Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ป่า , then บ่า, ปา, ป่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ป่า, 570 found, display 201-250
  1. ถเมิน : [ถะเมิน] น. พวก, ทหาร, เหล่า, พรานป่า. (เทียบ ข. เถมิร ว่า ผู้เดิน).
  2. ถเมินไพร : น. พรานป่า.
  3. ถาง : ก. ใช้มีดเป็นต้นฟันให้เตียน เช่น ถางหญ้า ถางป่า.
  4. ทมบ : [ทะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูป เห็นเป็นเงา ๆ แต่ไม่ทําอันตรายใคร, ฉมบ หรือ ชมบ ก็ว่า. (ข. ฉฺมบ ว่า หมอตําแย).
  5. ทเมิน : [ทะ-] น. พวก, ทหาร, เหล่า, พรานป่า. (ข. เถฺมิร).
  6. ทองหลาง : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Erythrina วงศ์ Leguminosae เช่น ทองหลางป่า [E. subumbrans (Hassk.) Merr.], ทองหลางลาย หรือ ทองเผือก (E. variegata L.), ทองหลางนํ้า หรือ ทองโหลง (E. fusca Lour.) ดอกออกเป็นช่อสีแดงคล้ำ.
  7. ทาก ๑ : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกปลิง ในชั้น Hirudinea ลำตัว ขนาดต่าง ๆ กัน ลักษณะเป็นปล้อง ยืดหดได้มาก อยู่ตามป่า มีสารฮิรูดิน (hirudin) เมื่อดูดกินเลือดสัตว์เลือดอุ่นทำให้เลือด ไม่แข็งตัว มีหลายชนิด เช่น ชนิด Haemadipsa interrupta ในวงศ์ Hirudidae.
  8. ทิวทัศน์ : [ทิวทัด] น. ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏเห็นตามธรรมชาติ เช่น ทิวทัศน์ทุ่งนา ทิวทัศน์ป่าเขา ทิวทัศน์ทางทะเล, เรียกภาพเขียน หรือภาพถ่ายจากทิวทัศน์ว่า ภาพทิวทัศน์.
  9. ที่ดินของรัฐ : (กฎ) น. บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของ แผ่นดินหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัยหรือ ทำประโยชน์ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ.
  10. ทึบ : ว. มีลมอากาศหรือแสงสว่างเข้าออกไม่ได้หรือไม่เพียงพอ เช่น ห้องทึบ ผนังทึบ ตู้ทึบ ป่าทึบ, ไม่โปร่งแสง เช่น เป็นแท่งทึบ; ไม่โปร่ง, หนาแน่น, เช่น ลายทึบ; โดยปริยายหมายความว่า โง่มาก เช่น ปัญญาทึบ สมองทึบ.
  11. ทูลกระหม่อม ๒ : น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด Thaipotamon chulabhorn ในวงศ์ Potamidae กระดองสีม่วงเข้มคล้ายสีเปลือกมังคุด ขาและขาก้ามสีเหลืองอมส้ม ปลายก้ามและขาสีขาว ขุดรูอยู่ พบในป่าดูนลำพัน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม.
  12. แทงวิสัย : น. การเล่นอย่างหนึ่ง แต่งตัวคล้ายเซี่ยวกางถือหอกแทงกัน; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. (เงาะป่า).
  13. ธุดงคญ, ธุดงค์ : น. องค์คุณเครื่องกําจัดกิเลส, ชื่อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของภิกษุ มี ๑๓ อย่าง เช่น การอยู่ในป่า การอยู่โคนไม้. (ป. ธูตงฺค).
  14. นกจาก : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. (เงาะป่า; ดึกดําบรรพ์).
  15. นวยนาด : ก. เยื้องกราย, กรีดกราย; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. (เงาะป่า).
  16. น้ำว้า : น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งพัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับ กล้วยตานี, นํ้าละว้า ก็เรียก, พายัพเรียก กะลิอ่อง หรือ มะลิอ่อง, เชียงใหม่เรียก กล้วยใต้.
  17. นิษาท : (แบบ) น. พรานป่า, เงาะป่า; ชาวประมง; โจร. (ส.; ป. เนสาท).
  18. เนษาท : (แบบ) น. นิษาท, พรานป่า, เงาะป่า; ชาวประมง; โจร. (ส. นิษาท; ป. เนสาท).
  19. เนื้อ ๒ : น. ชื่อสัตว์ป่าประเภทกวาง. เนื้อทราย น. ชื่อกวางชนิด Cervus porcinus ในวงศ์ Cervidae เป็น กวางขนาดกลาง ตัวสีนํ้าตาลเข้มแต่ตอนล่างสีจางกว่า ตามลําตัวมีจุด ขาวจาง ๆ อยู่ทั่วไป ลูกที่เกิดใหม่จุดขาวนี้จะชัดเจนมากเช่นเดียวกับ ลูกกวางดาว ตัวผู้มีเขาผลัดเขาปีละครั้ง อยู่เป็นฝูงตามทุ่งหญ้า กินหญ้า ระบัด ใบไม้ และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย, กวางแขม กวาง ทรายหรือ ตามะแน ก็เรียก. เนื้อสมัน ดู สมัน.
  20. เนื้อร้าย ๑ : น. สัตว์ป่าที่ดุร้าย เช่น หมี เสือ.
  21. แนวป่า : น. ชายป่าที่เห็นเป็นทิวยาวไป.
  22. บหลิ่ม : [บะหฺลิ่ม] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. (เงาะป่า), ปลิ่ม ก็ว่า. (รามเกียรติ์ ร. ๑), นอกนี้ยังมีเรียกและเขียนกันอีกหลายอย่าง คือ ปลิม ปลิ่ม ประหลิ่ม มะหลิ่ม ปะวะหลิ่ม ปะหลิ่ม.
  23. บังไพร : ก. เสกกิ่งไม้ถือบังตัวให้สัตว์เห็นเป็นป่าไม่เห็นตัวคน ใช้ใน การคล้องช้างเป็นต้น.
  24. บัญจรงค์ : [บันจะรง] (แบบ) น. เบญจรงค์ เช่น เอาผ้าบัญจรงค์อันงาม. (จารึก วัดป่ามะม่วง หลักที่ ๕ ด้านที่ ๓).
  25. บัวบก : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Centella asiatica (L.) Urban ในวงศ์ Umbelliferae ขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเดี่ยว กลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ใบและต้นกินได้และใช้ทํายาได้, พายัพ และอีสานเรียก ผักหนอก, ปักษ์ใต้และตราดเรียก ผักแว่น. (๒) ชื่อ ไม้เถาชนิด Stephania pierrei Diels ในวงศ์ Menispermaceae ขึ้น ในป่าเบญจพรรณ รากพองเป็นหัวกลม ๆ ใบค่อนข้างกลมปลาย แหลม ใช้ทํายาได้.
  26. บ่า ๑ : น. ส่วนของร่างกายระหว่างคอกับหัวไหล่, โดยปริยายหมายถึง อินทรธนูหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บ่าเสา บ่าเสื้อ.
  27. บึ่ง ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายสกุลในหลายวงศ์ ขนาดเท่าแมลงหวี่ หรือโตกว่าเล็กน้อย มีปีกคู่เดียว ปากแบบดูดกิน เจาะดูดเลือด คนและสัตว์กินเป็นอาหาร มีอยู่ชุกชุมตามบริเวณชายนํ้า ชายทะเล และในป่าทึบ ที่สําคัญได้แก่ สกุล Phlebotomus วงศ์ Psychodidae, สกุล Simulium วงศ์ Simuliidae, สกุล Lepto conops และ Culicoides วงศ์ Ceratopogonidae เป็นต้น, ปึ่ง หรือ คุ่น ก็เรียก.
  28. บุก ๒ : ก. ลุย, ฝ่าไป, เช่น บุกโคลน บุกป่า.
  29. บุกเบิก : ก. ถางป่าเข้าไปให้เป็นไร่นา, โดยปริยายหมายความว่า ริเริ่มทําเป็นคนแรกหรือพวกแรก.
  30. บุกรุก : ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขต พระราชฐาน, ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่าสงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจ หรือพลการ เช่น บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิดฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทําการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอา อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม โดย ยักย้ายหรือทําลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถานอาคาร เก็บรักษาทรัพย์หรือสํานักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดย ไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้ มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.
  31. เบญจพรรณ : ว. ๕ สี, ๕ ชนิด; หลายอย่างคละกัน ไม่เป็นสํารับ ไม่เป็นชุด เช่น ของเบญจพรรณ, เรียกต้นไม้ต่าง ๆ ที่ปลูกไว้ใน ที่แห่งเดียวกันว่า ไม้เบญจพรรณ, เรียกป่าที่มีไม้หลายพรรณ คละกันว่า ป่าเบญจพรรณ.
  32. เบิกไพร : ก. ทําพิธีก่อนจะเข้าป่า.
  33. เบิกไม้ : น. พิธีเซ่นผีป่าหรือรุกขเทวดาก่อนจะตัดไม้ใหญ่ในป่าสูง.
  34. เบื้อ ๑ : น. สัตว์ป่าทั่วไป, คู่กับ สัตว์บ้าน เช่น เนื้อเบื้อนาเนกลํ้า หลายพรรณ. (นิ. นรินทร์).
  35. ป่ง : น. พื้นดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรังอยู่, ป่าหรือดินที่มีป่ง เรียกว่า ป่าป่ง ดินป่ง, เรียกผีที่มีอยู่ในที่เช่นนั้นว่า ผีป่ง, เรียกลักษณะที่นั่งห้างคอยยิงสัตว์ที่มากินดินป่งว่า นั่งป่ง; (ถิ่น-พายัพ) ที่ริมฝั่งน้ำ, ที่ลุ่มน้ำขัง, ปง หรือ โป่ง ก็ว่า.
  36. ประดู่ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ ๒ ชนิดในสกุล Pterocarpus วงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ชนิด P. indicus Willd. กิ่งมักทอดย้อย เปลือก สีเทา มีนํ้ายางน้อย ปลูกเป็นไม้ให้ร่มตามถนน, ชนิด P. macrocarpus Kurz กิ่งชูขึ้นเล็กน้อย เปลือกสีนํ้าตาลเข้ม มีนํ้ายางมาก ขึ้นตามป่า เบญจพรรณทั่วไป เนื้อไม้สีแดงนิยมใช้ทําดุมเกวียน.
  37. ประพาส : [ปฺระพาด] (ราชา) ก. ไปต่างถิ่นหรือต่างแดน เช่น ประพาสหัวเมือง ประพาสยุโรป, ไปเที่ยว เช่น ประพาสป่า. (ส.).
  38. ปล้องทอง : น. ชื่องูชนิด Boiga dendrophila ในวงศ์ Colubridae ตัวโต ยาวประมาณ ๑.๗ เมตร สีดํามีลายสีเหลืองพาดขวางเป็นปล้อง ๆ ตลอดตัวอาศัยตามป่าโกงกางในภาคใต้ของประเทศไทย มีพิษอ่อน.
  39. ปล่อยปลาลงน้ำ : (สํา) ก. ปล่อยศัตรูไปแล้วเขาจะไม่นึกถึงบุญคุณ, มักใช้เข้าคู่กับ ปล่อยเสือเข้าป่า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า.
  40. ปันจุเหร็จ : น. เครื่องรัดเกล้าที่ไม่มียอด; โจรป่า. (ช.).
  41. ปาง ๑ : น. ครั้ง, คราว, เมื่อ, เช่น ปางก่อน ปางหลัง, ยุค, สมัย, เช่น นารายณ์ ๑๐ ปาง; ท่าของพระพุทธรูปที่แสดงถึงอิริยาบถต่าง ๆ เช่น พระพุทธรูปปางห้ามญาติ; ที่พักกลางป่าชั่วคราว เช่น ตั้งปาง.
  42. ป่าช้า : น. ป่าหรือที่ซึ่งจัดไว้เป็นที่ฝังหรือเผาศพ.
  43. ป่าดง : น. ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นทึบ.
  44. ป่าดงดิบ, ป่าดิบ : น. ป่าไม้ที่มีอยู่ทั่วไปในเขตร้อน ฝนชุก เป็นป่าไม้ สีเขียวไม่ผลัดใบ.
  45. ป่าแดง : น. ป่าที่มีใบไม้ร่วงตามฤดูกาล เช่น ป่าเต็ง ป่ารัง.
  46. ป่าแพะ : (ถิ่น-พายัพ) น. ป่าละเมาะ.
  47. ปาลิไลยก์ : น. ชื่อป่าแห่งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเสด็จอาศัยอยู่ และเป็นชื่อช้างซึ่ง อยู่ในที่นั้นด้วย; พระพุทธรูปปางหนึ่ง มีรูปช้างและลิงอยู่ด้วย เรียกว่า ปางพระปาลิไลยก์. (ป.).
  48. ป่าสูง : น. ป่าที่อยู่ในที่สูงขึ้นไป.
  49. ป่าใส : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ป่าไม้อ่อน, ป่าซึ่งได้ถางทําไร่มาแล้ว และมี ไม้รุ่นใหม่เกิดขึ้น ซึ่งโดยมากมักเป็นไม้ชนิดขึ้นเร็ว เนื้อไม่ใคร่แข็ง.
  50. ปุลินท์ : น. ชาวป่าชาวเขา. (ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-570

(0.0607 sec)