Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นพิเศษ, พิเศษ, เป็น , then ปน, เป็น, เป็นพิเศษ, พิเศษ, วิเศษ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นพิเศษ, 8139 found, display 1501-1550
  1. กุมภัณฑยักษ์ : น. ลมกุมารอย่างหนึ่งมีอาการคล้ายบาดทะยัก ผู้ที่เป็นลมนี้ตาจะช้อนสูง หน้าเขียว มือกํา เท้างอ หลังแอ่น กัดฟัน. (แพทย์).
  2. กุยช่าย : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium tuberosum Roxb. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอมหรือกระเทียม ใบแบน กลิ่นฉุน กินได้ นําเข้ามาปลูก เพื่อเป็นอาหาร, พายัพเรียก หอมแป้น. (จ.).
  3. กุระ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Sapium indicum Willd. ในวงศ์ Euphorbiaceae ขึ้นตามที่ลุ่มน้ำขังและริมคลองน้ำกร่อย ทุกส่วนมียางขาว ผลกลม แก่จัดแยกออกเป็น ๓ ซีก, สมอทะเล ก็เรียก.
  4. กุรุพินท์ : น. ทับทิม, เขียนเป็น กรพินธุ์ ก็มี เช่น ดยรดาษแก้วกรพินธุ์. (ม. คําหลวง มหาราช). (ส. กุรุวินฺทุ ว่า แก้วทับทิม).
  5. กุเรา : น. ชื่อปลาทะเลและน้ำกร่อยหลายชนิดใน ๒ สกุล คือ สกุล Eleutheronema และ Polynemus วงศ์ Polynemidae ครีบอกตอนล่างมีก้านครีบแยกออกจากกันเป็นเส้นยาวรวม ๓-๗ เส้น แล้วแต่ชนิด ลําตัวและครีบสีเทาอมเงิน เช่น ชนิด E. tetradactylum, P. sextarius, กุเลา ก็เรียก.
  6. กุลาดำ : น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus monodon ในวงศ์ Penaeidae ตัวแบนข้าง ขนาดค่อนข้างใหญ่ สีเขียวอมน้ำตาล มีแถบสีดำ และสีจางพาดขวางเป็นลายตลอดลำตัว.
  7. กุลาลาย : น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus semisulcatus ในวงศ์ Penaeidae รูปร่างและขนาดคล้ายกุ้งกุลาดํา สีน้ำตาลอมแดง แต่มีลายน้อยกว่า กุ้งกุลาดำ หนวดมีลายสลับเป็นปล้อง.
  8. กุแล : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Sardinella และ Herklotsichthys วงศ์ Clupeidae ลําตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจํานวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลําตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลําตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดําคล้า๑ จุด ครีบหลัง และครีบหางสีดําคล้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึง ชนิดในสกุล Dussumieria ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลําตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกัน เป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีน้อย ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก; ทั้งหมดเป็นปลาผิวน้ำ อยู่กันเป็นฝูง ปลาขนาดเล็กอาจเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งหรือในน้ำกร่อย, หลังเขียว ก็เรียก.
  9. กุหร่า : [-หฺร่า] น. สีเทาเจือแดง บางทีกระเดียดเหลืองเล็กน้อย เป็นสีชนิดสักหลาด. (เทียบทมิฬ กุลฺลา ว่า หมวก; อิหร่าน กุลา ว่า กะบังหน้า).
  10. กู : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด ในปัจจุบันมักถือกันว่าไม่สุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  11. กู่ ๒ : ก. ส่งเสียงเป็นสัญญาณให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน โดยปรกติเปล่งเสียง วู้.
  12. กูปรี : [-ปฺรี] น. ชื่อวัวป่าขนาดใหญ่ชนิด Bos sauveli ในวงศ์ Bovidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับกระทิงและวัวแดง ตัวสีดํา ตัวผู้มีเขาขนาดใหญ่ ส่วนปลายบิดชี้ขึ้นข้างบน ปลายแตกเป็นเส้น ๆ มองเห็นเป็นพู่ ส่วนตัวเมียเขาเล็กกว่า ปลายไม่แตกเป็นพู่ มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณ จังหวัดศรีสะเกษและตามชายแดนไทย-กัมพูชา หากินในทุ่งหญ้า โดยรวมฝูงอยู่กับกระทิงและวัวแดง เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว, โคไพร ก็เรียก.
  13. กูรมาวตาร : [-วะตาน] น. อวตารเป็นเต่า เป็นอวตารปางที่ ๒ ของพระนารายณ์. (ส.).
  14. เก : ว. ไม่ตรงตามแนว, ไม่เป็นระเบียบ, (ใช้แก่ของที่เป็นซี่เป็นลํา) เช่น ฟันเก ขาเก; ไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบ; เกะกะ, เกเร; (ปาก) ท้าพนันด้วยการเสนอเงินเดิมพันสูงขึ้นเรื่อย ๆ.
  15. เก่ : (ปาก) ว. เข้าที เช่น ว่าไม่เป็นเก่ คือ ว่าไม่เข้าที.
  16. เก๊ : ว. ปลอมหรือเลียนแบบเพื่อให้หลงผิดว่าเป็นของแท้, ไม่ใช่ของแท้, ไม่ใช่ของจริง, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีราคา, ใช้การไม่ได้. (จ.).
  17. เก่ง : ว. สามารถในทางใดทางหนึ่ง เช่น เก่งคํานวณ เรียนเก่ง, เป็นเช่นนั้นบ่อย ๆ, มักเป็นเช่นนั้น, เช่น เป็นหวัดเก่ง หลับเก่ง ลืมเก่ง.
  18. เก้ง : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Cervidae ตัวเล็ก ขนสีน้ำตาล จนถึงน้ำตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขาและเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด ที่รู้จักกันทั่วไปคือ อีเก้ง หรือฟาน (Muntiacus muntjak) อีกชนิดหนึ่งคือ เก้งหม้อ หรือ เก้งดํา (M. feae) ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีน้ำตาลแก่เกือบดํา ที่หัวมีขนลักษณะคล้าย จุกสีเหลืองแซมดํา, ปักษ์ใต้เรียก กวางจุก.
  19. เกณฑ์ : น. หลักที่กําหนดไว้ เช่น อายุเข้าเกณฑ์, หลักวินิจฉัย เช่น ถือความรู้เป็นเกณฑ์. ก. บังคับหรือขอร้องแกมบังคับ เช่น เกณฑ์ประชาชนมาทําถนน.
  20. เกณฑ์เมืองรั้ง : น. ตําแหน่งเก่าในราชการ ซึ่งเป็นตําแหน่งสํารองเจ้าเมือง.
  21. เก็บ ๑ : ก. เอาไปหรือเอามาจากที่ เช่น เก็บผ้า เก็บผลไม้, เอาเข้าที่ เช่น เอาหนังสือไปเก็บ เอารถไปเก็บ, เอาสิ่งของที่ตกหล่นอยู่ขึ้นมา เช่น เก็บของตก, รวบรวมไว้ เช่น เก็บคะแนน, เรียกเอา เช่น เก็บค่าเช่า เก็บค่าน้ำ, รักษาไว้ เช่น ห้องเก็บของ. ว. ถ้าประกอบหลังคํานามหมายความว่า ที่เก็บไว้ เช่น ของเก็บ = ของที่เก็บไว้, เงินเก็บ = เงินที่ออมเก็บไว้, เมียเก็บ = เมียที่เก็บไว้ไม่ออกหน้าออกตา, หมากเก็บ = สิ่งที่เป็นเม็ด เป็นก้อนแข็ง เด็กใช้โยนเก็บขึ้นไว้ในมือ เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก.
  22. เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน : (สํา) ก. เก็บเล็กผสมน้อย, ทําอะไรที่ประกอบด้วย ส่วนเล็กส่วนน้อย โน่นบ้างนี่บ้าง จนสําเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา.
  23. เก็บเล่ม : ก. รวบรวมหนังสือหรือแผ่นภาพที่พิมพ์ไว้แล้ว เรียงตามลําดับเลขหน้าเข้าเป็นเล่ม (ใช้แก่การพิมพ์).
  24. เกย ๒ : น. เกยขนาดเล็กเคลื่อนย้ายไปได้ สำหรับเจ้านายใช้เป็นที่เสด็จขึ้น หรือลงพาหนะ; นอกชานหรือพื้นซึ่งสูงขึ้นที่เรียกว่า เนินปราสาท หรือ โคกปราสาท เพราะการก่อสร้างนิยมสร้างบนพื้นที่ถมสูง มีสภาพเป็นนอกชาน เรียกว่า เกย เกยชาลา หรือ ไพที ก็มี. ก. แล่นหรือเสือกขึ้นไปค้างอยู่พาดอยู่, ถูกซัดหรือลากขึ้นไปติดอยู่ ค้างอยู่ เช่น เรือเกยฝั่ง, พาดทับเฉพาะชายหรือริม เช่น ปูเสื่อเกยกัน. (รูปภาพ เกย)
  25. เกยลา : น. เกยน้อยที่ยกไปได้ ใช้เป็นที่เสด็จขึ้นลงแห่งเจ้านาย รองจากพระเจ้าแผ่นดินลงมา; นอกชาน.
  26. เกร็ด ๑ : [เกฺร็ด] น. ลําน้ำเล็กที่เป็นทางลัดเชื่อมลําน้ำใหญ่สายเดียวกัน ทั้ง ๒ ข้าง, ใช้เป็น เตร็ด ก็มี.
  27. เกร็ด ๒ : [เกฺร็ด] น. ส่วนย่อยหรือส่วนเบ็ดเตล็ด ซึ่งเป็นเรื่องสนุกหรือน่าสนใจ ที่เล่าหรือเขียนถึงเหตุการณ์สั้น ๆ ตอนใดตอนหนึ่งในชีวประวัติบุคคล สำคัญ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริง เช่น เกร็ดพงศาวดาร, เรื่องที่เขียนเล่าถึงบรรยากาศที่น่าสนใจหรือสนุกขบขัน ในที่ประชุมก่อนที่จะมีผลสรุปออกมา.
  28. เกรอะ : [เกฺรอะ] ก. แยกเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำใสหรือส่วนละเอียดที่นอนก้น อยู่ด้วยเครื่องกรองมีผ้าหนาหรือกระดาษฟางเป็นต้น เช่น เกรอะน้ำปลา เกรอะแป้ง. ว. เป็นตะกอนทับถมอย่างของที่นอนก้นซับซ้อนอยู่ เช่น ตะกอนเกรอะ, เขรอะ หรือ เขลอะ ก็ว่า.
  29. เกริ่น ๒ : [เกฺริ่น] (ถิ่น-จันทบุรี) น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้ไผ่ผ่าเป็นซีก ๆ ผูกด้วยหวายให้เป็นแผง, ปัจจุบันเรียกว่า เฝือก.
  30. เกรินบันไดนาค : น. เกรินซึ่งเป็นแท่นเลื่อนบนรางลาดประดับรูปนาค ใช้ในการเชิญพระบรมโกศโดยกว้านขึ้นหรือผ่อนลง.
  31. เกรียก ๑ : [เกฺรียก] ก. เอามีดสับ ผ่า หรือจักชิ้นไม้ให้ฉีกออกไปตามเนื้อไม้ เพื่อให้เป็นซีกเป็นเสี้ยวน้อย ๆ เช่น เกรียกไม้ทำเชื้อไฟ.
  32. เกรียง ๑ : [เกฺรียง] น. เครื่องมือสําหรับใช้ในการถือปูน ทําด้วยไม้หรือเหล็ก เป็นรูปแบน ๆ.
  33. เกรียบ : [เกฺรียบ] น. ตะกั่วที่ประสมโลหะบางอย่างเพื่อให้แข็ง เรียกว่า ตะกั่วเกรียบ; เรียกของกินทําด้วยข้าวเป็นแผ่น ๆ มีหลายอย่าง เช่น ข้าวเกรียบว่าว ข้าวเกรียบงา ข้าวเกรียบอ่อน.
  34. เกรียม : [เกฺรียม] ว. เกือบไหม้, ลักษณะอาการของสิ่งบางอย่างที่ถูกความร้อน มีไฟเป็นต้นเผาจนเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเป็นต้น เช่น ทอดปลาจนเกรียม ถูกแดดเผาจนหน้าเกรียม, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น เป็นทุกข์จนหน้าเกรียม.
  35. เกรียมกรม : ก. ระทมใจจนหม่นไหม้, ใช้เป็น กรมเกรียม เตรียมตรม หรือ ตรมเตรียม ก็ได้.
  36. เกรียว : [เกฺรียว] ว. ลักษณะที่ต่อเนื่องกันมาก ๆ เป็นแถว ๆ เช่น มากันเกรียว, ลักษณะอาการที่เป็นอย่างเดียวพร้อม ๆ กัน เช่น ขนลุกเกรียว, เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง เช่น หมาเห่าเกรียว เล่นกันเกรียว.
  37. เกรียวกราว : ว. เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง, โดยปริยายหมายความว่า ที่รู้และพูดกันทั่วไป เช่น เป็นข่าวเกรียวกราว.
  38. เกล็ด : น. ส่วนที่เป็นแผ่น ๆ ซ้อนเหลื่อมกันห่อหุ้มตัวปลาและ สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด, สิ่งที่แข็งตัวเป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายเกล็ดปลา เช่น เกล็ดพิมเสน น้ำตาลขึ้นเกล็ด, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานเกล็ด ฝาเกล็ด เกล็ดเสื้อ. ก. ขบให้เมล็ดแตกเพื่อกินเนื้อใน (ใช้แก่สิ่งที่เป็นเม็ดเล็ก ๆ) เช่น เกล็ดเมล็ดแตงโม นกเกล็ดข้าว, โดยปริยายหมายความว่าตัดเอา แต่ที่ดี ๆ เช่น เกล็ดไพ่.
  39. เกล็ดกระโห้ : น. ชื่อขนมทําด้วยแป้ง น้ำตาล ไข่ เป็นแผ่น ๆ คล้ายเกล็ดปลากระโห้ ผิงให้สุกกรอบ.
  40. เกล็ดนาค : น. ชื่อลายมีรูปเป็นครึ่งวงกลมซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลา.
  41. เกล้ากระผม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมาก หรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  42. เกล้ากระหม่อม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลพระอนุวงศ์ ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  43. เกลียว : [เกฺลียว] น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นรอยพันหรือบิดโดยรอยต่อเนื่อง อย่างสว่าน หรือตะปูควงหรือเชือกที่ฟั่นเป็นต้น, ลักษณะของเชือก ที่ฟั่น. ก. กิริยาที่หมุนบิดให้เชือกเขม็งขึ้น เรียกว่า ตีเกลียว, ถ้าเอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้วเอาเชือกเส้นที่ ๓ ซึ่งเขม็งแล้ว ควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้น โดยคลายเกลียว ที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อยเพื่อให้เชือกเส้นที่ ๓ สอดควบ เข้าด้วยกันได้จนตลอดเรียกว่า สับเกลียว หรือ สับเชือก. ว. โดยปริยายหมายความว่า ขยันขันแข็ง เช่น หากินตัวเป็นเกลียว, น้ำหนึ่งใจเดียวกัน เช่น เข้ากันเป็นเกลียว, ในลักษณะนี้ถ้าไม่เข้าเกลียวกัน คือแตกพวกหรือไม่ถูกกัน หรือมีความเห็นไม่ลงรอยกัน เรียกว่า ปีนเกลียว.
  44. เกลือกรด : (เคมี) น. เกลือที่เกิดขึ้นโดยธาตุไฮโดรเจนชนิดที่แปร สภาพเป็นไอออนได้ ซึ่งมีอยู่ในโมเลกุลของกรด ถูกโลหะหรือ หมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะเข้ามาแทนที่ไม่หมด เช่น โซเดียมไฮโดรเจนซัลเฟต (NaHSO4). (อ. acid salt).
  45. เกลือแกง : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ มีมากในน้ำทะเล ใช้ปรุงอาหาร ทําเครื่องดองเค็ม, เมื่ออยู่ในสภาพบริสุทธิ์ที่สุด ใช้ละลายในน้ำกลั่น เรียกว่า น้ำเกลือ สําหรับให้ผู้ป่วยโดยให้ทางเส้นเลือด ใช้ในอุตสาหกรรมทําสบู่ อุตสาหกรรมผลิตโซดาแผดเผา. (อ. common salt).
  46. เกลือเงิน : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อซิลเวอร์ไนเทรต (AgNO3) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ ใช้ประโยชน์ในทางแพทย์ อุตสาหกรรมชุบโลหะให้เป็นเงิน.
  47. เกลื้อน : [เกฺลื้อน] น. ชื่อโรคผิวหนังเกิดจากเชื้อรา (Malassezia furfur) ขึ้นเป็นดวงขาว ๆ อาจมีอาการคัน, ขี้เกลื้อน ก็ว่า.
  48. เกลือปรกติ : (เคมี) น. เกลือที่เกิดขึ้นโดยธาตุไฮโดรเจนชนิดที่ แปรสภาพเป็นไอออนได้ ซึ่งมีอยู่ในโมเลกุลของกรดถูกโลหะหรือ หมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะเข้ามาแทนที่จนหมดสิ้น เช่น โซเดียมซัลเฟต (Na2SO4). (อ. normal salt).
  49. เกศพ, เกศวะ : [-สบ, เกสะวะ] ว. ผู้มีผมงาม, ใช้เป็นนามของพระนารายณ์ หรือพระกฤษณะซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์. (ส.).
  50. เกษม : [กะเสม] น. ความสุขสบาย, ความปลอดภัย, มักใช้เข้าคู่กับคําอื่น เช่น สุขเกษม เกษมศานต์. (โบ เขียนเป็นกระเษม, เขษม ก็มี). (ส.; ป. เขม).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | [1501-1550] | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8139

(0.3570 sec)