Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจน , then จน, เจน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจน, 711 found, display 101-150
  1. ขี้ขม : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Osteochilus hasselti ในวงศ์ Cyprinidae เกล็ด ข้างตัวมีจุดสีดําจนเห็นเรียงกันเป็นลายตามยาว ๖-๘ เส้น ที่โคนครีบ หางมีจุดสีดําใหญ่ ครีบต่าง ๆ สีแดงส้ม เฉพาะครีบอกสีเขียวอ่อน พบทั้งในแหล่งนํ้านิ่งและนํ้าไหลทั่วทุกภาคของประเทศไทย ขนาดยาว ได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ซ่าสร้อยนกเขา นกเขา หรือ พรหมหัวเหม็น ก็เรียก.
  2. ขี้โล้ : น. เรียกน้ำมันที่เป็นขี้ตะกอนว่า น้ำมันขี้โล้; กะทิที่เคี่ยวจนเป็น น้ำมันใช้ทำอาหารบางอย่าง.
  3. ขี้หดตดหาย : (ปาก) ว. ใช้เป็นสำนวนประกอบคำ กลัว ว่า กลัวจน ขี้หดตดหาย หมายความว่า กลัวมาก.
  4. ขึ้นคาน : ก. มีฝีมือในทางใดทางหนึ่งจนไม่มีคู่แข่งขัน; (ปาก) โดยปริยาย หมายถึงหญิงโสดที่มีอายุแต่ยังไม่มีสามี.
  5. ขึ้นสมอง : ก. นิยมมาก เช่น เขาชอบกีฬาจนขึ้นสมอง.
  6. ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย : (สำ) ถ้าไม่ใช่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ของตน ก็ไม่ควรไว้วางใจใคร, ทํานองเดียวกับภาษิตที่ว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง.
  7. เข็ด ๒ : ก. กลัวจนไม่กล้าทําเช่นนั้นอีก เพราะเคยได้รับผลร้ายมาแล้ว, หลาบจํา, ไม่กล้าสู้, เช่นในคําว่า เข็ดข้อ เข็ดข้อเข็ดลํา เข็ดเขี้ยว.
  8. เข็ดขยาด : ก. กลัวมากจนไม่กล้าทำ.
  9. เข้ากระดูกดำ : ว. ติดแน่นจนถอนไม่ขึ้นหรือไม่รู้ลืม.
  10. เข้าข้อ : น. อาการของโรคชนิดหนึ่งให้เมื่อยขัดอยู่ในข้อ; กามโรคที่ เรื้อรังมาจนถึงทําให้ปวดตามข้อกระดูก, มักใช้เข้าคู่กับคำ ออกดอก เป็น เข้าข้อออกดอก.
  11. เข้าที่ : ก. นั่งภาวนากรรมฐาน (ทางพระศาสนา); กลับเหมือนเดิม เช่น ซ้อมจนเข้าที่; นอน ใช้ในราชาศัพท์ พูดเต็มว่า เข้าที่บรรทม.
  12. เข้านอกออกใน : ก. สนิทสนมกับเจ้าของสถานที่เป็นพิเศษ จนสามารถ เข้าไปถึงข้างในได้ตลอดเวลา.
  13. เข้าฝัก : ก. ชํานาญจนอยู่ตัวแล้ว.
  14. เข้าพุง : (ปาก) ก. (โบ) จําได้แม่นยําจนไม่ต้องอาศัยตําราสอบทาน; ใช้ในความว่า ลืมความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาหมด ก็มี.
  15. เขิน ๒ : ว. ตื้นสูงเป็นเนินขึ้นมา (ใช้แก่พื้นที่ในแม่นํ้า ลําคลอง หนอง บึง เป็นต้น), มักใช้ว่า ตื้นเขิน เช่น แม่นํ้าตื้นเขิน; สั้นหรือสูงเกินไป จนดูขัดตา เช่น นุ่งผ้าเขิน.
  16. เขียว ๒ : ว. มีสีอย่างสีใบไม้สด, บางทีหมายถึงเขียวครามด้วย เช่น สุดหล้าฟ้าเขียว โกรธจนหน้าเขียว;กลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นใบไม้สดบางชนิด เรียกว่า เหม็นเขียว.
  17. เขี้ยวหนุมาน : น. แร่ประกอบหินชนิดหนึ่ง มีรูปเป็นผลึกหกเหลี่ยม หัวท้ายแต่ละเหลี่ยมมีด้านสามเหลี่ยมเอนเข้าไปบรรจบกันเป็นยอด แหลมดูคล้ายฟันลิง แร่นี้มีแทบทุกสี ตั้งแต่ใสเหมือนกระจกจนขาว ขุ่น ชมพู เขียว ม่วง ตลอดจนดํา.
  18. แขยงแขงขน : ก. สะอิดสะเอียนจนขนลุก.
  19. โข่ง ๑ : น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบเดี่ยวในวงศ์ Ampullariidae เปลือกสีเขียวคลํ้ามีขนาด เท่าหัวแม่มือจนถึงกําปั้น เวียนเป็นวง ยอดสั้น วงสุดท้ายค่อนข้างกลม มีหลายชนิดในสกุล Pila เช่น ชนิด P. ampullacea, P. polita.
  20. ไข่จิ้งหรีด : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยข้าวตากคั่วจนพองเหลืองกวน กับนํ้าตาลปีบที่เคี่ยวเหนียว บางทีโรยมะพร้าวขูดด้วย.
  21. ไข่เจียว : น. ไข่ที่ตีไข่แดงกับไข่ขาวให้เข้ากันแล้วทอดนํ้ามัน, ถ้านํ้ามัน มากจนไข่ที่เจียวฟู เรียก ไข่ฟู, ถ้ามีเนื้อหมูสับผสมด้วย เรียก ไข่เจียวหมูสับ.
  22. ไข่ลูกเขย : น. อาหารของคาวทําด้วยไข่ต้มทั้งลูก ปอกเปลือกแล้วทอดนํ้ามัน เคล้ากับนํ้าตาล นํ้าปลาที่เคี่ยวจนงวด, (โบ) ไข่ญี่ปุ่น.
  23. ไข่หงส์ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยแป้งทอด มีไส้ทำด้วยถั่วเขียวนึ่ง ผัดกับพริกไทย เกลือกน้ำตาลจนแห้ง ลักษณะกลม, ไข่เหี้ย ก็ว่า.
  24. ไข่เหี้ย : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยแป้งทอด มีไส้ทำด้วยถั่วเขียวนึ่ง ผัดกับพริกไทย เกลือกนํ้าตาลจนแห้งลักษณะกลมอย่างไข่เหี้ย, ไข่หงส์ ก็ว่า.
  25. คชาธาร : น. ช้างทรง, ช้างพระที่นั่ง; เครื่องแต่งหลังช้างชนิดหนึ่ง มี ๓ อย่าง คือ ๑. พระคชาธารเครื่องมั่น สําหรับใช้ในการสงคราม. ๒. พระคชาธารพุดตานทอง สำหรับผูกช้างพระที่นั่งทรงซึ่งใช้ในกระบวน อิสริยยศ. ๓. พระคชาธารกาญจนฉันท์ สําหรับผูกหลังช้าง ประดิษฐาน พระชัยวัฒน์. (ป. คช + อาธาร).
  26. คดงอ : ก. คดจนงอ.
  27. คดีหมายเลขดำ : (กฎ) น. คดีที่ฟ้องร้องต่อศาลและศาลได้ลงทะเบียน คดีในสารบบความของศาล โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เรียง เป็นลำดับไปจนสิ้นปี ก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยโดยเริ่ม ตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปี ก่อนศาลมีคำ พิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจาก สารบบความ หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว เรียกย่อ ๆ ว่า ``คดีดำ'' เช่น คดีหมายเลขดำที่ ๑/๒๕๔๐ หรือคดีดำที่ ๑/๒๕๔๐.
  28. คดีหมายเลขแดง : (กฎ) น. คดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัย ชี้ขาดคดี หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ หรือมีคำสั่ง จำหน่ายคดีชั่วคราวแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เป็นลำดับ ไปจนสิ้นปี เรียกย่อ ๆ ว่า ``คดีแดง'' เช่น คดีหมายเลขแดงที่ ๑/๒๕๔๐ หรือคดีแดงที่ ๑/๒๕๔๐.
  29. คม ๒ : น. ส่วนบางมากจนสามารถบาดได้ เช่น คมมีด คมดาบ คมหญ้า. ว. ไม่ทื่อ เช่น มีดคม, บาดได้ เช่น ป่านคม; เฉียบแหลม เช่น ปัญญาคม; ชัดเจน เช่น ภาพคม เส้นคม, โดยปริยายใช้สําหรับตาและปากซึ่งมี ลักษณะอย่างของที่คมอาจบาดหรือแทงใจได้.
  30. คลุ้มคลั่ง : ก. กลัดกลุ้มในใจจนแสดงอาการอย่างคนบ้า.
  31. ควบ ๒ : ก. อาการที่วิ่งเต็มที่จนดูเหมือนเท้าหรือล้อไม่ติดดิน.
  32. ควักค้อน : [คฺวัก-] (กลอน) ก. ค้อนจนหน้าควํ่า เช่น ขืนจะมาควักค้อนค่อนว่า เงาะของข้าเคยใส่ทำไมสิ. (สังข์ทอง), ค้อนควัก ก็ว่า.
  33. ความเครียด : น. (ฟิสิกส์) อัตราส่วนระหว่างขนาดที่เปลี่ยนไปเนื่องจากความเค้นกับ ขนาดเดิมของเทหวัตถุ. (อ. strain); ลักษณะอาการที่สมองไม่ได้ผ่อนคลาย เพราะคร่ำเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป, ลักษณะอาการที่จิตใจมีอารมณ์ บางอย่างมากดดันความรู้สึกอย่างรุนแรง.
  34. ความรู้สึกด้อย : (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถไม่เท่าเทียมบุคคลทั่วไป ความรู้สึกนี้ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สํานึกและผู้นั้นไม่จําเป็นต้องมี ปมด้อย อาจเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมหรือในบางขณะเท่านั้น แต่ถ้าเกิดขึ้น เสมอ ๆ และมิได้แก้ไข ก็อาจเก็บกดไว้จนเกิดเป็นปมด้อยได้; ความไม่เชื่อ มั่นว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถเท่าเทียมผู้อื่น. (อ. inferiority feeling).
  35. คว่ำ : [คฺวํ่า] ก. พลิกเอาด้านบนลงล่าง เช่น รถคว่ำ เรือคว่ำ; กิริยาที่เอาด้าน หน้าลง เช่น นอนคว่ำ, กิริยาที่เอาด้านบนลงล่าง เช่น คว่ำชาม, ตรงข้าม กับ หงาย; เรียกใบหน้าที่แสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจนไม่เงยหน้า ขึ้นมองดูว่า หน้าคว่ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง พ่ายแพ้ เช่น คว่ำคู่ต่อสู้.
  36. ควิวควัง, ควิวควั่ง, ควิวคว่าง, ควิวคว้าง : [-คฺวัง, -คฺวั่ง, -คฺว่าง, -คฺว้าง] ก. หมุนคว้างจนใจหวิว ๆ, อาการที่จิตใจ รู้สึกหวาดหวิว; ใช้โดยปริยายว่า เวิ้งว้าง, กว้างใหญ่, น่ากลัว, เช่น สาครควิวคว่าง, โบราณเขียนเป็น ควิวคว่งง ก็มี เช่น สมุทรพิศารลิว ควิวคว่งง แลนา. (กำสรวล).
  37. คอเคซอยด์ : น. ชนชาติผิวขาว มีลักษณะผิวส่วนมากขาวจนถึงสีนํ้าตาล จมูกโด่ง. (อ. Caucasoid).
  38. ค้อนควัก : ก. ค้อนจนหน้าควํ่า, ควักค้อน ก็ว่า.
  39. คอเป็นเอ็น : (สํา) ว. ขึ้นเสียงเถียงโต้อย่างไม่ยอมลดละ, เถียงเก่ง, เช่น หวงแหนหึงผัวตัวเป็นเกลียว จนเสียงขุ่นเสียงเขียวคอเป็นเอ็น. (คาวี).
  40. คอแห้ง ๑ : ว. อาการที่คอไม่ชุ่มจนผากด้วยอยากดื่มน้ำเพราะต้องออกเสียงมาก หรือเพราะกระหายน้ำเนื่องจากเดินหรือวิ่งมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน.
  41. คัดคลองเลื่อย : ก. ดัดฟันเลื่อยให้เบนออกจากแนว โดยดัดฟันหนึ่ง เว้นฟันหนึ่งจนตลอดทั้งตัวเลื่อยแล้วจึงดัดฟันที่เว้นไว้ให้เบนออก ทางด้านตรงข้ามกับฟันที่ได้ดัดไว้แล้ว.
  42. คัทลียา : น. ชื่อกล้วยไม้หลายชนิดในสกุล Cattleya วงศ์ Orchidaceae ดอก งดงามมาก จนได้ชื่อว่าเป็น 'ราชินีแห่งกล้วยไม้'.
  43. คันฉ่อง : น. เครื่องใช้ทำด้วยโลหะ ขัดจนเป็นเงา มีด้าม ใช้สำหรับ ส่องหน้า; ปัจจุบันเรียกกระจกเงามีกรอบ ๒ ชั้น สําหรับเอนเข้าออกได้ ตั้งบนโต๊ะเครื่องแป้ง.
  44. คั่ว ๑ : ก. เอาสิ่งของใส่กระเบื้องหรือกระทะตั้งไฟให้ร้อนแล้วคนไปจนสุก หรือเกรียม เช่น คั่วถั่ว คั่วงา, เรียกของที่คั่วแล้ว เช่น ข้าวคั่ว ถั่วคั่ว; เรียกแกงกะทิชนิดหนึ่งคล้ายแกงเผ็ด แต่มีรสออกเปรี้ยว ว่า แกงคั่ว เช่น แกงคั่วผักบุ้ง แกงคั่วมะระ.
  45. ค่า : น. มูลค่าหรือราคาของสิ่งใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มีประโยชน์ในทางใช้สอย แลกเปลี่ยน หรือทางจิตใจเป็นต้น บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินได้ บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินไม่ได้ เช่น ทองคำเป็นของมีค่า เวลามีค่ามาก; จำนวนเงินที่เป็นราคาสิ่งของหรือบริการ เป็นต้น เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าโดยสาร ค่าอาหาร; (คณิต) จำนวนหรือ ตัวเลขที่ระบุปริมาณหรือขนาดของตัวแปร; (สำ) เรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มีคุณค่ามากจนไม่อาจประเมินเป็นเงินได้ว่า เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้.
  46. คางเหลือง : (สํา) ว. ป่วยหรือบาดเจ็บมากจนแทบเสียชีวิต, มักใช้ว่า ไม่ตายก็คางเหลือง.
  47. คาราเต้ : น. ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่า โดยการใช้อวัยวะต่าง ๆ เช่น มือ เท้า ศอก ศีรษะ ที่ฝึกจนแข็งแกร่งแล้ว มีแพร่หลายในญี่ปุ่นและเกาหลี. (ญิ.).
  48. ค้ำฟ้า : ว. นานจนไม่มีกําหนด.
  49. คิดตก : ก. พิจารณาจนเห็นจริงแล้วปล่อยไปตามสภาพ; คิดสําเร็จ.
  50. คุ้นเคย : ก. รู้จักชอบพอสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น พวกเขาทำงานด้วยกัน มานาน เลยคุ้นเคยกัน, เคยเห็นเคยทําบ่อย ๆ จนชิน เช่น เขาเดินในที่มืด ได้เพราะคุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-711

(0.0405 sec)