Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รู้ , then รุ้, รู้ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รู้, 619 found, display 151-200
  1. คหกรรมศาสตร์ : [คะหะกํามะสาด] น. วิชาที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ โดยมุ่งพัฒนาครอบครัว ด้วยการจัดการทรัพยากรบุคคล วัสดุและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาอาชีพ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ความมั่นคงของสถาบันครอบครัวและสังคม.
  2. คำมั่น : (กฎ) น. การแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของผู้ให้คำมั่นที่มีผลผูกพัน ผู้ให้คำมั่นเมื่อมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่น อันเป็นความ ผูกพันก่อนเกิดสัญญาที่มุ่งประสงค์จะทำระหว่างกัน เช่น คำมั่นว่าจะซื้อ หรือขาย คำมั่นไม่จำเป็นต้องมีการเสนอให้มีการตกลงทำสัญญาเสมอไป อาจมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่นหรือไม่มีผู้แสดงเจตนารับรู้ ก็นับว่าเป็นคำมั่นได้ เช่น คำมั่นว่าจะให้รางวัล.
  3. คุณวุฒิ : [คุนนะวุดทิ, คุนนะวุด] น. ความรู้ความสามารถของบุคคล, ระดับการศึกษา, เช่น เขามีคุณวุฒิเหมาะจะเป็นครู.
  4. คู่คิด : น. ผู้ร่วมคิดหรือร่วมปรึกษาหารือที่สนิทสนมและรู้ใจกันดี.
  5. คู่ใจ : น. คนสนิทที่รู้ใจและไว้วางใจได้.
  6. คู่มือ : ว. ใช้ประโยชน์ได้เหมาะใจ, สําหรับประจําตัว, เช่น อาวุธคู่มือ. น. สมุดหรือหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้องการรู้ เพื่อใช้ประกอบตํารา เพื่ออํานวยความสะดวกเกี่ยวกับการศึกษาหรือ การปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเพื่อแนะนำวิธีใช้อุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
  7. เคล็ด ๑ : [เคฺล็ด] น. วิธีการที่ฉลาด พลิกแพลง ใช้ในการอย่างใดอย่างหนึ่ง; การ กระทําอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีปัดเป่าหรือกันภัยหรือเหตุร้าย ที่จะมีมา เช่น ต้นไม้บางชนิดไม่มีลูก เชื่อกันว่าถ้าเอามีดไปสับต้นเป็น เคล็ดแล้วจะมีลูก; อุบาย, เล่ห์, กลเม็ด, เช่น รู้เคล็ด มีเคล็ด เคล็ดลับ.
  8. เค้า ๑ : น. สิ่งที่เป็นเครื่องกําหนดหมายบอกให้รู้ เช่น ฝนตั้งเค้า; สิ่งที่ส่อแสดง ให้รู้ได้ว่ามีลักษณะเหมือนสิ่งอื่น เช่น นาย ก มีเค้าหน้าเหมือนนาย ข; ต้นเงื่อน เช่น ต้นเค้า; รูปหรือรูปความโดยย่อ เช่น เขียนพอให้เห็นเป็น เค้า; ร่องรอย เช่น พอได้เค้า; เหง้า เช่น โคตรเค้าเหล่ากอ; ข้า. (อนันตวิภาค); ตัวเงินหรือวัตถุที่ใช้แทนตัวเงิน เช่นเมล็ดมะขามเป็นต้นที่เป็นทุนซึ่งตั้ง ไว้สําหรับเล่นในบ่อนการพนันบางชนิด, เรียกผู้ถือต้นทุนในการพนัน ว่า ถุงเค้า.
  9. แคบ ๑ : ว. มีส่วนกว้างน้อย, ไม่กว้างขวาง เช่น บ้านแคบ ความรู้แคบ.
  10. ฆาน, ฆาน- : [คาน, คานะ-] (แบบ) น. จมูก, ประสาทที่รับรู้กลิ่น. (ป.).
  11. ฆานประสาท : น. ประสาทที่รับรู้กลิ่น.
  12. งบดุล : (กฎ) น. รายการแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน เพื่อให้รู้ฐานะการเงิน ของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง.
  13. งึก ๆ : ว. อาการที่พยักหน้าเป็นการรับรู้, หงึก ๆ ก็ว่า.
  14. งู ๆ ปลา ๆ : ว. มีความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่รู้จริง, ในคําว่า รู้งู ๆ ปลา ๆ.
  15. จงอร : [-ออน] (แบบ) ก. จงทำให้ดีใจ, จงทำให้ปลาบปลื้ม, เช่น ใครรู้แห่ง พระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คําหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).
  16. จระกล้าย : [จะระ-] (กลอน) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  17. จ๊วก : ว. คําแต่งคํา ขาว ให้รู้ว่าสีขาวมาก, จั๊วะ ก็ว่า.
  18. จ๋อย ๒ : ว. คําแต่งคํา เหลือง หรือ หวาน ให้รู้ว่าเหลืองหรือหวานจริง ๆ เช่น เหลืองจ๋อย หวานจ๋อย.
  19. จัก ๓ : ก. รู้, ทราบ, แจ้ง, จําได้, เช่น รู้จัก, ข้อยคูดนูแนบนิทรา รมย์ร่วมรถ พาหนห่อนจักสึกสมประดี. (สรรพสิทธิ์).
  20. จักขุวิญญาณ : น. ความรู้อันอาศัยทางตาเกิดขึ้น.
  21. จับได้ไล่ทัน : (สำ) ก. รู้เท่าทัน เช่น เขาจับได้ไล่ทันว่าเป็นเรื่องไม่จริง.
  22. จั๊วะ : ว. คําแต่งคํา ขาว ให้รู้ว่าสีขาวมาก, จ๊วก ก็ว่า.
  23. จำกัด : ก. กําหนดหรือขีดคั่นไว้โดยเฉพาะ เช่น จํากัดอายุ จํากัดความรู้.
  24. จำเบศ : ความหมายอย่างเดียวกับ จําบัง แต่เพื่อประโยชน์ในกลอนจึงใช้ ศ เข้าลิลิต เช่น หมู่โยธาโยเธศ รู้จําเบศจําบัง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  25. จ้ำม่ำ : ว. คําประกอบลักษณะอ้วน ให้รู้ว่าอ้วนน่ารัก (โดยมากใช้เฉพาะเด็ก).
  26. จิกปีก : ก. งงจนไม่รู้จะทําอะไรได้ (มาจากอาการของไก่ที่ถูกตีจนงง แล้วเอาปากจิกปีกตัวเอง).
  27. จิต, จิต- : [จิด, จิดตะ-] น. ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิดและนึก, (โบ เขียนว่า จิตร), ลักษณนามว่า ดวง. (ป. จิตฺต).
  28. จุดบอด : น. บริเวณที่เครื่องมือสื่อสารรับสัญญาณได้ไม่ชัด, บริเวณ หลังลูกตาที่ไม่รับแสง, บริเวณที่ควรจะมองเห็นแต่ไม่สามารถมองเห็น ได้เช่น ทางโค้งนี้มีจุดบอด ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนกันบ่อย ๆ, จุดของ ปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินใจหรือแยกแยะได้อย่างชัดเจนอาจจะเนื่องจาก ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงสภาวะที่ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้.
  29. จุตูปปาตญาณ : [-ตูปะปาตะยาน] (แบบ) น. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, ทิพยจักษุญาณ ก็เรียก. (ป.; ส. จฺยุตฺยุตฺปาตชฺ?าน).
  30. แจ้ง : ก. แสดงให้รู้, บอกให้รู้, เช่น แจ้งความประสงค์. ว. กระจ่าง, สว่าง, ชัด, เช่น แจ้งใจ.
  31. ใจ : น. สิ่งที่ทําหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด เช่น ใจก็คิดว่าอย่างนั้น, หัวใจ เช่น ใจเต้น, ลมหายใจ เช่น กลั้นใจ อึดใจ หายใจ, ความรู้สึกนึกคิด เช่น ใจคด ใจซื่อ; จุดสำคัญของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ใจมือ, บริเวณที่ถือว่าเป็นจุด สำคัญของสถานที่ เช่นใจบ้านใจเมือง.
  32. ฉบัด : [ฉะ-] (กลอน) ว. ชัด, สันทัด, ทันทีทันใด, เช่น เจ้าช้างจึ่งรู้ฉบัด. (ลอ), เร่งยอมนุญาตเยาวฉบัด. (สรรพสิทธิ์). (ข. จฺบาส่).
  33. ฉายา ๑ : น. เงา, ร่มไม้. (ป.); ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท, ชื่อตั้งให้กันเล่น ๆ หรือตามลักษณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ. (ป., ส.).
  34. ฉาวโฉ่ : ว. อื้ออึง, เกรียวกราวขึ้น, รู้กันทั่วไป, (ใช้แก่ข่าวที่ไม่ดีไม่งาม), โฉ่ฉาว ก็ว่า.
  35. โฉ่ฉาว : ว. อื้ออึง, เกรียวกราวขึ้น, รู้กันทั่วไป, (ใช้แก่ข่าวที่ไม่ดีไม่งาม), ฉาวโฉ่ ก็ว่า.
  36. ชั่ง : น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๐ ตําลึงหรือ ๘๐ บาท เป็น ๑ ชั่ง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๒๐ ตําลึง เป็น ๑ ชั่ง หรือมีน้ำหนักเท่ากับ ๑,๒๐๐ กรัม, ถ้าเป็นชั่งจีน มีนํ้าหนักเท่ากับ ๖๐๐ กรัม คือเป็นครึ่งหนึ่งของชั่งไทย. ก. กระทําให้รู้นํ้าหนักโดยใช้เครื่องชั่งหรือตราชูเป็นต้น.
  37. ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด : (สํา) น. ความชั่วหรือความผิด ร้ายแรงที่คนรู้ทั่วกันแล้ว จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด.
  38. ช่างฝีมือ : น. ผู้มีความรู้ความสามารถในงานวิชาชีพโดยเฉพาะ ด้านหัตถกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม และวิศวกรรม.
  39. ชำนิ ๒ : ก. รู้ชัดเจน, เชี่ยวชาญ, คล่องแคล่ว.
  40. ชิม : ก. ลองลิ้มรสดูด้วยปลายลิ้น, ทดลองให้รู้รส.
  41. ชื่อเล่น : น. ชื่อที่ตั้งตั้งแต่เด็ก เป็นที่รู้กันในหมู่ญาติ หรือผู้ใกล้ชิด.
  42. ชุบตัว : ก. เอาตัวจุ่มลงไปในของเหลวเพื่อให้ติดสิ่งนั้น อย่างพระสังข์ชุบตัวให้เป็นทอง, เอาตัวเข้าไปในกองไฟ เพื่อเปลี่ยนรูปอย่างท้าวสันนุราชชุบตัวในกองไฟเพื่อให้ กลับเป็นหนุ่มใหม่; โดยปริยายหมายถึงไปศึกษาอบรม เพิ่มเติมเพื่อให้มีความรู้สูงขึ้น ดีขึ้น โดยมากหมายถึงใน ยุโรปและอเมริกาเช่น ไปชุบตัวมาจากเมืองนอก.
  43. เช่น : น. อย่าง, ชนิด, เช่น รู้เช่นเห็นชาติ เช่นนี้ เช่นใด. ว. เหมือน, ใช้นําหน้าคําประสมได้ แปลว่า อย่าง เช่น เช่นนี้ ว่า อย่างนี้, เช่นใด ว่า อย่างใด.
  44. เชื่อมือ : (ปาก) ก. เชื่อฝีมือ, เชื่อความรู้ความสามารถ.
  45. ซึ้ง ๒ : ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งรู้ได้ เช่น ปัญหาลึกซึ้ง คิดลึกซึ้ง; รู้สึก เอิบอาบซาบซ่านแผ่ไปทั่วร่างกายและจิตใจ เช่น ภาพนี้มองดูซึ้ง ฟังเขาพูดแล้วรู้สึกซึ้งมาก.
  46. ซึมทราบ : ก. รู้ละเอียด.
  47. เซน : น. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แพร่หลายในจีนและ ญี่ปุ่น เป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุความรู้แจ้งอย่างฉับพลัน โดยการทําสมาธิและใช้ปัญญาขบคิดปริศนาธรรม. (ญิ.).
  48. ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
  49. ญาณ, ญาณ- : [ยาน, ยานะ-, ยานนะ-] น. ปรีชาหยั่งรู้หรือกําหนดรู้ที่เกิดจาก อํานาจสมาธิ, ความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ. (ป.; ส. ชฺ?าน).
  50. ญาณทัสนะ : [ยานะทัดสะนะ, ยานนะทัดสะนะ] (แบบ) น. ความรู้ ความเห็น. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-619

(0.0848 sec)