Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้า , then จา, เจ้, เจ้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ้า, 787 found, display 451-500
  1. พรหม, พรหม : [พฺรม, พฺรมมะ] น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลกจําพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จําพวกไม่มี รูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้นตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอน ใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี; ผู้มีพรหมวิหาร ทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหม ของบุตร). (ป., ส. พฺรหฺม).
  2. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  3. พระเจ้า : น. พระพุทธเจ้า เช่น พระเจ้าห้าพระองค์, พระพุทธรูป เช่น ทุกแห่งห้องพระเจ้า นั่งเนือง. (กําสรวล), เทพผู้เป็นใหญ่; คํานําหน้า พระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายเช่น พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าลูกเธอ; พระเศียรหรือพระเกศาพระเจ้าแผ่นดิน.
  4. พระชายา : (ราชา) น. พระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์.
  5. พระเดชพระคุณ : น. คําใช้นําหน้าสมณศักดิ์ของพระราชาคณะ เช่น เรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม, ถ้าใช้นําหน้า สมณศักดิ์ของสมเด็จพระราชาคณะ ใช้ว่า พระเดชพระคุณท่านเจ้า ประคุณ หรือพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณ เช่น กราบเรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์. ส. คําเรียกผู้ มียศบรรดาศักดิ์หรือพระภิกษุสงฆ์ที่มี สมณศักดิ์สูง, เป็นสรรพนาม บุรุษที่ ๒.
  6. พระทอง : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง; (กลอน) คําแทนชื่อเจ้านาย. พระทัย (ราชา) น. ใจ.
  7. พระนางเธอ : น. ตําแหน่งพระมเหสี ตํ่ากว่าพระนางเจ้า.
  8. พระนาย : น. คําเรียกหัวหมื่นมหาดเล็ก เช่น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ เรียกว่า พระนายไวยวรนาถ.
  9. พระภูมิ : น. เทพารักษ์ประจําพื้นที่และสถานที่, พระภูมิเจ้าที่ ก็เรียก.
  10. พระรูป, พระรูปชี : น. เจ้านายที่เสด็จบวชเป็นชี.
  11. พระสนม : น. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตา ยกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยา ราชาวดี.
  12. พระสนมเอก : น. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่ม จากหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี ในสมัยโบราณมี ๔ ตำแหน่ง คือท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าว ศรีจุฬาลักษณ์.
  13. พระองค์ : (ราชา) น. ตัว เช่น รู้สึกพระองค์ เผลอพระองค์; ลักษณนาม ใช้แก่พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์. (ราชา) ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็น ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี.
  14. พลอยสามสี : น. พลอยชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะมีสีเขียวมรกต เมื่อโดนแสงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์เช่นแสงจากหลอดไฟ, จะมีสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงเจ้าสามสี ก็เรียก.
  15. พ่อเมือง : น. ผู้ที่ชาวเมืองยกขึ้นเป็นเจ้าเมือง.
  16. พ่ะย่ะค่ะ : ว. คํารับหรือคําลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลพระราชวงศ์ที่ดํารงพระยศ เจ้าฟ้า.
  17. พัดงาสาน : (โบ) น. พัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมาย ฝ่ายอรัญวาสี, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จ พระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า ''คามวาสี อรัญวาสี'' มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่าย อรัญวาสี.
  18. พาณี : น. เสียง, ถ้อยคํา, ภาษา; เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. (ป., ส. วาณี).
  19. พิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. คำสั่งศาลในคดีล้มละลายให้พิทักษ์ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ไม่ว่าเด็ดขาดหรือชั่วคราว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ถือเสมือน เป็นหมายของศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา สมุด บัญชี และเอกสารของลูกหนี้ ตลอดจนบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ใน ความครอบครองของลูกหนี้ หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดี ล้มละลายซึ่งมีผลให้ลูกหนี้หมดอำนาจจัดการทรัพย์สินของตน โดยอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกเป็นของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว.
  20. พิรากล : ว. เจ้ามารยา, เจ้าเล่ห์เจ้ากล.
  21. พิราลัย : ก. ตาย (ใช้แก่เจ้าประเทศราช และสมเด็จเจ้าพระยา). (ส. วีร + อาลยว่า ที่อยู่ของนักรบ, สวรรค์).
  22. เพคะ : ว. คํารับหรือคําลงท้ายที่ผู้หญิงใช้เพ็ดทูลเจ้านายตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้า ขึ้นไป.
  23. เพชฌฆาต : [เพ็ดชะคาด] น. เจ้าหน้าที่ประหารชีวิตนักโทษที่ต้องคำพิพากษา ถึงที่สุดให้ประหารชีวิต. (ป. วชฺฌฆาตก).
  24. เพ็ดทูล : ก. พูดกับเจ้านาย, พิดทูล ก็ว่า.
  25. เพลง : [เพฺลง] น. สําเนียงขับร้อง, ทํานองดนตรี, กระบวนวิธีรําดาบรําทวน เป็นต้น, ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย; โดยปริยายหมายถึง แบบอย่าง เช่น ต่างกันไปคนละเพลง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส), ชั้นเชิง เช่น ร้อยภาษามาสู่เคยรู้เพลง. (อภัย).
  26. โพรงแสม : [สะแหฺม] น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งข้าวเจ้า รูปอย่างกระบอก.
  27. โพสพ : [โพสบ] น. ชื่อเทพธิดาประจําข้าว, เจ้าแม่แห่งข้าว, ใช้ว่า ไพสพ ก็มี.
  28. ไพ่ป๊อก : น. ชื่อไพ่ชนิดหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชุดหนึ่งมี ๕๒ ใบ ใช้เล่นการพนันได้หลายอย่าง เช่น บริดจ์ โป๊กเกอร์ หรือใช้ทํานาย โชคชะตาได้ด้วย; การพนันชนิดหนึ่งเจ้ามือแจกไพ่ให้คนละ ๒ ใบ แล้วเรียกไพ่ได้อีก รวมแล้วไม่เกิน ๕ ใบ และจะจ่ายเงินให้คนที่ได้ แต้มสูงกว่า และกินเงินคนที่ได้แต้มตํ่ากว่าตามกติกา.
  29. ไพสพ : น. ชื่อเทพธิดาประจําข้าว, เจ้าแม่แห่งข้าว, โพสพ ก็ใช้; วัวที่ใช้ใน พิธีแรกนา.
  30. ฟ้า : น. ส่วนเบื้องบนที่มองเห็นครอบแผ่นดินอยู่ เช่น ดาวเต็มฟ้า, อากาศ เช่น ฟ้าครึ้ม ยิงปืนขึ้นฟ้า; สวรรค์ เช่น นางฟ้า ฟ้าดินเป็น พยาน; (กลอน) เจ้าฟ้า. ว. สีน้ำเงินอ่อนอย่างสีท้องฟ้าในเวลามีแดด เรียกว่า สีฟ้า.
  31. ฟ้าฝ่อ : น. พระพ่อ, ผู้เป็นใหญ่, เจ้าเมือง. (กะเหรี่ยง).
  32. ภควัต, ภควันต์, ภควา, ภควาน : [พะคะ–] น. นามพระเป็นเจ้า, นามพระพุทธเจ้า, พระผู้เป็นเจ้า, พระผู้มี พระภาค. (ป., ส.).
  33. ภัณฑาคาริก : [พันดาคาริก, พันทาคาริก] น. เจ้าหน้าที่ผู้รักษาคลังเก็บ สิ่งของของสงฆ์. (ป.).
  34. ภาค, ภาค– : [พาก, พากคะ–] น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษา ภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้าน การปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. (ป.).
  35. ภูตบดี : [พูตะบอดี] น. เจ้าแห่งผี, เจ้าแห่งสรรพสัตว์, (หมายถึง พระศิวะ). (ส. ภูตปติ).
  36. ภูษามาลา : น. ข้าราชการในราชสํานักมีหน้าที่ถวายทรงพระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกํา ทําสุกํา เปลื้องเครื่องสุกําศพพระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกําศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น เรียกว่า เจ้าพนักงานภูษามาลา, โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวงเรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงาน พระมาลา.
  37. มงกุฎไทย : น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  38. มรุต : น. เจ้าแห่งพายุ, เจ้าแห่งลม; เทวดาพวกหนึ่ง. (ส.).
  39. มหาดเล็ก : น. ข้าราชการในพระราชสํานักมีหน้าที่รับใช้พระเจ้าแผ่นดิน, ผู้ที่รับใช้ประจําเจ้านาย หรือผู้ที่ถวายตัวเป็นผู้รับใช้เจ้านาย, เรียกทหารที่มีหน้าที่รักษาพระองค์ในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชวงศ์ว่า ทหารมหาดเล็ก, เรียกเต็มว่า ทหารมหาดเล็ก รักษาพระองค์.
  40. มหาอุจ : (โหร) น. ดาวพระเคราะห์ที่ทรงคุณสูงเด่น ทําให้เจ้าดวงชะตามีความเจริญรุ่งเรือง.
  41. มเหศักดิ์ : (ถิ่น-อีสาน) น. เจ้าผีซึ่งเดิมเป็นเจ้าเมืองในถิ่นนั้น.
  42. มอบตัว : ก. นำเด็กนักเรียนไปมอบให้อยู่ในความปกครองของ โรงเรียน เช่น มอบตัวนักเรียน, ยอมตัวให้อยู่ในความควบคุมของ เจ้าหน้าที่เพื่อสู้คดี เช่น ผู้ร้ายเข้ามอบตัว.
  43. มะรุมมะตุ้ม : ว. กลุ้มรุมทําให้เกิดรําคาญ เช่น เจ้าหนี้มามะรุมมะตุ้มทวงหนี้กัน, มารุมมาตุ้ม ก็ว่า.
  44. มัจจุราช : น. ''เจ้าแห่งความตาย'' คือ พญายม. (ป.).
  45. มัชฌิมชนบท : น. ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของ ประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุม ของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ.
  46. มันปู : ว. สีแดงเจือเหลืองกับดํา เช่น พระเครื่องเนื้อสีมันปู โลหะที่เก็บไว้ นาน ๆ จะออกสีมันปู. น. เรียกข้าวเจ้าที่มีสีแดงคลํ้าว่า ข้าวมันปู.
  47. มายาวี : น. ผู้มีมารยา, ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมทําให้ลุ่มหลง, เจ้าเล่ห์. (ป., ส.).
  48. มารยา : [มานยา] น. การลวง, การแสร้งทํา, เล่ห์กล, เช่น เจ้ามารยา มารยามาก ทำมารยา. (แผลงมาจากมายา).
  49. มารุมมาตุ้ม : ว. มะรุมมะตุ้ม, กลุ้มรุมทําให้เกิดรําคาญ, เช่น เจ้าหนี้มามารุมมาตุ้ม ทวงหนี้กันใหญ่.
  50. ม้าเร็ว : น. คนขี่ม้าซึ่งกองทัพจัดไว้สําหรับสืบเหตุการณ์ข่าวคราวของข้าศึก แล้วต้องรีบมาแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ในกองทัพของตน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-787

(0.0800 sec)