Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นพิเศษ, พิเศษ, เป็น , then ปน, เป็น, เป็นพิเศษ, พิเศษ, วิเศษ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นพิเศษ, 8139 found, display 6251-6300
  1. ลิ้นกระบือ ๑ : น. ไม้แผ่นบาง ๆ สําหรับสอดเพลาะกระดานเป็น ระยะ ๆ ให้สนิทแข็งแรง.
  2. ลิ้นงูเห่า : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Acanthaceae คือ ชนิด Blepharis maderaspatensis Heyne ดอกเล็ก สีขาวลายม่วง และชนิด Clinacanthus siamensis Brem. ดอกใหญ่เป็นหลอด สีแดงอมแสด.
  3. ลิ้นตก : น. ภาวะที่ลิ้นไม่สามารถทำงานได้เป็นปรกติเนื่องจากการ หมดสติเป็นต้น.
  4. ลิ่นทะเล : น. ชื่อสัตว์ทะเลจําพวกหอยในชั้น Polyplacophora ลําตัวเป็นรูปไข่ ผ่าซีก เปลือกคลุมตัวด้านหลังมี ๘ ชิ้น วางเหลื่อมซ้อนกันเหมือน กระเบื้องมุงหลังคา อยู่ตามโขดหินชายทะเล มีหลายสกุล เช่น สกุล Chiton, Acanthochiton, หอยแปดเกล็ด ก็เรียก.
  5. ลิ้นทูต : ว. มีศิลปะในการเจรจาให้สำเร็จประโยชน์และเป็นที่พอใจ ด้วยกันทุกฝ่าย.
  6. ลินสีด : น. ชื่อเมล็ดของต้นแฟลกซ์ มีลักษณะแบนรูปไข่ ยาว ๓–๔ มิลลิเมตร สีนํ้าตาล เรียบเป็นมัน. (อ. linseed); เรียกนํ้ามันที่สกัดจากเมล็ดของ ต้นแฟลกซ์ว่า นํ้ามันลินสีด มีลักษณะข้น เหนียว เมื่อถูกอากาศจะ แข็งตัว ใช้ประโยชน์ในการผสมสี หมึกพิมพ์ นํ้ามันชักเงา เป็นต้น.
  7. ลิ้นเสือ ๒ : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Pseudorhombus วงศ์ Bothidae ลำตัวแบนข้างมาก ตามีลักษณะเหมือนปลาตาเดียวแต่ตาทั้ง ๒ ข้าง อยู่ทางซีกซ้ายของหัว พื้นลําตัวสีนํ้าตาลและส่วนมากมีจุดประสีเข้ม เป็นวงแหวนเด่น เรียกรวม ๆ กันโดยทั่วไปว่า ใบขนุน ลิ้นควาย หรือ ลิ้นหมา.
  8. ลิ่นฮื้อ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Labeo jordani ในวงศ์ Cyprinidae เดิมรู้จักกัน ในชื่อ Cirrhinus molitorella ตัวยาว ท้องกลม ปากเล็กหนา อยู่ตํ่าที่ ปลายสุดของหัว มีหนวดเล็ก ๒ คู่ ตาเล็ก เกล็ดเล็กเรียบ ตัวสีเทาเงิน ถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นําเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร, ตูลิ่นฮื้อ ก็เรียก.
  9. ลิปดา : น. มาตราวัดมุม ได้แก่เศษ ๑ ใน ๖๐ ขององศา แบ่งออกเป็น ๖๐ พิลิปดา. (ส.).
  10. ลิปสติก : น. เครื่องสําอางชนิดหนึ่งสําหรับทาริมฝีปากให้เป็นสีต่าง ๆ มักเป็น สีแดงหรือชมพู โดยมากทําเป็นแท่งเล็ก ๆ. (อ. lipstick).
  11. ลิ่ม : น. ไม้หรือเหล็กเป็นต้นที่มีสันหนาปลายบาง สําหรับจีมหรือขัด ให้แน่น หรือตอกลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นท่อนไม้เพื่อให้แตก แยกออกจากกัน, ไม้ขัดบานประตูหน้าต่างซึ่งมีลักษณะคล้ายลิ่ม, เรียกเงินหรือทองที่หลอมเป็นแท่งตามที่ต้องการเพื่อเก็บรักษาไว้ว่า เงินลิ่ม ทองลิ่ม, เรียกอาการที่เลือดไหลออกมาแข็งตัวเป็นก้อน ๆ ว่า เลือดออกเป็นลิ่ม ๆ.
  12. ลิ่มเลือด : น. เลือดซึ่งแปรรูปคล้ายวุ้น มีทั้งประโยชน์และโทษ ที่มีประโยชน์เกิดนอกร่างกาย เช่นเวลาเป็นแผลมีเลือดออกแล้ว แข็งเป็นลิ่ม เลือดก็จะหยุดไหล ที่มีโทษเกิดภายในร่างกายซึ่งเกิด จากการผิดปรกติบางอย่างของร่างกาย อาจทำให้เกิดอันตราย ร้ายแรงได้โดยไปอุดตามหลอดเลือดฝอยเช่นที่สมอง ทำให้เป็น อัมพาต ที่หัวใจ ทำให้หัวใจวาย.
  13. ลิลิต : น. ชื่อคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งซึ่งใช้โคลงและ ร่ายต่อสัมผัสกันเป็นเรื่องยาว.
  14. ลิว : ก. เอามีดเฉือนหนังทั้งแผ่นให้เป็นเส้นเพื่อทําเชือกหนัง; ร่อน, ขว้าง, ปา.
  15. ลี่ ๑ : น. ชื่อมดขนาดยาว ๕–๖ มิลลิเมตร อยู่กันเป็นฝูงตามต้นไม้ ทํารัง ด้วยดินและวัสดุเศษไม้ตามซอกกิ่งไม้ ลักษณะคล้ายรังปลวก เวลาเดินจะยกท้องขึ้นเกือบตั้งฉากกับลําตัวคล้ายกับมีหางชี้ ที่พบ ได้บ่อยอยู่ในสกุล Crematogaster วงศ์ Formicidae คือ ชนิด C. dohrni หัวและอกสีส้ม ท้องสีดํา, รี่ หรือ ตูดงอน ก็เรียก.
  16. ลี่ ๒ : น. เครื่องดักปลาชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่เป็นซี่ ๆ ถักติดกันเป็นผืน สำหรับปักล้อมดักปลาที่ทางน้ำไหล.
  17. ลีบ : ว. แฟบเพราะไม่เจริญเติบโตตามธรรมดาที่ควรเป็น เช่น ข้าวลีบ เมล็ดลีบ; มีเนื้อไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร เช่น ขาลีบ แขนลีบ; โดย ปริยายหมายความว่า อาการที่ห่อตัวให้เล็กลงเพราะกลัวหรือเพื่อ เข้าในที่แคบเป็นต้น เช่น กลัวจนตัวลีบ เบียดจนตัวลีบ.
  18. ลีลา : น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อ พระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาท ขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าว เพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้าย ยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูด ลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะ แก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).
  19. ลึงค์ : น. อวัยวะเพศชาย, อวัยวะเพศ; ประเภทคําในไวยากรณ์ที่บอกให้รู้ว่า คํานั้นเป็นเพศอะไร เช่น ปุลลึงค์ คือ เพศชาย สตรีลึงค์ คือ เพศหญิง; ลิงค์ ก็ว่า. (ป., ส. ลิงฺค).
  20. ลื้น, ลื้น ๆ : ว. เจ็บอาย, เศร้า, สลด, เช่น ว่าแล้วหน้าไม่ลื้น; บวมหรือนูนน้อย ๆ เช่น แขนถูกแมลงต่อยผิวลื้นขึ้นมา เนื้อลื้น ๆ จะเป็นฝี.
  21. ลืมตน : ก. ขาดความระลึกถึงฐานะเดิมของตน, ลืมนึกถึงฐานะของตน ไปชั่วคราว, เช่น ได้ดีแล้วอย่าลืมตน; ลืมนึกถึงความจริงประการหนึ่ง ของโลกที่ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงอาจแปรเปลี่ยนได้ เช่น เหลิง อำนาจจนลืมตน.
  22. ลืมตัว : ก. ขาดสติไปชั่วคราว, เผลอตัวไปชั่วคราว, เช่น เวลาโกรธ เขาลืมตัวไม่กลัวตาย; ลืมตน, ขาดความระลึกถึงฐานะเดิมของตน, เช่น เมื่อเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมา มีคนประจบสอพลอมาก ทำให้เขา ลืมตัว.
  23. ลืมหูลืมตา : ก. เปิดหูเปิดตารับรู้ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ทั่วไป เช่น รู้จักลืมหูลืมตาดูโลกเสียบ้างซิ; มักใช้แก่ฝนในความปฏิเสธ หมายความว่าหนักมาก เช่น ฝนตกอย่างไม่ลืมหูลืมตา.
  24. ลื้อ ๒ : (ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศชาย ใช้พูดกับผู้ที่เสมอกัน หรือผู้น้อยในทำนองเป็นกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (จ. ลื่อ ว่า คำใช้เรียกบุรุษที่ ๒).
  25. ลือสาย : น. คําเรียกผู้เป็นใหญ่เช่นกษัตริย์, มักใช้ว่า ฦๅสาย.
  26. ลุกลน : ก. ทําโดยรีบร้อนไม่เป็นระเบียบ เช่น ทำอะไรอย่าลุกลนของจะ หล่นแตก. ว. ไม่สุภาพเรียบร้อย เช่น เขาแสดงกิริยาลุกลน พูด ลุกลนฟังไม่เป็นศัพท์.
  27. ลุกลี้ลุกลน : ว. เร่งรีบอย่างไม่เป็นระเบียบ เช่น เขามีกิริยาลุกลี้ลุกลน เดินลุกลี้ ลุกลน.
  28. ลุ้ง : น. ภาชนะใส่อาหารหรือของอย่างอื่น รูปทรงกระบอกมีฝาปิด สานอย่างตะกร้าหรือเครื่องเขินก็มี ทําด้วยโลหะมีทองเหลือง และเหล็กวิลาดเป็นต้นก็มี, ถ้าใช้ใส่อาหารมักแบ่งข้างในเป็น ห้อง ๆ, ถ้าใช้ใส่ชฎา ก็มีฝาเรียวรูปกรวยเพื่อครอบยอดชฎาได้; โลงสําหรับใส่ศพ รูปสี่เหลี่ยมปากผาย ก้นสอบ; ภาชนะดินปั้น ใช้ใส่อัฐิเพื่อนำไปลอยน้ำ.
  29. ลุ่ย : ก. เลื่อนหลุดจากที่เพราะคลายตัวไม่แน่นเหมือนเดิม เช่น ผ้านุ่ง ที่เหน็บไว้ลุ่ยหลุดออก มวยผมลุ่ยออกมา, คลายออกเป็นเส้น ๆ เช่น ชายผ้าลุ่ย ด้ายที่เย็บไว้ลุ่ย. ว. ไม่มีทางสู้ ในคำว่า แพ้ลุ่ย.
  30. ลุยลาย : ก. แกะพื้นลายให้ลึกเป็นร่องระหว่างตัวลาย เช่น ใช้สิ่ว ลุยลาย.
  31. ลุโสดา : ก. บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบัน; (ปาก) หมดกิเลส, รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ฉันยังไม่ลุโสดานี่; บรรลุโสดา ก็ว่า.
  32. ลู่ ๒ : ก. เอนราบเป็นแนวไป ด้วยมีสิ่งอื่นบังคับให้เป็นเช่นนั้น เช่น ต้นสนลู่ไปตามลม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผมของเขาพอถูกฝนก็ลู่ลงมาหมด.
  33. ลูก : น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คํา ที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูด หลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คําที่ลูกใช้ แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ ง่วงนอน, เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา, เรียกสิ่งที่จะสืบ เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึง ผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคําพยางค์เดียวอันอาจทํา ให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด, เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดย อนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน, ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้ หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง๕ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
  34. ลูกกรง : น. สิ่งซึ่งเรียงกันเป็นซี่ ๆ ของกรงหรือที่คุมขัง; สิ่งที่เป็น ลูกตั้งสําหรับราวบันไดและสะพานเป็นต้น เช่น ลูกกรงบันได ลูกกรงสะพาน ลูกกรงระเบียง.
  35. ลูกกรอก : น. ลูกคนหรือลูกสัตว์มีแมวเป็นต้นที่ตายตั้งแต่อยู่ใน ครรภ์หรือในท้อง มีร่างกายครบบริบูรณ์ แต่ขนาดเล็ก เชื่อกันว่า จะให้คุณแก่เจ้าของหรือบางทีก็ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง.
  36. ลูกกระพรวน : [–พฺรวน] น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้ง เล็ก ๆ อยู่ข้างในเพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น, กระพรวน พรวน หรือ ลูกพรวน ก็ว่า; (ถิ่น–พายัพ, อีสาน) มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.
  37. ลูกกระแอม : น. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนมเปียกปูนคล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สําหรับอุดหรือปิดช่อง ไฟระหว่างลายกระหนกเครือวัลย์. (ดู กระแอม๒).
  38. ลูกกลอน : น. เม็ดยาเปียก ๆ ที่ปั้นเป็นก้อนกลมเพื่อกลืนกิน.
  39. ลูกกวาด : น. ของหวานทําด้วยนํ้าตาล มีสีต่าง ๆ มีลักษณะเป็นเม็ด กลม ๆ แน่นแข็ง บางอย่างมีถั่วเป็นต้นอยู่ข้างใน ใช้เคี้ยวหรืออม ให้ค่อย ๆ ละลายไปเอง.
  40. ลูกแก้ว : น.เรียกสิ่งที่กลึงเป็นรูปกลม ๆ ตามหัวเม็ดและขาโต๊ะ เป็นต้น, ลูกกลม ๆ ทำด้วยแก้ว คล้ายลูกหิน แต่เล็กกว่า, ลูกกลม ทำด้วยแก้ว มีขนาดต่าง ๆ กัน หมอดูใช้ในการทำนายโชคชะตา; ลูกที่พ่อแม่รักมากที่สุด, ลูกแก้วลูกขวัญ หรือ ลูกขวัญ ก็เรียก.
  41. ลูกแก้ว ๒ : (ถิ่น–พายัพ) น. เด็กที่โกนหัวเตรียมบวชเป็นสามเณร.
  42. ลูกโกลน : [–โกฺลน] น. สิ่งที่ใช้ต่างลูกกลิ้งวางเป็นระยะ ๆ ไป เพื่อ รองรับสิ่งที่หนักหรือใหญ่โตให้เคลื่อนย้ายชะลอไปได้สะดวก.
  43. ลูกขวาน : น. ขวานขนาดเล็ก หน้าประมาณนิ้วครึ่ง ใช้เหน็บหลัง เป็นอาวุธ.
  44. ลูกขัด ๑ : น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง อย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทํานองให้ผิดแผกแตกต่างไป อีกอย่างหนึ่ง และทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาว เท่าใดหรือจะมีเพียงพยางค์เดียวก็ได้.
  45. ลูกขัด ๒ : น. อุปกรณ์สําหรับขัดหรือปัดเงาเครื่องโลหะ ทําด้วยผ้า ซ้อนกันหลายชั้นเป็นรูปกลมคล้ายลูกล้อ มีรูตรงกลาง สวมเข้ากับ แกนที่ต่อออกมาจากมอเตอร์.
  46. ลูกข่าง : น. ของเล่นอย่างหนึ่งเป็นลูกกลม ๆ มีเดือยใช้ปั่นให้หมุน ด้วยมือหรือด้วยเชือก.
  47. ลูกขุน ณ ศาลหลวง : (โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายตุลาการ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีหน้าที่พิพากษาคดีอย่าง ศาลยุติธรรม แต่มิได้เป็นผู้พิจารณาคดี เพราะมีตระลาการที่จะ พิจารณาคดีแล้วขอคําตัดสินจากลูกขุน ณ ศาลหลวงอีกชั้นหนึ่ง, กฎหมายตราสามดวงมักใช้ว่า ลูกขุน ณ สานหลวง.
  48. ลูกขุนพลอยพยัก : (สํา) น. ผู้ที่คอยว่าตามหรือเห็นด้วยกับผู้ใหญ่ เป็นเชิงประจบสอพลอเป็นต้น.
  49. ลูกเขย : น. ชายซึ่งเป็นผัวของลูกสาว.
  50. ลูกครอก : น. ลูกปลาจําพวกปลาช่อนที่ตามพ่อเป็นฝูง ๆ, ลูกชักครอก ก็ว่า; (โบ) ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | [6251-6300] | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8139

(0.2568 sec)