Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เก็บรักษา, รักษา, เก็บ , then กบ, เก็บ, เก็บรักษา, รักษา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เก็บรักษา, 584 found, display 451-500
  1. สลาก ๑ : [สะหฺลาก] น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่ง ทําเป็นเครื่องหมายกําหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทาย เป็นต้น เช่น สลากภัต; ป้ายบอกชื่อยา ใช้ปิดขวดยารักษาโรค เรียกว่า สลากยา, ฉลาก ก็ว่า. (ป.; ส. ศลาก).
  2. ส่วนลด : น. ส่วนที่หักจากจํานวนเงินที่เก็บมาได้ หรือจากจํานวนที่ซื้อ หรือที่ใช้ตามส่วนที่กําหนดไว้.
  3. ส่วย ๑ : น. ของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวงตามวิธีเรียกเก็บ ภาษีอากรในสมัยโบราณ; เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจาก ราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล, รัชชูปการ ก็ว่า.
  4. สะพานชัก : น. สะพานที่สร้างให้ยกเก็บได้เมื่อไม่ต้องการใช้.
  5. สัตตาหกาลิก : น. ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัช ทั้ง ๕ คือ เนยใส เนยข้น นํ้ามัน นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย. (ป.).
  6. สัตย, สัตย์ : [สัดตะยะ, สัด] น. ความจริง เช่น รักษาสัตย์, คำมั่นสัญญา, เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ลูกเสือให้สัตย์ปฏิญาณ. ว. จริง เช่น วาจาสัตย์, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น สัตย์ซื่อ ซื่อสัตย์ สัตย์จริง. (ส.; ป. สจฺจ).
  7. สัตวแพทย์ : น. หมอรักษาสัตว์.
  8. สันติบาล : น. ผู้รักษาความสงบ.
  9. สันติภาพ : น. ความสงบ เช่น โลกต้องการสันติภาพ จงร่วมมือกัน รักษาสันติภาพของโลก. (ป. สนฺติ + ภาว).
  10. หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
  11. หนาหู : ว. ได้ยินพูดกันมาก, บ่อย (ใช้แก่การได้ยิน), เช่น มีข่าวหนาหู ว่าจะตัดถนนสายใหม่, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาตา เป็น คำสร้อย เช่น ได้ยินข่าวหนาหูหนาตาว่ารัฐบาลจะเลิกเก็บภาษีบางอย่าง.
  12. หมดฝีมือ : ว. เต็มความสามารถที่มีอยู่ เช่น งานครั้งนี้เขาทำอย่างหมดฝีมือ เลย แม้แพทย์จะพยายามรักษาคนไข้จนหมดฝีมือแล้ว แต่ก็ช่วยชีวิตไว้ ไม่ได้, หมดความสามารถ, สิ้นฝีมือ ก็ว่า.
  13. หมอ ๑ : น. ผู้รู้, ผู้ชํานาญ, เช่น หมองู หมอนวด; ผู้ตรวจรักษาโรค เช่น หมอฟัน หมอเด็ก.
  14. หมอพัดโตนด : [-ตะโหฺนด] น. หมอรักษาโรคช้างในทางยา.
  15. หมอยา : (ปาก) น. ผู้มีความรู้ในการใช้ยารักษาโรค.
  16. หมัก : ก. แช่ไว้, เก็บทิ้งไว้; ปล่อยให้พักฟื้นเพื่อให้หายบอบชํ้า (ใช้แก่ปลากัด) เช่น เอาปลากัดไปหมักไว้, ทอด ก็ว่า.
  17. หมักหมม : ก. ทิ้งไว้ให้คั่งค้างอยู่มาก ๆ เช่น เขาชอบหมักหมมงานไว้ เสมอ. ว. ที่ทิ้งไว้ให้คั่งค้างอยู่มาก ๆ เช่น เสื้อผ้าใช้แล้วก็ทิ้งหมักหมมไว้ ไม่รู้จักเก็บไปซักเสียที.
  18. หม่า : (ปาก) ก. กิน เช่น ในห้องมีของกินมาก เข้าไปหม่าเสียซิ; ปล่อยไว้ไม่เป็น ระเบียบ เช่น เสื้อผ้าข้าวของไม่เก็บ หม่าไว้เต็มห้อง; หมัก, แช่ให้อ่อนตัว, เช่น หม่าข้าว หม่าแป้ง หม่าปูน.
  19. หมาก ๑ : น. ชื่อเรียกปาล์มหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Palmae โดยเฉพาะชนิด Areca catechu L. ผลมีรสฝาด ใช้เคี้ยวกินกับปูน พลู ซึ่งรวมเรียกว่า กินหมาก และใช้ฟอกหนัง, ผลที่ยังไม่แก่เรียก หมากดิบ, ผลที่แก่จัด เรียก หมากสง, เนื้อหมากที่ฝานบาง ๆ ตากแห้ง ลักษณะคล้ายอีแปะ เรียก หมากอีแปะ, ผลแก่จัดที่เก็บไว้ทั้งเปลือกเพื่อไว้กินนาน ๆ เรียก หมากยับ.
  20. หมาก ๓ : น. เรียกสิ่งของที่เป็นหน่วยเป็นลูกว่า หมาก เช่น หมากเก็บ หมากรุก; (โบ) ลักษณนามเรียกของที่เป็นเม็ดเป็นลูกว่า หมาก เช่น แสงสิบหมาก ว่า พลอยสิบเม็ด.
  21. หมากกรอก : น. ผลหมากสงทั้งเปลือกที่ตากแดดให้แห้งสนิทจนเมื่อเขย่า เนื้อหมากที่อยู่ข้างในจะกลิ้งไปมาได้ จึงผ่าเอาเนื้อข้างในออกมาเก็บไว้กิน, หมากเม็ด ก็เรียก.
  22. หมากกั๊ก : น. ผลหมากสงทั้งเปลือกที่ผ่าตามยาวออกเป็น ๔ ซีก แล้วนำไป ตากแดดให้แห้งจนเปลือกล่อนหลุดออก เพื่อเก็บเนื้อ''ไว้กินได้นาน ๆ.
  23. หมากเจียน : น. ผลหมากดิบสดที่ผ่าตามยาวออกเป็นซีก ๆ นำมาเจียน ใช้กินกับพลูที่บ้ายปูน หรือตากให้แห้งเพื่อเก็บไว้กินได้นาน ๆ.
  24. หมากเม็ด : น. ผลหมากสงทั้งเปลือกที่ตากแดดให้แห้งสนิทจนเมื่อเขย่า เนื้อหมากที่อยู่ข้างในจะกลิ้งไปมาได้ จึงผ่าเอาเนื้อข้างในออกมาเก็บไว้ กิน, หมากกรอก ก็เรียก.
  25. หมากยับ : น. หมากที่เก็บไว้ทั้งเปลือกเพื่อไว้กินได้นาน ๆ.
  26. หมากหลุม : น. ผลหมากที่เกิดจากการนำหมากสุกทั้งเปลือกบรรจุลงใน หลุมที่ลึกประมาณ ๑ ศอก ราดน้ำพอชุ่มแล้วปิดคลุมปากหลุมให้มิดชิด ทิ้งไว้จนเปลือกเน่า เพื่อเก็บไว้กินแรมปี.
  27. หมากแห้ง : น. หมากที่ตากแห้งเพื่อเก็บไว้กินนาน ๆ.
  28. หมากไห : น. ผลหมากที่เกิดจากการนำหมากสุกมาลอกผิวนอกออก บรรจุ ลงในไหให้เต็ม เติมน้ำสะอาดพอท่วม ปิดฝาให้แน่น ทิ้งไว้จนเปลือกเน่า เพื่อเก็บไว้กินแรมปี.
  29. หมู ๓ : น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Botia วงศ์ Cobitidae ลําตัวยาว แบนข้าง คอดหางใหญ่ มีหนวด ๓ คู่ หนังหนาคลุมเกล็ดมิด มีเขี้ยวพับเก็บได้ ในร่องบริเวณด้านหน้าของตา เช่น หมูขาว (B. modesta) หมูลาย (B. hymenophysa). (๒) ดู ซ่อนทราย(๑).
  30. หมูแนม : น. ชื่ออาหารว่าง มีหลายแบบ เช่น หมูแนมสด (แบบปลาแนม) หมูแนมแข็ง หมูแนมญวน, หมูแนมสดทำด้วยเนื้อหมูไม่ติดมันบดหรือ โขลกรวมกับข่าและแป้งแดงจีน ทำให้สุกด้วยการผัดในน้ำสะเออะให้ เนื้อหมูกระจายแล้วผสมด้วยมันหมูแข็งและหนังหมูต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ ยาว ๆ ข้าวคั่วป่นเป็นต้น ปรุงรส เปรี้ยว เค็มและหวาน รับประทานกับ ผักสด เช่น ใบทองหลาง ใบผักกาดหอม, หมูแนมแข็งต้องห่อหมูที่โขลก หรือบดและผสมเครื่องปรุงแล้วด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตอง มัดแน่น เก็บไว้ ๓ วัน จึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกรับประทานกับผักและน้ำจิ้ม หรือรับประทานแบบเมี่ยงเครื่องสด, หมูแนมญวนใช้เนื้อหมูล้วนสับ ใส่เกลือรวนให้สุก ใส่ยอดสะระแหน่และแตงกวาหั่น แล้วห่อด้วย ข้าวเกรียบแก้ว ตัดเป็นคำ ๆ รับประทานกับน้ำจิ้มและผักต่าง ๆ.
  31. หยาบ, หยาบ ๆ : ว. ไม่ละเอียด เช่น ทรายหยาบ แป้งหยาบ; ไม่สุภาพ เช่น กิริยาหยาบ พูดหยาบ, ไม่เรียบร้อย เช่น เก็บข้าวของสุมไว้หยาบ ๆ, สาก ๆ เช่น ฝ่ามือฝ่าเท้าหยาบ.
  32. หยูกยา : (ปาก) น. ยารักษาโรค.
  33. หล่อ : ก. เทโลหะเหลวหรือขี้ผึ้งเหลวเป็นต้นลงในแม่พิมพ์ แล้วทิ้งให้แข็งเป็น รูปตามแบบ (มักใช้ในงานประติมากรรมและอุตสาหกรรม) เช่น หล่อ พระพุทธรูป หล่อกระทะ หล่อกระบอกปืนใหญ่; ขังน้ำหรือน้ำมันไว้ เพื่อรักษาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้คงสภาพ เช่น เอาน้ำหล่อคอนกรีตไว้ เอา น้ำมันจันทน์หล่อรักยม. (ปาก) ว. งาม เช่น รูปหล่อ.
  34. หละหลวม : [หฺละหฺลวม] ว. สะเพร่า, ไม่ถ้วนถี่, ไม่รอบคอบ, เช่น ทำงานหละหลวม, ไม่รัดกุม เช่น งานรักษาความปลอดภัยในพิธีนี้หละหลวมมาก.
  35. หวงห้าม : ก. กันไว้โดยเฉพาะ เช่น ผลไม้ในสวนนี้เจ้าของไม่หวงห้าม จะเก็บไปกินก็ได้. ว. ที่กันไว้โดยเฉพาะ เช่น เขตหวงห้าม เข้าได้เฉพาะ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง.
  36. หวอด : น. ฟองนํ้าที่ปลาบางชนิดมีปลากัด ปลาช่อนเป็นต้น พ่นไว้สําหรับเก็บไข่. ว. อาการที่หาวทำเสียงดังเช่นนั้น ในคำว่า หาวหวอด.
  37. ห้องเครื่อง : (ราชา; ปาก) น. ครัว, เรียกเต็มว่าห้องเครื่องวิเสท, ห้องสำหรับ เก็บเครื่องราชูปโภค, เรียกเต็มว่า ห้องเครื่องราชูปโภค; ห้องเครื่องยนต์เรือ เป็นต้น.
  38. หอจดหมายเหตุ : น. สถานที่เก็บและให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ.
  39. หอไตร : น. หอสําหรับเก็บพระไตรปิฎก.
  40. ห้อม ๑ : ก. แวดล้อม ในคำว่า แห่ห้อม; (โบ) ระวังรักษา เช่น คนผู้ดังนี้ คือว่า พระราชภักดีจักช่อยห้อมบ้านห้อมเมือง (จารึกหลักที่ ๓๘ ประชุมพงศ. ภาค ๓).
  41. หอม ๓ : ก. เก็บ, รวบรวม, ในความว่า เก็บหอมรอมริบ.
  42. หอมยับ : (โบ) ก. รวบเก็บไว้ เช่น ข้าแต่พระองค์ผู้เปนเครื่องประดับซึ่งให้ หอมยับทรัพย์หนใดฯ. (ม. คำหลวง หิมพานต์).
  43. หัวเบี้ย : น. ผู้ที่เก็บและจ่ายเงินในวงถั่วโปเป็นต้น; (โบ) จํานวนเงินขนอน ตลาดที่เรียกเก็บเอาไว้ในทีแรก.
  44. หางข้าว : น. ข้าวเปลือกที่ยังมีข้าวลีบปนอยู่มาก; (โบ) จำนวนข้าวที่หลวง เรียกเก็บเป็นภาษี. (พงศ. ร. ๒).
  45. แห้ง : ว. ไม่มีนํ้า, หมดนํ้า, เช่น คลองแห้ง โอ่งแห้ง, ไม่เปียก เช่น ผ้าแห้ง, ที่ไม่ใส่ น้ำ เช่น ก๋วยเตี๋ยวแห้ง บะหมี่แห้ง, ไม่สด เช่น ใบไม้แห้ง; ที่อาจเก็บไว้บริโภค ได้นาน เช่น ของแห้ง หอมแห้ง พริกแห้ง; ไม่แจ่มใส เช่น หน้าแห้ง ยิ้มแห้ง; ขาดความชุ่มชื้น เช่น ผิวแห้ง ปากแห้ง จมูกแห้ง; โดยปริยายหมายความว่า ฝืดเคือง, อดอยาก, ในคำว่า ไส้แห้ง กระเป๋าแห้ง.
  46. อกแตก : ว. ลักษณะของเมืองหรือวัดเป็นต้นซึ่งมีลํานํ้าหรือทางผ่า กลาง เรียกว่า เมืองอกแตก วัดอกแตก; อาการของคนที่เก็บความ รู้สึกอัดอั้นตันใจไว้จนทนไม่ไหว. อ. คําพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจ เป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น อุ๊ย ! อกแตก, อกจะแตก ก็ว่า.
  47. อนีกัฐ : น. ทหารม้า, ทหารรักษาพระองค์. (ป. อนีกฏฺ?).
  48. อนุบาล : ก. ตามเลี้ยงดู, ตามระวังรักษา. ว. ที่คอยตามเลี้ยงดู, ที่คอยตามระวัง รักษา, เรียกโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีอายุระหว่าง ๓ ขวบครึ่ง ถึง ๗ ขวบ ว่า โรงเรียนอนุบาล, เรียกครูที่สอนโรงเรียนอนุบาลว่า ครูอนุบาล, เรียกนักเรียนโรงเรียนอนุบาลว่า นักเรียนอนุบาล; (กฎ) เรียกผู้ที่ศาลมี คําสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถว่า ผู้อนุบาล. (ป., ส. อนุปาล).
  49. อนุรักษ, อนุรักษ์ : [อะนุรักสะ, อะนุรัก] ก. รักษาให้คงเดิม. (ส.).
  50. อภิบาล : ก. บํารุงรักษา, ปกครอง. (ป., ส. อภิปาล).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-584

(0.0963 sec)