Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ละ , then , ละ, ลา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ละ, 745 found, display 551-600
  1. ลาช, ลาชะ, ลาชา : [ลาด, ลาชะ] น. ข้าวตอก เช่น อนนเรืองรองด้วยจตุรพรรณมาลา ลาชาชาติห้าสิ่ง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
  2. ล่ำลา : ก. อําลา, ลา, ร่ำลา ก็ว่า.
  3. เล่า : ก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คําใช้ประกอบ ข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.
  4. เลี้ยงลา : ก. เลี้ยงอาหารเป็นการอำลาของผู้ที่จะจากไป เช่น นายแดง เลี้ยงลาเพื่อน ๆ ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่อื่น.
  5. สั่งลา : ก. บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น เขาสั่งลาลูกเมียก่อน เดินทางไปต่างประเทศ เขาตายโดยไม่ได้สั่งลา.
  6. สัมผัปลาป, สัมผัปลาปะ : [สําผับปะลาบ, ปะลาปะ] น. คําพูดเพ้อเจ้อ. (ป. สมฺผปฺปลาป; ส. สมฺปฺรลาป).
  7. สัมพหุลา : (ปาก) ว. รวมปะปนกันหลาย ๆ อย่าง เช่น งานสัมพหุลาเต็มไปหมด ทำไม่ไหวหรอก, สรรพหุลา ก็ว่า. (ป.).
  8. กมลาสน์ : [กะมะลาด] (แบบ) น. ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง คือ พระพรหม. (ป., ส. กมล = บัว + อาสน = ที่นั่ง).
  9. ตระลาการ : [ตฺระ-] (โบ) น. ตําแหน่งพนักงานศาลผู้มีหน้าที่ชําระเอาความเท็จจริง.
  10. ทุตวิลัมพิตมาลา : [ทุตะวิลำพิตะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น ภ ภ ร (ตามแบบว่า ทุตวิลมฺพิตมาห นภา ภรา) ตัวอย่างว่า ชินกถาคณนา วนิดาประมาณ พฤศติเพธพิสดาร อดิเรกภิปราย.
  11. บำโบ, บำโบย, บำโบล : ก. ลูบไล้. (อนันตวิภาค).
  12. ปัจจุสกาล, ปัจโจสกาล : [ปัดจุดสะกาน, ปัดโจสะ-] น. เวลาเช้ามืด. (ป.).
  13. ปุลลิงค์, ปุลลึงค์ : ดู ปุงลิงค์, ปุงลึงค์.
  14. เปิดหมวกลา : ก. เลิกรา, ไม่ทําต่อไปอีกแล้ว.
  15. พาล ๒, พาลา : (กลอน) ว. อ่อน, เด็ก, รุ่น. (ส., ป.); ชั่วร้าย, เกเร, เกะกะ, เช่น คนพาล. ก. หาเรื่องทำให้วุ่นวาย, หาเรื่องทำให้เดือดร้อน, เช่น พาลหาเรื่อง พาลหาเหตุ. น. คนชั่วร้าย, คนเกเร, เช่น คบคนพาล พาลพาไปหาผิด. (ป.).
  16. มล่าวเมลา : [มะล่าวมะเลา] (กลอน) ว. งดงาม, สวย.
  17. ล่า : ก. ถอย (ใช้แก่คนจํานวนมาก ๆ) เช่น ล่าทัพ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น ล่าถอย เช่น กองทัพต้องล่าถอย; เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือ เพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมาย ความว่าเที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น ล่าผู้หญิง; มาช้ากว่าปรกติ เช่น ฝนล่า ทุเรียนล่า. ว. ช้ากว่าเวลาที่ กําหนด เช่น มาล่า; แตกพ่ายถอยหนีอย่างไม่มีระเบียบ เช่น กองทัพ แตกล่า.
  18. ลาเพ, ลาเพา : (กลอน) ก. เล้าโลม, โลม.
  19. ลินลา, ลิ้นลา : ก. ไปอย่างนวยนาด. (เพี้ยนมาจาก ป., ส. ลีลา).
  20. ลี่ ๑ : น. ชื่อมดขนาดยาว ๕–๖ มิลลิเมตร อยู่กันเป็นฝูงตามต้นไม้ ทํารัง ด้วยดินและวัสดุเศษไม้ตามซอกกิ่งไม้ ลักษณะคล้ายรังปลวก เวลาเดินจะยกท้องขึ้นเกือบตั้งฉากกับลําตัวคล้ายกับมีหางชี้ ที่พบ ได้บ่อยอยู่ในสกุล Crematogaster วงศ์ Formicidae คือ ชนิด C. dohrni หัวและอกสีส้ม ท้องสีดํา, รี่ หรือ ตูดงอน ก็เรียก.
  21. ลี่ ๒ : น. เครื่องดักปลาชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่เป็นซี่ ๆ ถักติดกันเป็นผืน สำหรับปักล้อมดักปลาที่ทางน้ำไหล.
  22. ลี่ ๓ : ว. อาการที่ลู่เอนไปข้างหลัง, ไม่กาง, (ใช้แก่หูของหมาเป็นต้น) เช่น หมาหูลี่. ก. แล่น เช่น ขนานลี่ ว่า เรือแล่น.
  23. ลุกลา : ม ก. แผ่กว้างออกไปโดยเร็ว เช่น ไฟลุกลามไปอย่างรวดเร็ว.
  24. ลู่ ๑ : น. ทาง, แนว, ช่อง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทาง เป็น ลู่ทาง, ในทางกีฬา หมายถึงทางวิ่งเป็นแนวเป็นช่อง เช่น วิ่งในลู่ที่ ๑, คู่กับ ลาน.
  25. ลู่ ๒ : ก. เอนราบเป็นแนวไป ด้วยมีสิ่งอื่นบังคับให้เป็นเช่นนั้น เช่น ต้นสนลู่ไปตามลม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผมของเขาพอถูกฝนก็ลู่ลงมาหมด.
  26. แล่ : ก. นอนใบมีดแล้วเฉือนเอาออก เช่น แล่เอาแต่เนื้อ ๆ.
  27. โล่ ๑ : น. ชื่อแพรชนิดหนึ่งเส้นไหมโปร่ง, ใช้เรียกผ้าบาง ๆ ก็มี เช่น ผ้าป่านโล่.
  28. โล่ ๒ : น. เครื่องปิดป้องศัตราวุธ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทําด้วยโลหะหรือหนังดิบ ด้านหลังมีที่จับ, มักใช้คู่กับดาบหรือหอก, โดยปริยายหมายถึงการเอา คนหรือสิ่งอื่นต่างโล่เพื่อกันความเสียหายแก่ตัว; สิ่งที่มีลักษณะคล้าย คลึงโล่สําหรับมอบแก่ผู้ชนะการแข่งขันกีฬาเป็นต้น.
  29. ไล่ ๑ : ก. ตามไปติด ๆ เพื่อให้ทันหรือเพื่อกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไล่ยิง ไล่กัด ไล่ขวิด ไล่จิก; ขับ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น ไล่ขับ หมายความว่า บังคับให้ออกไปให้พ้น, บังคับให้ไปหรือให้ออก จากที่เดิม เช่น ไล่ควายเข้าคอก ไล่คนออกจากบ้าน; ต้อนให้จนมุม เช่น เอาม้าและเรือไล่ขุน; สอบดูลำดับก่อนหลังเพื่อทบทวนความรู้ ความจำเป็นต้น เช่น เรียกนักเรียนมาไล่แบบ.
  30. ไล่ ๒ : น. ไม้ต่าง ๆ เรียกว่า ไม้ไล่.
  31. ไล่ ๆ กัน : ก. มีระดับหรือขนาดสูงต่ำเป็นต้นลดหลั่นกันตามลำดับ เช่น มีลูกอายุไล่ ๆ กัน สูงต่ำไล่ ๆ กัน รุ่นไล่ ๆ กัน.
  32. เหลาหลก : [เหฺลาหฺลก] น. ชื่อหมากชนิดหนึ่งเปลือกอ่อน. (พจน. ๒๔๙๓).
  33. อาวัล : [วัน] (กฎ) น. การรับประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน. (ฝ. aval).
  34. เอลา : [ลา] ดู กระวาน๑(๑).
  35. กน ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด ว่า แม่กน หรือ มาตรากน.
  36. กรวน : [กฺรวน] (ถิ่น-ภูเก็ต) น. กลอยทําเป็นชิ้นเล็ก ๆ. (วิทยาจารย์ ล. ๑๖ ต. ๒).
  37. กรอกแกรก ๒ : [กฺรอกแกฺรก] (โบ) น. การเล่นพนันชนิดหนึ่ง. (ราชกิจจา. ล. ๑).
  38. การันต์ : [การัน] น. ``ที่สุดอักษร'', ตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง ซึ่งมีไม้ทัณฑฆาตกํากับไว้ เช่นตัว ''ต์'' ในคําว่า ``การันต์'', (ปาก) เรียกตัวอักษรที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับ เช่น ล์ ว่า ล การันต์ ค์ ว่า ค การันต์.
  39. คชนาม : น. นามราหู, อักษรชื่อที่ขึ้นต้นด้วย ย ร ล ว.
  40. โฆษะ : ว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. (ส.; ป. โฆส).
  41. ทันตชะ : [ทันตะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มี เสียงเกิดจากฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).
  42. นิตินัย : (กฎ) น. ความหมายตามกฎหมาย (ล. de jure), ต่างกับ พฤตินัย คือ ความหมายตามข้อเท็จจริง (ล. de facto).
  43. พฤตินัย : (กฎ) น. ความหมายตามข้อเท็จจริง (ล. de facto), ต่างกับ นิตินัย คือ ความหมายตามกฎหมาย (ล. de jure).
  44. มาตรา : [มาดตฺรา] น. หลักกําหนดการวัดขนาด จํานวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระ โดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่ วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกด อยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ใน มาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือ แม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด จัดอยู่ ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากม หรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติใน กฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกํากับเรียงตามลําดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.
  45. มิสซา : น. พิธีกรรมในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก เพื่อระลึกถึง พระเยซูที่ทรงสั่งเสียสาวกขณะที่รับประทานอาหารมื้อสุดท้าย โดยสัญญาว่า เมื่อประกอบพิธีแบ่งขนมปังดังที่พระองค์กระทํา พระองค์จะเสด็จมาประทับร่วมด้วยทุกครั้ง. (ล. missa; อ. mass).
  46. แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
  47. ลดรูป : ก. ตัดรูปสระบางรูปออกเมื่อมีตัวสะกด แต่คงออกเสียง สระอย่างเดิม เช่น ในคำว่า ลง มี ล สระ โ-ะ ง สะกด ลดรูปสระ โ-ะ เป็น ลง.
  48. เศษวรรค : [เสสะวัก, เสดวัก] น. พยัญชนะที่เหลือวรรคหรือที่ เข้าอยู่ในวรรคทั้ง ๕ ไม่ได้ มี ๑๐ ตัว คือ ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ ?, อวรรค ก็เรียก.
  49. เหลา ๑ : [เห-ลา] น. ความหมิ่น; ความสนุก; การเล่น, การกีฬา; การหยอกเอิน; ความสะดวกสบาย. (ส.).
  50. : พยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคําไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้ แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ใน ภาษาไทยแต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | [551-600] | 601-650 | 651-700 | 701-745

(0.0735 sec)