Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ป่า , then บ่า, ปา, ป่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ป่า, 570 found, display 151-200
  1. คอกช้าง : น. สถานที่ที่ทําขึ้นสําหรับจับช้างป่า มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม คล้ายคอก มีซองและมีปีก ๒ ข้าง.
  2. คันหามเสือ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็ก ๒ ชนิดในวงศ์ Araliaceae คือ ชนิด Trevesia valida Craib ขึ้นตามหินใกล้ลําธารในป่า ลําต้นมีหนามห่าง ๆ และ ชนิด Aralia montana Blume ลําต้นและใบมีหนาม ใบเป็นใบประกอบ ยาวประมาณ ๑ เมตร.
  3. คางคก ๑ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Bufonidae รูปร่างคล้ายกบ ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระ เคลื่อนที่โดยการย่างเดินและกระโดดหย่ง ๆ ใน ประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น คางคกบ้าน (Bufo melanostictus) คางคกป่า (B. macrotis).
  4. ค่ายผนบบ้านหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสา สูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง เช่น ตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองต่อถ้าช้างปตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อ ตั้งรอบ พระราชวังหลวง ๑. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา), จังหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.
  5. แคว : [แคฺว] น. ลํานํ้าที่ไหลมารวมกับลํานํ้าอีกสายหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่ พอ ๆ กัน เช่น แควน้อย แควใหญ่; แม่น้ำหรือลำธารสายเล็กที่ไหล ลงสู่แม่น้ำหรือลำธารสายใหญ่ เช่น แควป่าสัก.
  6. โคเถลิง ๑ : [-ถะเหฺลิง] น. ชื่อวัวป่าชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
  7. โคบุตร : [-บุด] น. ชื่อช้างหมู่ ๑ ในอัฏฐคช ตระกูลวิษณุพงศ์ มีสีผิว เหลือง หางเหมือนหางโค งางอน เวลาร้องมีเสียงเหมือนเสียงโคป่า เช่น ลางคือโคบุตรพรายพรรณ ลางสารสำคัญ คือสีหชงฆาควร. (สมุทรโฆษ).
  8. โคร่ง ๑ : [โคฺร่ง] น. ชื่อเสือชนิด Panthera tigris ในวงศ์ Felidae เป็นเสือที่ใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย ตัวสีเหลือง มีลายดําตามขวาง ล่าสัตว์ป่าบนพื้นดิน มักอยู่ลําพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ ชอบเล่นนํ้ามากกว่าเสือชนิดอื่น, ลายพาดกลอน ก็เรียก. (เทียบ ข. โครฺง ว่า สูงเกินขนาด, สูงโย่ง).
  9. เงาะ ๑ : น. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างตํ่าเตี้ย ตัวดํา ผมหยิก ในตระกูลนิกริโต (Negrito) และตระกูลออสโตรเนเชียน (Austronesian) อยู่ในแหลมมลายู เรียกตัวเองว่า กอย ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย, โดยปริยายเรียกคนที่มี รูปร่างเช่นนั้น.
  10. เงือก ๓ : น. ชื่อนกในวงศ์ Bucerotidae ส่วนใหญ่ลําตัวสีดํา ปากใหญ่ อยู่รวมกัน เป็นฝูงในป่าลึกเวลาบินเสียงดังมาก ขณะตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหารและอุจจาระปิดปากโพรงไว้ เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหา อาหารมาป้อนให้ขณะกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อนได้ ร้องเสียงดังมาก กิน เนื้อสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น เงือกกรามช้าง (Rhyticeros undulatus) เงือกหัวแรด (Buceros rhinoceros) แก๊ก (Anthracoceros albirostris).
  11. จงโคร่ง, โจงโคร่ง : [-โคฺร่ง] น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo asper ในวงศ์ Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก อาศัยในป่าบริเวณริมลําธาร หรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก.
  12. จงอาง : น. ชื่องูพิษชนิด Ophiophagus hannah ในวงศ์ Elapidae เป็นงูพิษที่มี ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ตัวสีเขียวอมเทา หรือสีคลํ้า ชูคอแผ่แม่เบี้ยได้พบทั้งในป่าโปร่งและป่าทึบ, บองหลา ก็เรียก.
  13. จร ๑, จร- : [จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจํา เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้าย สมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบ กับคําไทยก็มี.
  14. จรลิ่ว : [จอระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปไกล, ลอยไป, เช่น เหลียวแลทางจรลิ่ว เหลียวแลทิวเทินป่า. (ลอ).
  15. จระเข้ : [จอระ-] น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัยบริเวณ ป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของ รูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii), ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้ เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้า มีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้.
  16. จราก : [จะหฺราก] (กลอน) ก. ตรากตรำ, ทําให้ลําบาก, เช่น คล้องติดคชคลอคชทังป่า ขับจากขัง แลเข้าจรลุงจรากจอง. (สมุทรโฆษ).
  17. จะกละ ๒ : น. ชื่อผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีรูปเป็นแมว อยู่ในจําพวกผีป่า หมอผี ชาวป่าเลี้ยงไว้ใช้ไปทําร้ายศัตรู. (สยามสมาคม).
  18. จังหวัด : (กฎ) น. หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้า ด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้า ปกครอง, (โบ) เมือง, หัวเมือง; ถิ่น, เขต, บริเวณ, เช่น อารามขึ้นคณะ ป่าแก้วในจังหวัดเมืองนครศรีธรรมราช. (ประชุมพระตำราบรมราชูทิศ เพื่อกัลปนา).
  19. จาก ๑ : น. ชื่อปาล์มชนิด Nypa fruticans Wurmb ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ อยู่ตามป่าเลนหรือริมฝั่งนํ้ากร่อยตื้น ๆ ใบใช้มุงหลังคาและกรุฝา ออกดอก ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมมะพร้าวกับนํ้าตาล ห่อด้วยใบจากแล้วปิ้ง ว่า ขนมจาก.
  20. จาก ๓ : น. ชื่อปูชนิด Varuna litterata ในวงศ์ Grapsidae ตัวเล็ก อาศัยอยู่ตามป่า จากในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม.
  21. เจริด : [จะเหฺริด] (แบบ) ว. งาม, เชิด, สูง, เช่น ป่านั้นเจริดจรุงใจก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  22. ฉมบ : [ฉะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็น เงา ๆ แต่ไม่ทําอันตรายใคร เช่น อนึ่งเปนสัจว่าเปนฉมบจะกละกะสือ แลมาฟ้องร้องเรียนแก่มุขลูกขุนก็ดี ๒๐. (สามดวง), ชมบ หรือ ทมบ ก็ว่า. (ข. ฉฺมบ ว่า หมอตําแย).
  23. ฉัททันต์ : (แบบ) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูลเรียกว่า ฉัททันตหัตถี กายสีขาว บริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ดู กาฬาวก)ชื่อสระใหญ่สระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์. (ป.).
  24. ฉาก : น. เครื่องบังหรือเครื่องกั้น มีหลายชนิด ใช้ตั้ง แขวน หรือพับได้, เครื่อง ประกอบเวทีละครเพื่อให้ดูสมจริงตามเนื้อเรื่อง เช่น ฉากป่า ฉากเมือง; เครื่องสําหรับวัดมุมซึ่งมี ๙๐ องศา, มุมซึ่งกางได้ ๙๐ องศา เรียกว่า มุมฉาก, ลักษณนามเรียกตอนย่อยของละครในองก์หนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่งของละคร ที่เปิดม่านหน้าเวทีครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ละคร ๓ ฉาก.
  25. เฉลียบ ๒ : [ฉะเหฺลียบ] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Isognomon isognomum ในวงศ์ Isognomonidae เปลือกแบน ขอบด้านบนค่อนข้างเป็นแนวตรง ขอบ ด้านล่างโค้งเว้าทางด้านหน้า นูนทางด้านตรงข้าม สีเข้มเกือบดำ เกาะอยู่ ตามรากไม้หรือหินในป่าชายเลน.
  26. โฉนด : [ฉะโหฺนด] น. หนังสือสําคัญของทางราชการแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน, ก่อนนี้ ถ้าเป็นสวนปลูกไม้ยืนต้น เรียกว่า โฉนดสวน, ถ้าเป็นสวนไม้ล้มลุก เรียกว่า โฉนดป่า, เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๔ เริ่มออกโฉนดแบบใหม่โดยวิธีรังวัดปักหลักเขต ลงในที่ดินด้วยหมุดหลักฐานการแผนที่ และแสดงรูปแผนที่ที่ดินนั้นลงไว้ ในโฉนดด้วย เรียกว่า โฉนดแผนที่; หนังสือ เช่น ออกโฉนดบาดหมายให้แก่ ราชการ. (บรมราชาธิบาย ร. ๔).
  27. ชนาง : [ชะ] น. เครื่องดักปลาและสัตว์ป่า เช่น บ้างวงข่ายราย รอบปาก ชนาง. (ไชยเชฐ). (ข.).
  28. ชมบ : [ชะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็นเงา ๆ แต่ไม่ทําอันตรายใคร, ฉมบ หรือ ทมบ ก็ว่า.
  29. ชระงม : [ชฺระ] (กลอน) น. ป่ากว้าง, ป่าใหญ่. ว. เปลี่ยวเปล่า, เงียบสงัด, เช่น อยู่ชระงมนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
  30. ชะเอม : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Myriopteron extensum (Wight) K. Schum.ในวงศ์ Asclepiadaceae เถามีรสหวาน ใช้ทํายา ผลมีครีบโดยรอบ กินได้, ข้าวสาร ก็เรียก. (๒) ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ชะเอมไทย หรือ ชะเอมป่า (Albizia myriophylla Benth.)เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีรสหวาน ใช้ทํายาได้, ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra L.) และ ชะเอม ขาไก่ (G. uralensis Fish.)เป็นไม้พุ่มต่างประเทศ รากมีรส หวานชุ่มคอ ใช้ทํายาได้. (ข. เฌีแอม ว่า ไม้หวาน).
  31. ชัฏ : [ชัด] (แบบ) น. ป่าทึบ, ป่ารก, เซิง, เช่น ตัวก่านกาจ ชาติชัฏขน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. ชฏา).
  32. ชาตรี : [ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อยเดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ มีคํา ชาตรี นําหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
  33. ชาย ๒ : น. ส่วนริมหรือปลายของสิ่งของบางอย่าง เช่น ชายผ้า ชายจีวร, ส่วนที่สุดเขต, ริม, เช่น ชายป่า ชายแดน ชายทะเล. ชายกระเบน น. ชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, หางกระเบน ก็เรียก.
  34. ซาก ๒ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Erythrophleum succirubrum Gagnep. และชนิด E. teysmannii Craib ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่า เบญจพรรณ เนื้อแข็งและหนัก ใช้เผาถ่านได้ดี ทุกส่วนมีพิษ กินตาย ชนิดแรกใบเกลี้ยง ชนิดหลังใบมีขน, อีสานเรียก ซาด หรือ พันซาด.
  35. ซึ่ง : ส. คําใช้แทนนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น บ้านของเขา อยู่ในป่าซึ่งห่างจากชุมชน. บ. คําสําหรับนําหน้านามที่เป็น ผู้ถูกกระทํา เช่น รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม.
  36. ซุ้ม ๑ : น. สิ่งที่เป็นพุ่มโดยมากปกคลุมด้วยต้นไม้หรือเถาวัลย์ มีทางลอดได้ เช่น ในป่าเถาวัลย์ขึ้นเป็นซุ้มเองตามธรรมชาติ, ต้นไม้ซึ่งขึ้นปกคลุม สิ่งที่ก่อสร้างเพื่อรองรับ มีทางลอดได้ เช่น ปลูกกระดังงาเป็นซุ้ม, ซุ้มไม้ ก็เรียก.
  37. ดง ๑ : น. ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่น เช่น ขึ้นเป็นดง, ที่ซึ่งมีต้นไม้อย่างใด อย่างหนึ่งขึ้นหนาแน่น เช่น ดงกล้วย, โดยปริยายเรียกสถานที่ที่มีคนหรือ สัตว์เป็นต้นประเภทเดียวกันรวมอยู่ด้วยกันมาก ๆ เช่น ดงผู้ร้าย ดงเสือ.
  38. ดงดาน : น. ป่าทึบ.
  39. ดงดิบ : น. ป่าในเขตอากาศร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีฝนตกชุกเกือบ ตลอดปี มีต้นไม้สีเขียวไม่ผลัดใบ, ป่าที่มีต้นไม้หนาแน่นเขียวชอุ่มอยู่ทั้งปี.
  40. ดงดึก : น. ป่าลึกเข้าไปไกล.
  41. ดาว ๓ : น. ชื่อกวางชนิด Axis axis ในวงศ์ Cervidae เป็นกวางขนาดกลาง ขนสี นํ้าตาลหรือน้ำตาลอมเหลืองละเอียดอ่อนและนุ่มกว่ากวางป่า มีจุดขาวทั่วตัว อยู่รวมกันเป็นฝูง กินพืช มีถิ่นกําเนิดในอินเดียและศรีลังกา.
  42. ดีหมี : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เช่น ชนิด Cleidion spiciflorum Merr. ในวงศ์ Euphorbiaceae ขึ้นในป่า มีรสขม ใบคล้ายมะไฟ ใช้ทํายาได้.
  43. ตระเวน : [ตฺระ-] ก. ไปทั่ว ๆ รอบบริเวณ เช่น ตระเวนป่า พาตระเวนไปทั้งวัน, เที่ยว ตรวจตรา เช่น พลตระเวน, พาไปทั่ว ๆ เพื่อประจาน ในความว่า นํานักโทษ ตระเวนไปทั่วเมือง, ใช้ว่า กระเวน ตะเวน หรือ ทะเวน ก็มี.
  44. ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
  45. ตะกวด : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด Varanus bengalensis ในวงศ์ Varanidae ตัวสี นํ้าตาลเหลืองปากแหลม ลิ้นยาวแยกเป็น ๒ แฉก หางยาวใช้ฟาดเพื่อต่อสู้ป้องกันตัว อาศัยตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบหากินตามพื้นดิน ขึ้นต้นไม้เก่ง พาดตัวนอนผึ่งแดด ตามกิ่งไม้, แลน หรือ จะกวด ก็เรียก.
  46. ตะเขิง : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (เงาะป่า).
  47. ตะโขง : น. ชื่อจระเข้ชนิด Tomistoma schlegelii ในวงศ์ Crocodylidae มีขนาด ใหญ่มากขนาดยาวได้ถึง ๔.๕ เมตร ตัวสีนํ้าตาลแดงมีลายสีนํ้าตาลเข้ม ปากเรียวยาวคล้ายปากปลา เข็มหางแบนใหญ่ใช้ว่ายนํ้า อาศัยตามป่า เลนชายนํ้ากร่อย ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น, จระเข้ ปากกระทุงเหว ก็เรียก.
  48. ตะเคียนเผือก : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Homalium grandiflorum Benth. var. grandiflorum ในวงศ์ Flacourtiaceae มักขึ้นริมนํ้าและที่ชุ่มชื้น ดอกคล้ายดอกพิกุล, ไก๊ หรือ พิกุลป่า ก็ เรียก.
  49. ตะบูน : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ในสกุล Xylocarpus วงศ์ Meliaceae ขึ้นตามป่าชายเลน และริมแม่นํ้าที่นํ้าเค็มขึ้นถึง มี ๒ ชนิด คือ ตะบูนขาว หรือ กระบูน (X. granatum Koenig) เปลือกสีนํ้าตาลแกมแดง ผลขนาดส้มโอ และ ตะบูนดํา [X. moluccensis (Lam.) M. Roem.] เปลือกสีนํ้าตาลแกมดํา ผลขนาดส้มเกลี้ยง.
  50. ถนน : [ถะหฺนน] น. หนทางที่ทําขึ้น, ลักษณนามว่า สาย, สนน ก็ว่า, โบราณเขียนเป็น ถนล. (จารึกวัดป่ามะม่วง); (กฎ) ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ''ทางข้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการ จราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือ ถนนส่วนบุคคล ซึ่ง เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้. (ข. ถฺนล่).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-570

(0.0370 sec)