัดทฺระบด, อุดตะระพัดทะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๖ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ ตัวเมียหรือเพดานตอนหลัง, ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า ก็เรียก. (ส. อุตฺตรภทฺรปท; ป. อุตฺตรภทฺทปท).
  47. อุตราภิมุข : [อุดตะรา] ก. บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือ. (ป., ส. อุตฺตราภิมุข).
  48. อุตราวรรต : [อุดตะรา] น. การเวียนซ้าย. ว. เวียนไปทางซ้าย คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ ทักษิณาวรรต หรือ ทักขิณาวัฏ. (ส. อุตฺตราวรฺต; ป. อุตฺตราวฏฺฏ).
  49. อุตราวัฏ : [อุดตะรา] น. การเวียนซ้าย. ว. เวียนไปทางซ้าย คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวรรต ก็ว่า, ตรงข้าม กับ ทักขิณาวัฏ หรือ ทักษิณาวรรต. (ป. อุตฺตราวฏฺฏ; ส. อุตฺตราวรฺต).
  50. อุตราษาฒ, อุตตราอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ : [อุดตะราสาด, อุดตะรา อาสาด, อุดตะราสานหะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๑ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูป ครุฑหรือช้างพัง, ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย ก็เรียก. (ส. อุตฺตราษาฒ; ป. อุตฺตราสาฬฺห).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | [5101-5150] | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5436

(0.1731 sec)