Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรียกชื่อ, เรียก, ชื่อ , then ชอ, ชื่อ, รยกชอ, เรียก, เรียกชื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เรียกชื่อ, 6307 found, display 5951-6000
  1. หินตะกอน : น. หินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่เกิดจากหินอัคนีหรือ หินแปรที่ผุพังแตกสลายหรือการตกตะกอนทางเคมีรวมทั้งตะกอน ที่เกิดจากการสะสมของซากดึกดำบรรพ์ มีลักษณะการเรียงตัวเป็น ชั้น ๆ, หินชั้น ก็เรียก.
  2. หินติดไฟ : น. หินดินดานชนิดหนึ่ง สีน้ำตาลอ่อน มีสารอินทรีย์ที่เรียกว่า เคโรเจน (kerogen) ซึ่งเป็นสารน้ำมันอุ้มอยู่ในเนื้อหิน นำมากลั่นเอาน้ำมัน เชื้อเพลิงออกได้, หินน้ำมัน ก็เรียก.
  3. หินน้ำมัน : น. หินดินดานชนิดหนึ่ง สีนํ้าตาลอ่อน มีสารอินทรีย์ที่เรียกว่า เคโรเจน (kerogen) ซึ่งเป็นสารนํ้ามันอุ้มอยู่ในเนื้อหิน นํามากลั่นเอานํ้ามัน เชื้อเพลิงออกได้, หินติดไฟ ก็เรียก.
  4. หินปากนก : น. หินเหล็กไฟที่ใช้ติดกับปลายเครื่องสับของปืนโบราณบาง ชนิดเพื่อสับแก๊ปปืนให้เกิดประกายไฟ, ศิลาปากนก ก็เรียก.
  5. หินฝนทอง : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง.
  6. หินยาน : [หินนะ-] น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และ ไทยเป็นต้น, หีนยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า. (ป., ส. หีนยาน).
  7. หินแลง : น. หินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะอ่อน แต่ถูกลมแล้วแข็ง มีสีแดงอย่างอิฐเผา และเป็นรูพรุนเหมือนไม้เพรียงกิน, ศิลาแลง ก็เรียก.
  8. หิมพานต์ : [หิมมะ-] น. ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย; ชื่อกัณฑ์ที่ ๒ แห่งเวสสันดรชาดก.
  9. หิมวัต : [หิมมะวัด] ว. มีหิมะ, หนาว, ปกคลุมด้วยหิมะ. น. ชื่อหนึ่งของ เทือกเขาหิมาลัย; ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย; ศัพท์นี้แผลงใช้ได้ หลายอย่างคือ ๑. หิมวาท (แผลงจาก ส. หิมวตฺ) ๒. หิมวาน ๓. หิมพาน (รูปประถมแห่ง ส. หิมวตฺ) ๔. หิมวันต์ (ป. หิมวนฺต) ๕. หิมพานต์ (แผลงจาก ป. หิมวนฺต) ๖. หิมวา (รูปประถมแห่ง ป. หิมวนฺต). (ส.; ป. หิมวนฺต).
  10. หิมาลัย : น. ชื่อเทือกเขาอยู่ทางทิศเหนือของอินเดีย ยอดเขามีหิมะปกคลุม ตลอดปี. (ป., ส. หิม + อาลย = ที่อยู่ของหิมะ).
  11. หิรัญญิการ์ : [หิรันยิกา] น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในสกุล Beaumontia วงศ์ Apocynaceae คือ ชนิด B. murtonii Craib และชนิด B. grandiflora Wall. ดอกใหญ่ สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ๆ ยางและเมล็ดเป็นพิษ.
  12. หีเต่า : น. ปอยผมในร่องเล็กที่ท้ายทอย มีรูปแหลม, หางเต่า ก็เรียก.
  13. หีนยาน : [หีนะยาน, หีนนะยาน, ฮีนะยาน] น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนา ฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทยเป็นต้น, หินยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า.
  14. หีบฝ้าย : ก. บีบเค้นเมล็ดออกจากปุยฝ้าย. น. เรียกเครื่องมือบีบเค้นเมล็ด ออกจากปุยฝ้ายว่า เครื่องหีบฝ้าย.
  15. หีบพระมาลัย : น. หีบใส่คัมภีร์พระมาลัยซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าคัมภีร์ใบลาน, ตู้พระมาลัย ก็เรียก.
  16. หุงข้าว : ก. เอาข้าวสารและน้ำใส่หม้อตั้งบนเตาไฟให้ร้อนจนเดือดแล้ว ปลงลงเช็ดน้ำ จากนั้นยกขึ้นดงบนเตาไฟจนสุก เรียกว่า หุงเช็ดน้ำ ถ้าเคี่ยว จนน้ำแห้งไปเองโดยไม่ต้องเช็ดน้ำ เรียกว่า หุงไม่ต้องเช็ดน้ำ, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้า.
  17. หุน : น. ชื่อมาตราวัดหรือชั่งของจีน ในมาตราวัด ๑ หุน หมายถึง เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ ใน ๑๖ ของนิ้ว ในมาตราชั่ง ๕ หุน เท่ากับ ๑ เฟื้อง. (จ.).
  18. หุ่น : น. รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา, รูปแบบที่จําลองจากของจริงต่าง ๆ; รูปปั้นหรือ แกะสลักที่ทําโกลนไว้เพื่อเป็นแบบชั่วคราว, (ปาก) รูปทรงของร่างกาย เป็นต้น เช่น คนนี้หุ่นดี; ชื่อการเล่นมหรสพที่ใช้รูปหุ่นแสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่กลายเป็นเครื่องมือ ของผู้อื่นโดยได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งบังคับบัญชา แต่ไม่มีอำนาจ อะไรอย่างแท้จริง เช่น เป็นหุ่นให้เขาเชิด รัฐบาลหุ่น.
  19. หุ่นนิ่ง : น. เรียกภาพวาดหรือภาพถ่ายของสิ่งที่ไม่เคลื่อนไหวว่า ภาพหุ่นนิ่ง.
  20. หุบ : ก. อาการรวมเข้าของสิ่งที่ขยายออก เช่น หุบร่ม ใบไม้หุบ; อาการที่แสง อาทิตย์ถูกเมฆบดบัง เรียกว่า แดดหุบ.
  21. หุ้มกลอง : [-กฺลอง] น. ด้านหัวหรือด้านท้ายของโบสถ์ วิหาร, ถ้าเป็นด้าน หัวหรือด้านท้ายของเรือนฝากระดาน เรียกว่า ด้านสกัด.
  22. หู : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่สําหรับฟังเสียง; ส่วนแห่ง สิ่งของที่ทําไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทําเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและ กระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.
  23. หูกระต่าย : น. เงื่อนที่ผูกมีรูปคล้ายหูกระต่าย, เรียกผ้าผูกคอชนิดหนึ่ง ผูก เป็นรูปโบ ว่า ผ้าผูกคอหูกระต่าย; เรียกเครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วย ผ้าหรือสักหลาดสีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดขอบหมวกสําหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง ว่า หมวกหูกระต่าย; ไม้ขวางเรือ อันที่สุดของหัวเรือหรือท้ายเรือ, กระทงเหิน ก็เรียก. (ดู กระทงเหิน ที่ กระทง๑). (รูปภาพ เงื่อนหูกระต่าย) (รูปภาพ หมวกหูกระต่าย)
  24. หูกวาง : [-กฺวาง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Terminalia catappa L. ในวงศ์ Combretaceae ใบใหญ่ แตกกิ่งเป็นชั้น ๆ.
  25. หูกะพง : น. ชื่อเงื่อนแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายรูปเลข 8 อาระบิก (?) ใช้ผูก ตัวไม้บางตัวในเรือนเครื่องผูกให้ติดกันเป็นต้น.
  26. หูฉลาม : น. ชื่ออาหารคาวแบบจีน ปรุงด้วยครีบหรือกระโดงปลาฉลาม เนื้อปู เป็นต้น.
  27. หูช้าง ๑ : น. แผ่นกระดานที่ทําเป็นรูปฉากหรือพัดด้ามจิ้วสําหรับติดกับ มุมสิ่งของ, ชื่อฉากซึ่งเป็นเครื่องมือวัดมุมของช่างไม้; แผ่นกระจกหรือ พลาสติกที่รถยนต์เป็นรูปคล้ายหูช้าง สําหรับเปิดรับลมหรือระบายลม; ชื่อขนมชนิดหนึ่งปรุงด้วยแป้งกับนํ้าตาลทำเป็นแผ่น ๆ.
  28. หูช้าง ๒ : น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Platax วงศ์ Platacidae ลําตัวกว้างแบนข้างมาก รูปร่างคล้ายรูปไพ่โพดํา มีแถบสีดําพาดขวางลําตัว เช่น ชนิด P. orbicularis หูช้างครีบยาว (P. teira). (รูปภาพ ปลาหูช้าง)
  29. หูตัน : ว. อาการที่หูฟังไม่ได้ยินเพราะมีขี้หูเต็มช่องหู, โดยปริยาย หมายความว่าไม่ได้ยิน เช่น เรียกเท่าไรก็ไม่ได้ยิน หูตันหรืออย่างไร.
  30. หูติ : น. การเรียก. (ป.).
  31. หูแตก : น. แก้วหูแตก, เยื่อในหูสำหรับรับเสียงฉีกขาด, โดยปริยายหมาย ความว่า มีเสียงดังมาก แต่ก็ไม่ได้ยินราวกับแก้วหูฉีกขาด เช่น หูแตก หรืออย่างไร ตะโกนเรียกเท่าไร ๆ จึงไม่ได้ยิน.
  32. หูปลาช่อน : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Emilia sonchifolia (L.) DC. ex Wight ในวงศ์ Compositae ใบมีขน ขอบใบจัก กินได้ แต่ไม่ควรกินเป็นประจํา.
  33. หูยาน : น. ชื่อพระเครื่องแบบหนึ่ง มีติ่งหูยาวมากผิดปรกติ.
  34. หูรูด : น. รูที่ร้อยเชือกสําหรับชักปากถุงเป็นต้นให้ติดกัน; ปากช่องทวาร หนักที่กล้ามเนื้อรัดตัวเข้ามาคล้ายปากถุงที่รูด, โดยปริยายเรียกผู้ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อนว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด ว่า ปากไม่มีหูรูด.
  35. หูเสือ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coleus amboinicus (Lour.) Spreng. ในวงศ์ Labiatae ใบกลมแข็งกรอบมีขน กลิ่นฉุน กินได้.
  36. หูหนาตาโต, หูหนาตาเล่อ : น. ชื่อโรคเรื้อน.
  37. หูหนู : น. (๑) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Auricularia วงศ์ Auriculariaceae ขึ้นบน ขอนไม้ ดอกเห็ดเป็นแผ่นวุ้น สีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลดํา กินได้ เช่น ชนิด A. polytricha (Mont.) Sacc. สีนํ้าตาลอมม่วง นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก, ชนิด A. delicata (Fr.) P. Henn. สีนํ้าตาลอ่อนอมเหลือง เนื้อบางนิ่มยืดหยุ่น, ชนิด A. fuscosuccinea (Mont.) Farlow สีนํ้าตาลดํา เนื้อกรอบกรุบ. (๒) จอกหูหนู.
  38. หูไห : น. ชื่อพระเครื่องแบบหนึ่งด้านหลังมีหูสําหรับร้อยเชือกผูกคอช้างศึก ม้าศึก.
  39. เห่ : น. ทำนองที่ใช้ร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ร้องในพระราชพิธี ขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม; คำสั่งที่เขียนไว้ในวงเล็บท้าย บทเพลงเพื่อให้นักดนตรี นักร้อง และ นักแสดงปฏิบัติตาม. ก. กล่อม เช่น เห่ลูก. ว. เสียงอย่างกล่อมลูก.
  40. เหงา ๒ : [เหฺงา] น. ชื่อลายกระหนกตัวแรก.
  41. เหน็บชา : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากขาดวิตามินบี ๑ ทําให้มีอาการชา ปลายมือปลายเท้าเป็นต้น.
  42. เหนี่ยน : [เหฺนี่ยน] (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่ง ใช้มะเขือพวงเป็นต้นเผาแล้ว คลุกด้วยนํ้าพริกปลาร้า.
  43. เหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า : น. ปรากฏการณ์ซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นเนื่อง จากอํานาจแม่เหล็ก, เรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเนื่องจากอํานาจแม่เหล็ก ว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนํา,เรียกเครื่องมือสําเร็จที่ใช้สําหรับเปลี่ยนศักย์ ไฟฟ้าให้มีค่าสูงขึ้นมาก ๆ โดยอาศัยอํานาจแม่เหล็กว่า ขดลวดเหนี่ยวนํา.
  44. เห็บ ๑ : น. ชื่อแมงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ลักษณะทั่วไปคล้ายไร แต่ส่วนใหญ่มักโตกว่า และปากมีลักษณะเป็นแท่ง มีหนามโค้งเล็ก ๆ กระจายอยู่รอบปลายปาก แผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของ ลําตัวเลยขาคู่ที่ ๔ มาทางด้านส่วนท้อง มีทั้งชนิดที่มีผนังลําตัวแข็งและ ผนังลําตัวอ่อน เป็นตัวเบียนดูดกินเลือดสัตว์ เช่น เห็บวัว (Boophilus caudatus) เห็บสุนัข (Rhipicephalus sanguineus) ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Ixodidae.
  45. เห็บ ๒ : น. เม็ดนํ้าแข็งที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศแล้วตกลงมา เรียกว่า ลูกเห็บ.
  46. เห็บน้ำ : น. ชื่อสัตว์ประเภทไรนํ้าซึ่งเกาะเบียนตามตัวปลา มีหลายชนิดในหลายวงศ์ ลําตัวยาวได้ถึง ๗ มิลลิเมตร ตัวแบน เมื่อมองทางด้านหลังจะเห็นหัวกับอก ติดกัน ท้องเล็กมากมองคล้ายหางที่โผล่ออกมา มีขา ๔ คู่ ใช้สําหรับว่ายนํ้า ปากมีอวัยวะคล้ายขาใช้เกาะยึดซึ่งต้องหงายท้องดูจึงจะเห็น ที่พบบ่อยเป็น ชนิด Argulus indicus ในวงศ์ Argulidae.
  47. เหม็น ๒ : น. ส้มเขียวหวานที่ยังอ่อนอยู่ ใช้ปรุงอาหารได้ เรียกว่า ส้มเหม็น.
  48. เหมายัน : [เห-] (ดารา) น. จุดสุดทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ ธันวาคมเป็นจุดในหน้าหนาว มีกลางคืนยาวที่สุด เรียกว่า เหมายัน (winter solstice), คู่กับ ครีษมายัน, ทักษิณายัน ก็เรียก. (ป., ส. หิม + ส. อายน).
  49. เหมียว ๑ : น. คำใช้เรียกแทนคำว่า แมว ตามเสียงร้องของมันในคำว่า อ้ายเหมียว อีเหมียว.
  50. เหมียว ๒, เหมียว ๆ : ว. มีเสียงอย่างเสียงแมวร้อง, เสียงร้องเรียกแมว.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | [5951-6000] | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6307

(0.2050 sec)