Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจน , then จน, เจน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจน, 711 found, display 651-700
  1. หวาดเสียว : ก. รู้สึกวาบในหัวใจด้วยความกลัว, หวาดกลัวจนขนลุกขนชัน. ว. ที่น่าหวาดกลัวจนขนลุกขนชัน เช่น เรื่องหวาดเสียว.
  2. หวำ : ว. บุ๋มลงไป เช่น ผอมจนแก้มหวำ เนื้อตะโพกหวำ, ลึกไม่มาก, เป็นแอ่ง เช่น พื้นดินหวำ.
  3. หัก : ก. พับงอ, พับงอหรือทําให้พับให้งอเพื่อให้ขาดหรือหลุดออกจากกัน; เอาออกจากจํานวนที่มีอยู่ เช่น หักจํานวนเงิน; ถูกตีอย่างแรงจนงงม่อยไป (ใช้แก่ไก่); เลี้ยวอย่างกะทันหัน เช่น หักหัวเรือ หักพวงมาลัย; เรียกแต้ม ลูกเต๋า ๓ ลูก ที่ขึ้นแต้ม ๑ ๒ ๓ ตามลําดับ ถือว่าเป็นแต้มเลวที่สุด.
  4. หักแรง : ก. โหมทำงานจนเกินกำลัง เช่น อย่าหักแรงทำงานจนเกินไป จะทำ ให้ล้มป่วย.
  5. หัวโขน ๒ : น. เรียกขนมชนิดหนึ่งทําด้วยข้าวโพดคั่วคลุกนํ้าตาลที่เคี่ยว จนเหนียวว่า ข้าวโพดหัวโขน.
  6. หัวซุน : ว. อาการที่ซวนไปข้างหน้า เช่น เดินหัวซุน, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นพูดว่า ใช้เสียหัวซุน คือ ใช้เสียจนโงหัว ไม่ขึ้นหรือใช้เสียจนไม่มีเวลาว่าง.
  7. หัวนม : น. อวัยวะส่วนที่อยู่ตอนยอดของนมมนุษย์หรือสัตว์; ของที่ทําด้วย ยางเป็นต้น มีรูปคล้ายหัวนม สําหรับสวมขวดบรรจุนํ้านมหรือนํ้าเป็นต้น เพื่อให้เด็กดูด; นํ้านมที่มีครีมมากจนข้น.
  8. หัวปักหัวปำ : ว. อาการที่หัวถลำไปข้างหน้าเพราะเมาเหล้าเมารถเป็นต้น เช่น คนเมาเดินหัวปักหัวปำ, โดยปริยายหมายความว่า โงหัวไม่ขึ้น เช่น ถูกใช้ทำงานจนหัวปักหัวปำ หลงผู้หญิงจนหัวปักหัวปำ.
  9. หัวปั่น : ก. ทํางานจนยุ่งงงไป, ประสบกับเหตุยุ่งเหยิงหลาย ๆ เหตุเป็นต้น จนงง. ว. มึนงงเพราะประสบกับปัญหาต่าง ๆ ที่ทับถมเข้ามาจนแก้ไม่ตก.
  10. หัวไม่วางหางไม่เว้น : (สํา) ว. รวบหมดทั้งหัวทั้งหาง; อาการที่ทำงานอยู่ ตลอดเวลาโดยไม่มีเวลาหยุดพัก เช่น เขาทำงานหัวไม่วางหางไม่เว้น เขาถูกใช้งานจนหัวไม่วางหางไม่เว้น.
  11. หัวราน้ำ : ว. มากเกินปรกติจนขาดสติ ในความว่า เมาหัวราน้ำ เที่ยวหัวราน้ำ.
  12. หัวสูง : ว. มีรสนิยมสูงจนเกินตัว; (ปาก) เย่อหยิ่ง.
  13. หัวหด : ก. กลัวมาก, ขยาด, เช่น ได้ยินแค่ชื่อก็หัวหดแล้ว. ว. ใช้ประกอบ กับคำ กลัว ในความว่า กลัวจนหัวหด หมายความว่า กลัวมาก.
  14. หากินตัวเป็นเกลียว : (สำ) ก. ขยันทำมาหากินจนไม่มีเวลาได้พักผ่อน.
  15. หาค่าบ่มิได้, หาค่ามิได้ : ว. มีค่ามากจนประมาณไม่ได้.
  16. หืด : น. ชื่อโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากหลอดลมตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าอย่างเฉียบพลันและรุนแรงกว่าที่เกิดขึ้นในคนทั่วไป ทําให้ หลอดลมตีบแคบลงจนเกิดอาการหายใจไม่สะดวก, หืดหลอดลม ก็เรียก.
  17. หุงข้าว : ก. เอาข้าวสารและน้ำใส่หม้อตั้งบนเตาไฟให้ร้อนจนเดือดแล้ว ปลงลงเช็ดน้ำ จากนั้นยกขึ้นดงบนเตาไฟจนสุก เรียกว่า หุงเช็ดน้ำ ถ้าเคี่ยว จนน้ำแห้งไปเองโดยไม่ต้องเช็ดน้ำ เรียกว่า หุงไม่ต้องเช็ดน้ำ, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้า.
  18. หุบผาชัน : น. หุบผาลึกเกิดเพราะน้ำกัดเซาะอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นร่องลึก ลงไป เหลือหน้าผาสองด้านสูงชัน.
  19. หูดับตับไหม้ : ว. ลักษณะเสียงที่ดังมากจนกลบเสียงอื่น.
  20. หูตูบ : น. ใบหูตกห้อยลงมา (ใช้แก่หมา); โดยปริยายหมายถึงทํางานอย่าง หนักหรือถูกใช้งานอย่างหนัก เช่น ถูกใช้จนหูตูบ วิ่งจนหูตูบ.
  21. เห็ดตับเต่าขาว, เห็ดตีนแรด : น. เห็ดจั่น. [ดู จั่น๕(๒)].
  22. เหน่ง ๑ : [เหฺน่ง] ว. มีลักษณะใสเป็นมัน (มักใช้แก่ศีรษะโล้นหรือล้าน) เช่น หัวล้าน เหน่ง โกนหัวจนใสเหน่ง.
  23. เห็นช้างเท่าหมู : (สำ) ก. เห็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะตัวใหญ่กว่าหรือมีอำนาจ มากกว่าไม่น่าเกรงขามในเวลาที่โกรธมากจนลืมตัว.
  24. เห็นดำเห็นแดง : ว. ถึงที่สุดจนรู้ความจริงว่าดีหรือชั่ว ผิดหรือถูก เป็นต้น.
  25. เหนอะ, เหนอะหนะ : [เหฺนอะ-] ว. มีลักษณะเหนียวติดมือ เช่น ข้าวติดมือเหนียวเหนอะหนะ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เหงื่อไหล จนรู้สึกว่าตัวเหนียวเหนอะหนะไปหมด.
  26. เหนียง : [เหฺนียง] น. เนื้อหรือหนังที่ห้อยอยู่บริเวณคอของสัตว์บางชนิด เช่น ไก่ นก วัว, โดยปริยายหมายถึงเนื้อที่ห้อยอยู่ตรงลำคอใต้คางของคนแก่ ในความว่า แก่จนเหนียงยาน; สายป่านที่ผูกยาวห้อยเป็นบ่วงจากสายซุงว่าวปักเป้า.
  27. เหนียว : [เหฺนียว] ว. ดึงขาดยาก, ทนทานไม่หักไม่ขาดง่าย, แกะออกยาก, ไม่ยุ่ย, ไม่เปื่อย, เช่น กิ่งมะขามเหนียวมาก ด้ายหลอดเหนียวมาก มือเหนียว ตีนเหนียว; มีลักษณะคล้ายยางใช้ติดสิ่งอื่นได้ เช่น เอาแป้งมันผสมน้ำ ตั้งไฟแล้วกวนจนเหนียว, อาการที่ทำให้รู้สึกเหนอะหนะ เช่น เหงื่อ ออกจนเนื้อตัวเหนียวไปหมด; (ปาก) คงกระพัน, ทนทานต่อศาสตราวุธ, ฟัน แทง หรือยิงไม่เข้า, เช่น เขาเป็นคนหนังเหนียว; ตระหนี่ เช่น เขา เป็นคนเหนียวมาก, มักใช้ว่า ขี้เหนียว. น. ชื่อดินที่มีลักษณะเหนียวใช้ ปั้นได้ เรียกว่า ดินเหนียว; ชื่อข้าวที่มีลักษณะเหนียวมาก ใช้นึ่งเป็น อาหาร เรียกว่า ข้าวเหนียว; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียว คลุกมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลเคี่ยวและข้าวตากคั่ว เรียกว่า ขนมเหนียว.
  28. เหลิง : [เหฺลิง] ก. ลืมตัว เช่น พ่อแม่ตามใจเสียจนเหลิง มีคนชมมาก ๆ เลยชักเหลิง.
  29. เหลือหลอ : [-หฺลอ] ว. หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือ หลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธหมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจน ไม่มีอะไรเหลือหลอ.
  30. เห่อ ๒ : ก. แสดงอาการตื่นเต้นยินดีมากจนออกนอกหน้า เช่น เห่อรถ เห่อเสื้อผ้า ใหม่, ลำพองใจ เช่น เห่อยศ เห่ออำนาจ.
  31. แหง ๑ : [แหฺง] ว. อาการของหน้าที่แสดงความเก้อหรือจนปัญญา ในคำว่า หน้าแหง; ค้างอยู่ เช่น ยิงฟันแหง คอยแหง.
  32. แหมะ ๑ : [แหฺมะ] ก. นั่งหรือวางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น เดินมาจนเหนื่อยเลยแหมะ อยู่ที่โคนต้นไม้ก่อน เอาของแหมะไว้ตรงนี้อีกแล้ว. ว. อาการที่นั่งหรือ วางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น นั่งแหมะ วางของแหมะ.
  33. แหลม : [แหฺลม] ว. มีปลายเสี้ยมคม เช่น มีดปลายแหลม; ไว, ฉลาด, เช่น ปัญญา แหลม; ชํานาญจนรู้ได้ทันทีว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง เป็นต้น เช่น ตาแหลม; มีระดับสูง เช่น เสียงแหลม; จัด เช่น รสหวานแหลม. น. แผ่นดิน หรือภูเขาที่ยื่นลํ้าออกไปในทะเลหรือมหาสมุทร. ก. ล่วงลํ้า.
  34. ไหม้ ๑ : ก. ติดเชื้อไฟ, ลุก, เผา, (ใช้แก่ไฟหรือความร้อน). ว. ถูกความร้อนจน เกรียมหรือจนเป็นถ่าน เช่น ข้าวไหม้; เกรียม, ดําคลํ้า, (ใช้แก่ผิว).
  35. อกแตก : ว. ลักษณะของเมืองหรือวัดเป็นต้นซึ่งมีลํานํ้าหรือทางผ่า กลาง เรียกว่า เมืองอกแตก วัดอกแตก; อาการของคนที่เก็บความ รู้สึกอัดอั้นตันใจไว้จนทนไม่ไหว. อ. คําพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจ เป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น อุ๊ย ! อกแตก, อกจะแตก ก็ว่า.
  36. อกรวบ : น. อกไม่ผาย. ว. อาการของคนที่วิ่งจนเหนื่อยหอบแทบ จะหมดเรี่ยวแรง เรียกว่า วิ่งจนอกรวบ.
  37. อกโรย : ว. อาการของคนที่มีลักษณะผอมจนเห็นกระดูกอก.
  38. อบรม : ก. แนะนําพรํ่าสอนให้ซึมซาบเข้าไปจนติดเป็นนิสัย, แนะนํา ชี้แจงให้เข้าใจในเรื่องที่ต้องการ, ขัดเกลานิสัย, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ บ่มนิสัย เป็น อบรมบ่มนิสัย.
  39. อรรจน์ : [อัด] น. การยกย่อง, การสรรเสริญ. (ส. อรฺจน; ป. อจฺจน).
  40. อสงไขย : [อะสงไข] ว. มากจนนับไม่ถ้วน. น. ชื่อมาตรานับจํานวนใหญ่ที่สุด คือ โกฏิยกกําลัง ๒๐. (ป. อสงฺเขยฺย; ส. อสํขฺย).
  41. ออกปาก : ก. พูดขอความช่วยเหลือ เช่น ออกปากขอแรงชาวบ้าน มาช่วยงาน; พูดเชิงตําหนิ เช่น เขาใช้เงินเปลืองจนแม่ออกปาก.
  42. อะเซทิลีน : น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C2H2 ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี เป็นพิษ จุดไฟติด ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่นนําไปจุดกับ แก๊สออกซิเจนได้เปลวไฟออกซิอะเซทิลีนซึ่งร้อนจัดจนใช้เชื่อม และตัดโลหะได้ ใช้เป็นสารตั้งต้นเพื่อสังเคราะห์สารอื่นได้มากมาย. (อ. acetylene).
  43. อั้นตู้, อั้นอ้น : ว. นิ่งอึ้ง, อํ้าอึ้ง, จนปัญญา, คิดไม่ออก.
  44. อาจิณสมาจาร : [อาจินนะสะมาจาน] น. มรรยาทที่เคยประพฤติมา จนติดเป็นนิสัย. (ป. อาจิณฺณสมาจาร).
  45. อายุขัย : น. การสิ้นอายุ, ความตาย; อัตรากําหนดอายุจนสิ้นอายุ. (ป.; ส. อายุกฺษย).
  46. อาลัว : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ใช้แป้งสาลีตั้งไฟกวนกับกะทิ และน้ำตาลทราย จนสุกหยอดเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วผึ่งแดดให้ภายนอกแห้ง แต่ภายใน ยังเยิ้มเหมือนนํ้ามันตานี.
  47. อ้ำอึ้ง : ก. นิ่งอั้นไม่ยอมพูด, พูดไม่ออกด้วยจนใจหรือจนปัญญา, ไม่รู้จะพูดอะไร.
  48. อิทธิพล : น. กําลังที่ยังผลให้สําเร็จ, อํานาจซึ่งแฝงอยู่ในบุคคล หรือรัฐ ซึ่งสามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์, อํานาจ ที่สามารถบันดาลให้ผู้อื่นต้องคล้อยตามหรือทําตาม, อํานาจที่ สามารถบันดาลให้เป็นไปได้ต่าง ๆ เช่น อิทธิพลของดวงดาว, อํานาจนอกเหนือหน้าที่ เช่น ใช้อิทธิพลบังคับให้ยอม.
  49. อุคหนิมิต : น. ''อารมณ์ที่เจนใจ'' คือ เป็นวิธีแห่งผู้เพ่งกสิณชํานาญ จนรูปที่ตนเพ่งอยู่นั้นติดตาถึงแม้หลับตาเสีย รูปนั้นก็ปรากฏเป็น เครื่องหมายอยู่ รูปที่ปรากฏนี้ เรียกว่า อุคหนิมิต. (ป. อุคฺคหนิมิตฺต; ส. อุทฺคฺรห + นิมิตฺต).
  50. อุทกวิทยา : น. วิชาว่าด้วยนํ้าที่มีอยู่ในโลก เช่น ศึกษาถึงสาเหตุ การเกิด การหมุนเวียน ตลอดจนคุณลักษณะของนํ้า รวมทั้งการ นํานํ้ามาใช้ให้เป็นประโยชน์. (ป., ส. อุทก + ส. วิทฺยา).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-700] | 701-711

(0.0406 sec)