Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรียกชื่อ, เรียก, ชื่อ , then ชอ, ชื่อ, รยกชอ, เรียก, เรียกชื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เรียกชื่อ, 6307 found, display 6101-6150
  1. อสีตยานุพยัญชนะ : [อะสีตะยานุพะยันชะนะ] น. ลักษณะน้อย ๆ ในร่างกายของผู้ที่เป็น พระมหาบุรุษมี ๘๐ อย่าง คือ ผู้ที่จะเป็นพระมหาบุรุษต้องสมบูรณ์ ด้วยลักษณะสําคัญ ๓๒ อย่าง ซึ่งเรียกว่า มหาปุริสลักษณะ มีรอย พระบาทเป็นลายรูปจักรและอื่น ๆ ตามแบบเป็นต้น และสมบูรณ์ ด้วยอสีตยานุพยัญชนะ. (ป.).
  2. อสุจิ : [อะ] ว. ไม่สะอาด, ไม่บริสุทธิ์; เรียกนํ้ากามว่า นํ้าอสุจิ. (ป.).
  3. อสุภ, อสุภ : [อะสุบ, อะสุบพะ] ว. ไม่งาม, ไม่สวย, ไม่ดี. น. เรียกซากศพว่า อสุภ และเลือนไปเป็น อสภ และ อาสภ ก็มี. (ป.).
  4. อหิวาต์, อหิวาตกโรค : [อะหิวาตะกะ] น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง มีอาการลงราก. (ป.).
  5. อ้อ ๑ : น. ชื่อหญ้าชนิด Arundo donax L. ในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอ ในที่ชื้นแฉะ ลําต้นแข็งเป็นปล้อง ข้างในกลวง.
  6. ออ ๒ : (โบ) น. คํานําหน้าชื่อผู้ชายที่ตนพูดด้วยหรือพูดถึง เช่น ออมั่น ออคง.
  7. ออก ๑ : (โบ) น. คํานําหน้าบรรดาศักดิ์ เช่น ออกพระ ออกหลวง ออกขุน; (ถิ่น) เรียกพ่อแม่ผู้ให้กําเนิดว่า พ่อออก แม่ออก; เรียกเมืองที่สวามิภักดิ์ว่า เมืองออก.
  8. ออก ๒ : น. ชื่อเหยี่ยวขนาดใหญ่ชนิด Haliaeetus leucogaster ในวงศ์ Accipitridae หัวและด้านล่างของลําตัวสีขาว ปีกสีเทา กินปลา และงูทะเล.
  9. ออกไท้ : (โบ; กลอน) น. คำเรียกผู้เป็นใหญ่ หมายถึง กษัตริย์ เช่น คิดปรานีออกไท้ รอยราชละห้อยไห้ ถึงลูกแลนะหัว ลูกเอยฯ. (ลอ).
  10. ออกพรรษา : น. เรียกวันที่สิ้นสุดการจําพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ วันขึ้น ๑๕ คํ่าเดือน ๑๑ ว่า วันออกพรรษา, วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก.
  11. ออกภาษา : น. เรียกเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ ในเพลงเดียวกัน หรือเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทแต่ไม่ครบ ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกภาษา.
  12. ออกสิบสองภาษา : น. เรียกเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทโดย นำเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้า เป็นชุดมี ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกสิบสองภาษา.
  13. ออเจ้า : (โบ) ส. คําใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดด้วย เช่น ทชีก็ปรับทุกข์ร้อน ทางจะอวดมีว่า ออเจ้าเอ๋ยออเจ้าเราค่อยมั่งมีขึ้นถึงเพียงนี้มีเสียกว่า ออเจ้า. (ม. คําหลวง ชูชก), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  14. อ่อนไท้ : (กลอน) น. นางผู้เป็นใหญ่, นางผู้มีสกุล, (ใช้เรียก นางกษัตริย์) เช่น จอมราชพิศพักตรา อ่อนไท้. (ลอ), ใช้ว่า อรไท ก็มี.
  15. อ้อย : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Saccharum officinarum L. ในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอ ลําต้นเป็นปล้อง ข้างในตัน มีหลายพันธุ์ เช่น อ้อยขาไก่ อ้อยตะเภา หีบเอานํ้าหวานทํานํ้าตาลทรายหรือใช้ดื่ม หรือเคี้ยวกิน แต่นํ้าหวาน.
  16. อ้อยแดง : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Saccharum sinense Roxb. ในวงศ์ Gramineae เปลือกลําต้นและใบสีม่วงแดง ใช้ทํายาได้.
  17. อะจีน : น. เมืองอะแจ, อัดแจ ก็เรียก.
  18. อะตอม : น. ส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุซึ่งเข้าทําปฏิกิริยาเคมีได้ อะตอม ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สําคัญ คือ นิวเคลียสเป็นแกนกลาง และมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่โดยรอบ, เดิมเรียกว่า ปรมาณู. (อ. atom).
  19. อะนะ, อะหนะ : น. ลูก, น้อง, (ใช้เป็นคำเรียกแสดงความรู้สึกรักและเอ็นดู) เช่น อันอะหนะบุษบาบังอร. (อิเหนา), อานะ ก็ว่า. [ช. anak ว่า ลูก (ใช้ได้ทั้งลูกคนและลูกสัตว์)].
  20. อะมีบา : น. ชื่อสัตว์เซลล์เดียวพวกหนึ่ง ขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่า ไม่เห็น มีรูปร่างไม่แน่นอน ขยายพันธุ์ได้โดยการแบ่งตัวเอง. (อ. amoeba).
  21. อักขรวิธี : น. วิธีเขียนและอ่านหนังสือให้ถูกต้อง, ชื่อตำราไวยากรณ์ ตอนที่ว่าด้วยตัวอักษร การอ่าน การเขียน และการใช้ตัวอักษร. (ป.).
  22. อักขรานุกรม : น. หนังสือสําหรับค้นชื่อเรียงลําดับตามตัวอักษร. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ น. หนังสือสําหรับค้นชื่อทางภูมิศาสตร์ เรียงลําดับตามตัวอักษร. (อ. gazetteer).
  23. อักษรเลข : [อักสอระเลก, อักสอนเลก] น. วิธีเขียนหนังสือลับโบราณ ใช้ตัวเลขแทนสระ; ตําแหน่งในคณะกรมการปกครองท้องที่มีมาแต่ โบราณ, ต่อมาใช้เรียกผู้ทําหน้าที่เลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัด.
  24. อักษะ : น. เพลา, แกน. (ส.); เรียกกลุ่มประเทศอันประกอบด้วยเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ที่รวมเป็นแกนร่วมรบกับกลุ่มประเทศฝ่าย สัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ว่า ฝ่ายอักษะ.
  25. อัคนิ, อัคนี : [อักนิ, อักคะนิ, อักนี, อักคะนี] น. ไฟ; ชื่อเทพแห่งไฟ. (ส. อคฺนิ; ป. อคฺคิ).
  26. อังกะลุง : น. ชื่อเครื่องดนตรีอย่างหนึ่งของชวา ใช้เขย่าให้เกิดเสียง.
  27. อังกาบ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Barleria cristata L. ในวงศ์ Acanthaceae ลําต้นไม่มีหนาม ดอกสีม่วง.
  28. อังกาบหนู : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Barleria prionitis L. ในวงศ์ Acanthaceae ลําต้นมีหนาม ดอกสีเหลือง.
  29. อังคาร : [คาน] น. ชื่อวันที่ ๓ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๔ ใน ระบบสุริยะ มองเห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ ๒๒๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖,๗๘๗ กิโลเมตร มีพื้น ผิวขรุขระ และมีบรรยากาศเบาบาง ส่วนใหญ่เป็นแก๊สคาร์บอน ไดออกไซด์ มีบริวาร ๒ ดวง; เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว. (ป., ส.)
  30. อังคุตรนิกาย : [คุดตะระ] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดง หลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะ ตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.
  31. อังส, อังสะ : [อังสะ] น. เรียกผ้าที่พระภิกษุสามเณรใช้ห้อยเฉวียงบ่าว่า ผ้าอังสะ; ส่วน, ภาค; ส่วนของมุม. (ป. อํส).
  32. อัฐ ๑ : [อัด] น. (โบ) เรียกเงินปลีกสมัยก่อน ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง; เงิน, เงินตรา, เช่น คนมีอัฐ; ราคาถูก ในสํานวนว่า ไม่กี่อัฐ, ไม่กี่อัฐฬส ก็ว่า.
  33. อัฐเคราะห์ : (โหร) น. เรียกดาวเฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจํา ทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจําทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจําทิศอาคเนย์ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจําทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจําทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจําทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจําทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจําทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็น แผนภูมิดังนี้ (รูปภาพ) ว่า ทักษา, ถ้าเกิดวันใด ก็ถือวันนั้นเป็นบริวาร แล้วนับเวียนขวาไป ตามทิศทั้ง ๘ เช่น เกิดวันอาทิตย์ อาทิตย์เป็นบริวาร จันทร์เป็นอายุ อังคารเป็นเดช พุธเป็นศรี เสาร์เป็นมูละ พฤหัสบดีเป็นอุตสาหะ ราหูเป็นมนตรีและศุกร์เป็นกาลกรรณี.
  34. อัฐบริขาร : น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก), สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. อฏฺ?ปริขาร).
  35. อัฐมี : น. ดิถีที่ ๘, เรียกวันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ว่า วันอัฐมี.
  36. อัฐศก : น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๘ เช่น ปีขาลอัฐศก จุลศักราช ๑๓๔๘.
  37. อัดแจ : น. เมืองอะแจ, อะจีน ก็เรียก. [ปัจจุบันคือ เมืองอะเจะห์ (Ajeh) ในประเทศอินโดนีเซีย].
  38. อัดลม : ก. อัดแก๊สเข้าไป. ว. เรียกเครื่องดื่มประเภทหนึ่งซึ่งมีแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ละลายและอัดไว้ในขวดเป็นต้นว่า นํ้าอัดลม.
  39. อัดสำเนา : ก. พิมพ์อัดกระดาษไขที่พิมพ์ เขียน เจาะปรุ หรือทําแบบ ลวดลายแล้ว ด้วยเครื่องพิมพ์ชนิดหนึ่ง เพื่อให้ได้สําเนาจํานวนมาก ตามต้องการ, เรียกเครื่องพิมพ์ชนิดนั้นว่า เครื่องอัดสําเนา.
  40. อัตนัย : ว. ที่เปิดโอกาสให้แสดงความรู้หรือความคิดเห็นส่วนตัวได้, เรียกการสอบแบบที่ให้ผู้ตอบบรรยายแสดงความรู้หรือแสดงความ คิดเห็นของตนเองว่า การสอบแบบอัตนัย, คู่กับ ปรนัย, จิตวิสัย ก็ว่า. (อ. subjective).
  41. อัตลัด : [อัดตะหฺลัด] น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่ง ทอด้วยไหมควบกับเงินแล่งหรือ ทองแล่ง แต่ไหมมีจํานวนมากกว่า.
  42. อัน : น. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คําบอกลักษณะ สิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากําหนดสําหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือ ข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธาน หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่า ทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).
  43. อันนา : น. ตอนหนึ่ง ๆ ของนาซึ่งมีคันกั้น, กระทงนา ก็เรียก.
  44. อัปยศ : [อับปะ] ว. ไร้ยศ, ปราศจากยศ; เสื่อมเสียชื่อเสียง, น่าอับอาย ขายหน้า; อปยศ ก็ว่า. (ส. อปยศสฺ).
  45. อัพพุท : น. ชื่อสังขยาจํานวนหนึ่ง คือ ร้อยแสนพินทุ เป็น ๑ อัพพุท หรือ โกฏิยกกําลัง ๘ หรือเลข ๑ มีศูนย์ตามหลัง ๕๖ ตัว. (ป.).
  46. อัพภันดร, อัพภันตร : [อับพันดอน, ตะระ] น. ส่วนใน, ภายใน, ท่ามกลาง; ชื่อมาตราวัด ในบาลี ราว ๗ วา เป็น ๑ อัพภันดร. (ป.; ส. อภฺยนฺตร).
  47. อัพภาน : [อับพาน] น. การชักกลับมา, ในวินัยหมายถึง การรับภิกษุผู้ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส และได้ถูกทําโทษคือ อยู่ปริวาสแล้วให้กลับคืน เป็นผู้บริสุทธิ์, การสวดประกาศเรื่องนี้ เรียกว่า สวดอัพภาน. (ป.).
  48. อัมพฤกษ์ : [อํามะพฺรึก] น. ชื่อเส้นซึ่งเป็นศูนย์กลางของร่างกาย อยู่ด้านหน้าท้อง; อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาอ่อนแรง.
  49. อัมพา : น. แม่, หญิงดี, (เป็นชื่อยกย่อง). (ป., ส.).
  50. อัลตราไวโอเลต : น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่นประมาณ ระหว่าง ๔ x ๑๐-๗ เมตร กับ ๕ x ๑๐-๙ เมตร แสงแดดมีรังสีอัลตรา ไวโอเลต ซึ่งจะมีปฏิกิริยาต่อสาร ๗ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล (7 dehydrocholesterol) ในผิวหนังมนุษย์ ให้กลายเป็นวิตามินดี, รังสี เหนือม่วง ก็เรียก. (อ. ultraviolet).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | [6101-6150] | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6307

(0.1972 sec)