Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรียกชื่อ, เรียก, ชื่อ , then ชอ, ชื่อ, รยกชอ, เรียก, เรียกชื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เรียกชื่อ, 6307 found, display 6201-6250
  1. อินทนิล, อินทนิลน้ำ : [ทะนิน] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Lagerstroemia speciosa Pers. ในวงศ์ Lythraceae ดอกสีม่วงแดงหรือชมพู ออกเป็นช่อตั้งตรง เมล็ดและ ใบใช้ทํายาได้.
  2. อินทผลัม : [ทะผะลํา] น. ชื่อปาล์มชนิด Phoenix dactylifera L. ในวงศ์ Palmae ผลกินได้, (ปาก) อินทผาลัม.
  3. อินทรธนู : [อินทะนู] น. รุ้ง (แถบสีโค้งบนท้องฟ้า); เครื่องประดับ บ่าอย่างหนึ่งเพื่อแสดงยศเป็นต้น; ชื่อลายขอบที่เป็นกระหนก.
  4. อินทรวงศ์ : [อินทฺระ] น. ชื่อฉันท์ ๑๒ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีสําเนียงไพเราะดุจเสียงปี่ของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คํา วรรคหลังมี ๗ คํา รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คําที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคําที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๖ ของวรรคหลัง เป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคํา สุดท้ายของวรรคที่ ๓ เช่น (รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช).
  5. อินทรวิเชียร : [อินทฺระ] น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คํา วรรคหลังมี ๖ คํา รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คําที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคําที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับ สัมผัสกับคําสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคํา สุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคําที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น (รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช), แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น (รูปภาพ สัมผัส)
  6. อินทร, อินทร์ : [อินทะ, อินทฺระ, อิน] น. ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราช; ผู้เป็นใหญ่. (ส.; ป. อินฺท).
  7. อินทราภิเษก : [อินทฺรา] น. เรียกลักษณะพิเศษ ๓ ประการ คือ ๑. พระอินทร์นําเอาเครื่องราชกกุธภัณฑ์มาถวาย เมื่อจะได้ ราชสมบัติ ๒. เสี่ยงราชรถมาจดฝ่าพระบาท และ ๓. เหาะเอา ฉัตรทิพย์มากางกั้น; การที่พระเจ้าแผ่นดินทําพิธีราชาภิเษก อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปราบพระเจ้าแผ่นดินอื่นให้อยู่ในอํานาจได้ มาก เพื่อยกพระองค์ขึ้นเป็นใหญ่เหนือพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย.
  8. อินทรี ๑ : [ซี] น. ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับเหยี่ยว ขามีขนปกคลุม กรงเล็บแข็งแรง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น อินทรีหัวนวล (Haliaeetus leucoryphus) อินทรีดํา (Ictinaetus malayensis) อินทรีปีกลาย (Aquila clanga).
  9. อินทรี ๒ : [ซี] น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่หลายชนิดในหลายวงศ์ ลําตัวแบน ข้างเรียวยาว คอดหางกิ่ว ปลายหางเป็นแฉกลึก อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวนํ้า เช่น อินทรีบั้ง (Scomberomorus commersoni) อินทรีจุด (S. guttatus) ในวงศ์ Scombridae.
  10. อินฟราเรด : [ฟฺรา] น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วง คลื่นประมาณระหว่าง ๗.๘ x ๑๐-๗ เมตร กับ ๑ มิลลิเมตร, รังสี ความร้อน ก็เรียก. (อ. infrared).
  11. อิสริยาภรณ์ : น. ตราเครื่องประดับเกียรติยศ เรียกเป็นสามัญว่า เหรียญตรา.
  12. อิสินธร : [สินทอน] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๒ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็น วงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป. อิสินฺธร, อีสธร; ส. อีษาธร). (ดูสัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
  13. อิหม่าม : น. คําเรียกผู้นําในศาสนาอิสลาม, ผู้นําในการทําละหมาด, ตําแหน่งสําคัญของคณะกรรมการบริหารมัสยิด, โต๊ะอิหม่าม ก็เรียก. (อ. imam).
  14. อี่ : (โบ) น. เรียกลูกสาวคนที่ ๒ ว่า ลูกอี่, เรียกลูกสาวคนที่ ๑ ว่า ลูกเอื้อย, คู่กับ คําที่เรียกลูกชายคนที่ ๑ ว่า ลูกอ้าย, เรียกลูกชาย คนที่ ๒ ว่า ลูกยี่.
  15. อี๋ ๑ : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าปั้นเป็นลูกกลม ๆ ต้มนํ้าตาล.
  16. อี ๒ : น. คําประกอบหน้าชื่อการเล่นบางอย่าง เช่น อีตัก อีขีดอีเขียน; คําประกอบหน้าชื่อท่าในการเล่นบางอย่าง เช่น อีงุ้ม อีเข่า ใน การเล่นสะบ้า อีรวบ อีกาเข้ารัง ในการเล่นหมากเก็บ.
  17. อีก้อ : น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบตพม่า มีอยู่ทางแถบเหนือ ของประเทศไทย คล้ายพวกมูเซอ, ก้อ ก็เรียก.
  18. อีแก่, อีแก่กินน้ำ : น. ชื่อการเล่นไพ่อย่างหนึ่ง.
  19. อีโก้ง : น. ชื่อนกชนิด Porphyrio porphyrio ในวงศ์ Rallidae ลําตัวสีม่วง เหลือบนํ้าเงิน ปากหนาสีแดง ใต้หางสีขาว ขาและนิ้วยาว วิ่งหากิน บนพืชที่ลอยอยู่ในนํ้า กินพืชและสัตว์เล็ก ๆ.
  20. อีคว่ำอีหงาย : น. เรียกการเล่นชนิดหนึ่งในจําพวกหมากแยก ซึ่งมีการกินหงายเบี้ย.
  21. อีจู้ : น. เครื่องดักปลาไหลชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ รูปคล้ายหม้อ คอสูง มีงาแซงอยู่ริมก้น ห้อยเหยื่อไว้ภายใน, กระจู้ หรือ จู้ ก็เรียก.
  22. อีดำอีแดง ๑ : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และ สีขาว เจ้ามือกำไม้ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลง ในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ปลาดำปลาแดง หรือ ไม้ดำไม้แดง ก็เรียก.
  23. อีดำอีแดง ๒ : น. ชื่อโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นผื่นสีดําสีแดงตามตัว.
  24. อีโน : (โบ) น. เรียกชามขนาดใหญ่อย่างชามโคมว่า ชามอีโน.
  25. อีแปะ ๑ : น. เงินปลีกโบราณ, กะแปะ ก็เรียก.
  26. อีแปะ ๒ : น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง ท้องแบน เสริมกราบ รูปคล้ายเรือสําปั้น แต่หัวเรือสั้นกว่า.
  27. อีโปง ๑ : น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๑ วา ทําจากโคนต้นตาลผ่าซีก แล้วขุดเอาเนื้อข้างในออก ปิดท้ายด้วยไม้ ท้ายเรือเล็กกว่าหัวเรือ.
  28. อีโปง ๒, อีโปงครอบ : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ยซึ่งเรียกว่า ลูกอีโปง ลักษณะเป็นลูกบาศก์ หน้าทั้ง ๖ ด้านมีภาพนํ้าเต้า ปู ปลา กุ้ง เสือ ไก่ ให้ลูกค้าแทง ถ้าแทงถูกเจ้ามือใช้ ๓ ต่อ.
  29. อีมู ๑ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Dromaius novaehollandiae ในวงศ์ Dromaiidae ลําตัวสีเทาอมดํา สูงประมาณ ๕ ฟุต ปีกขนาดเล็กมาก บินไม่ได้ มีนิ้วตีน ๓ นิ้ว เล็บแหลมคมมากใช้ในการต่อสู้ ถิ่น กําเนิดอยู่ในทวีปออสเตรเลีย.
  30. อีมู ๒ : น. ชื่อมันชนิด Dioscorea pentaphylla L. ในวงศ์ Dioscoreaceae รากมีหนามแข็ง หัวกลม ผิวขรุขระ สีนํ้าตาล กินได้.
  31. อีลุ้ม ๑ : น. ชื่อนกชนิด Gallicrex cinerea ในวงศ์ Rallidae ตัวขนาดเดียวกับ นกอีโก้ง ขายาว นิ้วยาว ตัวผู้ขนสีดํา หงอนแดง ตัวเมียขนสีนํ้าตาล ไม่มีหงอน นอกฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้และตัวเมียมีสีขนคล้ายกัน อาศัย หากินตามแหล่งน้ำและทุ่งนา พบทั่วทุกภาค กินพืชและสัตว์เล็ก ๆ.
  32. อีลุ้ม ๒ : น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่งคล้ายว่าวปักเป้าแต่ไม่มีหาง.
  33. อีเลิ้ง : น. เรียกตุ่มหรือโอ่งใหญ่ว่า ตุ่มอีเลิ้ง หรือ ตุ่มนางเลิ้ง, โอ่ง นครสวรรค์ ก็เรียก; โดยปริยายหมายความว่า ใหญ่เทอะทะ.
  34. อึก ๒ : น. ลักษณนามเรียกอาการกลืนของเหลวหรือเสียงทุบแผ่นหลังด้วย กำปั้นครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ดื่มน้ำ ๓ อึก เขาถูกทุบไป ๓ อึก.
  35. อึ่ง : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกหลายชนิดในวงศ์ Microhylidae รูปร่างอ้วนป้อมและมักพองตัวได้ เช่น อึ่งอ่าง (Kaloula pulchra) อึ่งแว่น (Calluella guttulata).
  36. อึ่งยาง, อึ่งอ่าง : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในสกุล Kaloula วงศ์ Microhylidae สีนํ้าตาลลายขาว โตเต็มวัยยาว ประมาณ ๗ เซนติเมตร มักทําตัวพองเมื่อถูกรบกวน ร้อง เสียงดังเมื่อนํ้านองหลังฝนตก ที่พบทั่วไปมี ๒ ชนิด คือ ชนิด K. pulchra และอึ่งอ่างหลังขีด (K. mediolineata).
  37. อุกกาบาต : น. ผีพุ่งไต้, อุกลาบาต ก็เรียก. (ป. อุกฺกาปาต; ส. อุลฺกาปาต).
  38. อุคหนิมิต : น. ''อารมณ์ที่เจนใจ'' คือ เป็นวิธีแห่งผู้เพ่งกสิณชํานาญ จนรูปที่ตนเพ่งอยู่นั้นติดตาถึงแม้หลับตาเสีย รูปนั้นก็ปรากฏเป็น เครื่องหมายอยู่ รูปที่ปรากฏนี้ เรียกว่า อุคหนิมิต. (ป. อุคฺคหนิมิตฺต; ส. อุทฺคฺรห + นิมิตฺต).
  39. อุณหภูมิ : [อุนหะพูม] น. ระดับความสูงต่ำของความร้อน นิยมวัด ได้ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์.
  40. อุตตรายัน : [อุดตฺรา] (ดารา) น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ ปรากฏในราววันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวัน ยาวที่สุด เรียกว่า อุตตรายัน (summer solstice), คู่กับ ทักษิณายัน, ครีษมายัน ก็เรียก. (ป. อุตฺตร + ส. อายน).
  41. อุตพิด : [อุดตะ] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Typhonium trilobatum Schott ในวงศ์ Araceae ดอกบานเวลาเย็น กลิ่นเหม็นเหมือนอุจจาระ. (ข. อาจม์ + พิษ).
  42. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี : [อุดตะระผนละคุนี] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๒ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปงูเหลือม แรดตัวเมีย หรือเพดานตอนหลัง, ดาวเพดาน หรือ ดาววัวตัวเมีย ก็เรียก. (ส. อุตฺตรผาลฺคุนี; ป. อุตฺตรผคฺคุนี).
  43. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ : [อุดตะระพัดทฺระบด, อุดตะระพัดทะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๖ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ ตัวเมียหรือเพดานตอนหลัง, ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า ก็เรียก. (ส. อุตฺตรภทฺรปท; ป. อุตฺตรภทฺทปท).
  44. อุตรา : [อุดตฺรา] น. เรียกลมชนิดหนึ่งพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในต้นฤดูร้อน ว่า ลมอุตรา.
  45. อุตราษาฒ, อุตตราอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ : [อุดตะราสาด, อุดตะรา อาสาด, อุดตะราสานหะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๑ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูป ครุฑหรือช้างพัง, ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย ก็เรียก. (ส. อุตฺตราษาฒ; ป. อุตฺตราสาฬฺห).
  46. อุตสาหกรรม : [อุดสาหะกํา] น. กิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงานเพื่อผลิต สิ่งของหรือจัดให้มีบริการ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการอุตสาหกรรม การมาตรฐานเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม และทรัพยากรธรณี.
  47. อุทาน ๑ : น. เสียงหรือคําที่เปล่งออกมาเวลาตกใจ ดีใจ หรือเสียใจ เป็นต้น; ในไวยากรณ์เรียกคําหรือเสียงที่เปล่งออกมาเช่นนั้นว่า คําอุทาน. (ป., ส.).
  48. อุทุมพร : [พอน] น. ชื่อมะเดื่อชนิดหนึ่ง. (ดู มะเดื่อ). (ป., ส.).
  49. อุโบสถ ๒, อุโบสถหัตถี : [อุโบสด, อุโบสดถะ] น. ชื่อช้าง ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองคำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดำ ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือน น้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สี ทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยา ท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคำ ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งเงินยวง แต่ปาก และเท้าสีแดง.
  50. อุปการ ๒ : [อุปะกาน, อุบปะกาน] น. เรียกม้าที่ปล่อยในพิธีอัศวเมธว่า ม้าอุปการ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | [6201-6250] | 6251-6300 | 6301-6307

(0.2142 sec)