Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อ่อนนุ่ม, อ่อน, นุ่ม , then นม, นุ่ม, ออน, อ่อน, ออนนม, อ่อนนุ่ม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อ่อนนุ่ม, 751 found, display 551-600
  1. สาคูเปียก : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ต้มสาคูเม็ดเล็กจนบานใส แล้วใส่น้ำตาล จะใส่เนื้อมะพร้าวอ่อนหรือแห้วเป็นต้นก็ได้ เมื่อจะกินจึงหยอดหน้าด้วยกะทิ.
  2. หง : ว. มีสีแดงเจือสีขาวทำให้สีแดงนั้นอ่อนลง เช่น หงเสน คือ สีแดงเสนผสม สีขาว, หงชาด คือ สีแดงชาดผสมสีขาว หงดิน คือ สีแดงเลือดหมูผสมสีขาว.
  3. หงสคติ : [หงสะคะติ] น. ท่าเดินอย่างหงส์ คือ มีลักษณะงดงามอ่อนช้อย และเป็นสง่า.
  4. หงส-, หงส์ ๑ : [หงสะ-, หง] น. นกในนิยายถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ เป็นพาหนะของพระพรหม; ในวรรณคดีหมายถึงบุคคลที่มีชาติตระกูล สูงและเปรียบการเดินที่งดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่าเทียบด้วยการเดิน ของหงส์. (ป., ส. หํส).
  5. หญ้างวงช้าง : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Heliotropium indicum R. Br. ในวงศ์ Boraginaceae ดอกสีม่วงอ่อนออกเป็นช่อลักษณะคล้ายงวงช้าง, แพว ก็เรียก.
  6. หญ้าใต้ใบ : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Phyllanthus วงศ์ Euphorbiaceae คือ ชนิด P. amarus Schum. et Thonn. ทั้งต้นรสขม ใบมีนวล ผลเกลี้ยง และชนิด P. urinaria L. ใบอ่อนสีแดง ๆ ผลขรุขระทั้ง ๒ ชนิด ใช้ทํายาได้.
  7. หน่อไม้น้ำ : น. ชื่อหญ้าชนิด Zizania latifolia (Griseb.) Turcz. ในวงศ์ Gramineae ใบแบนยาว หน่ออ่อนที่เชื้อราลงจะพองออก กินได้.
  8. หน่อไม้ฝรั่ง : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Asparagus officinalis L. ในวงศ์ Asparagaceae หน่ออ่อนกินได้.
  9. หนัง ๒ : น. เรียกขนุนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว ว่า ขนุนหนัง. (ดู ขนุน๑). (เทียบ ม. nanga).
  10. หน้าพาทย์แผลง : [-แผฺลง] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่บอกแผลงไปจากชื่อ เดิม ทำให้ผู้บรรเลงปี่พาทย์ต้องใช้ความคิดว่าจะบรรเลงเพลงใด เช่น เพลงนางพญาดำเนิน หมายถึง เพลงช้า เพลงแม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึง เพลงเร็ว เพลงไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ.
  11. หมอตาล : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Helostoma temminckii ในวงศ์ Anabantidae ลําตัวแบนข้างและกว้างมากกว่าปลาหมอ ปากยืดหดได้ และมีนิสัยเอาปาก ชนกับตัวอื่น จึงเรียกกันว่า ปลาจูบ พื้นลําตัวและครีบสีนํ้าตาลอ่อนหรือ ขาวนวล พบในเขตที่ลุ่ม ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ใบตาล อีตาล อีโก๊ะ หรือ วี ก็เรียก.
  12. หมอน้อย ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Murraya koenigii (L.) Spreng. ในวงศ์ Rutaceae ใบมี ขนนุ่ม ใช้ทํายาได้.
  13. หม่า : (ปาก) ก. กิน เช่น ในห้องมีของกินมาก เข้าไปหม่าเสียซิ; ปล่อยไว้ไม่เป็น ระเบียบ เช่น เสื้อผ้าข้าวของไม่เก็บ หม่าไว้เต็มห้อง; หมัก, แช่ให้อ่อนตัว, เช่น หม่าข้าว หม่าแป้ง หม่าปูน.
  14. หมาร่า : น. ชื่อต่อหลายชนิดในวงศ์ Sphecidae ใช้ดินเหนียวทํารังขนาดกําปั้นหรือ เล็กกว่าติดตามฝ้า คาน เสาบ้าน หรือบริเวณที่ร่มอื่น ๆ ในรังมีหนอนหรือ เหยื่อที่ถูกต่อยให้สลบเพื่อเป็นอาหารของลูกอ่อน เช่น ชนิด Eumenes petiolata.
  15. หมูป่า : น. ชื่อหมูซึ่งเป็นต้นกําเนิดของหมูบ้าน รูปร่างลักษณะคล้ายหมู บ้าน แต่ปากและจมูกยื่นยาวกว่าปลายบานใช้สําหรับดุดดิน ลําตัวมี ขนดกหยาบสีดํา ๆ ขนแผงคอยาว ตัวผู้มีเขี้ยวใหญ่ยื่นยาวพ้นปาก กินพืช ลูกอ่อนสีนํ้าตาลอ่อน มีลายขาวเป็นทางตามยาว ในประเทศไทย เป็นชนิด Sus scrofa พบในป่าทุกภาค.
  16. หยดย้อย : ว. ไพเราะจับใจ เช่น สำนวนหยดย้อย, ชดช้อยอ่อนหวาน เช่น งามหยดย้อย.
  17. หยวก ๒ : น. ชื่อพริกพันธุ์หนึ่งของชนิด Capsicum annuum L. วงศ์ Solanaceae ผลใหญ่ป้อม เมื่ออ่อนสีเหลืองอมเขียว.
  18. หยับ, หยับ ๆ : ว. อาการที่เคี้ยวเนิบ ๆ เช่น คนแก่เคี้ยวหมากหยับ ๆ; อาการขึ้นลงเนิบ ๆ เช่น พายอ่อนหยับจับงามงอน (เห่เรือ); อาการที่หัวเรือโต้คลื่นเหยิบ ๆ.
  19. หยุ : [หฺยุ] (โบ) ว. น่วม, อาการที่อ่อนจนกดบู้ลงได้.
  20. หริต : [หะริด] น. ของเขียว; ผัก, หญ้า. ว. เขียว; สีนํ้าตาล, สีเหลือง, สีเหลืองอ่อน. (ป., ส.).
  21. หละ : [หฺละ] น. ชื่อโรคที่เป็นแก่เด็กอ่อน เกิดจากสายสะดือเป็นพิษ มีอาการ ลิ้นกระด้างคางแข็ง.
  22. หลาม ๑ : น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด Python molurus ในวงศ์ Pythonidae ตัวอ้วน หางสั้น โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ลายสีนํ้าตาล ที่กลางหัวมี เส้นสั้น ๆ สีอ่อน ซึ่งมักเรียกว่า ศรขาว ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีพิษ.
  23. หวาน ๑ : ว. มีรสอย่างรสนํ้าตาล; เพราะ เช่น หวานหู เสียงหวาน, ชุ่มชื่น, ที่รัก เช่น หวานใจ; น่ารักชวนมอง เช่น หน้าหวาน; อ่อนสดใส ในคำว่า สีหวาน; (ปาก) ที่ทำได้ง่าย, ที่ทำได้สะดวก, เช่น เลขข้อนี้หวานมาก. ก. ชำรุด ไม่กินเกลียวกัน ในคำว่า เกลียวหวาน.
  24. หอยโข่ง : น. ฝาเรือนเครื่องผูกแบบหนึ่ง มีโครงไม้ไผ่ยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ด้านในของโครงยืนจะมีไม้ไผ่ผ่าซีกหรือแผ่นไม้เล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือ ลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้น ขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า ฝาหอยโข่ง.
  25. ห่อแห่, ห้อแห้ : ว. มีอาการท้อแท้อ่อนเปลี้ย.
  26. หัว ๑ : น. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่าง ตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน; ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ; ส่วนแห่งสิ่งของ บางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่าหัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที; ช่วงแรกเริ่มของเวลา เช่น หัวปี หัววัน หัวคํ่า หัวดึก; ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด เช่น หัวฝี, ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่น ออกไป เช่น หัวแหลม หัวสะพาน; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัว โยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย; ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย เช่น หัวแถวหางแถว หัวเรือ, ส่วนที่ ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว; ส่วนที่เป็นแก่นสาร เช่น หัวยา หัวเหล้า.
  27. หัวแข็ง ๑ : ว. แข็งแรงทนทานไม่ใคร่เจ็บไข้ (มักใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้ หัวแข็ง ตากฝนเป็นชั่วโมงก็ไม่เป็นอะไรเลย; กระด้าง, ว่ายาก, เช่น เขาเป็นคนหัวแข็ง ผู้ใหญ่พูดเท่าไรก็ไม่ยอมเชื่อฟัง, ตรงข้ามกับ หัวอ่อน. ก. ไม่ยอมอ่อนตาม เช่น เขาหัวแข็งจริง ๆ ชี้แจงเท่าไรก็ไม่ยอมเปลี่ยน ความคิด.
  28. หางเสียง : น. กระแสเสียงที่ลงท้ายซึ่งแสดงนิสัย ความรู้สึก หรืออารมณ์ ของผู้พูดเป็นต้น เช่นโกรธ อ่อนโยน.
  29. หินติดไฟ : น. หินดินดานชนิดหนึ่ง สีน้ำตาลอ่อน มีสารอินทรีย์ที่เรียกว่า เคโรเจน (kerogen) ซึ่งเป็นสารน้ำมันอุ้มอยู่ในเนื้อหิน นำมากลั่นเอาน้ำมัน เชื้อเพลิงออกได้, หินน้ำมัน ก็เรียก.
  30. หินน้ำมัน : น. หินดินดานชนิดหนึ่ง สีนํ้าตาลอ่อน มีสารอินทรีย์ที่เรียกว่า เคโรเจน (kerogen) ซึ่งเป็นสารนํ้ามันอุ้มอยู่ในเนื้อหิน นํามากลั่นเอานํ้ามัน เชื้อเพลิงออกได้, หินติดไฟ ก็เรียก.
  31. หินแลง : น. หินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะอ่อน แต่ถูกลมแล้วแข็ง มีสีแดงอย่างอิฐเผา และเป็นรูพรุนเหมือนไม้เพรียงกิน, ศิลาแลง ก็เรียก.
  32. หินสบู่ : น. หินแปรชนิดหนึ่ง ซึ่งเนื้อสารประกอบด้วยแร่ทัลก์เป็นส่วนใหญ่ มีเนื้ออ่อน เอาเล็บขูดเป็นรอยได้ง่าย และลื่นมือคล้ายสบู่.
  33. หิรัญญิการ์ : [หิรันยิกา] น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในสกุล Beaumontia วงศ์ Apocynaceae คือ ชนิด B. murtonii Craib และชนิด B. grandiflora Wall. ดอกใหญ่ สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ๆ ยางและเมล็ดเป็นพิษ.
  34. หูหนู : น. (๑) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Auricularia วงศ์ Auriculariaceae ขึ้นบน ขอนไม้ ดอกเห็ดเป็นแผ่นวุ้น สีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลดํา กินได้ เช่น ชนิด A. polytricha (Mont.) Sacc. สีนํ้าตาลอมม่วง นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก, ชนิด A. delicata (Fr.) P. Henn. สีนํ้าตาลอ่อนอมเหลือง เนื้อบางนิ่มยืดหยุ่น, ชนิด A. fuscosuccinea (Mont.) Farlow สีนํ้าตาลดํา เนื้อกรอบกรุบ. (๒) จอกหูหนู.
  35. เหงือกปลาหมอ ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Acanthus วงศ์ Acanthaceae ชนิด A. ebracteatus Vahl ขึ้นตามริมนํ้าบริเวณนํ้ากร่อย ดอกสีขาว ขอบใบ เป็นหนาม ชนิด A. ilicifolius L. ดอกสีม่วงอ่อน บางทีขอบใบเรียบ, จะเกร็ง หรือ อีเกร็ง ก็เรียก.
  36. เหนื่อย : ก. รู้สึกอ่อนแรงลง, อิดโรย.
  37. เห็บ ๑ : น. ชื่อแมงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ลักษณะทั่วไปคล้ายไร แต่ส่วนใหญ่มักโตกว่า และปากมีลักษณะเป็นแท่ง มีหนามโค้งเล็ก ๆ กระจายอยู่รอบปลายปาก แผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของ ลําตัวเลยขาคู่ที่ ๔ มาทางด้านส่วนท้อง มีทั้งชนิดที่มีผนังลําตัวแข็งและ ผนังลําตัวอ่อน เป็นตัวเบียนดูดกินเลือดสัตว์ เช่น เห็บวัว (Boophilus caudatus) เห็บสุนัข (Rhipicephalus sanguineus) ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Ixodidae.
  38. เหม็น ๒ : น. ส้มเขียวหวานที่ยังอ่อนอยู่ ใช้ปรุงอาหารได้ เรียกว่า ส้มเหม็น.
  39. เหลาหลก : [เหฺลาหฺลก] น. ชื่อหมากชนิดหนึ่งเปลือกอ่อน. (พจน. ๒๔๙๓).
  40. โหย : [โหยฺ] ก. อ่อนกําลัง, อ่อนใจ; ครวญถึง, รํ่าร้อง; มักใช้ประกอบคำอื่น ๆ เช่น โหยหา โหยหิว โหยหวน โหยไห้.
  41. ไหม ๑ : น. ชื่อผีเสื้อชนิด Bombyx mori ในวงศ์ Bombycidae ตัวอ้วนป้อมมีขนสี ขาวและสีครีมคลุมเต็ม ปีกมีลายเส้นสีนํ้าตาลอ่อนพาดตามขวางหลายเส้น ตัวหนอนสีขาวหรือสีครีม มีรยางค์เล็ก ๆ สั้น ๆ คล้ายเขาที่ปลายหาง กินใบหม่อนได้อย่างเดียว เมื่อโตเต็มที่จะถักใยหุ้มดักแด้ ซึ่งใยนี้สามารถ สาวเป็นเส้นไหมนํามาทอเป็นเสื้อผ้าได้, ใยของสัตว์ชนิดนี้ก็เรียกว่า ไหม; เรียกเครื่องนุ่งห่มที่ทอด้วยไหมว่า ผ้าไหม.
  42. อรไท : [ออระไท] น. นางผู้เป็นใหญ่, นางผู้มีสกุล, (ใช้เรียกนางกษัตริย์), ใช้ว่า อ่อนไท้ ก็มี.
  43. ออก ๓ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออก แดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก; ทําให้ปรากฏ เช่น ออกภาพ ทางโทรทัศน์; ทําให้เกิดขึ้นมีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย; พ้นภาวะ เช่น ออกจากงาน; แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก; ผุดขึ้น เช่น ออกหัด; จ่าย เช่น ออกเงิน; แสดง เช่น ออกท่า; นำ เช่น ออกหน้า; เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่น ออกเพลงเรือ ออกลูกหมด; เป็นกริยาช่วยหมายความว่า รู้สึกว่า เช่น ใจออกจะโกรธ ออกฉุน. ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก; ขยาย, แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก; หลุดไปได้, สําเร็จไปได้, เช่น ร้องออก ถอนออก; ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก; คําประกอบหลังคําอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดําออกอย่างนี้.
  44. อ้อน : ก. พรํ่าร้องขอ, ร้องสําออย, อาการร้องไห้อย่างเด็กอ่อน.
  45. อัญชัน : น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ไม้ต้นชนิด Dalbergia duperreana Pierre และไม้เถาชนิด Clitoria ternatea L. ชนิดหลังดอกสีครามแก่ ขาว และม่วงอ่อน. ว. เรียกสีครามแก่ อย่างสีดอกอัญชัน ว่า สีอัญชัน.
  46. อันแถ้ง : (กลอน) ว. งามอ้อนแอ้น, เขียนเป็น อรรแถ้ง ก็มี เช่น พระองค์ กลมกล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง. (ลอ).
  47. อิด : (ถิ่นอีสาน, พายัพ) ก. โรยแรง, อ่อนกำลัง, อ่อนแรง.
  48. อินซูลิน : น. ฮอร์โมนประเภทโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งหย่อมเซลล์แลงเกอร์ฮานส์ (islets of Langerhans) ในตับอ่อนผลิตขึ้น มีสมบัติควบคุมการ เผาผลาญนํ้าตาลในร่างกาย ในทางแพทย์ใช้เป็นสารลดระดับ นํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. (อ. insulin).
  49. อินเดียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๙ สัญลักษณ์ In เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีขาวเงิน หลอมละลายที่ ๑๕๖.๒?ซ. ใช้ประโยชน์ได้ หลายอย่าง เช่นทําอุปกรณ์เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ผสมกับโลหะอื่น ให้เป็นโลหะเจือที่ใช้ในงานทันตกรรม ชุบฉาบผิวเหล็กซึ่งเคลือบ ด้วยเงินแล้ว. (อ. indium).
  50. อีนูน : (ถิ่นอีสาน) น. ชื่อไม้เถามีหัวชนิด Adenia pierrei Gagnep. และชนิด A. viridiflora Craib ในวงศ์ Passifloraceae ขึ้นปกคลุม ต้นไม้ตามป่าทั่วไป ทุกส่วนเป็นพิษ ยอดอ่อนดองแล้วกินได้, นางนูน หรือ ผักสาบ ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | [551-600] | 601-650 | 651-700 | 701-750

(0.1122 sec)