Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ละ , then , ละ, ลา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ละ, 745 found, display 201-250
  1. เซาะ : ก. ทําให้กร่อนหรือร่อยหรอเข้าไปทีละน้อย เช่น นํ้าเซาะตลิ่ง เซาะรูให้กว้าง. น. ซอกเขาเล็ก ๆ ที่นํ้าเซาะให้เป็นทางลงมา.
  2. แซ็กคาริน : (วิทยา) น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H4SO2•CONH ลักษณะเป็น ผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้เล็กน้อย มีความหวานประมาณ ๕๕๐ เท่า ของนํ้าตาลทราย ไม่มีคุณค่าทางอาหาร ในทางแพทย์ใช้แทน นํ้าตาลทรายสําหรับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานและคนที่อ้วนมาก. (อ. saccharin).
  3. แซ็กคารินโซเดียม : น. แซ็กคารินซึ่งผลิตออกในรูปสารประกอบ โซเดียม ละลายนํ้าได้ดีมีความหวานประมาณ ๔๐๐ เท่าของ นํ้าตาลทราย ไม่มีคุณค่าทางอาหาร ใช้ได้อย่างแซ็กคาริน. (อ. saccharin sodium).
  4. โซดาแผดเผา : น. สารประกอบชนิดหนึ่ง ชื่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นของแข็งสีขาว ดูดความชื้นดีมาก ละลายนํ้าได้ดี ใช้ประโยชน์ ในอุตสาหกรรมทําสบู่ ไหมเรยอง, โซดาไฟ หรือ คอสติกโซดา ก็เรียก. (อ. caustic soda).
  5. โซเดียมคาร์บอเนต : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง มีสูตร Na2CO3 เมื่อเป็นผลึกมีสูตร Na2CO3•10H2O ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทําแก้ว สบู่ กระดาษ ทําลายความกระด้างของนํ้า. (อ. sodium carbonate).
  6. โซเดียมซัลเฟต : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง มีสูตร Na2SO4 เมื่อเป็นผลึก มีสูตร Na2SO4•10H2O ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ มีสมบัติ เป็นยาถ่าย ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทําสบู่ ผงซักฟอก สีย้อม แก้ว กระดาษ. (อ. sodium sulphate).
  7. โซเดียมไซคลาเมต : น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H11NHSO3Na ลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายนํ้าได้ มีรสหวานกว่านํ้าตาลทรายมาก ใช้เป็นตัวให้ความหวานในเครื่องดื่ม มีหลักฐานว่าสารนี้ก่อให้เกิด โรคมะเร็งได้. (อ. sodium cyclamate).
  8. โซเดียมไฮโดรเจนกลูทาเมต : น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร HOOC•(CH2)2•CH(NH2)COONa ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ ใช้ประโยชน์ชูรสอาหาร มักเรียกกันว่า ผงชูรส. (อ. sodium hydrogen glutamate).
  9. โซเดียมไฮโดรเจนซัลเฟต : น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร NaHSO4 ลักษณะเป็นของแข็ง ละลายนํ้าได้ใช้ประโยชน์เป็นสารทํา ความสะอาดแผ่นเหล็กก่อนที่จะฉาบด้วยดีบุก. (อ. sodium hydrogen sulphate).
  10. ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
  11. ดก : ว. มาก, มากกว่าปรกติ, (มักใช้แก่สิ่งที่เกิดมีขึ้นตามธรรมชาติ) เช่น ต้นไม้ ออกดอกออกผลมากกว่าปรกติ เรียกว่า ดอกดก ผลดก, ไก่ที่ไข่มากกว่า ปรกติเรียกว่า ไข่ดก, หญิงที่มีลูกถี่และมากกว่าปรกติ เรียกว่า ลูกดก, คน ที่มีผมมากกว่าปรกติ เรียกว่า ผมดก; โดยปริยายใช้เป็นคําพูดประชด เช่น พูดว่าได้ดกละ หมายความว่า ไม่มีหวังที่จะได้, มีดกละ หมายความว่า ไม่มี.
  12. ดล ๑, ดล- : [ดน, ดนละ-] น. พื้น, ชั้น, เช่น พสุธาดล. (ป., ส. ตล).
  13. ดั้วเดี้ย : ว. เคลื่อนไปทีละน้อย ๆ เช่น หนอนไต่ดั้วเดี้ย.
  14. ด่างทับทิม : น. ของสิ่งหนึ่งเป็นเกล็ด สีม่วงแก่ เมื่อละลายนํ้าจะออกเป็นสี ทับทิม; (วิทยา) เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อโพแทสเซียมเพอร์แมงกาเนต มีสูตร KMnO4 เป็นของแข็ง ลักษณะเป็นผลึกสีม่วงแก่ ใช้ประโยชน์เป็น สารฆ่าเชื้อโรค ใช้ทํายาดับกลิ่น.
  15. ดีเกลือฝรั่ง : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อแมกนีเซียมซัลเฟต มีสูตร MgSO4•7H2O ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ มีสมบัติเป็นยาระบาย. (อ. epsom salts).
  16. ดุลพินิจ : [ดุนละ-] น. การวินิจฉัยที่เห็นสมควร, ดุลยพินิจ ก็ใช้.
  17. ดุลภาค : [ดุนละ-] น. ภาวะที่เสมอกัน.
  18. ดุลย- : [ดุนละยะ-, ดุนยะ-] ว. เท่ากัน, เสมอกัน, ทัดเทียมกัน. (ป., ส.).
  19. ดู : ก. ใช้สายตาเพื่อให้เห็น เช่น ดูภาพ ดูละคร, ระวังรักษา เช่น ดูบ้านให้ด้วย ไม่มีคนดูเด็ก, พินิจพิจารณา เช่น ดูให้ดี, ศึกษาเล่าเรียน เช่น ดูหนังสือ, เห็นจะ เช่น ดูจะเกินไปละ, ทํานาย เช่น ดูโชคชะตาราศี, ใช้ประกอบกริยา เพื่อให้รู้ให้เห็นประจักษ์แจ้ง เช่น คิดดูให้ดี ลองกินดู.
  20. เดี่ยว : ว. แต่ลําพังตัวโดยไม่มีใครหรืออะไรร่วมด้วย เช่น มาเดี่ยว ทําเดี่ยว ไล่เดี่ยว เทียมเดี่ยว, เรียกการเล่นกีฬาบางชนิดซึ่งมีผู้เล่นข้างละคน เช่น เทนนิส ประเภทเดี่ยว แบดมินตันประเภทเดี่ยว. ก. แสดงฝีมือการเล่นดนตรีคนเดียว เช่น เดี่ยวปี่ เดี่ยวซอ เดี่ยวระนาด. น. ส่วนสูงของเรือนตั้งแต่พื้นถึงเพดาน, โดยปริยายหมายถึงบางสิ่งที่มีลักษณะสูงเช่นนั้น.
  21. ตงิด : [ตะหฺงิด] ว. เล็กน้อย, ทีละน้อย ๆ, (ใช้แก่อาการเกี่ยวกับความรู้สึก) เช่น โกรธตงิด ๆ หิวตงิด ๆ.
  22. ตบแผละ : [-แผฺละ] น. การเล่นชนิดหนึ่ง มีคนเล่น ๒ คน หันหน้าเข้าหากัน แต่ละฝ่ายตบเข่าและตบมือของตัวเองก่อน จึงใช้มือซ้ายตบมือซ้ายและ มือขวาตบมือขวาของอีกฝ่ายหนึ่งสลับกันกับตบมือและตบเข่า.
  23. ตรละ : [ตะระละ] (แบบ) น. ข้าวต้ม. (ป., ส.).
  24. ตรละ : [ตะระละ] (แบบ) น. พลอยเม็ดกลางของเครื่องสร้อยคอ, สร้อยคอ; เพชร, เหล็ก; พื้นล่าง, พื้นราบ; ส่วนลึก. ว. กลับกลอก; หวั่นไหว, สั่น. (ป., ส.).
  25. ตรีกาฬพิษ : [-กาละพิด, -กานละพิด] น. พิษกาฬ ๓ อย่าง คือ กระชาย รากข่า รากกะเพรา.
  26. ตะกละ, ตะกลาม : [-กฺละ, -กฺลาม] ว. มักกิน, กินไม่เลือก, เห็นแก่กิน, มักใช้รวมกันว่า ตะกละตะกลาม ก็มี, จะกละจะกลาม ก็ว่า, โดยปริยายหมายความว่า อยากได้มาก ๆ.
  27. ตัณฑุละ : [ตันดุละ] (แบบ) น. ข้าวสาร. (ป., ส.).
  28. ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
  29. ถล, ถละ : [ถน, ถะละ] (แบบ) น. ที่บก, ที่ดอน. (ป.).
  30. ถอดเขี้ยวถอดเล็บ : (สํา) ก. ละพยศ, ละความดุหรือร้ายกาจ, เลิก แสดงฤทธิ์แสดงอํานาจอีกต่อไป.
  31. ถัณฑิล, ถัณฑิลญ : [ถันทิน, ถันทินละ–] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ป.).
  32. ถั่ว ๒ : น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ย โดยมากใช้เบี้ยจั่น เมล็ดมะขาม หรือ เมล็ดละหุ่งเป็นต้น แล้วแจงออกเป็นคะแนน ทีละ ๔ ครั้งสุดท้ายถ้าเหลือ ๑ เรียกว่า ออกหน่วย ถ้าเหลือเศษ ๒, ๓ เรียกว่า ออก ๒ ออก ๓ ถ้าเหลือ ๔ เรียกว่า ออกครบ มีประตู แทง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ ส่วนวิธีแทงได้นำวิธี แทงโปมาใช้ มี เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และ อา, โปกํา ก็เรียก.
  33. ถ่านโค้ก : น. กากที่เหลือหลังจากนําถ่านหินไปกลั่นทําลายแล้ว ประกอบด้วยคาร์บอนประมาณร้อยละ ๘๐–๙๐ ใช้ประโยชน์ ในการถลุงแร่ เช่น ในอุตสาหกรรมถลุงเหล็กเป็นต้น. (อ. coke).
  34. ถ้ำมอง : น. ตู้หรือหีบที่มีแว่นขยายสําหรับดูภาพยนตร์สั้น ๆ หรือ รูปต่าง ๆ ทีละคน. (ปาก) ก. แอบดู.
  35. ถูล- : [ถูละ-] (แบบ) ว. อ้วน, พี; หยาบ. (ป.; ส. สฺถูล).
  36. ทยอย ๑ : [ทะ-] ว. หย่อย ๆ กันไปไม่ขาดระยะ, อาการที่ไปหรือมาทีละน้อย.
  37. ทลอึง : [ทนละ-] (กลอน) ก. ตั้งมั่น, มั่นคง.
  38. ทอนซิล : น. ปุ่มเนื้อเยื่อนํ้าเหลือง อยู่ในบริเวณลําคอข้างละปุ่ม มีหน้าที่ช่วย ป้องกันการแผ่กระจายของแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายผ่านทางลําคอ. (อ. tonsil).
  39. ทะนะ, ทะนา : (โบ; กลอน) ว. คําละมาจากคําว่า เทอญนะ เทอญนา เถิดนะ หรือ เถิดนา, มักใช้ในความชักชวน เช่น ไปทะนะ.
  40. ทับทิม ๑ : น. พลอยสีแดงชนิดหนึ่ง; เรียกสิ่งที่เป็นเกล็ดสีม่วงแก่ เมื่อละลายนํ้า จะออกเป็นสีทับทิม ว่า ด่างทับทิม; เรียกหินที่มีสีคล้ายทับทิมใช้รอง แกนในนาฬิกาข้อมือเป็นต้นว่า ทับทิม; เรียกขนมชนิดหนึ่งทําด้วย แป้งมันใส่สีแดงเหมือนเม็ดทับทิมต้มกินกับนํ้าเชื่อมหรือนํ้าหวานว่า ทับทิมลอยแก้ว, ถ้าทําด้วยแห้วหรือมันแกวหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ คลุกแป้ง แล้วทําด้วยกรรมวิธีเดียวกัน เรียกว่า ทับทิมกรอบ. ว. สีแดงชนิดหนึ่ง คล้ายทับทิม เรียกว่า สีทับทิม. (ไทยเดิม ทับทิม ว่า แสงแดง). (ส. ทาฑิม).
  41. ทิ้ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ, ถ้าด้วย อาการขว้าง เรียกว่า ขว้างทิ้ง, ถ้าด้วยอาการโยน เรียกว่า โยนทิ้ง, ถ้าด้วยอาการเท เรียกว่า เททิ้ง เป็นต้น; สละ เช่น ทิ้งทาน, ละไป เช่น ทิ้งบ้าน ทิ้งเรือน, โยนหรือเทเสียโดยไม่ต้องการ เช่น ทิ้งขยะ, ปล่อยลง เช่น ทิ้งระเบิด, ปล่อยไว้ เช่น ทิ้งไว้ให้เย็น, เหลือไว้ เช่น ทิ้งเงินไว้ให้ใช้, เว้น เช่น ทิ้งระยะ ทิ้งช่วง; เรียกแพรหรือผ้าเนื้อ หนัก ๆ ลื่น ๆ ที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลงว่า ผ้าเนื้อทิ้ง หรือ ผ้าทิ้งตัว; โดยปริยายหมายความว่าปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกัน เสียไกล พูดทิ้งไว้ที.
  42. ที ๑ : น. ครั้ง, คราว, หน, เช่น ทีละน้อย ทีละคน; ใช้เป็นลักษณนามบอก จํานวนครั้ง เช่น เฆี่ยน ๓ ที นาฬิกาตี ๕ ที.
  43. ทุกนิบาต : น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาที่กําหนดด้วยธรรม หรือคาถาที่แบ่งหมวดอย่างละ ๒. (ป.).
  44. ทุนเรือนหุ้น : (กฎ) น. ทุนจดทะเบียนของบริษัทซึ่งแบ่งออกเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน. (อ. capital stock).
  45. ทุพพลภาพ : [ทุบพนละพาบ] ว. หย่อนกําลังความสามารถที่จะ ประกอบการงานตามปรกติได้.
  46. แทะ : ก. เอาหน้าฟันกัดให้หลุดออกมาทีละน้อย ๆ, เล็มกินทีละน้อย ๆ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกไม่ทํามาหากิน มาคอยแทะเงินพ่อแม่.
  47. โทธก : [-ทก] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ เป็น ภ คณะล้วน (ตามแบบว่า โทธกมิจฺฉติ เจ ภภภาคา) ตัวอย่างว่า มิตรคณาทุรพาละ ทุพลมี นามก็กระลี หินะชาติ ประกาศภิปราย. (ชุมนุมตํารากลอน).
  48. โทหฬะ : [-หะละ] (แบบ) น. ความปรารถนาของหญิงตั้งครรภ์, ความแพ้ท้อง. (ป.; ส. โทหล, โทหท).
  49. ธงชาติ ๒, ธงชาติไทย : (กฎ) น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและ ชาติไทย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบ สีนํ้าเงินแก่ กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีนํ้าเงินแก่ออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น แถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น แถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ''ธงไตรรงค์''.
  50. ธรรมจาคะ : น. การละธรรม, การละเมิดศาสนา, การทิ้งศาสนา. (ส. ธรฺม + ป. จาค).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-745

(0.0783 sec)