Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นประจำ, ประจำ, เป็น , then ปน, ประจำ, เป็น, เป็นประจำ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นประจำ, 8131 found, display 1101-1150
  1. กระหม่อมบาง : (สํา) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนกระหม่อมบาง ถูกน้ำค้างหน่อยก็เป็นหวัด, ขม่อมบาง ก็ว่า.
  2. กระหมุดกระหมิด : ว. ขมวดให้แน่น เช่น สักกระสันเป็นสามรวดรัดกระหวัด กระหมุดกระหมิดฉุดชิด ชักชายน้อยห้อยหูกระต่าย. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  3. กระหมุ่น : (โบ) ว. มุ่น; ขุ่น เช่น น้ำใช้และน้ำฉัน นานหลายวันเป็นกระหมุ่น. (ขมุ่น หรือ ขนุ่น ทางเหนือว่า ขี้ตะกอน, ทางใต้ใช้ว่า หมวน).
  4. กระหว่า : (โบ; กลอน) ว. ราวกับว่า เช่น หน้าตาหัวอกรกเป็นขน ดูสง่ากระหว่าคนหรือนนทรี. (มโนห์รา).
  5. กระหัง : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิมเป็นผู้ชาย ที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้ง ต่างปีก สากตําข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง, ใช้ว่า กระหาง ก็มี เช่น ถ้าเปนสัจว่าเปนกระสือกระหางจะกละจริงไซร้. (สามดวง).
  6. กระเหม่น : [-เหฺม่น] ก. เขม่น คือ อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้ เช่น กระเหม่นตา; เขม้น เช่น กระเหม่นตรับตัว. (เสือโค). (แผลงมาจาก เขม่น).
  7. กระเหลียก : [-เหฺลียก] (โบ) ก. แลดู, เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา. (จารึกสยาม หลัก ๒), เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู. (ลอ). (ข. กฺรเฬก ว่า เหลือบดู).
  8. กระแหนะ : [-แหฺนะ] น. ลายปูนปิดทอง. ก. แตะ, เติม; ว่าเปรียบเปรย; กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือ วิธีการช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลาย หรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็น หัวโขน, แขนะ ก็ว่า.
  9. กระแหนะกระแหน : [-แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็น เชิงเสียดสี, กระแนะกระแหน ก็ว่า.
  10. กระแหม็บ, กระแหม็บ ๆ : [-แหฺม็บ] ว. แขม็บ, หายใจแผ่ว ๆ แสดงว่าจวนจะหมดกําลัง, (โบ) เขียนเป็น กระแหมบ ก็มี เช่น กระแหมบกระเหม่นทรวง. (อนิรุทธ์). (แผลงมาจาก แขม็บ).
  11. กระแหร่ม : [-แหฺร่ม] ก. กระแอม คือ ทําเสียงขึ้นมาจากคอ เช่นเพื่อ มิให้น้ำมูกลงคอเมื่อเป็นหวัด หรือเพื่อให้หายเสลดติดคอ.
  12. กระแหล่ง : [-แหฺล่ง] น. วัตถุคล้ายกระดิ่ง แต่เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบน ทําด้วยเหล็ก ใช้แขวนคอม้า โค กระบือ.
  13. กระโห้ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Catlocarpio siamensis ในวงศ์ Cyprinidae หัวโต เกล็ดใหญ่ ลําตัวด้านหลัง สีเทาดํา หางและครีบสีแดงคล้ำหรือส้ม พบใน แม่น้ำใหญ่หลายสายของประเทศไทย เคยพบ ขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร นับเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่มากในจําพวกปลามีเกล็ดด้วยกัน, กระมัน หรือ หัวมัน ก็เรียก.
  14. กระอุก : (กลอน) ก. ระอุ; ร้อนรน เช่น กระอุกกระลับร้อน, ใช้เป็น กระอุ หรือ ประอุก ก็มี.
  15. กระแอก ๑ : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปลายสายทั้ง ๒ ข้างผูกกับสายสําอางคร่อมอยู่ทาง ท้ายสันหลังช้าง สำหรับควาญช้างจับเมื่อเวลาคับขัน, กระแซง หรือ ประแอก ก็เรียก.
  16. กระแอม ๒ : น. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนมเปียกปูนคล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สําหรับอุด หรือปิดช่องไฟระหว่างลายกระหนกเครือวัลย์ เรียกว่า ลูกกระแอม, ตัวที่บอกให้รู้ว่าได้ทําอะไรแปลกไปจาก การประดิษฐ์ แสดงเป็นตัวลูกไม้เพิ่มขึ้น เรียกว่า ตัวกระแอม.
  17. กรัชกาย : [กะรัดชะ-, กะหฺรัดชะ-, กฺรัดชะ-] (แบบ) น. ร่างกาย เช่น เจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย. (กลบทบัวบานกลีบขยาย). [ป. ก (น้ำ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในน้ำ (น้ำ หมายถึง น้ำกาม น้ำอสุจิ, ธุลีในน้ำ คือ ตัวสเปิร์มที่อยู่ ในน้ำอสุจิ), ก (สรีระ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในสรีระ, กายอันบังเกิดด้วยดีด้วยธุลีเป็นไปในสรีระ (บาฬีลิปิกรม), ก (กุจฺฉิต = น่ารังเกียจ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีที่ น่ารังเกียจ, กร (การกระทำ) + ช (เกิด) + กาย = กายที่เกิดด้วยสันถวะ (ความเชยชิด) อันมารดาบิดากระทำแล้ว].
  18. กรับ ๑ : [กฺรับ] น. ไม้สําหรับตีให้อาณัติสัญญาณหรือขยับเป็นจังหวะ ทำด้วยไม้ไผ่ซีกหรือไม้แก่น ๒ อัน รูปร่างแบนยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร กว้าง ๓-๔ เซนติเมตร หนาประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร เมื่อตีหรือขยับให้ไม้ทั้ง ๒ อันนั้นกระทบกันจะได้ยินเสียงเป็น ``กรับ ๆ'' เช่น รัวกรับ ขยับกรับ.
  19. กรับคู่ : น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ซีกหรือไม้แก่นเป็นคู่ สำหรับตีเป็นจังหวะในการฟ้อนรำขับร้อง.
  20. กรับพวง : น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แผ่นบาง ๆ หรือ แผ่นทองเหลืองหรือแผ่นงาช้างหลาย ๆ อัน และมีไม้แก่น หรืองาประกับ ๒ ข้างอย่างด้ามพัด ตอนหัวข้างหนึ่งเจาะรู ร้อยเชือก เวลาตีใช้มือข้างหนึ่งจับตรงหัวทางเชือกร้อย แล้วฟาดข้างหนึ่งลงบนฝ่ามืออีกข้างหนึ่ง สำหรับตีเป็น จังหวะประกอบการฟ้อนรำและขับร้อง หรือใช้ตีรัวเป็น อาณัติสัญญาณ.
  21. กรับเสภา : น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แก่นเช่นไม้ชิงชัน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๕ เซนติเมตร ลบเหลี่ยมเล็กน้อยเพื่อมิให้บาดมือและให้ สามารถกลิ้งตัวกระทบกันได้สะดวก ใช้ประกอบในการขับเสภา โดยผู้ขับเสภาจะต้องใช้กรับ ๒ คู่ ถือไว้ข้างละคู่ ขณะที่ขับ เสภาก็ขยับกรับแต่ละคู่ให้กระทบกันเข้าจังหวะกับเสียงขับ, กรับขยับ ก็เรียก.
  22. กราด ๑ : [กฺราด] น. ไม้กวาดที่ทําเป็นซี่ยาว ๆ ห่าง ๆ มีด้ามยาวสําหรับ ใช้กวาดที่ลานวัดเป็นต้น. (ข. จฺราศ). ก. กวาดด้วยกราด.
  23. กราน ๒ : [กฺราน] ใช้เข้าคู่กับคําอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า ค้ำ, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลําพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู. (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง. (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
  24. กรานกฐิน : [-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึง ที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้า ให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธีทําบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทําตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทํา พินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่ากรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).
  25. กราบ ๒ : [กฺราบ] ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็น กราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบไหว้ด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ ลงกับพื้น คือ กราบเอาเข่าทั้ง ๒ จดพื้น ฝ่ามือทั้ง ๒ วางราบ ติดพื้น และหน้าผากจดพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็น คําแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน. กราบพระ (โบ) น. ผ้ากราบ.
  26. กรามช้าง ๑ : น. ตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ขึ้นที่แถวกราม มีอาการเป็นเนื้อร้ายงอกขึ้นที่ต่อมแถวก้านคาง ทําให้ขากรรไตรพองโตใหญ่ออกมา เรียกว่า มะเร็งกรามช้าง.
  27. กร่าย : [กฺร่าย] น. ผ้าคาดที่ถักเป็นตาข่าย เช่น คาดกร่ายชายทองวาง ร่วงรุ้ง. (กาพย์ห่อโคลง).
  28. กราย ๑ : [กฺราย] น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Notopterus chitala ในวงศ์ Notopteridae หัวและลําตัวแบนข้างมาก สันหัวแอ่นลง ท้องเป็นสันคม ครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง ซึ่งเล็กและมีขอบกลม บริเวณเหนือครีบก้นมีจุดสีดํา ๕-๑๐ จุด เรียง เป็นแถวตามยาว ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, ตองกราย หรือ หางแพน ก็เรียก.
  29. กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
  30. กร่ำ ๑ : [กฺร่ำ] น. ที่ล่อปลาให้เข้าไปอยู่ ใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลําแม่น้ำ เป็นรูปกลมบ้าง รีบ้าง ภายในสุมด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อให้ปลาเข้าอาศัย เมื่อเวลาจะจับก็เอาเฝือกหรืออวนล้อม แล้วเอาไม้ที่สุมนั้นออก, เขียนเป็น กล่ำ ก็มี.
  31. กร่ำกรุ่น : [กฺร่ำกฺรุ่น] ว. สีมัว ๆ ไม่ชัด เช่น สีกร่ำกรุ่นเป็นอย่างไรฉันไม่เคย.
  32. กริช : [กฺริด] น. อาวุธชนิดหนึ่ง คล้ายมีด ๒ คม ปลายแหลม ใบมีดตรงก็มีคดก็มี เป็นของชาวมลายู.
  33. กรินทร์ : น. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น เบื้องนั้นบรรลุ ผู้เผือกกรินทร์ หนึ่งฤๅ. (ลิลิตพยุหยาตรา), ใช้เป็น กเรนทร์ ก็มี. (ส. กรินฺ + อินฺทฺร = กรินทร์ = ช้างใหญ่, ช้างศึก, ช้างพระอินทร์).
  34. กรีฑา : [กฺรีทา] น. กีฬาประเภทหนึ่ง แบ่งออกเป็นประเภทลู่ และประเภทลาน; การเล่นสนุก เช่น กรีฑาร่าเริงรื่น; การเล่นสมพาส เช่น ในกามกรีฑากล. (กฤษณา); การประลองยุทธ์. (ส.).
  35. กรีฑารมย์ : ว. เป็นที่ยินดีในกรีฑา เช่น สองท้าวเสมอกัน และควรที่กรีฑารมย์. (สมุทรโฆษ).
  36. กรีด ๓ : [กฺรีด] ก. ขีดให้เป็นรอยหรือให้ขาด เช่น เอากากเพชรกรีดกระจก เอามีดกรีดใบตองเย็บกระทง; ระไป, ครูดไป, เช่น เอาหลังเล็บ กรีดลูกทุเรียนเพื่อให้รู้ว่ากินได้หรือยัง; เอาคมมีดสะบัดบนของ แข็งเพื่อให้คม เช่น เอามีดกรีดหินเพื่อให้คม กรีดมีดบนปากชาม.
  37. กรีดน้ำตา : ว. เช็ดน้ำตาด้วยนิ้วอย่างละครรำ, โดยปริยาย เป็นคำแสดงความหมั่นไส้ว่าแสร้งร้องไห้ทำให้ดูน่าสงสาร เช่น เรื่องแค่นี้มานั่งกรีดน้ำตาอยู่ได้.
  38. กรีดไพ่ : ก. สับไพ่ป๊อกโดยวิธีแยกไพ่ออกเป็น ๒ ส่วน ใช้มือแต่ละข้างจับไพ่แต่ละส่วนไว้ แล้วใช้ที่หัวแม่มือระไพ่ แต่ละใบให้ล้มทับสลับกันจนหมดแล้วผลักรวมเข้าด้วยกัน.
  39. กรีธา : [กฺรีทา] ก. เคลื่อน, ยก, เดินทางเป็นหมู่เป็นกระบวน, (ใช้ในการยกทัพ).
  40. กรุ ๑ : [กฺรุ] น. ห้องที่ทําไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งอื่น ๆ,โดยปริยาย หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ.
  41. กรุกกรัก : ก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง. (คาวี). ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม. (ม. ร่ายยาว ชูชก). ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า. [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า. [กฺรุงขะเหฺมา] น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman ในวงศ์ Menispermaceae ใบรูปสามเหลี่ยมปลายมน ผลกลม เมื่อสุกสีแดง.
  42. กรุง : [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร).
  43. กรุงเขมา : หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ. [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
  44. กรุงพาลี : [กฺรุง-] น. ภาชนะทำด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะสี่เหลี่ยม สำหรับวางเครื่องเซ่นสังเวย เรียกว่า บัตรกรุงพาลี หรือ บัตรพระภูมิ, เรียกสั้น ๆ ว่า บัตรพลี. (มาจากชื่อท้าวพลี). (รามเกียรติ์ ร. ๖).
  45. กรุ่ม : [กฺรุ่ม] ก. ขันบ่อย ๆ (ปรกติใช้แก่นกเขา แต่ใช้แก่นกอื่นก็มีบ้าง) เช่น บางพวกจับเป็นคู่คูขันกันโดยธรรมดาเวลากรุ่มกําลังที่ตั้งขึ้น ตามฤดู. (ม. ร. ๔ วนปเวสน์); โดยปริยายหมายความว่า สบายเรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน. (นิ. เดือน); รุ่มร้อน, ระอุ, เช่น นรกเท่ากรุ่ม เปลวร้อนเหมือนไฟ. (สุบิน).
  46. กรุย ๑ : [กฺรุย] น. หลักที่ปักรายไว้เป็นเครื่องหมาย เช่น ปักกรุย. ก. ปักหลักหรือถางเป็นแนวไว้ เช่น กรุยทาง. (ข. ตฺรุย).
  47. กฤด- : [กฺริดะ-] (แบบ) ว. อันกระทําแล้ว (ใช้ประกอบเป็นส่วนหน้า ของสมาส), ในบทกลอนแผลงเป็น กฤษฎา ก็มี. (ส. กฺฤต; ป. กต).
  48. กฤดาญชลี : [กฺริดานชะลี] ก. ยกมือไหว้. (ส.; ป. กตญฺชลี = มีกระพุ่มมืออันทําแล้ว), ในบทกลอนใช้แผลงเป็นรูปต่าง ๆ คือ กฤดาอัญชลี กฤษฎา กฤษฎาญ กฤษฎาญชลี กฤษฎาญชุลี กฤษฎาญชลิต กฤษฎาญชวลิตวา กฤษฎาญชวลิศ กฤษฎาญชวเลศ.
  49. กฤดาธิการ : [กฺริดาทิกาน] น. บารมีอันยิ่งใหญ่ที่ทําไว้. ว. มีบารมีอันยิ่งใหญ่ที่ทําไว้. (ส.; ป. กตาธิการ), ในบทกลอนใช้เป็น กฤดา หรือ กฤดาการ ก็มี.
  50. กฤตติกา : [กฺริดติ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๓ มี ๘ ดวง เห็นเป็นรูปธงสามเหลี่ยม มีหางเรียวยาว, ดาวธงสามเหลี่ยมหรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก, (โบ) เขียนเป็น กฤติกา ก็มี. (ส. กฺฤตฺติกา; ป. กตฺติกา).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | [1101-1150] | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8131

(0.2404 sec)