Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ผละ , then ผล, ผละ, ผลา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ผละ, 723 found, display 601-650
  1. วาม ๑, วาม ๆ : ว. เป็นแสงเรือง ๆ อย่างแสงหิ่งห้อย เช่น น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม ทรายเหลือบหางยูงงามว่าหญ้า ตาทรายยิ่งนิลวาม พรายเพริศ ลิงว่าผลลูกหว้า โดดดิ้นโดยตาม. (โลกนิติ).
  2. วินาศภัย : [วินาดสะไพ] (กฎ) น. ความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาที่ พึงประมาณเป็นเงินได้ และหมายความรวมถึงความสูญเสียในสิทธิ ผลประโยชน์หรือรายได้ด้วย.
  3. วิบาก : น. ผล, ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วอันทําไว้แต่อดีต, เช่น กุศลวิบาก กรรมวิบาก. ว. ลำบาก เช่น ทางวิบาก วิ่งวิบาก. (ป., ส. วิปาก).
  4. วิภัชพยากรณ์ : น. การพยากรณ์หรืออธิบาย โดยจําแนกธรรมแต่ละ หัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น ซึ่งคํานึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.
  5. วิภัชวาที : น. ผู้จําแนกธรรมแต่ละหัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น โดยคํานึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.
  6. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  7. เวรกรรม : [เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนใน อดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่, กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.
  8. ศาสนสมบัติกลาง : น. ทรัพย์สินของพระศาสนาโดยส่วนรวม ส่วนใหญ่ได้แก่ ที่ดิน อาคาร และดอกผลที่เกิดขึ้นจากที่ดินและ อาคารนั้น ๆ รวมทั้งที่ดินวัดร้างทั่วประเทศที่ทางการได้ประกาศ ยุบเลิกวัดแล้ว.
  9. ศิลปวัตถุ : น. วัตถุอันเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่ ประกอบด้วยศิลปลักษณะ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น เครื่องลายคราม เครื่องถม; (กฎ) น. สิ่งที่ทำด้วยฝีมืออย่างประณีตและมีคุณค่าสูง ในทางศิลปะ.
  10. ศิลปหัตถกรรม : น. ศิลปวัตถุที่เป็นผลงานประเภทศิลปะประยุกต์ มีจุดประสงค์และความต้องการในด้านประโยชน์ใช้สอย เช่น งานโลหะ งานถักทอ งานเย็บปักถักร้อย.
  11. ศิลปิน, ศิลปี : [สินละ] น. ผู้มีความสามารถแสดงออกซึ่งคุณสมบัติ ทางศิลปะในด้านจิตรกรรมประติมากรรมเป็นต้น และมีผลงานเป็น ที่ยอมรับนับถือจากสถาบันทางศิลปะแห่งชาติ.
  12. เศษส่วน : น. จํานวน ๒ จํานวน หรือนิพจน์ ๒ นิพจน์ที่เขียน ในรูปของผลหารโดยไม่ต้องหารต่อไปอีก เช่น (รูปภาพ) หรือ (รูปภาพ) จำนวนบนเรียกว่า เศษ จำนวนล่างเรียกว่า ส่วน. (อ. fraction).
  13. สด : ว. ใหม่ ใช้แก่ลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาหรือผลิตขึ้นใหม่ ๆ ยัง ไม่ทันเสื่อมหรือเสียคุณภาพของสิ่งนั้น คือ ไม่เหี่ยวแห้ง ซีดจาง และอาจบริโภคหรือใช้ได้ดีในสภาพของขณะนั้น เช่น ไข่สด กุ้งสด ปลาสด, มีอยู่หรือได้มาใหม่ ๆ เช่น ข่าวสด, ดิบ คือ ยังไม่สุกด้วยไฟ ไม่แห้งหรือหมักดองเป็นต้น เช่น น้ำพริกผักสด ผลไม้สด น้ำตาลสด เบียร์สด ขนมจีนแป้งสด.
  14. สเปกตรัม : (ฟิสิกส์) น. ผลที่ได้จากการที่การแผ่รังสีของแม่เหล็กไฟฟ้าถูกแยก ออกเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ตามขนาดของช่วงคลื่นหรือความถี่ ขององค์ประกอบนั้น ๆ. (อ. spectrum).
  15. ส้ม ๑ : น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Citrus วงศ์ Rutaceae ใบ ดอก และผิวผลมีต่อมนํ้ามัน กลิ่นฉุน ผลรสเปรี้ยว หรือหวาน กินได้ เช่น ส้มซ่า (C. aurantium L.) ส้มโอ [C. maxima (Burm.) Merr.] ส้มแก้ว (C. nobilis Lour.) ส้มจุก ส้มเขียวหวาน ส้มจันทบูร (C. reticulata Blanco) ส้มเกลี้ยง ส้มเช้ง (C. sinensis Osbeck), ถ้าผลไม้จําพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคํา ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด. ว. สีเหลือง เจือแดง เรียกว่า สีส้ม.
  16. ส้มตำ : น. ของกินชนิดหนึ่ง เอาผลไม้มีมะละกอเป็นต้นมาตําประสม กับเครื่องปรุงมีกระเทียม พริก มะนาว กุ้งแห้ง เป็นต้น มีรสเปรี้ยว, บางท้องถิ่นเรียก ตําส้ม.
  17. สมน้ำหน้า : ว. คําแดกดันหรือซํ้าเติมว่าควรได้รับผลร้ายเช่นนั้น เช่น ขี้เกียจท่องหนังสือ สอบตกก็สมน้ำหน้า, (ปาก) สม ก็ว่า เช่น สมแล้ว ที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
  18. สมพัตสร : [พัดสอน] น. อากรสวนใหญ่เก็บจากผลของไม้ยืนต้นเป็นรายปี. (ส. สํวตฺสร ว่า ปี).
  19. สมมติฐาน, สมมุติฐาน : [สมมดติ, สมมุดติ] น. ข้อคิดเห็นหรือถ้อย แถลงที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย. (อ. hypothesis).
  20. ส้มมือ : น. ชื่อส้มชนิด Citrus medica L. var. sarcodactylis Swing. ในวงศ์ Rutaceae ส่วนล่างของผลมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ ใช้ทํายาดมได้.
  21. สมเสร็จ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Tapirus indicus ในวงศ์ Tapiridae เป็นสัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ ลําตัวตอนกลางสีขาว ส่วนหัวและท้ายสีดํา ขอบหูสีขาว จมูกและริมฝีปากบนยื่นยาวออกมาคล้ายงวงยืดหดเข้า ออกได้ หางสั้น ลูกเกิดใหม่ตัวมีลายสีขาวตามยาว กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, ผสมเสร็จ ก็เรียก.
  22. สมาคมการค้า : (กฎ) น. สถาบันที่บุคคลหลายคนซึ่งเป็นผู้ประกอบ วิสาหกิจจัดตั้งขึ้นเพื่อทำการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจอันมิใช่ เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันกัน.
  23. สมาบัติ : [สะมาบัด] น. ภาวะที่จิตสงบประณีต, คุณวิเศษที่เกิดจากการที่จิต เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่, การบรรลุคุณวิเศษชั้นสูงด้วยอำนาจของการ เข้าสมาธิ, มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ, บางทีใช้เข้าคู่ กับคำ ฌาน เป็น ฌานสมาบัติ มี ๘ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔. (ป., ส. สมาปตฺติ).
  24. สมุดรายงาน : น. สมุดบันทึกผลการเรียนและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของนักเรียน, เดิมเรียกว่า สมุดพก.
  25. สละ ๒ : [สะหฺละ] น. ชื่อปาล์มชนิด Salacca edulis Reinw. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอคล้ายระกํา ผลสีคลํ้า ไม่มีหนาม เนื้อสีขาวหนาล่อน รสหวาน (เทียบ ม. salak); ชื่อระกําพันธุ์หนึ่ง ส่วนมากผลมีเมล็ดเดียว.
  26. สลากภัต : [สะหฺลากกะพัด] น. อาหารแห้งหรือผลไม้ถวายพระโดย วิธีจับฉลาก เช่น สลากภัตข้าวสาร สลากภัตทุเรียน. (ป. สลากภตฺต).
  27. สลิด ๑ : [สะหฺลิด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Telosma minor Craib ในวงศ์ Asclepiadaceae ใบมนป้อม ผลเรียวยาว ดอกสีเขียวอมเหลือง กลิ่นหอม กินได้, ขจร ก็เรียก.
  28. สวก ๑ : ว. มีเนื้อไม่แน่นและไม่ซุย (ใช้แก่ลักษณะหัวเผือกหัวมันและผลไม้ บางชนิด).
  29. สหภาพแรงงาน : (กฎ) น. องค์การของลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหา และคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความ สัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกัน เช่น สหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศไทย สหภาพแรงงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต.
  30. สอน : ก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจ โดยวิธีบอกหรือทําให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอน แม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจํา; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น.
  31. สังสิทธิ : [สิดทิ] น. ความสําเร็จ, ความเรียบร้อย, ความดีเลิศ; ผลสุดท้าย. (ส. สํสิทฺธิ).
  32. สัณฐาน : น. รูปทรง, ลักษณะ, เช่น ป้อมปราการมีสัณฐานแปดเหลี่ยม โลกมี สัณฐานกลมอย่างผลส้ม. (ป.; ส. สํสฺถาน).
  33. สัตยาบัน : น. (กฎ) การยืนยันรับรองความตกลงระหว่างประเทศที่ได้ กระทําขึ้นไว้; การรับรองนิติกรรมที่เป็นโมฆียะอันเป็นผลให้นิติกรรม นั้นสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก; (กลอน) การอ้างความสัตย์. (ส. สตฺย + อาปนฺน).
  34. สับปะรด : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ananas comosus Merr. ในวงศ์ Bromeliaceae ไม่มีลําต้นปรากฏบนพื้นดิน ใบเป็นกาบยาวให้ใยใช้ทําสิ่งทอ ขอบใบ มีหนาม ผลมีตาโดยรอบ กินได้รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ; เรียกใยของ พรรณไม้บางชนิดที่มีลักษณะอย่างใยสับปะรด ใช้ทำหมวกเป็นต้นว่า ไหมสับปะรด.
  35. สัมมนา : น. การประชุมแบบหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และหาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผลสรุปที่ได้ถือว่าเป็นเพียงข้อเสนอแนะ ผู้เกี่ยวข้องจะนําไปปฏิบัติ ตามหรือไม่ก็ได้ เช่น สัมมนาการศึกษาประชาบาล. (อ. seminar).
  36. สัมฤทธิ, สัมฤทธิ์ : [สําริดทิ, สําริด] น. ความสําเร็จ ในคําว่า สัมฤทธิผล; โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์ หรือ ทองบรอนซ์ ก็เรียก, โบราณเขียนว่าสําริด. (ส. สมฺฤทฺธิ; ป. สมิทฺธิ).
  37. สาเก : น. ชื่อเรียกขนุนสําปะลอพันธุ์ที่ผลไม่มีเมล็ด. (ดู ขนุนสําปะลอ ที่ ขนุน๑). (เทียบทมิฬ sakki ว่า ขนุน).
  38. หก ๒ : น. ชื่อนกปากขอขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Psittacidae หัวโต ปากหนา ใหญ่ ตัวสีเขียว หางสั้น อยู่รวมกันเป็นฝูง ทํารังในโพรงไม้ มักเกาะห้อย หัวลง กินผลไม้และเมล็ดพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ หกใหญ่ (Psittinus cyanurus) หกเล็กปากแดง (Loriculus vernalis) และหกเล็ก ปากดํา (L. galgulus).
  39. หงอนไก่ : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Celosia argentea L. var. cristata Kuntze ในวงศ์ Amaranthaceae ดอกสีแดงลักษณะคล้ายหงอนไก่. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด Heritiera littoralis Ait. ในวงศ์ Sterculiaceae ผลเป็นสัน. (๓) ชื่อไม้พุ่ม รอเลื้อยชนิด Cnestis palala Merr. ในวงศ์ Connaraceae ดอกสีแดง ลักษณะคล้ายหงอนไก่, หงอนไก่ป่า ก็เรียก.
  40. หงายท้อง, หงายหลัง : (สำ) ก. ผิดไปจากที่คาดหวังไว้อย่างมาก เช่น มั่นใจ ว่าจะต้องสอบได้แน่ แต่พอไปดูประกาศผลการสอบ ไม่พบชื่อตัวเอง ก็หงายท้องกลับมา.
  41. หญ้าใต้ใบ : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Phyllanthus วงศ์ Euphorbiaceae คือ ชนิด P. amarus Schum. et Thonn. ทั้งต้นรสขม ใบมีนวล ผลเกลี้ยง และชนิด P. urinaria L. ใบอ่อนสีแดง ๆ ผลขรุขระทั้ง ๒ ชนิด ใช้ทํายาได้.
  42. หนัก : ว. มีน้ำหนักมาก, ตรงข้ามกับ เบา; แรง เช่น ฝนตกหนัก, รุนแรง เช่น รบหนัก ไข้หนัก, มาก เช่น บุญหนักศักดิ์ใหญ่; ที่ให้ผลช้ากว่าปรกติ เช่น ทุเรียนหนัก ข้าวหนัก.
  43. หนังกลางวัน ๒ : น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลยาว ๆ.
  44. หนามแดง : น. (๑) ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Maytenus marcanii Ding Hou ในวงศ์ Celastraceae ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Carissa carandas L. ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาว หลอดดอกสีชมพู กลิ่นหอม ผลสีขาว สุกสีแดง คล้ำ กินได้, มะนาวไม่รู้โห่ ก็เรียก.
  45. หน้าหงาย : ว. อาการที่หน้าเงยแหงนขึ้น เช่น เขาถูกชกหน้าหงาย; โดย ปริยายหมายถึงอาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า เช่น ตั้งใจจะไป ขอยืมเงินเขา เขาบอกว่าหนี้เก่าก็ไม่ได้ชำระยังจะมาขอยืมอีก เลยต้อง หน้าหงายกลับมา; ที่ผิดไปจากที่คาดหวังไว้มาก เช่น เขาคุยว่าสอบเข้า มหาวิทยาลัยได้แน่ ๆ แต่พอประกาศผลแล้วไม่ได้ ก็หน้าหงายกลับมา.
  46. หนำเลี้ยบ : น. ชื่อผลของไม้ต้นชนิด Canarium pimela Leenh. ในวงศ์ Burseraceae ผลสุกสีม่วงดำ นำมาดองเค็มใช้เป็นอาหาร. (จ.).
  47. หม่อน : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Morus alba L. ในวงศ์ Moraceae ใช้ใบสําหรับเลี้ยงตัว ไหม ผลสุกกินได้.
  48. หมาก ๑ : น. ชื่อเรียกปาล์มหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Palmae โดยเฉพาะชนิด Areca catechu L. ผลมีรสฝาด ใช้เคี้ยวกินกับปูน พลู ซึ่งรวมเรียกว่า กินหมาก และใช้ฟอกหนัง, ผลที่ยังไม่แก่เรียก หมากดิบ, ผลที่แก่จัด เรียก หมากสง, เนื้อหมากที่ฝานบาง ๆ ตากแห้ง ลักษณะคล้ายอีแปะ เรียก หมากอีแปะ, ผลแก่จัดที่เก็บไว้ทั้งเปลือกเพื่อไว้กินนาน ๆ เรียก หมากยับ.
  49. หมาก ๒ : น. ผลไม้ เช่น หมากขาม แต่เสียงมักกร่อนเป็น มะ เช่น มะขาม.
  50. หมากกรอก : น. ผลหมากสงทั้งเปลือกที่ตากแดดให้แห้งสนิทจนเมื่อเขย่า เนื้อหมากที่อยู่ข้างในจะกลิ้งไปมาได้ จึงผ่าเอาเนื้อข้างในออกมาเก็บไว้กิน, หมากเม็ด ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-723

(0.0648 sec)