Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นพิเศษ, พิเศษ, เป็น , then ปน, เป็น, เป็นพิเศษ, พิเศษ, วิเศษ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นพิเศษ, 8139 found, display 6451-6500
  1. แล็กเกอร์ : น. น้ำมันชักเงาประเภทหนึ่งที่ใช้ทาหรือพ่นเคลือบผิววัตถุให้เป็นเงา มันและสวยงาม ประกอบด้วยตัวทำละลายที่ระเหยแห้งได้ง่าย เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) บิวทิลแอซิเทต (butyl acetate) และ ตัวถูกละลาย เช่น ไนโตรเซลลูโลส (nitrocellulose) ไวนิลเรซิน (vinyl resin) เมื่อนำไปทาหรือพ่นผิววัตถุ ตัวทำละลายจะระเหยแห้ง ไปอย่างรวดเร็ว ทิ้งตัวถูกละลายให้เป็นของแข็งเคลือบผิววัตถุเป็น เงามัน มีหลายชนิด เช่น ชนิดใช้กับพื้นไม้ ชนิดใช้กับพื้นโลหะ ชนิดใช้พ่นเคลือบเส้นผมให้ทรงรูป ชนิดใช้ทาเคลือบเล็บ.
  2. แลกเงิน : ก. เอาเงินตราหน่วยใหญ่ไปแลกเป็นเงินปลีกหรือหน่วยย่อย, แตกเงิน ก็ว่า, แลกเปลี่ยนเงินตราต่างสกุลกัน เช่น แลกเงินดอลลาร์ เป็นเงินบาท.
  3. แล็กโทส : (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๒๐๓?ซ. องค์ประกอบเป็นโมเลกุล ของกลูโคสเชื่อมกับโมเลกุลของกาแล็กโทส มีปรากฏในนํ้านม ของคนและสัตว์ทุกชนิด มีรสหวานน้อยกว่านํ้าตาลทราย. (อ. lactose).
  4. แลง ๑ : น. ชื่อหินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะเป็นดินอ่อน เมื่อถูกลม แล้วแข็ง เป็นหินสีแดงอย่างอิฐเผา แต่ปรุเป็นรูเหมือนไม้ที่เพรียงกิน เรียกว่า หินแลง หรือ ศิลาแลง.
  5. แล่ง ๓ : ก. ผ่า, ทำให้แตก, เช่น แล่งมะพร้าว; รีดเป็นเส้นบาง ๆ เช่น
  6. แล่งเงิน แล่งทอง. : ว. เรียกเงินหรือทองที่รีดเป็นเส้นบาง ๆ ว่า เงินแล่ง ทองแล่ง.
  7. แลนทานัม : น. ธาตุลําดับที่ ๕๗ สัญลักษณ์ La เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว หลอมละลายที่ ๙๒๐?ซ. (อ. lanthanum).
  8. แล่นใบบนบก : (สำ) ก. คิดทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้.
  9. แลบ : ก. เหลื่อมหรือทําให้เหลื่อมออกจากที่เดิม (มักใช้แก่ของแบน ๆ) เช่น แขนเสื้อชั้นในแลบ แลบลิ้น; เป็นแสงแวบ ๆ ออกไป เช่น ฟ้าแลบ ไฟแลบ.
  10. แล้ว : ว. ลักษณะอาการกระทําใด ๆ เสร็จ สิ้น จบ ล่วงไป หรือสุดสิ้นลง เช่น กินแล้ว ทำแล้ว นอนแล้วหรือต่อแต่นั้นเริ่มใหม่อีกระยะหนึ่ง (จะเป็นการกระทําอย่างเดียวกันหรือต่างกันแล้วแต่กรณี) เช่น กิน แล้วนอน ขึ้นรถแล้วลงเรือ.
  11. แล้วก็แล้วไป : ว. อาการที่พูดปลอบใจหรือให้สติว่า เมื่อเหตุการณ์ สิ้นสุดหรือยุติลงแล้วก็ไม่ควรเก็บมาเป็นกังวลหรือรื้อฟื้นขึ้นมาอีก.
  12. แล้วกัน : (ปาก) ว. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือผิดหวัง เป็นต้น เช่น แล้วกันกินขนมหมดไม่เหลือไว้ให้เลย แล้วกัน ไป เมื่อไรก็ไม่บอก; คำที่ใช้ลงท้ายข้อความแสดงว่าเป็นอันยุติกัน เช่น ขอโทษเขาเสียหน่อยก็แล้วกัน วันนี้ยังเขียนไม่เสร็จ เอาไว้พรุ่งนี้แล้วกัน.
  13. และ ๑ : ก. เชือด แล่ เถือสิ่งที่ยังมีเหลือติดอยู่กับสิ่งอื่นเช่นเนื้อติดกระดูกให้ หลุดออกเป็นแผ่นบาง ๆ เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเป็นต้น.
  14. โลกเชษฐ์ : [โลกกะ–] น. ''ผู้เป็นใหญ่ในโลก'' คือ พระพุทธเจ้า. (ส. โลกเชฺยษฺ?; ป. โลกเชฏฺ?).
  15. โลกนาถ : [โลกกะ–] น. ผู้เป็นที่พึ่งของโลก, ทางพระพุทธศาสนา หมายถึง พระพุทธเจ้า. (ป., ส.).
  16. โลก, โลก– : [โลก, โลกะ–, โลกกะ–] น. แผ่นดิน, โดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ เช่น ให้โลกนิยม; ส่วนหนึ่งแห่งสกลจักรวาล เช่น มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก โลกพระอังคาร; (ภูมิ) ดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับ ๕ ในระบบสุริยะ เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ทั้งหลาย ลักษณะอย่างรูปทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ศูนย์สูตรยาว ๑๒,๗๕๕ กิโลเมตร ศูนย์กลางที่ขั้วโลกยาว ๑๒,๗๑๑ กิโลเมตร มี เนื้อที่บนผิวโลก ๕๑๐,๙๐๓,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร. (ป., ส.).
  17. โลกวัชชะ : [โลกะ–] น. โทษทางโลก, อาบัติที่เป็นโทษทางโลก, ข้อเสียหายที่ชาวโลกติเตียนว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ คือ สิ่งที่ ภิกษุหรือคนทั่วไปที่ไม่ใช่ภิกษุทำ ก็เป็นความผิดความเสียหาย เหมือนกัน เช่น ทําโจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทะเลาะวิวาท. (ป.).
  18. โลกสถิติ : [โลกะ–] น. ความเป็นอยู่ของโลก. (ส.).
  19. โลกันตร์ : น. ชื่อนรกขุมหนึ่งเป็นที่ลงโทษที่หนักที่สุดไม่ผุดไม่เกิด. (ป. โลกนฺตร ว่า ระหว่างโลก; ส. ว่า โลกอื่น).
  20. โลกาธิปไตย : [–ทิปะไต, –ทิบปะไต] น. การถือโลกเป็นใหญ่. (ป. โลกาธิปเตยฺย).
  21. โลกายัต : น. ชื่อหนึ่งของลัทธิปรัชญาฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ถือว่า โลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเองของวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ชีพหรือชีวิตเป็นเพียงผลิตผลของวัตถุธาตุที่รวมตัวกันนั้น คนเรา เกิดครั้งเดียว ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีโลกหน้า จึงควรแสวงหากามสุข เสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้เราอาจตาย, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็น อุจเฉททิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าตายแล้วสูญ, จารวาก ก็เรียก. (ป., ส.).
  22. โลกาวินาศ : ว. สูญสิ้นความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์ห้าม ประกอบการมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็น โลกาวินาศ ทั้งนี้ตลอดปีนั้น, ตรงข้ามกับ อธิบดี.
  23. โลกียวัตร : น. ความเป็นไปของสามัญชน. (ป. โลกิย + วตฺต).
  24. โลกียสุข : น. ความสุขทางโลก, ความสุขทางกามารมณ์, เช่น การ ดูมหรสพเป็นโลกียสุขอย่างหนึ่ง.
  25. โลเกศ : น. ผู้เป็นใหญ่ในโลก, จอมโลก. (ส.; ป. โลเกส).
  26. โล่งหู : ก. รู้สึกสบายอกสบายใจเพราะไม่ได้ยินเสียงที่เคยทำให้ รำคาญหูอยู่เป็นประจำ.
  27. โลน ๒ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กชนิด Pthirus pubis ในวงศ์ Pediculidae ตัวยาว ๑.๕–๒ มิลลิเมตร ลําตัวค่อนไปทางรูปไข่แบน สีขาว อมนํ้าตาลอ่อน ไม่มีปีก ปลายขางอแหลมเกือบเป็นง่ามเหมือน ก้ามปู อาศัยอยู่ตามบริเวณขนในที่ลับของคน กัดและดูดเลือด กินเป็นอาหาร ทําให้เกิดอาการคัน.
  28. โลหกุมภี : [โลหะ–] น. ชื่อนรกขุมหนึ่ง มีกระทะทองแดงเป็นที่ ทรมาน. (ป.).
  29. โลห–, โลหะ : [โลหะ–] น. ธาตุที่ถลุงจากแร่แล้ว เช่น เหล็ก ทองแดง ทองคํา; (วิทยา) ธาตุซึ่งมีสมบัติสําคัญคือ เป็นตัวนําไฟฟ้าและความร้อนที่ดี มีขีดหลอมเหลวสูง ขัดให้เป็นเงาได้ ตีแผ่เป็นแผ่นหรือดึงให้เป็น เส้นลวดได้ เมื่อนํามาเคาะมีเสียงดังกังวาน เมื่ออยู่ในสภาพไอออน จะเป็นไอออนบวก.
  30. ไล่ ๑ : ก. ตามไปติด ๆ เพื่อให้ทันหรือเพื่อกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไล่ยิง ไล่กัด ไล่ขวิด ไล่จิก; ขับ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น ไล่ขับ หมายความว่า บังคับให้ออกไปให้พ้น, บังคับให้ไปหรือให้ออก จากที่เดิม เช่น ไล่ควายเข้าคอก ไล่คนออกจากบ้าน; ต้อนให้จนมุม เช่น เอาม้าและเรือไล่ขุน; สอบดูลำดับก่อนหลังเพื่อทบทวนความรู้ ความจำเป็นต้น เช่น เรียกนักเรียนมาไล่แบบ.
  31. ไล่เบี้ย : ก. ไล่เลียงหาคนทำผิดตั้งแต่หัวแถวจนถึงปลายแถว; (กฎ) เรียกร้องให้รับผิดในการชําระหนี้ย้อนขึ้นไปเป็นลําดับ, โดยปริยาย หมายถึงการกระทําในลักษณะเช่นนั้น.
  32. ไล่ไปไล่มา : ก. ไล่เลียง, ไต่ถาม, เช่น ไล่ไปไล่มาก็เป็นญาติกัน ไล่ไปไล่มาก็รุ่นเดียวกัน.
  33. ไล่สี : ก. เกลี่ยสีให้เสมอกันในการระบายสี ระบายสีให้เป็นไป ตามลำดับของสีจากสีอ่อนไปหาแก่หรือจากสีแก่ไปหาอ่อน.
  34. ฦ, ฦๅ ๑ : วิธีเขียนเสียง ลึ ลือ แต่บัญญัติเขียนเป็นอีกรูปหนึ่งต่างหาก อนุโลมตามอักขรวิธี ของสันสกฤต.
  35. : พยัญชนะตัวที่ ๓๗ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น เช่น วัน วา ใช้ควบกล้ำ กับพยัญชนะตัวอื่นบางตัว เช่น กว่า ความ และใช้เป็นตัวสะกดใน แม่เกอว เช่น กล่าว นิ้ว.
  36. วก : ก. หักเลี้ยวกลับ เช่น รถเลยที่หมายแล้ววกกลับ, ในบทกลอน ใช้แผลงเป็น พก ก็มี.
  37. วง : น. รูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น วงกลม วงรี, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รวมกัน เป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่น วงราชการ วงดนตรี; ส่วนสัดของมือที่ใช้ใน การรํา, คู่กับ เหลี่ยม คือ ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา; ลักษณนาม ใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คน นั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วงหรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็น ชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วง ประชันกัน. ก. ล้อมรอบ, ทําเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอ เขียนป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์.
  38. วงกลม : น. รูปวงที่กลม รอบมีรัศมีจากจุดศูนย์กลางไปถึงขอบมี ขนาดเท่ากันหมด; (คณิต) รูปที่เกิดจากเซตของจุดบนระนาบเซต หนึ่งที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะเท่ากัน.
  39. วงจรชีวิต : น. การเวียนว่ายตายเกิด, ลักษณาการของชีวิตที่มี พัฒนาการเป็นขั้น ๆ ไปตามลำดับและในที่สุดก็จะเวียนมาบรรจบ ณ จุดเริ่มต้นใหม่ แล้วเวียนซ้ำต่อไปอีก เช่น ผีเสื้อออกไข่ แล้วไข่ กลายเป็นตัวหนอน หนอนกลายเป็นดักแด้ ดักแด้กลายเป็นผีเสื้อ แล้วผีเสื้อก็ออกไข่ ฯลฯ.
  40. วงเดือน : น. ชื่อเลื่อยชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นแผ่นกลม มีฟันอยู่ โดยรอบ.
  41. วงนอก : ว. ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยตรง เช่น ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกถือเป็นคนวงนอก, ตรงข้ามกับ วงใน.
  42. วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  43. วงเล็บเหลี่ยม : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กัน คำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะ หนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน,เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอก คำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า, พระขนงใช้กันข้อความในการเขียน บรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏใน หนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐาน ยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็น กลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 3{x + 5 4(x + 1)}] = 23, ใช้ ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อ แสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F2] = 1.05.106, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]2H2O. วงวัง น. การล้อม.
  44. วงเวียน : น. เครื่องมือสําหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีก ข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, (โบ) กงเวียน หรือ กางเวียน ก็ว่า; ที่ซึ่งมีลักษณะกลมเป็นที่รวมแห่งถนนหลาย ๆ สาย เช่น วงเวียนใหญ่ วงเวียน ๒๒ กรกฎา.
  45. วงแหวน : [แหฺวน] น. โลหะหรือแผ่นหนังเป็นต้นที่ทําเป็นรูป แหวนสําหรับรองอย่างที่หัวสลักเกลียวหรือที่เพลา เพื่อกันสึกหรอ หรือเพื่อให้กระชับแน่น, มักเรียกว่า แหวน, โดยปริยายใช้เรียกสิ่ง อื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถนนวงแหวน พื้นที่วงแหวน.
  46. วจี : [วะ] น. คําพูด, ถ้อยคํา. (ป.; ส. วจิ, วาจฺ). วจีกรรม น. การพูด, การกระทําทางวาจา, เช่น การกล่าวเท็จเป็น การทำผิดทางวจีกรรม. (ป. วจีกมฺม).
  47. วชิราวุธ : น. ''ผู้มีวชิระเป็นอาวุธ'' คือ พระอินทร์. (ป.).
  48. วดี ๒ : คําเติมท้ายคําอื่นที่เป็นนาม หมายความว่า มี เป็นเพศหญิงตามหลัก ไวยากรณ์ เช่น ดาราวดี ว่า มีดาว.
  49. วทัญญุตา : น. ความเป็นผู้เอื้อเฟื้อ. (ป.).
  50. วน ๑ : ก. เวียนไปโดยรอบ เช่น ขับรถวนรอบสนาม, ไปโดยรอบเข้าหา ศูนย์กลางหรือออกจากศูนย์กลาง เช่น น้ำวน วนเป็นก้นหอย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | [6451-6500] | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8139

(0.3023 sec)