Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจน , then จน, เจน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจน, 711 found, display 451-500
  1. เมื่อยปาก : ก. อาการที่พูดซ้ำ ๆ มาหลายครั้งหรือนานจนไม่อยากพูดอีก.
  2. ไม่ได้สิบ : (กลอน) ก. งงจนคิดอะไรไม่ออกหรือทําอะไรไม่ถูก เช่น ท้าวสามนต์ เสียใจไม่ได้สิบ. (สังข์ทอง).
  3. ไม่ลืมหูลืมตา : ว. งมงาย เช่น หลงจนไม่ลืมหูลืมตา.
  4. ย่อย : ก. ทําเป็นส่วนเล็กส่วนน้อยโดยแยกจากส่วนใหญ่ เช่น ย่อยหิน; ทำให้ ละลายจนซึมซาบได้ เช่น ย่อยอาหาร. ว. เรียกส่วนน้อยที่แยกจากส่วน ใหญ่ เช่น ส่วนย่อย กลุ่มย่อย, เบ็ดเตล็ด, ไม่สำคัญ, เช่น ข่าวย่อย, เรียก ละครเรื่องสั้น ๆ ว่า ละครย่อย; เรียกธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มี ราคามากว่า ธนบัตรย่อย หรือ แบงก์ย่อย.
  5. ย่อยยับ : ว. ป่นปี้, เช่น เสียการพนันย่อยยับ เสียหายย่อยยับ, ยับย่อย หรือ ยับเยิน ก็ว่า. ก. ถูกทำลาย, เสียหาย, เช่น เขาเล่นการพนันจนทรัพย์สมบัติ ของพ่อแม่ย่อยยับหมด, ยับย่อย หรือ ยับเยิน ก็ว่า.
  6. ยั้ง : ก. หยุด เช่น ตีไม่ยั้ง กินไม่ยั้ง ยั้งไม่ทัน ลื่นยั้งไม่อยู่, หยุดพักชั่วคราว เช่น ยั้งทัพอยู่ที่นครสวรรค์ ๓ คืน แล้วจึงเดินทัพต่อไป, ชะงักชั่วคราว เช่น ยั้งคิด ยั้งมือ, รั้ง เช่น ยั้งไม่หยุด, ขยัก เช่น อย่าใช้เงินจนหมด ยั้งไว้บ้าง.
  7. ยัน ๑ : ก. ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้า ยันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพ ยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; (ปาก) ถีบ เช่น เดี๋ยวยัน เปรี้ยงเข้าให้. (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. สัน. จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง.
  8. ยับ ๒ : ก. ย่น, ยู่ยี่, เช่น ผ้ายับ เสื้อยับ กระดาษยับ, อาการซึ่งแสดงความเสียหาย มาก หรือเสียรูปจนถึงชํ้าชอก พังทลาย ป่นปี้ ปู้ยี่ปู้ยํา ยู่ยี่ เป็นต้น เช่น รถถูกชนยับ บ้านพังยับ.
  9. ยับย่อย, ยับเยิน : ว. ป่นปี้ เช่น เสียการพนันยับย่อย เสียหายยับเยิน, ย่อยยับ ก็ว่า. ก. ถูกทำลาย, เสียหาย, เช่น เขาเล่นการพนันจนทรัพย์สมบัติของ พ่อแม่ยับย่อยหมด หนังสือยับเยินหมดทั้งเล่ม, ย่อยยับ ก็ว่า.
  10. ยางหัวล้าน : น. ยางนอกที่สึกจนไม่มีดอก.
  11. ยาหม้อ : น. ยาไทยที่ประกอบด้วยสมุนไพร กระดูกสัตว์ และเครื่องยา อื่น ๆ ใส่หม้อต้มแล้วกินน้ำที่เคี่ยวจนงวดเพื่อบำบัดโรค.
  12. ย่ำเป็นเทือก : ก. ย่ำกันไปมาจนเปื้อนเปรอะเลอะเทอะเหมือนเปรอะด้วย ขี้เทือก.
  13. ยุบยอบ : ก. น้อยลง, จนลง, ขัดสนลง, เช่น ใช้เท่าไร ๆ เงินก็ไม่ยุบยอบ.
  14. ยุ่ย : ว. ผุหรือเปื่อยจนสลายตัวได้ง่าย เช่น ไม้เนื้อยุ่ย ดินยุ่ย.
  15. ยู่ยี่ : ว. อาการที่ย่นหรือยับจนเสียรูป เช่น ผ้ายับยู่ยี่ ขยำกระดาษเสียยับยู่ยี่; อาการที่หน้าตาไม่สดชื่นแจ่มใส เช่น ตื่นนอนมาใหม่ ๆ หน้าตายู่ยี่.
  16. เย้ : ว. เอียงจนเสียรูปโดยมีอาการทําท่าจะทลายลง เช่น ห้องแถวเย้จวน จะพัง, เฉ, ไม่ตรง, เบนหรือเอียงไป, เช่น เขียนหนังสือแถวเย้.
  17. เย็นชืด : ว. เย็นอย่างสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เขานอนตายตัวเย็นชืด, เย็นจนหมด รสชาติ เช่น แกงเย็นชืด.
  18. เยิน : ว. ยู่, ย่น, เช่น คมมีดเยิน ตีตะปูจนหัวเยิน, บานออกจนเสียรูป เช่น ไข ตะปูควงจนหัวเยิน.
  19. เยิ้ม : ก. ซึมออกมาแทบหยด เช่น นํ้าเกลือเยิ้ม น้ำเหลืองเยิ้ม, ชุ่มมากแทบหยด เช่น ใส่นํ้ามันจนเยิ้ม, (โดยมากใช้แก่นํ้าหรือของเหลวที่มีลักษณะเหนียว เหนอะหนะ); โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่เห็นคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นัยน์ตาเยิ้ม.
  20. แย่แต้ : ว. หนักจนต้องย่อลง.
  21. แยม : น. อาหารมีรสหวาน ทําโดยการเคี่ยวผลไม้กับนํ้าตาลจนข้น มักใช้ทา ขนมปัง. (อ. jam).
  22. โยน ๑ : ก. ซัดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นไปจากตัวโดยวิธีหงายมือ เช่น โยนสตางค์ โยนของ, เคลื่อนไหวหรือทําให้เคลื่อนไหวอย่างแรงจากที่เดิม เช่น คลื่นซัดจนเรือโยน คลื่นโยนเรือ, ไหวอย่างแรง แต่ไม่เคลื่อนจากที่เดิม เช่น ลมพัดกิ่งไม้โยนไปโยนมา หอบจนตัวโยน; เหวี่ยงเป็นวงกว้าง เช่น โยนค้อนตีเหล็ก, ปัดให้พ้นตัวไป เช่น โยนบาป โยนเรื่อง.
  23. ร้อนวิชา : (สํา) ก. เกิดความเร่าร้อนเนื่องจากคาถาอาคมจนอยู่ไม่เป็น ปรกติ; เร่าร้อนอยากจะแสดงวิชาความรู้พิเศษหรือคาถาอาคมจนผิด ปรกติวิสัย.
  24. ระทดระทวย : ว. อ่อนอกอ่อนใจ เช่น เขาเสียการพนัน จนหมดตัวเดินระทดระทวย ออกมา.
  25. ระบม : ก. อาการเจ็บร้าวที่เกิดจากความเมื่อยขัดหรือบอบชํ้าเป็นต้น เช่น ฝีระบม จนเป็นไข้ ถูกตีระบมไปทั้งตัว, ชอกช้ำ เช่น อกระบม ระบมใจ.
  26. ระบายสี : ก. ลงสี, แต้มสี, ป้ายสี, เช่น ระบายสีภาพทิวทัศน์ด้วยสีน้ำ; เสริมแต่งเกินความจริง เช่น เขาระบายสีข่าวเสียจนเชื่อไม่ลง. ว. ที่เสริมแต่งเกินความจริง เช่น ข่าวระบายสี.
  27. ระรัว : ว. รัว ๆ, สั่นถี่ ๆ, สั่นสะท้าน, เช่น กลัวจนตัวสั่นระรัว เสียงสั่นระรัว.
  28. ระเริง : ก. ร่าเริงบันเทิงใจ, สนุกสนานเบิกบานเต็มที่, เช่น แมวไม่อยู่หนูระเริง อย่าระเริงจนเกินไป.
  29. รักแก้ว : น. น้ำรักผสมสมุกและขี้ผึ้ง เคี่ยวให้งวดจนจับเป็นก้อนเพื่อ นำไปปั้นหรือกดลงในแม่พิมพ์ทำเป็นลวดลายต่าง ๆ.
  30. รักตีลาย : น. น้ำรักผสมสมุก เคี่ยวให้งวดจนจับเป็นก้อน เพื่อนำไปกด ลงในแม่พิมพ์ทำเป็นลวดลายต่าง ๆ.
  31. รังบวบ : น. ส่วนในของบวบที่แก่จนแห้ง.
  32. รัฐศาสตร์ : [รัดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการเมืองและการปกครองประเทศ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.
  33. รัดรูป : ว. คับมากจนเห็นรูปทรงเด่นชัด เช่น เสื้อรัดรูป กางเกงรัดรูป; เรียกขวดที่ใส่ปลากัดเป็นต้นทําให้เห็นเล็กกว่าปรกติว่า ขวดรัดรูป, คู่กับ ขวดส่งรูปซึ่งทําให้เห็นใหญ่กว่าปรกติ.
  34. รับเหมา : ก. รับจ้างทำกิจการทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนสำเร็จตามข้อตกลง เช่น รับเหมาก่อสร้างรับเหมาทาสี, โดยปริยายหมายความว่า รับทำงาน หลายรายการหรือรายการเดียวแต่มีจำนวนมากเพียงผู้เดียว เช่น เขารับ เหมางานพิสูจน์อักษรทั้งหมด.
  35. รัว ๒, รัว ๆ : ก. ตีหรือยิงเป็นต้นเร็ว ๆ ทําให้เกิดเสียงดังถี่ ๆ เช่น รัวระฆัง รัวกลอง รัวปืนกล;อาการที่พูดเร็วจนลิ้นพันกัน ฟังไม่ได้ชัด เรียกว่า พูดลิ้นรัว. ว. ไหวถี่ ๆ เช่น ตัวสั่นรัว ๆ;ไม่ชัด, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความรัว ภาพ รัว ๆ เห็นรัว ๆ.
  36. ราชกิจจานุเบกษา : น. หนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์ โดยสํานักงานราชกิจจานุเบกษา สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สําหรับ ลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศ ของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน บริษัท.
  37. ราพณาสูร ๒ : [ราบพะนาสูน] (ปาก) ว. สูญเรียบ, สูญเสียจนหมดเกลี้ยง.
  38. ร่ายยาว : น. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายร่ายโบราณ ใช้แต่งบทเทศน์ บทสวด บทกล่อมลูก เป็นต้น ไม่จำกัดวรรคและคำ แต่ละวรรคไม่ควร น้อยกว่า ๕ คำ นิยมส่งสัมผัสส่งท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสในวรรค ถัดไปที่คำใดก็ได้สัมผัสเชื่อมกันไปเช่นนี้จนจบ.
  39. รำคาญใจ : ก. ถูกรบกวนจุกจิกจนเบื่อหน่าย เช่น น้อง ๆ มาเซ้าซี้เขาให้ พาไปเที่ยวบ่อย ๆ จนเขารำคาญใจ.
  40. รีดนาทาเน้น, รีดนาทาเร้น : ก. ขูดรีดเอาทรัพย์สินจนแทบหมดเนื้อหมดตัว; เคี่ยวเข็ญให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกินกำลังความสามารถ เช่น รีดนาทาเน้นเด็ก ให้ทำงานหนัก.
  41. รีบร้อน : ก. อาการที่รีบทำอย่างลุกลน เช่น เขารีบร้อนไปทำงานจนลืม กระเป๋าสตางค์. ว. รีบลุกลน เช่น พอได้รับโทรเลข เขาก็ไปอย่างรีบร้อน.
  42. รีบ, รีบ ๆ : ก. อาการที่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างรวดเร็ว เช่น รีบเสียจนมือสั่น รีบ ไปรีบมา รีบทำ รีบนอน รีบ ๆ หน่อย. ว. รวดเร็ว, ไม่รอช้า, เช่น เดิน รีบ ๆ หน่อยเดี๋ยวฝนจะตก กินรีบ ๆ จะติดคอ.
  43. รุก ๑ : ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตของผู้อื่น เช่น รุกที่ดิน ทำไร่รุกเข้าไปในเขตหวง ห้าม, โดยปริยายหมายถึงคุกคามให้ถอยร่นหรือต้อนให้จนมุม เช่น เขา ถูกนายรุกเสียจนตั้งตัวไม่ติด; เดินตัวหมากรุกเข้าไปกระทบตาขุนของ อีกฝ่ายหนึ่ง.
  44. เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
  45. เรื้อ : ก. ขาดการฝึกฝนเสียนาน เช่น ไม่ได้พูดภาษาฝรั่งเศสมานานเลยเรื้อไป, ห่างไปนาน เช่น เรื้อเวที เรื้อสังเวียน. น. เรียกข้าวเปลือกที่ตกอยู่แล้ว งอกขึ้นจนออกรวงอีกว่า ข้าวเรื้อ, บางทีก็เรียกว่า ข้าวเรื้อร้าง, ใช้เรียก พืชผลบางชนิดที่เกิดขึ้นในทํานองนี้ เช่น แตงโม ว่า แตงโมเรื้อ. เรื้อรัง ว. ยืดเยื้อ, นานหาย, (ใช้แก่โรค) เช่น วัณโรคเรื้อรัง แผลเรื้อรัง.
  46. แรงงานสัมพันธ์ : (กฎ) น. ความสัมพันธ์ในด้านการจ้างงานระหว่างนาย จ้างกับลูกจ้างในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการว่าจ้างทํางาน นับตั้งแต่เงื่อนไข การจ้าง สภาพการทํางานและผลประโยชน์จากการทํางานร่วมกันของ ทั้ง ๒ ฝ่าย รวมทั้งสาเหตุต่าง ๆ ที่มีผลต่อสัมพันธภาพระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้าง ตลอดจนการร่วมเจรจาต่อรองและการสร้างความเข้าใจอันดี ต่อกันเพื่อการอยู่ร่วมกันต่อไป.
  47. โรตีสายไหม : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ใช้โรตีห่อไส้ที่ทําด้วยนํ้าตาล ซึ่งปั่น จนเป็นเส้นฝอย ๆ คล้ายเส้นไหม.
  48. ล้น : ก. พ้นหรือเลยระดับที่เปี่ยมอยู่แล้วจนไหลออกมา เช่น น้ำล้นตุ่ม ข้าวสารล้นกระสอบ, เกินกำหนดจนคงอยู่ไม่ได้ เช่น คนมากจนล้น ห้องประชุม. ว. ยิ่ง เช่น งานล้น สวยล้น; (ปาก) ค่อนข้างทะลึ่ง, เกินพอดี, เช่น เด็กคนนี้พูดจาล้น.
  49. ล้นกระเพาะ : ว. ลักษณะที่กินมากจนแน่น เช่น กินจนล้นกระเพาะ. ล้นเกล้าล้นกระหม่อม น. คําเรียกพระเจ้าแผ่นดินโดยความเคารพ นับถือมาก เช่น ล้นเกล้าล้นกระหม่อมของปวงชนชาวไทย. ว. ใช้เป็น ราชาศัพท์ หมายความว่า มากล้นพ้นประมาณ, ใช้เขียนย่อว่าล้นเกล้าฯ ก็ได้ เช่น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้.
  50. ล้นตลาด : ว. มากจนเกินความต้องการของตลาด เช่น สินค้าล้นตลาด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-711

(0.0410 sec)