Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรียกชื่อ, เรียก, ชื่อ , then ชอ, ชื่อ, รยกชอ, เรียก, เรียกชื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เรียกชื่อ, 6307 found, display 1401-1450
  1. อริยสัจ : น. ความจริงของพระอริยะ, ความจริงอันประเสริฐ; ชื่อ ธรรมสําคัญหมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนา มี ๔ ข้อ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และ ๔.ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค (ทางแห่งความดับทุกข์). (ป. อริยสจฺจ).
  2. โอ้ ๑ : (กลอน) อ. คําในคําประพันธ์ ใช้ในความรําพึง พรรณนา วิงวอน หรือปลอบ เป็นต้น เช่น โอ้พ่อพลายสายสวาทของน้องเอ๋ย ไม่เคย เลยจะห่างเหเสนหา. (ขุนช้างขุนแผน), โอ้ว่า ก็ใช้ เช่น โอ้ว่าน่า เสียดายตัวนัก เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงชํ้าจิต. (อิเหนา). น. ชื่อ เพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า โอ้ เช่น โอ้ปี่ โอ้ร่าย โอ้โลม.
  3. กะรุน : น. แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุอะลูมิเนียมกับออกซิเจน แต่มักมีสิ่งอื่นผสมอยู่ทําให้มีสีต่าง ๆ เช่น ถ้าเป็นสีแดง เรียกว่า ทับทิม ถ้าเป็นสีน้ำเงิน เรียกว่า พลอยสีน้ำเงิน ถ้าเป็นสีเขียว เรียกว่า เขียวส่อง หรือ เขียวมรกต, อินเดีย เรียก คอรุน. (อ. corundum).
  4. เขย : น. ชายที่มาแต่งงานกับญาติผู้หญิง, ผัวของญาติ, เช่น ถ้าเป็นผัวของ ลูกสาว เรียก ลูกเขย ถ้าเป็นผัวของป้า เรียก ลุงเขย.
  5. ไข่เจียว : น. ไข่ที่ตีไข่แดงกับไข่ขาวให้เข้ากันแล้วทอดนํ้ามัน, ถ้านํ้ามัน มากจนไข่ที่เจียวฟู เรียก ไข่ฟู, ถ้ามีเนื้อหมูสับผสมด้วย เรียก ไข่เจียวหมูสับ.
  6. ไขรา : น. ส่วนของหลังคาอาคารสถาปัตยกรรมไทย เฉพาะตอนที่ยื่นพ้นผนัง อาคารออกไปยังขอบหลังคา, ถ้าส่วนที่ยื่นนั้นอยู่ตรงหน้าจั่ว เรียก ไขราหน้าจั่ว, ถ้าอยู่ปลายหน้าบัน เรียก ไขราหน้าบัน, ถ้าเป็นหลังคาปีกนก เรียก ไขราปีกนก, ถ้าเป็นหลังคาบังสาดตามขนาดยาวของเต้า เรียก ไขราจันทันเต้า หรือ ไขราเต้า.
  7. คร่ำ ๔ : [คฺร่ำ] ก. เอาเส้นเงินหรือเส้นทองกดและตอกให้ติดบนผิวเหล็ก ทำเป็น ลวดลาย, ถ้าเป็นลวดลายเงิน เรียก คร่ำเงิน, ถ้าเป็นลวดลายทอง เรียก คร่ำทอง.
  8. ค็อกเทล : น. เครื่องดื่มชนิดหนึ่ง ใช้เหล้าชนิดต่าง ๆ ผสมกัน ใส่นํ้าแข็ง แล้วเขย่า และอาจใส่นํ้าผลไม้หรือชิ้นผลไม้ เพื่อเพิ่มสีหรือรสให้แปลก ๆ ออกไป นิยมดื่มก่อนอาหาร; อาหารเรียกน้ำย่อยที่กินก่อนอาหารจานหลัก; เรียก งานเลี้ยงแบบหนึ่งที่ไม่นั่งโต๊ะกินอาหารเสิร์ฟเฉพาะเครื่องดื่มและอาหาร ว่าง ว่า งานเลี้ยงค็อกเทล. (อ. cocktail; cocktail party).
  9. โครส : [-รด] น. นมวัว (มี ๕ อย่าง คือ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น เปรียง เรียก ปัญจ-โครส หรือ เบญจโครส). (ป., ส.).
  10. จอมพล : น. ยศทหารบกชั้นสูงสุด, ถ้าเป็นทหารเรือ เรียก จอมพลเรือ, ถ้าเป็นทหารอากาศเรียก จอมพลอากาศ.
  11. จักร, จักร- : [จัก, จักกฺระ-] น. อาวุธในนิยาย รูปเป็นวงกลมและมีแฉก ๆ โดยรอบ เช่น พระนารายณ์ทรงจักร, สิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอย่างล้อรถ เช่น จักรที่ใช้ ขว้างในการกีฬา, สิ่งที่มีรูปเป็นวงกลมมีฟันเฟืองหมุนด้วยพลังงานต่าง ๆ เช่น จักรนาฬิกา, เรียกเครื่องกลบางชนิด เช่น เครื่องจักร รถจักร, เรียก เครื่องเย็บผ้าที่ใช้เดินด้วยพลังงานหรือใช้เท้าถีบหรือใช้มือหมุนว่า จักร หรือ จักรเย็บผ้า; บรรจบรอบแห่งปีหรือแห่งฤดู เช่น พฤหัสบดีจักร.(ส., ป. จกฺก).
  12. ไซเรน : น. เครื่องส่งสัญญาณเสียงเพื่อเตือนภัย บอกหมดภัย หรือเตือนให้ ยวดยานอื่นหลีกทางให้ เป็นต้น; เสียงที่เกิดจากเครื่องเตือนภัย เรียก เสียงไซเรน. (อ. siren).
  13. ดาน : ว. แข็ง, แน่น, เรียกดินที่จับตัวแข็งเป็นชั้น โดยมากเป็นประเภทดินเหนียว เนื้อแน่นที่นํ้าไหลผ่านไม่ได้ เกาะตัวแข็งอยู่ใต้ผิวดิน ว่า ดินดาน, เรียก หินแข็งหรือหินผุที่รองรับดิน ทราย กรวด ซึ่งมีแร่เช่นดีบุก ทองคํา รวม อยู่ด้วย ว่า หินดาน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะแข็งเป็นดานอยู่ในท้อง เช่น ดานเลือด ดานลม.
  14. ตัน ๒ : น. มาตรานํ้าหนักและมาตราวัด มีหลายอัตราแล้วแต่วัตถุที่ใช้ คือ ๑. เมตริกตัน มาตราชั่ง เท่ากับ นํ้าหนัก ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๖ (เศษ ๒ ส่วน ๓) หาบหลวง หรือเป็นมาตราวัดเท่ากับ ๑.๑๓ ลูกบาศก์เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต. ๒. ตันระวางเรือ ถ้าคํานวณระวางบรรทุกสินค้า และห้องทั่วไป เรียก ตันกรอส, ถ้าคํานวณเฉพาะบรรทุกสินค้า เรียก ตันเน็ต, และถ้าคํานวณนํ้าหนักทั้ง ลําเรือเช่นเรือรบ เรียก ตันระวางขับน้ำ, ทั้ง ๓ นี้วัด ๑๐๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่งเช่นเดียวกัน. ๓. ตัน ระวางบรรทุกอื่น ๆ ถ้าของหนักคิด ๑,๐๑๖.๐๔๗ กิโลกรัม เป็นตันหนึ่ง ถ้าเป็นของเบาคิดวัด ๑.๑๓ ลูกบาศก์ เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่ง. (อ. ton).
  15. ทอย ๒ : ก. กิริยาที่ตอกลูกประสักหรือตะปูเป็นต้นให้ถอยออกมาจากที่เดิม. ว. ทยอยติด ๆ กันไปไม่ขาดระยะ เช่น เดินทอย ๆ กันเข้าไป. น. เรียก ไม้แหลมสําหรับตอกต้นไม้เป็นระยะ ๆ เพื่อเหยียบขึ้นไปว่า ลูกทอย, เรียกกิริยาที่ตอกลูกทอยอย่างนั้นว่า ตอกทอย.
  16. นิล ๑, นิล : [นิน, นินละ] น. พลอยชนิดหนึ่ง มีสีดํา ถ้าสีนํ้าเงินแก่ เรียก นิลสีดอก ผักตบ. ว. สีอย่างนิล เรียกว่า สีนิล เช่น ตาสีนิล. (ป., ส. นีล).
  17. บรรทัด : [บัน-] น. ข้อความที่เขียนหรือพิมพ์เป็นต้นต่อเนื่องกันเป็นแถวเป็น แนวแต่ละแนว เช่น ตัดบรรทัดที่ ๒๐ ออก, ลักษณนามว่า บรรทัด เช่น ให้เขียนเรียงความอย่างน้อย ๕๐ บรรทัด, เรียกตัวหนังสือที่ เขียนเต็มช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้นว่า ตัวเต็มบรรทัด, เรียก ตัวหนังสือที่เขียนเพียงครึ่งหนึ่งของช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้น ว่า ตัวครึ่งบรรทัด, เรียกอุปกรณ์การเขียนชนิดหนึ่งทําด้วยไม้เป็นต้น สําหรับทาบเป็นแนวเพื่อขีดเส้นให้ตรง ว่า ไม้บรรทัด, เรียกเส้นที่ตี หรือพิมพ์ไว้บนกระดาษเป็นต้นเพื่อเขียนหรือพิมพ์ตัวอักษรบนเส้น ใต้เส้นหรือระหว่างเส้น ว่า เส้นบรรทัด.
  18. บัลลังก์ : น. พระแท่นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ภายใต้เศวตฉัตร เรียก ว่า ราชบัลลังก์, โดยปริยายคํา ราชบัลลังก์ นี้ หมายถึงความเป็น พระมหากษัตริย์หรือสถาบันกษัตริย์ก็ได้; ที่นั่งผู้พิพากษาเมื่อ พิจารณาคดีในศาล; ส่วนของสถูปเจดีย์บางแบบ มีรูปเป็นแท่น เหนือคอระฆัง. ก. นั่งขัดสมาธิ เรียกว่า นั่งคู้บัลลังก์. (ป. ปลฺลงฺก).
  19. ปัดตลอด : ว. มีขนขาวหรือดําเป็นแนวยาวไปตามสันหลังตั้งแต่หัว ตลอดหาง เช่น แมวปัดตลอด; เรียก ''นะ'' ที่เขียนเป็นอักษรขอม สําหรับลงและปลุกเสกให้แคล้วคลาดตลอดปลอดภัยว่า ''นะปัดตลอด''.
  20. ปั๊ม : ก. ใช้เครื่องที่เป็นแบบพิมพ์ตอกลงหรือกดลงบนกระดาษหรือโลหะ เป็นต้นให้มีรูปหรือลวดลายตามแบบพิมพ์นั้น เช่น ปั๊มตรา ปั๊มกระดุม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปั๊มแบงก์ ปั๊มเงิน; ใช้เครื่องสูบหรือดูดของเหลวหรือแก๊ส เช่น ปั๊มน้ำ ปั๊มลม, ใช้เครื่อง ช่วยทำให้หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติ เรียกว่า ปั๊มหัวใจ. น. เรียก เครื่องยนต์สำหรับสูบน้ำว่า เครื่องปั๊มน้ำ, เรียกเครื่องยนต์สำหรับ สูบลมหรือแก๊สว่า เครื่องปั๊มลม, เรียกเครื่องอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้ หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติว่า เครื่องปั๊มหัวใจ; (ปาก) สถานีบริการ น้ำมันเชื้อเพลิง, เรียกเต็มว่า ปั๊มน้ำมัน.
  21. ฝักมะขาม : น. ไม้สําหรับตีหัวคน ยาวราวศอกเศษ รูปแบนคล้าย ฝักมะขาม เรียก ไม้ฝักมะขาม; ส่วนย่อยที่ต่อกันเป็นกงเกวียน.
  22. ฟันปลา : น. เรียกสิ่งที่มีรูปอย่างฟันปลา, เรียกลักษณะที่สับหว่าง สลับเยื้องกันอย่างฟันปลาว่า สลับฟันปลา เช่น นั่งสลับฟันปลา ยืนสลับฟันปลา; ลายคดกริช รูปดังนี้ (รูปภาพ) เรียก ลายฟันปลา, ลายฟันเลื่อย ก็เรียก.
  23. ราชวรวิหาร : [ราดชะวอระวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดหนึ่งซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นเอก ชนิด ราชวรวิหาร เช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชประดิษฐ์, เรียกพระอาราม หลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเทพศิรินทร์ วัดราชสิทธาราม, เรียก พระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสูงสุด ว่า ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดปทุมวนาราม วัดรัชฎาธิษฐาน.
  24. เร่งรัด : ก. เร่งอย่างกวดขัน เช่น เร่งรัดลูกหนี้ให้ใช้เงินคืน. ว. เรียก หลักสูตรที่เร่งให้เรียนจบภายในกำหนดเวลาที่เร็วขึ้นว่า หลักสูตร เร่งรัด.
  25. ลวง ๑ : ก. ทําให้หลงผิด เช่น ขุดหลุมพรางลวงข้าศึก. ลวงตา ก. ทําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น แสงแดดกล้า ที่ปรากฏในระยะไกลลวงตาให้เห็นถนนลาดยางเป็นน้ำ. ว. เรียก ภาพที่ทำให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงว่า ภาพลวงตา.
  26. ลูกทุ่ง : น. ลูกป่า; ผู้ที่ทำมาหากินอยู่ตามท้องทุ่ง; ลูกสัตว์ที่เกิดใน ท้องทุ่ง; เรียกเหล้าเถื่อนว่า เหล้าลูกทุ่ง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นิยายลูกทุ่ง ภาษาลูกทุ่ง. ว. เรียก เพลงชนิดที่คนในชนบทนิยมว่า เพลงลูกทุ่ง.
  27. ลูกไผ่ : น. ลูกของไผ่ซึ่งมีลักษณะคล้ายเมล็ดข้าวสาร เมื่อตกลงมา กองอยู่ที่กอไผ่ เรียก ขุยไผ่ แล้วจะทําให้ไผ่ต้นนั้นตาย เรียกว่า ไผ่ตายขุย.
  28. สะใภ้ : น. หญิงที่มาแต่งงานกับญาติผู้ชาย, เมียของญาติ, เช่น ถ้าเป็นเมียของ ลูกชาย เรียก ลูกสะใภ้ ถ้าเป็นเมียของลุง เรียก ป้าสะใภ้, (ปาก) ตะใภ้.
  29. สากล : ว. ทั่วไป, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น สากลโลก สากลจักรวาล; เป็นที่นิยมทั่วไป เช่น เครื่องแต่งกายชุดสากล, สามัญหมายถึงแบบซึ่งเดิมเรียกว่า ฝรั่ง เช่น มวยฝรั่ง เรียก มวยสากล, ใช้แทนคํา ''ระหว่างประเทศ'' ก็มี เช่น สภา กาชาดสากล น่านน้ำสากล. (ป., ส. สกล).
  30. หง่าว : ว. เสียงอย่างเสียงแมวตัวผู้ร้องหาแมวตัวเมีย, โดยปริยายหมายความว่า โดดเดี่ยว, เหงาอยู่ตามลำพัง, เช่น ปล่อยให้นั่งหง่าวอยู่คนเดียว. น. เรียก ว่าวชนิดหนึ่งที่มีเสียงดังเช่นนั้นว่า ว่าวหง่าว.
  31. หย็อย, หย็อย ๆ : ว. อาการที่เต้นหรือกระโดดเร็ว ๆ เรียก เต้นหย็อย ๆ, อาการที่เคลื่อนไหว น้อย ๆ อย่างเร็ว เช่น วิ่งหย็อย ๆ โบกมือหย็อย ๆ ลมพัดผมปลิวหย็อย ๆ.
  32. หางหงส์ ๑ : น. ชายผ้านุ่งที่จีบโจงแล้วไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยให้จีบคลี่ ห้อยจากเอวเบื้องหลังลงมาถึงหว่างขาอย่างตัวพระแต่งในละครรํา; เรียก เครื่องประดับที่ทําเป็นรูปคล้ายหางหงส์ติดตั้งอยู่ปลายรวยระกา หรือปลาย ตะเข้สันหลังคาของโบสถ์และพระที่นั่งเป็นต้นตามแบบสถาปัตยกรรมไทย.
  33. อภิไธย : น. ชื่อ. (ป. อภิเธยฺย; ส. อภิเธย).
  34. อาชาไนย : ว. กําเนิดดี, พันธุ์หรือตระกูลดี; รู้รวดเร็ว, ฝึกหัดมาดีแล้ว, ถ้าเป็น ม้าที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียก ม้าอาชาไนย, ถ้าเป็นคนที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียกว่า บุรุษอาชาไนย. (ป. อาชาเนยฺย; ส. อาชาเนย).
  35. อุทลุม : [อุดทะ] ว. ผิดประเพณี, ผิดธรรมะ, นอกแบบ, นอกทาง, เช่น คดีอุทลุม คือคดีที่ลูกหลานฟ้องบุพการีของตนต่อศาล, เรียก ลูกหลานที่ฟ้องบุพการีของตนต่อศาลว่า คนอุทลุม เช่น ผู้ใด เปนคนอุทลุมหมีได้รู้คุณบิดามานดาปู่หญ้าตายาย แลมันมา ฟ้องร้องให้เรียกบิดามานดาปู่ญ่าตายายมัน ท่านให้มีโทษทวน มันด้วยลวดหนังโดยฉกัน. (สามดวง).
  36. เอก, เอก : [เอกะ, เอกกะ] ว. หนึ่ง (จํานวน); ชั้นที่ ๑ (ใช้เกี่ยวกับลําดับชั้น หรือขั้นของยศ ตําแหน่ง คุณภาพ หรือวิทยฐานะ สูงกว่า โท) เช่น ร้อยเอก ข้าราชการชั้นเอก ปริญญาเอก; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ? ว่า ไม้เอก; ดีเลิศ เช่น กวีเอก, สําคัญ เช่น ตัวเอก; เรียก ระนาดที่มีเสียงแกร่งกร้าวกว่าระนาดทุ้ม มีไม้แข็ง ๒ อันสําหรับตี ว่า ระนาดเอก. (โบ) น. เรียกลูกหญิงคนที่ ๗ ว่า ลูกเอก, คู่กับ ลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด. (กฎ.). (ป., ส.).
  37. นามกร : [นามมะกอน] (แบบ) น. ชื่อ, นาม.
  38. ช่อ ๑ : น. ใบไม้หรือดอกไม้ที่แตกออกเป็นพวง, เรียกดอกของต้นไม้ บางชนิดเช่นมะม่วงและสะเดาที่ออกดอกเล็ก ๆ เป็นกลุ่มหรือ เป็นพวงว่า ช่อมะม่วง ช่อสะเดา, ใบไม้หรือดอกไม้ที่ผูกเป็น กลุ่ม หรือเป็นพวง, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ช่อดอกไม้ไฟโคมช่อองุ่น.
  39. กก ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกดว่า แม่กก หรือ มาตรากก.
  40. กก ๖ : น. ซอกด้านในหรือซอกด้านหลังของบานประตูหรือหน้าต่าง, ถ้าเป็นด้านหลังของแผ่นบานประตู เรียกว่า กกประตู, ถ้าเป็น ด้านหลังของแผ่นบานหน้าต่าง เรียกว่า กกหน้าต่าง.
  41. กกัลปพฤกษ์ : น. ลูกมะนาวหรือของที่บรรจุเงินปลีกเป็นต้นไว้ ข้างในสําหรับโปรยทาน, โดยปริยายเรียกสลากที่ห้อยไว้ตามต้นไม้ ให้คนสอยในงานกุศลหรืองานรื่นเริงเป็นต้น.
  42. ก กา : น. เรียกแม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด ว่า แม่ ก กา หรือมาตรา ก กา.
  43. กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
  44. กง ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด ว่า แม่กง หรือ มาตรากง.
  45. กง ๒ : น. วง, ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถม้าเป็นต้น, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขนมกง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา วง ว่า เป็นวงเป็นกง; ไร่ล้มลุกที่ถางป่าเป็นหย่อม ๆ ตามเนื้อที่ และกั้นเป็นขอบเขตไว้. (กลอน) ก. แวดล้อม เช่น ม้ากันม้ากง. (ไทยสิบสองปันนาและสิบสองจุไทย กง ว่า ขอบเขตที่ล้อม เช่น ดินกง คือ ดินที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้, ร่ายกง คือไร่ที่ล้อม เป็นขอบเขตไว้).
  46. กง ๓ : น. ไม้รูปโค้งที่ตั้งเป็นโครงเรือ (เทียบมลายู กง, ตะเลง กง, ในความ เดียวกัน); ไม้สําหรับดีดฝ้ายมีรูปเหมือนคันธนู เรียกว่า ไม้กง หรือ ไม้กงดีดฝ้าย (เทียบอะหม ไม้กงดีดฝ้าย และ คันกระสุน ว่า กง; พายัพ ว่า โก๋ง ได้แก่ คันกระสุน), เสลี่ยงที่มีพนักโค้งเหมือนกงเรือ เรียกว่า เสลี่ยงกง.
  47. กงพัด ๒ : น. ไม้เหลี่ยมสอดในรูซึ่งเจาะที่โคนเสาเรือน ปลายทั้ง ๒ ยื่นออกมาวางอยู่บนหมอน (ซึ่งเรียกว่า งัว) ข้างละต้น, หรือถ้าไม่ เจาะรู ก็ใช้เป็น ๒ อัน ตีขวางขนาบโคนเสาข้างละอันวางอยู่บน หมอนเหมือนกัน เพื่อกันทรุด.
  48. กงสุล : (กฎ) น. ชื่อตําแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แทนประจําอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทํา หน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมือง ต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศ ผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุล มี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของ ประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของ ประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตําแหน่งเป็นหัวหน้า สถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทน ฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงาน ฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).
  49. กฎกระทรวง : (กฎ) น. บทบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออก โดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติ หรือบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่มีฐานะเท่าพระราชบัญญัติ เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกําหนด, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี.
  50. กฎบัตรสหประชาชาติ : น. ตราสารที่สถาปนาและจัดระเบียบองค์การ ระหว่างประเทศที่เรียกว่า องค์การสหประชาชาติ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | [1401-1450] | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6307

(0.1746 sec)