Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เศษ , then เศษ, เสษ, เสส .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เศษ, 80 found, display 51-80
  1. ยุต ๒ : [ยุด] น. เศษด้ายเศษผ้าใช้เช็ดน้ำมันเครื่องเป็นต้นใช้แล้วทิ้งไป.
  2. เรือดไม้ : น. ชื่อแมลงในอันดับ Psocoptera ขนาดเล็กมาก ตัวยาว ๑–๒ มิลลิเมตร ลําตัวอ่อนมาก มักมีสีขาว อาจพบได้ทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ปีกมี ๒ คู่ เป็นแผ่นบางและมักใส เวลาหุบปีก ปีกจะคลุมตัวคล้ายหลังคา อาศัยอยู่ ตามกองกระดาษ หนังสือ เศษขยะเก่า ๆ ในบ้าน ที่เก็บของในพิพิธภัณฑ์ ต่าง ๆ ตามเปลือกไม้หรือบริเวณตะไคร่นํ้านอกบ้าน ที่อยู่ตามหนังสือ ในบ้าน คือ ชนิด Psocatropos microps ในวงศ์ Psyllipsocidae, เลือดไม้ หรือ เหาไม้ ก็เรียก.
  3. ลงตัว : ว. ไม่มีเศษ ในคำว่า หารลงตัว. ก. พอดี เช่น เรื่องนี้ ลงตัวแล้ว.
  4. ล้างท้อง : ก. ใช้สายยางสอดเข้าทางปากดูดเอาเศษอาหารหรือของ ที่เป็นพิษออกจากกระเพาะและส่งนํ้าหรือนํ้าเกลือไปล้างกระเพาะ ทางสายยางนั้น.
  5. ลำพวน : น. เศษฟางและข้าวลีบ.
  6. ลิปดา : น. มาตราวัดมุม ได้แก่เศษ ๑ ใน ๖๐ ขององศา แบ่งออกเป็น ๖๐ พิลิปดา. (ส.).
  7. ลี่ ๑ : น. ชื่อมดขนาดยาว ๕–๖ มิลลิเมตร อยู่กันเป็นฝูงตามต้นไม้ ทํารัง ด้วยดินและวัสดุเศษไม้ตามซอกกิ่งไม้ ลักษณะคล้ายรังปลวก เวลาเดินจะยกท้องขึ้นเกือบตั้งฉากกับลําตัวคล้ายกับมีหางชี้ ที่พบ ได้บ่อยอยู่ในสกุล Crematogaster วงศ์ Formicidae คือ ชนิด C. dohrni หัวและอกสีส้ม ท้องสีดํา, รี่ หรือ ตูดงอน ก็เรียก.
  8. เศษสิบ : น. เศษส่วนที่มีเศษเป็นตัวเลข ๐ ถึง ๙ และมีส่วนเป็น หน่วย ๑๐ เช่น ๘๑๐ .
  9. ส่วน : น. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทําบุญ; การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออก เป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่ พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน. สัน. ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉัน ไปเชียงใหม่.
  10. สะเก็ด : น. ชิ้นย่อยของไม้หรือหินเป็นต้นที่ตัดหรือแยกออกจากส่วนใหญ่ เช่น สะเก็ดไม้; เลือดและนํ้าเหลืองซึ่งแห้งติดกรังอยู่ที่ปากแผล เช่น สะเก็ดแผล; โดยปริยายหมายความว่า เศษเล็กเศษน้อยซึ่งมีค่าตํ่ากว่า มาตรฐาน, เลว, เช่น คนสะเก็ดอย่างนั้น ใครจะคบด้วย.
  11. หมากป่น : น. เศษเนื้อหมากที่เหลือจากการทำหมากซอย หมากหน้าแว่น เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยรวมกันเข้า ตากแดดให้แห้ง.
  12. หยากเยื่อ : น. เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว, มูลฝอย.
  13. หลงเหลือ : ก. มีเหลืออยู่บ้างทั้ง ๆ ที่เข้าใจหรือรู้สึกว่าหมดแล้ว เช่น ยังมี เศษสตางค์หลงเหลืออยู่ในกระเป๋า.
  14. หินทราย : น. หินชั้นชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยเศษหินที่มีลักษณะกลมหรือ เหลี่ยมขนาดเม็ดทราย อาจมีวัตถุประสาน เช่น ซิลิกา เหล็กออกไซด์ หรือ แคลเซียมคาร์บอเนต ประสานเม็ดเศษหินต่าง ๆ ให้เกาะกันแน่นแข็ง มีสีต่าง ๆ เช่น แดง เหลือง น้ำตาล เทา ขาว.
  15. อนุประโยค : น. ประโยคเล็กที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ได้ความดีขึ้น แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ นามานุประโยค คุณานุประโยค และวิเศษณานุประโยค.
  16. อวรรค : น. เศษวรรค.
  17. สังฆาทิเสส : [เสด] น. ชื่ออาบัติหนักหมวดหนึ่งรองจากปาราชิก. (ป.).
  18. สังฆาทิเสส : ดู สังฆ.
  19. เข้าปก : ก. เย็บปกหนังสือ. เข้าปริวาส, เข้าปริวาสกรรม ก. เข้าปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวัน ที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), อยู่กรรม หรือ อยู่ปริวาส ก็ว่า.
  20. ปริวาส : [ปะริวาด] น. การอยู่ค้างคืน, การอยู่แรมคืน; ชื่อกรรมที่ภิกษุต้อง อาบัติสังฆาทิเสสต้องประพฤติ. (ป.).
  21. พิเศษ : ว. นอกเหนือหรือแตกต่างไปจากปรกติธรรมดา (มักใช้ในทางดี) เช่น ในกรณีพิเศษเขาเป็นคนมีความจำเลิศเป็นพิเศษ, ไม่ใช่ปรกติ ธรรมดาหรือประจำ เช่น อาจารย์พิเศษ, ที่แยกเป็นส่วนหนึ่ง ต่างหากเช่น คนไข้พิเศษ นักศึกษาพิเศษ; ลำดับชั้นหรือขั้นของยศ เป็นต้นที่สูงกว่าเอก เช่น ข้าราชการชั้นพิเศษพระครูสัญญาบัตรชั้น พิเศษ. (ส. วิเศษ; ป. วิเสส).
  22. ไพเศษ : ว. พิเศษ. (ส. วิเศษ; ป. วิเสส).
  23. มานัต : น. วินัยกรรมที่สงฆ์ทําแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสให้เป็นภิกษุ ที่นับเข้าในหมู่สงฆ์ได้ เช่น สวดมานัต. (ป. มานตฺต).
  24. วิเศษ : ว. ยอดเยี่ยม, เลิศลอย, เช่น อาหารร้านนี้วิเศษมาก; ยอดเยี่ยมในทาง วิทยาคมเป็นต้น เช่น ผู้วิเศษ, กายสิทธิ์, มีอำนาจหรืออิทธิฤทธิ์ในตัว, เช่น พรมวิเศษ ของวิเศษ ดาบวิเศษ. (ส.; ป. วิเสส).
  25. สงฆ์ : น. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคํา พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญ พระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไปร่วมกันทําสังฆกรรม แต่จํานวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรม แต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวด พิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้อง ประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวด อัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่า จํานวนที่กําหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจํานวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ; ส. สํฆ).
  26. อนิยต : [อะนิยด] ว. ไม่แน่นอน. น. ชื่ออาบัติที่ไม่แน่นอนว่าจะเป็น อาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ซึ่งพระวินัยธรจะต้อง วินิจฉัย. (ป., ส.).
  27. อยู่กรรม, อยู่ปริวาส : ก. อยู่ปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่ กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), เข้าปริวาส หรือ เข้า ปฏิวาสกรรม ก็ว่า.
  28. อัพภาน : [อับพาน] น. การชักกลับมา, ในวินัยหมายถึง การรับภิกษุผู้ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส และได้ถูกทําโทษคือ อยู่ปริวาสแล้วให้กลับคืน เป็นผู้บริสุทธิ์, การสวดประกาศเรื่องนี้ เรียกว่า สวดอัพภาน. (ป.).
  29. อาบัติ : น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
  30. 1-50 | [51-80]

(0.0463 sec)