Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรียกชื่อ, เรียก, ชื่อ , then ชอ, ชื่อ, รยกชอ, เรียก, เรียกชื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เรียกชื่อ, 6307 found, display 3151-3200
  1. ตรีเพชรพวง : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  2. ตรียมก : [ตฺรียะมก] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  3. ตรียัมปวาย : [ตฺรียําปะ-] น. พิธีพราหมณ์ฝ่ายใต้กระทํารับพระอิศวร ที่เรียกเป็นสามัญ ว่า พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งกระทําในวันขึ้น ๗ คํ่าตอนเช้า ขึ้น ๙ คํ่าตอนเย็น เดือนยี่. (เทียบทมิฬ ติรุเวมปาไว).
  4. ตรีศก : น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๓ เช่น ปีระกาตรีศก จุลศักราช ๑๓๔๓.
  5. ตรุษจีน : [ตฺรุด-] น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Bougainvillea glabra Choisy ในวงศ์ Nyctaginaceae ใบประดับสีม่วงแดง กลีบดอกสีขาวรวมติดกัน ปลูกเป็นไม้ประดับ.
  6. ตลกหัวเราะ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  7. ตลับ ๒ : [ตะหฺลับ] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล Meretrix วงศ์ Veneridae เปลือก หนาคล้ายรูปสามเหลี่ยม เป็นมัน มีสีต่าง ๆ กัน ฝังตัวอยู่ตามพื้นที่เป็นทรายหรือ โคลนในทะเล.
  8. ตลับนาก : [ตะหฺลับ-] น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่ง ผลค่อนข้างกลม กลิ่นหอม.
  9. ตวงพระธาตุ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  10. ตอ : น. โคนของต้นไม้ที่ลําต้นถูกตัดหรือหักลงแล้ว, สิ่งบางอย่างเช่นเสาหรือ หลักที่ปักไว้หรือที่ยังเหลืออยู่แต่โคนเมื่อบางส่วนถูกตัด หัก หรือกร่อนไป, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  11. ต่อ ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายวงศ์ มีปีก ๒ คู่ ลักษณะเป็นแผ่น บางใส ปีกคู่หลังเล็กกว่าปากเป็นชนิดกัดกิน เอวคอดกิ่ว ตัวเมียมีเหล็กใน สําหรับต่อยปล่อยนํ้าพิษทําให้เจ็บปวดได้ บางชนิดอยู่อย่างปีกคู่หน้าโดดเดี่ยว แต่บางชนิดรวมกลุ่มเป็นฝูง ทํารัง ที่สําคัญได้แก่ วงศ์ Vespidae เช่น ต่อหลวง
  12. ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
  13. ตอก ๑ : ก. เอาค้อนหรือสิ่งอื่นตีตะปูหรือหลักเป็นต้นให้เข้าไป; เร่งให้วัวควายวิ่ง ใช้ว่า ตอกวัว ตอกควาย น. ไม้ไผ่ที่จักเป็นเส้นแบนยาว ขนาดหนาหรือบางตาม ต้องการ สําหรับผูกมัดหรือสานสิ่งต่าง ๆ; ชื่อมีดชนิดหนึ่ง ปลายแหลมคล้าย มีดเหน็บ แต่สั้นกว่า ด้ามยาวและงอน.
  14. ต๊อก ๑ : น. เรียกกลองเล็ก ๆ สําหรับเคาะจังหวะดังต๊อก ๆ ว่า กลองต๊อก.
  15. ตอก ๒ : ก. แตก. น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเจ้าที่เอามาคั่วให้แตกบานเป็นดอกว่า ข้าวตอก.
  16. ต๊อก ๒ : น. ชื่อไก่ชนิด Numida meleagris ในวงศ์ Numididae ตัวสีเทาลายขาว เหนียงสีแดง มีถิ่นกําเนิดในทวีปแอฟริกา.
  17. ต้อง : ก. ถูก เช่น ต้องชะตา ต้องใจ; เป็นกริยาช่วยบอกความแน่ใจหรือบังคับ เช่น ต้องกิน ต้องนอน ต้องทํา. น. เรียกต้นข้าวในนาที่โศกใบเหลืองไป ซึ่งถือกัน ว่าถูกผีกระทําว่า ข้าวต้อง.
  18. ตอง ๑ : น. ใบไม้ขนาดใหญ่ใช้ห่อของได้ เช่น ตองกล้วย; เรียกไพ่ไทยชนิดหนึ่ง โดยปรกติเล่นกัน ๖ ขา ว่า ไพ่ตอง, จํานวนไพ่ที่มีเหมือนกัน ๓ ใบ เรียกว่า ตอง, ลักษณนามเรียกไพ่ที่เหมือนกัน ๓ ใบ เช่น ไพ่ตองหนึ่ง ไพ่ ๒ ตอง.
  19. ต้องเต : น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง, จ้องเต ก็ว่า.
  20. ตองเหลือง : น. ชนชาติข่าพวกหนึ่ง, ผีตองเหลือง ก็เรียก.
  21. ตอดต่อ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
  22. ต่อตัว : ก. อาการที่คนหนึ่งขึ้นไปยืนบนบ่าของอีกคนหนึ่ง เช่น ต่อตัวปีนกำแพง. น. ชื่อการแสดงกายกรรมแบบหนึ่งที่ผู้แสดงคนหนึ่งหรือหลายคนขึ้นไปยืน เลี้ยงตัวบนตัวของผู้แสดงอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นหลักเป็นต้น.
  23. ตอบ : ก. ทําหรือพูดโต้ในทํานองเดียวกับที่มีผู้ทําหรือพูดมา เช่น ชกตอบ ตีตอบ ด่าตอบ เยี่ยม ตอบ, กล่าวแก้ เช่น ตอบปัญหา, กล่าวเมื่อมีผู้ถาม เช่น ตอบคําถาม, แจ้ง กลับไปให้อีกฝ่ายหนึ่ง รู้ เช่น ตอบจดหมาย. ว. เรียกแก้มที่มีลักษณะยุบลึกเข้าไป undefined
  24. ต้อยตริ่ง : [-ตะหฺริ่ง] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  25. ต่อไส้ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Allophylus cobbe (L.) Raeusch ในวงศ์ Sapindaceae ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ใช้ทํายาได้.
  26. ตอแหล ๒ : [-แหฺล] ว. เรียกต้นไม้ที่ให้ผลเร็วผิดปรกติ เช่น มะเขือตอแหล.
  27. ตะกร้อ : [-กฺร้อ] น. ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นต้นเป็นตา ๆ สําหรับเตะ; เครื่องมือสอยผลไม้ มีด้ามยาว ทําด้วยไม้หวาย หรือไม้ไผ่เป็นซี่ รูปป่องยาวรีคล้ายกาบปลี ตรงปากมี ฟันสําหรับสอย; เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดนํ้าเรือ, กร้อ ก็เรียก; เครื่องสานรูปทรงกระบอก สําหรับใส่ไว้ในกระถางยาดองและกะปิเป็นต้น เพื่อกั้น เนื้อ ให้แต่นํ้าซึมเข้า ข้างใน; เครื่องสานมีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น สําหรับสวมปากม้า หรือปากหมาเป็นต้น; (โบ) เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อ พันผ้าชุบนํ้า มีด้ามยาว สําหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา, กระตร้อ ก็เรียก.
  28. ตะกรับ ๒ : [-กฺรับ] น. ชื่อกกชนิด Cyperus procerus Rottb. ในวงศ์ Cyperaceae ลําต้นเป็นสามเหลี่ยม ใบยาวและแคบ ดอกสีนํ้าตาล.
  29. ตะกราม : [-กฺราม] น. ชื่อนกกระสาชนิด Leptoptilos dubius ในวงศ์ Ciconiidae เป็นนกกระสาที่ใหญ่ที่สุด ตัวสีเทา หัวสีแดงส้ม ตลอดหัวและลําคอไม่มีขน ปากใหญ่แข็งแรงปลายแหลมตรง ขายาว มีถุงลมสีส้มห้อยอยู่ด้านหน้าของ ลําคอและมีพู่ขนสีขาวรอบฐานคอ กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็ก.
  30. ตะกรุม ๑ : [-กฺรุม] น. ชื่อนกกระสาชนิด Leptoptilos javanicus ในวงศ์ Ciconiidae รูปร่างคล้ายนกตะกราม แต่ขนาดเล็กกว่า หัวและคอสีเหลือง ไม่มีถุงลมและ พู่ขนสีขาว ที่คอ.
  31. ตะกรุม ๒ : [-กฺรุม] น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
  32. ตะกั่วแดง : น. สารประกอบประเภทออกไซด์ของตะกั่ว มีสูตร Pb3O4 ลักษณะ เป็นผงละเอียดสีแดงเข้ม ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทําสีทา และทําแก้ว, เสน ก็เรียก. (อ. red lead, minium).
  33. ตะกาง : น. เครื่องดักจระเข้อย่างหนึ่ง มีเงี่ยง ๒ ข้างสำหรับผูกเหยื่อลอยน้ำไว้; เครื่องล่อใจ; สะกาง ก็เรียก.
  34. ตะแกรง : [-แกฺรง] น. ภาชนะสานรูปแบน ขอบกลม มีตาห่าง สําหรับร่อนสิ่งของหรือช้อน กุ้งปลาเป็นต้น, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตะแกรงหน้าหัวรถจักร.
  35. ตะโก ๑ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Diospyros วงศ์ Ebenaceae เปลือกสีดํา คลํ้า เช่น ตะโกสวน (D. malabarica Kostel.) ผลคล้ายมะพลับ ตะโกนา (D. rhodocalyx Kurz) ผลเล็ก ผล เปลือก และเนื้อไม้ใช้ทํายาได้.
  36. ตะโก้ ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งเท้ายายม่อมกวนเข้ากับ นํ้าตาล ใส่แห้วหรือข้าวโพดเป็นต้นก็ได้ หยอดหน้าด้วยกะทิกวนกับแป้ง.
  37. ตะโกก ๑ : น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางบางชนิดและบางสกุล ในวงศ์ Cyprinidae หัวเสี้ยม ลําตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย ครีบหลังมีก้านครีบตอนหน้า แข็ง ยาวคล้ายเงี่ยง พื้นลําตัวด้านหลังและ ครีบสีเทาอมฟ้าส่วนอื่นสีเงิน ที่สําคัญได้แก่ชนิดในสกุล Cyclocheilichthys เช่น ชนิด C. enoplos, C. dumeriliiสกุลอื่น ๆ เช่น ชนิด Cosmochilus harmandi, Albulichthys alburoides.
  38. ตะโกก ๒ : น. ไม้รูปโค้งปลายทั้ง ๒ ข้างงอขึ้นเล็กน้อย ใช้พาดคอวัวหรือคอควายสําหรับ ลากเลื่อน เป็นต้น, โกก คอม หรือ ตะโหงก ก็เรียก.
  39. ตะไกร ๒ : [-ไกฺร] น. คําเรียกเหยี่ยวชนิดหนึ่งว่า เหยี่ยวตะไกร. (พจน. ๒๔๙๓).
  40. ตะขาบ ๒ : น. ชื่อนกในวงศ์ Coraciidae ตัวป้อม หัวใหญ่ ปากใหญ่สั้นโค้ง เกาะอยู่ ตามสายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยจ้องโฉบแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตาม พื้นดิน อยู่ตามลําพัง ทํารังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง (Coracias benghalensis) ตัวสีนํ้าตาลหัวและปีกสีฟ้า ปากสีดํา และตะขาบดง (Eurystomus orientalis) ตัวสีนํ้าเงินเข้ม หรือเขียวอมน้ำเงินโดยตลอด ปากสีแดง.
  41. ตะขาบ ๓ : น. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สําหรับชัก ให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตี กันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทําด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกัน ไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทําให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาด กว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.
  42. ตะเข้ขบฟัน : น. เรียกข้อไม้ตะพดที่ซ้อนกันและมีตาขบกัน.
  43. ตะเข็บ ๒ : น. ชื่อกุ้งทะเลขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Metapenaeus วงศ์ Penaeidae ตัวแบน.
  44. ตะเข็บไต่ขอน : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  45. ตะเขิง : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (เงาะป่า).
  46. ตะครอง : [-คฺรอง] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Ziziphus cambodiana Pierre ในวงศ์ Rhamnaceae กิ่งมีหนาม ผลกลม รสฝาด.
  47. ตะคร้ำ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garuga pinnata Roxb. ในวงศ์ Burseraceae ดอกออกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ผลเล็ก เป็นร่องตามยาว.
  48. ตะค้า : น. ชื่อหวายชนิด Calamus tigrinus Kurz ในวงศ์ Palmae ผิวเป็นมัน เนื้อเหนียว ใช้ผูกสิ่งของ.
  49. ตะคาก : น. แง่กระดูกเชิงกรานที่อยู่ใต้บั้นเอว, หัวตะคาก ก็เรียก.
  50. ตะค้าทอง : น. ชื่อหวายชนิด Calamus caesius Blume ในวงศ์ Palmae ผิวเป็นมัน ใช้จักสานทําภาชนะและเครื่องเรือนชั้นดี.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | [3151-3200] | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6307

(0.1739 sec)