Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สื่อกลาง, สื่อ, กลาง , then กลาง, สอ, สอกลาง, สื่อ, สื่อกลาง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สื่อกลาง, 630 found, display 401-450
  1. มะขวิด : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Feronia limonia (L.) Swing. ในวงศ์ Rutaceae ต้นและกิ่งมีหนาม ผลกลม เปลือกแข็ง กินได้ ยางใช้ทํายาได้.
  2. มะขามป้อม : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Phyllanthus emblica L. ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลม รสเปรี้ยวฝาด เมล็ดแข็ง ผลใช้ทํายาได้.
  3. มะแข่น : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Zanthoxylum budrunga Wall. ex Hook.f. ในวงศ์ Rutaceae มีลักษณะทั่วไปคล้ายกําจัดหรือมะข่วง [Z. rhetsa (Roxb.) DC.] ต่างกันที่ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓-๕ มิลลิเมตร มีกลิ่นฉุนจัด เมล็ดกลม สีนํ้าตาลเข้ม ใช้ผลแห้งเป็นเครื่องเทศหรือตําผสมเป็น เครื่องแกงเพื่อชูรส, พริกหอม ลูกระมาศ หรือ หมากมาศ ก็เรียก.
  4. มะคะ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Cynometra ramiflora L. ในวงศ์ Leguminosae ใบอ่อนสีขาว ใบแก่สีเขียวแก่ ผลแข็ง.
  5. มะคังแดง : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Gardenia erythroclada Kurz ในวงศ์ Rubiaceae ลําต้นมีหนาม เปลือกสีแดง ใช้ทํายาได้.
  6. มะแฟน : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Protium serratum Engl. ในวงศ์ Burseraceae, มะแพน หรือ กะแทน ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก กะตีบ.
  7. มะลำ, มาลำ : น. เวลาคํ่ามืด, กลางคืน. (ช.).
  8. มัชฌิม- : [มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-, มัดชิม-] ว. ปานกลาง. (ป. มชฺฌิม).
  9. มัชฌิมชนบท : น. ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของ ประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุม ของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ.
  10. มัชฌิมนิกาย : น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๒ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดปานกลาง รวบรวมพระสูตรขนาดปานกลางไว้ในหมวดนี้. (ป.).
  11. มัชฌิมบุรุษ : น. ชายที่มีวัยปานกลาง, ชายที่มีอายุและกำลังปานกลาง.
  12. มัชฌิมประเทศ : [มัดชิมะ-, มัดชิม-] น. ประเทศอินเดีย, ตามแบบ หมายถึงอินเดียตอนกลาง.
  13. มัชฌิมภูมิ : [-พูม] น. ภูมิหรือชั้นของคนชั้นกลาง, ในคณะสงฆ์ หมายถึงภิกษุที่มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕, ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ, และชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).
  14. มัชฌิมยาม : [มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา ถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา. (ป.).
  15. มัชฌิมวัย : [มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. วัยกลางคน.
  16. มัชฌิมา : ว. ปานกลาง, ไม่ยิ่งไม่หย่อน, เช่น พอเป็นมัชฌิมา. (ราชา) น. นิ้วกลาง เรียกว่า พระมัชฌิมา. (ป.; ส. มธฺยมา).
  17. มัชฌิมาปฏิปทา : น. ทางสายกลาง. (ป.).
  18. มัธย- : [มัดทะยะ-] ว. กลาง, ปานกลาง, พอดี, เป็นกลาง, ระหว่างกลาง. (ส.; ป. มชฺฌิม).
  19. มัธยมกาล : น. เวลาของตําบลใดตําบลหนึ่งที่ทางการบัญญัติให้ใช้ เป็นเวลากลางสําหรับประเทศ.
  20. มัธยม, มัธยม- : [มัดทะยม, มัดทะยมมะ-] ว. กลาง, ปานกลาง. (ส.).
  21. มัธยมา : [มัดทะยะมา] ว. มัชฌิมา, ปานกลาง. (ส.).
  22. มัธยันห์ : [มัดทะยัน] น. เวลากลางวัน, เที่ยงวัน. (ส. มธฺยาหฺน).
  23. มัธยัสถ์ : [มัดทะยัด] ก. ใช้จ่ายอย่างประหยัด. (ส. มธฺยสฺถ ว่า ปานกลาง, ตั้งอยู่ในท่ามกลาง).
  24. มาธยมิกะ : [มาทะยะ-] น. ทางสายกลาง; ศูนยวาท. (ส. มาธฺยมิก).
  25. ม่านสองไข : น. ม่าน ๒ ชายที่แหวกกลางรวบชายไปผูกไว้ที่ ด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน สําหรับประดับช่องทางประตูหน้าต่างเป็นต้น.
  26. มีดกรีดยาง : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปงอเป็นขอคล้ายเคียวเกี่ยวข้าว ใช้กรีดเปลือกต้นยางพารา.
  27. มีดควั่นอ้อย : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปยาวรี ปลายมน มีด้าม เจาะรู ที่ปลายใบมีดสำหรับสอดปลายเข้ากับหลักควั่นอ้อย ใช้ควั่นอ้อย.
  28. มีดตอก : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างป้าน ๆ สันหนา คมบาง ด้ามยาว และมีปลายงอนขึ้นคล้ายคันธนู ใช้จักตอก เหลาไม้หรือหวาย.
  29. มีดโต๊ะ : น. มีดขนาดกลางและเล็ก ใช้ตัดหรือเฉือนอาหาร เช่น เนื้อ ปลา ในเวลารับประทานอาหารแบบฝรั่ง.
  30. มีดทอง : น. มีดขนาดกลางและเล็ก ทำด้วยทองเหลืองหรือทองม้าล่อ ใบมีดรูปยาวรี มีทั้งชนิดปลายมนและปลายเสี้ยว ด้ามมักทำด้วยเขาสัตว์ ใช้ปอกผลไม้.
  31. มีดบาง : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดแบนยาว มีทั้งชนิดปลายมนและ ปลายเสี้ยว ด้ามทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์ ใช้หั่น เฉือน หรือซอยผัก หรือเนื้อเป็นต้น.
  32. มีดปาดตาล : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างคล้ายปลากราย ปลายแหลม สันหนา ด้ามทำด้วยไม้ยาวประมาณ ๑ คืบ ใช้ปาดงวงตาลหรืองวงมะพร้าว.
  33. มีดสับหมู : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าค่อนข้างหนา ยาวประมาณ ๑ คืบด้ามเป็นบ้องต่อออกไปจากตัวมีดขนาดพอมือกำ ถ้าเป็นแบบที่ใช้ในครัวมักทำสันงอนขึ้น และด้ามทำด้วยไม้.
  34. มีดหมอ : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างคล้ายมีดเหน็บ แต่โคนมีดมี ชายแหลมโค้งออจากคมเล็กน้อย ใช้สำหรับประกอบในพิธีทาง ไสยศาสตร์.
  35. มีดหั่นยา : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวประมาณ ๑ คืบ ด้ามทำด้วยไม้ขนาดพอกำ ใช้หั่นใบยาสูบ.
  36. มีดหัวเสียม : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดปลายแบนป้าน โคนแคบ ยาวประมาณ ๑ ศอก ด้ามทำด้วยไม้ยาว ๑ คืบ ใช้ถากหญ้าหรือขุด ดินแทนเสียมได้, มีดเสียม หรือ พร้าเสียม ก็เรียก.
  37. มีดเหน็บ : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่อง โคนแคบ สันค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำ เป็นบ้องติดอยู่ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือ หวายสาน ไว้ขัดเอว ในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง, มีดอีเหน็บ ก็เรียก.
  38. มื้อ : น. เวลา, คราว, (ใช้เกี่ยวกับการกินอาหาร) เช่น อาหารมื้อเช้า อาหารมื้อกลางวัน อาหารมื้อเย็น กินอาหารให้เป็นมื้อเป็นคราว, ลักษณนามหมายถึง คราว, ครั้ง, หน, เช่น กินอาหารวันละ ๓ มื้อ.
  39. มุขลด : น. พื้นอาคารลดระดับต่ำกว่าพื้นส่วนกลางอาคาร อยู่ต่อออกมาทางหัวและท้ายอาคาร เช่น มุขลดศาลา มุขลดพระที่นั่งต่าง ๆ.
  40. เมรุ, เมรุ- : [เมน, เม-รุ-] น. ชื่อภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ซึ่งพระอินทร์อยู่; ที่เผาศพ เดิมผูกหุ่นทำเป็นภูเขาตั้งที่เผาขึ้นบนนั้น ของหลวงทำเป็นเรือนโถง เครื่องยอดหรือมณฑปครอบที่เผา เรียกว่า พระเมรุ, ต่อมาเรียกที่เผาศพทั่วไปทั้งมียอดและไม่มียอดว่า เมรุ. (ป.).
  41. เมือง : น. แดน เช่น เมืองมนุษย์ เมืองสวรรค์ เมืองบาดาล, ประเทศ เช่น เมืองไทย เมืองจีน เมืองลาว; (โบ) จังหวัด เช่น เมืองเชียงใหม่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองตราด; เขตซึ่งเคยเป็นเมืองสำคัญในระดับจังหวัดต่อมาถูกลดฐานะเป็น อำเภอ เช่น เมืองไชยา เมืองมีนบุรี เมืองขุขัน์; เขตซึ่งเป็นที่ชุมนุมและเป็น ที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ซึ่งในครั้งก่อน ถ้าเป็นเมืองใหญ่ หมายถึงเขตภายใน กําแพงเมือง.
  42. แมงกะพรุน : น. ชื่อสัตว์นํ้าไม่มีกระดูกสันหลัง ใสคล้ายวุ้น ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทําหน้าที่กินและย่อยอาหาร มีหลายชนิด เช่น แมงกะพรุนจาน หรือ แมงกะพรุนหนัง ซึ่งกินได้ ส่วนแมงกะพรุนถ้วย แมงกะพรุนไฟ และแมงกะพรุนลาย มีพิษ.
  43. แมงกาย : (ถิ่น-พายัพ) น. ผีเสื้อกลางคืน. (ดู ผีเสื้อ๑).
  44. แม่ตะงาว : น. ชื่องูขนาดเล็กชนิด Boiga multomaculata ในวงศ์ Colubridae หัวโต ตาโต ตัวยาวเรียว สีนํ้าตาล ลายสีนํ้าตาลเข้ม ออกหากินในเวลากลางคืน มีพิษอ่อนมาก.
  45. แมลงวัน : น. ชื่อแมลงประเภทหนึ่งซึ่งมีปีก ๑ คู่ ลักษณะบางใสเกิดที่อกปล้องกลาง มีอวัยวะเป็นติ่งยื่นออกมาแทนปีกคู่ที่ ๒ ทําหน้าที่เป็นหางเสือ ปากเป็นชนิดซับดูด หนวดมี ๓ ปล้อง ปล้องปลายใหญ่สุดและมีขน ๑ เส้น มีหลายวงศ์ ที่พบทั่วไป คือ ชนิด Musca domestica ในวงศ์ Muscidae.
  46. โมง ๑ : น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน, ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง ๕ โมงเช้า, ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน, ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย ๕ โมง, ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า.
  47. ยางหนังสติ๊ก : น. แถบยางยาว ๆ มักทำจากยางในรถจักรยาน เวลานำมา ผูกกับง่ามหนังสติ๊กจะใช้ยางเพียง ๒ เส้น โดยผูกปลายด้านหนึ่งของ แต่ละเส้นกับปลายสิ่งที่เป็นง่าม ซึ่งมักเป็นไม้ แล้วเอาปลายอีกด้านหนึ่ง ของแต่ละเส้นผูกกับแผ่นหนังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชิ้นเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงกลาง สำหรับรองรับลูกกระสุนที่ใช้ยิง.
  48. ยาม, ยาม : [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละ ชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้า สถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
  49. ยามิก : น. คนเฝ้ายาม, คนเฝ้ายามเวลากลางคืน. (ส.).
  50. ยาว : ว. ลักษณะของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งที่ขยาย ออกไปไม่ได้แล้ว เช่น ถนนยาว ๓๐ กิโลเมตร เชือกยาว ๒ เมตร, ลักษณะ ส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่ง ไปถึงอีกจุดหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน, ไม่สั้น เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว กระโปรงยาว, นาน (ใช้แก่เวลา) เช่น หน้าร้อน กลางวันยาวกว่ากลางคืน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-630

(0.0958 sec)