Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจน , then จน, เจน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจน, 711 found, display 501-550
  1. ลนลาน : ว. อาการที่กลัว ตกใจ หรือรีบร้อนเป็นต้นจนทำอะไรไม่ถูก เช่น ไฟไหม้ข้างบ้านเขาวิ่งหนีไฟลนลานเลยไม่ได้หยิบอะไรมา.
  2. ลนลาน ลุกลน ลุกลี้ลุกลน. : ว. อาการที่รีบร้อนจนไม่เป็นระเบียบ, สับสน, เช่น ทำอะไรลนไปหมด พูดลนจนฟังไม่รู้เรื่อง.
  3. ลบเลือน : ก. เสื่อมจากสภาพเดิมจนเห็นหรือจําได้แต่ราง ๆ เช่น ตัวหนังสือลบเลือน ความจําลบเลือน.
  4. ล่ม : ก. กิริยาที่ทรงตัวไม่อยู่ เอียงจนตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น เรือล่ม เกวียนล่ม, ทำให้ตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น ล่มเรือ; ได้รับความ เสียหายมากเพราะน้ำท่วมหรือพายุพัดเป็นต้น เช่น นาล่ม สวนล่ม โป๊ะล่ม; ไม่สำเร็จ, ไม่รอดฝั่ง, เช่น โครงการล่ม.
  5. ล่มจม : ก. สิ้นเนื้อประดาตัว เช่น ค้าขายขาดทุนจนล่มจม, ย่อยยับ, ฉิบหาย, เช่น บ้านเมืองล่มจม.
  6. ล้มหมอนนอนเสื่อ : ก. ป่วยจนต้องนอนรักษาตัว เช่น เขาล้มหมอน นอนเสื่อเสียหลายวัน.
  7. ล้มหายตายจาก : ก. ตายจากไปแล้ว, หายหน้าไปนานจนทำให้คิด ว่าตายไปแล้ว.
  8. ละลนละลาน : ว. ลนลาน เช่น ถูกดุเสียจนละลนละลาน.
  9. ละเลงเลือด : ว. อาการที่ต่อสู้กันจนเลือดออกมากเปรอะไปด้วยกัน เช่น ทั้ง ๒ ฝ่ายต่อสู้กันถึงขั้นละเลงเลือด.
  10. ละเลิง : ก. เหลิงจนลืมตัวเพราะลําพองหรือคึกคะนอง เช่น หลงละเลิง จนลืมอันตราย.
  11. ลัดวงจร : (ไฟฟ้า) ก. ลักษณะที่วงจรไฟฟ้าซึ่งมีกระแสไฟฟ้าไหล ผ่าน มีตัวนําซึ่งมีความต้านทานตํ่ากว่าความต้านทานของวงจร ไฟฟ้านั้นมากมาแตะพาด เป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้าจํานวนมาก ไหลผ่านตัวนําที่มาแตะพาดนั้น ทําให้เกิดความร้อนสูงมากจน เกิดไฟไหม้ได้ เรียกว่า ไฟฟ้าลัดวงจร.
  12. ลั่น : ก. มีเสียงดัง เช่น ฟ้าลั่น ไม้ลั่น กระดานลั่น, ทำให้มีเสียงดังหรือ ทำให้เกิดเสียงดัง เช่น ลงบันได บันไดลั่น บิดตัวจนกระดูกลั่น; ยิง เช่น ลั่นธนู ลั่นปืน; ปริออกแตกออกเป็นทางยาวและมีเสียงดัง เช่น จั่นลั่น แก้วใส่น้ำร้อนลั่น; โดยปริยายหมายถึงมีเสียงดังคล้าย คลึงเช่นนั้น เช่น ลือลั่น. ว. มีเสียงดังมาก เช่น หัวเราะลั่น ร้องไห้ลั่น.
  13. ลับตา : ว. มิดชิดหรือห่างไกลจนพ้นสายตา.
  14. ลับปาก, ลับฝีปาก : ก. เตรียมตัวพูดหรือโต้เถียงเต็มที่ เช่น ลับปาก ไว้คอยท่า. (ไชยเชฐ), พูดจาโต้ตอบคารมบ่อย ๆ จนคล่องแคล่ว.
  15. ลับลี้ : ว. ลึกซึ้งเหลือรู้เหลือเห็นตามธรรมดา; ที่ซ่อนเร้นอยู่ เช่น เก็บของซ่อนไว้เสียลับลี้จนตนเองหาไม่พบ, ลี้ลับ ก็ว่า.
  16. ล้า ๑ : ว. หย่อนแรงหรือกำลัง เช่น เดินขึ้นเขามาก ๆ เข่าล้า ยกของมาก จนแขนล้า สมองล้า, ย่อหย่อน เช่น จิตใจล้า.
  17. ล้างบาง : ก. ฆ่าทิ้งจนหมดบาง.
  18. ลาญทัก : (โบ) ก. กระทืบจนแหลกลาญ เช่น อสูรแลงลาญทัก ททัคนิจรนาย. (แช่งน้ำ).
  19. ลานตา. : ว. ตั้งสติไม่อยู่เพราะกลัว, มักใช้ควบกับคํา กลัว เป็น กลัวลาน เช่น เด็กถูกดุเสียจนกลัวลาน.
  20. ลำแข้ง : น. กำลังความสามารถในการทำมาหากินด้วยตนเองไม่ต้อง พึ่งใคร เช่น หากินด้วยลำแข้งของตนเองจนมั่งมี, ปลีแข้ง ก็ว่า.
  21. ล้ำลึก : ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งถึง, ลึกล้ำ ก็ว่า.
  22. ลิงโลด : ก. กระโดดโลดเต้นด้วยความตื่นเต้นดีใจ เช่น เขาแสดงความดีอก ดีใจจนลิงโลด เด็กลิงโลดเมื่อเห็นขนม พอยิงประตูฟุตบอลได้เขา ก็ลิงโลด. น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  23. ลิ้นคับปาก : ว. อาการที่พูดไม่ชัดเหมือนดังลิ้นโตจนคับปาก.
  24. ลิ้นพัน : ว. อาการที่พูดเร็วรัวจนจับความไม่ได้.
  25. ลิ้นลังกา : ว. ที่พูดรัวเร็ว; (สํา) พูดพล่อย ๆ จนไม่น่าเชื่อถือ.
  26. ลิ้นห้อย : ว. อาการที่เหน็ดเหนื่อยมากเปรียบเหมือนวิ่งมาไกล เหนื่อยจนลิ้นห้อย, อาการที่เหน็ดเหนื่อยเนื่องจากต้องทำงาน หนักมาก.
  27. ลีบ : ว. แฟบเพราะไม่เจริญเติบโตตามธรรมดาที่ควรเป็น เช่น ข้าวลีบ เมล็ดลีบ; มีเนื้อไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร เช่น ขาลีบ แขนลีบ; โดย ปริยายหมายความว่า อาการที่ห่อตัวให้เล็กลงเพราะกลัวหรือเพื่อ เข้าในที่แคบเป็นต้น เช่น กลัวจนตัวลีบ เบียดจนตัวลีบ.
  28. ลึกซึ้ง : ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งรู้ได้ เช่น ปัญหาลึกซึ้ง คิดลึกซึ้ง.
  29. ลึกลับ : ว. เร้นลับจนเหลือรู้เหลือเห็น หรือที่เข้าใจได้ยาก, ยากที่จะ สืบสาวราวเรื่องได้ หรือที่สืบสาวราวเรื่องได้ยาก, เช่น เรื่องลึกลับ คดีลึกลับ คนลึกลับ.
  30. ลึกล้ำ : ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งถึง เช่น ปัญญาลึกล้ำ จิตมนุษย์ สุดลึกล้ำ, ล้ำลึก ก็ว่า.
  31. ลื่น : ก. เคลื่อนที่ไปได้คล่องบนพื้นที่มีความฝืดน้อย เช่น เขาลื่นหกล้ม ลูกแก้วลื่นไปตามราง. ว. มีลักษณะทำให้เคลื่อนที่ไปได้คล่องบน พื้นที่มีความฝืดน้อย เช่น ถนนลื่น กระดานลื่น ทาน้ำมันเสียตัวลื่น, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือกลเม็ดแพรวพราวจน จับไม่ติด.
  32. ลืมคอน, ลืมรัง : ก. ลืมกลับบ้าน, ลืมบ้านเรือน, เช่น เที่ยวเสียจนลืมรัง.
  33. ลืมตน : ก. ขาดความระลึกถึงฐานะเดิมของตน, ลืมนึกถึงฐานะของตน ไปชั่วคราว, เช่น ได้ดีแล้วอย่าลืมตน; ลืมนึกถึงความจริงประการหนึ่ง ของโลกที่ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงอาจแปรเปลี่ยนได้ เช่น เหลิง อำนาจจนลืมตน.
  34. ลุ่ยหู : ว. อาการที่แพ้อย่างไม่มีทางสู้ (เดิมใช้แก่ปลากัด คือ ฝ่ายแพ้ ถูกกัดหูเสียจนหมด).
  35. ลูกหม้อ : น. ชื่อปลากัด (Betta splendens) ในวงศ์ Anabantidae ที่ผ่านการ คัดเลือกพันธุ์จนมีลักษณะเด่นพิเศษเพื่อการต่อสู้ ครีบต่าง ๆ สั้น กว่าปลาจีน (๒); โดยปริยายหมายถึงผู้มีวิชาชีพโดยสืบต่อเชื้อสาย กันมาหรือทํางานในสังกัดนั้น ๆ มาตั้งแต่เดิม.
  36. เลเซอร์ : (ฟิสิกส์) น. เครื่องซึ่งแปลงลําแสงที่ผ่านเข้าไปให้ออกมาเป็นลําแสง สีเดียวที่อัดรวมกันจนมีขนาดลําแสงแคบอย่างยิ่ง และมีความเข้ม สูงมาก, เรียกลําแสงที่ได้ออกมาลักษณะเช่นนี้ว่า ลําแสงเลเซอร์. (อ. laser).
  37. เล็ดลอด : ก. แอบซ่อนไป, ลอบเข้าไปหรือออกมาได้ด้วยความยาก ลําบาก แม้สถานที่นั้นจะมีผู้พิทักษ์รักษาและการป้องกัน เช่น มด เล็ดลอดเข้าไปในถุงน้ำตาลจนได้ ขโมยเล็ดลอดเข้าไปในบ้าน.
  38. เลน : น. ดินเปียกเหลวจนปั้นไม่ได้ เช่น โกยเลนลอกท้องร่อง.
  39. เล่นงาน : ก. กระทำเอา (มักใช้ในทางไม่ดี เช่นถูกดุด่าว่ากล่าว ทำร้าย เป็นต้น) เช่น ไข้ป่าเล่นงานเสียงอมแงม เจ้านายเล่นงาน ลูกน้องแต่เช้า ถูกเขาเล่นงานจนอาน.
  40. เล็บมือนาง ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นรูปยาว ราว ๒ องคุลี หัวท้ายเรียว ใส่น้ำกะทิจนชุ่ม โรยงาคั่วผสมน้ำตาล เกลือ และมะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้น.
  41. เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
  42. เลยเถิด : ว. เกินความพอดีไป เช่น ล้อเล่นกันจนเลยเถิด กลายเป็น ลามปาม.
  43. เละ : ว. เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเดิม เช่น ต้มข้าวต้มจนเละ น้อยหน่างอมจนเละ, เฟะ หรือ แฟะ ก็ว่า; เหลวเป็นปลัก เช่น ฝนตกถนนเป็นโคลนเละ; ไม่แน่น เช่น คนแก่เนื้อเละ ผ้าเนื้อเละ; โดยปริยายหมายความว่า สับสนวุ่นวายไม่เป็นระเบียบ เช่น ลูก ๆ ทำครัววางข้าวของกันไว้เละ พ่อแม่ไม่อยู่ บ้านเละหมด.
  44. เลี้ยงต้อย : ก. เลี้ยงมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยจนเติบโตแล้วก็ยกฐานะขึ้น เป็นสามีหรือภรรยาของผู้เลี้ยงเอง.
  45. เลี้ยงไม่รู้จักโต : ก. เลี้ยงจนโตควรจะพึ่งตัวเองได้แล้ว แต่ก็ยังต้อง ขอเงินและข้าวของเป็นต้นจากพ่อแม่, เลี้ยงจนโตแล้วก็ยังประจบ ออเซาะแม่เหมือนเด็ก ๆ.
  46. เลี่ยน ๒ : ว. เตียน, เกลี้ยง, เช่น อายุยังน้อยอยู่เลย หัวล้านเลี่ยนแล้ว ถูพื้นเสีย มันเลี่ยน; มีรสมันเกินไป เช่น แกงใส่กะทิข้นมากมันจนเลี่ยน. น. เรียกแพรที่เป็นมัน ไม่มีดอกหรือลวดลาย ว่า แพรเลี่ยน.
  47. เลือดขึ้นหน้า : (สำ) ก. โกรธมากจนหน้าแดง, โมโห.
  48. เลือน, เลือน ๆ : ว. มัว ๆ, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ภาพเก่าสีเลือนไปจนเห็นหน้าไม่ชัด มองเห็นเลือน ๆ, เฟือน ๆ เช่น ความจำเลือนไป. ก. บัง, กั้น, เช่น มีกําแพงแลงเลือน ต่อต้าย. (ยวนพ่าย).
  49. แล่เนื้อเถือหนัง : ก. บีบบังคับเอาทรัพย์สินจนอีกฝ่ายหนึ่งยากแค้น.
  50. โล้เล้ : (ปาก) ว. ส่งเสียงเอะอะจนฟังไม่ได้ศัพท์ เช่น พ่อค้าส่งเสียงโล้เล้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | [501-550] | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-711

(0.0696 sec)