Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นอันตราย, อันตราย, เป็น , then ปน, ปนอนตราย, เป็น, เป็นอันตราย, อนตราย, อนฺตราย, อันตราย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นอันตราย, 8140 found, display 5101-5150
  1. ภาณวาร : [พานะวาน] น. ธรรมที่จัดไว้เป็นหมวด, หมวดหนึ่ง ๆ; ข้อธรรม ที่จัดไว้เป็นหมวด, ข้อธรรมหมวดหนึ่ง ๆ สําหรับสาธยาย. (ป.).
  2. ภาพกาก : น. ภาพเขียนที่เป็นตัวประกอบในเรื่อง.
  3. ภาพจริง : (แสง) น. ภาพที่เกิดจากกระจกเว้าหรือเลนส์นูน ลักษณะเป็น ภาพหัวกลับ ใช้จอรับได้.
  4. ภาพพจน์ : [พาบพด] น. ถ้อยคำที่เป็นสํานวนโวหารทําให้นึกเห็นเป็น ภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผล ต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่าง กว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา. (อ. figure of speech).
  5. ภาพ, ภาพ– : [พาบ, พาบพะ–] น. ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วน ท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย; รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึก เห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน, สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบ ไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย. (ป., ส. ภาว).
  6. ภาพยนตร์ : [พาบพะ–] น. ภาพฉายด้วยเครื่องทําให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว ได้, หนังฉาย.
  7. ภาพลวงตา : น. ภาพที่ปรากฏให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น เห็น พยับแดดเป็นนํ้า เห็นเชือกเป็นงู.
  8. ภาพลักษณ์ : [พาบลัก] น. ภาพที่เกิดจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าควรจะ เป็นเช่นนั้น, จินตภาพ ก็ว่า. (อ. image).
  9. ภาพเสมือน : (แสง) น. ภาพที่เกิดจากกระจกนูน กระจกเงาพื้นราบ หรือ เลนส์เว้า ลักษณะเป็นภาพหัวตั้ง ใช้จอรับไม่ได้.
  10. ภารยทรัพย์ : [พาระยะซับ] (กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เป็นเจ้าของจะต้องรับภาระ บางอย่างที่เกิดจากภาระจํายอม, คู่กับ สามยทรัพย์.
  11. ภาระจำยอม : (กฎ) น. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ จําต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้อง งดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อ ประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจํายอม.
  12. ภาวนา : [พาวะ–] น. การทําให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทางจิตใจ. ก. สำรวมใจให้แน่วแน่ เป็นสมาธิ เช่น สวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจตั้งความปรารถนา เช่น นั่ง ภาวนาขอให้พระช่วย. (ป.).
  13. ภาว–, ภาวะ : [พาวะ–] น. ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ, เช่น ภาวะน้ำท่วม ภาวะ เศรษฐกิจตกต่ำ. (ป., ส.).
  14. ภาวะฉุกเฉิน : น. ภาวะอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัย แห่งราชอาณาจักร หรืออันอาจทําให้ประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือ ภาวะการรบหรือการสงคราม.
  15. ภาษา : น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษา ราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและ แต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษา จาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.
  16. ภาษาคำควบมากพยางค์ : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการประกอบ หน่วยคำหลาย ๆ หน่วยเข้าเป็นคำเดียวกัน ทำให้คำหนึ่ง ๆ มีความยาว หลายพยางค์ เช่น ภาษาเวลส์ ภาษาเอสกิโม ภาษาอินเดียนแดง. (อ. polysynthetic language).
  17. ภาษาคำโดด : น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยน แปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่อง กับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำ สองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language).
  18. ภาษาคำติดต่อ : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการเติมอุปสรรค อาคม หรือปัจจัย ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระและไม่มีความหมาย ผสานเข้ากับคำ บางคำซึ่งเป็นคำตั้ง ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ แต่จะมีรูปและความหมายเกี่ยว เนื่องกับคำตั้งนั้น เช่น ภาษาเขมร ภาษาญี่ปุ่น ภาษาตุรกี ภาษาฮังการี. (อ. agglutinative language).
  19. ภาษาธรรม : น. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมาย ที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาว บ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.
  20. ภาษาแบบแผน : น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียว กันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า ''ขอเดชะ...'' และลงท้ายว่า ''ควรมิควรแล้วแต่ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...'', ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคล สำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตร กิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับ พิธีการ ก็เรียก.
  21. ภาษาปาก : น. ภาษาพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า.
  22. ภาษามีวิภัตติปัจจัย : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการใช้วิภัตติปัจจัย ประกอบเข้ากับรากศัพท์ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระทำให้เกิดเป็นคำที่แสดง เพศ พจน์ กาล มาลา วาจกอย่างชัดเจน เพื่อเข้าสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษากรีก โบราณ ภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศส. (อ. inflectional language).
  23. ภาษาราชการ : น. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ.
  24. ภาษิต : น. ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็น คติ เช่น กงเกวียนกําเกวียน. (ส.).
  25. ภาษีเงินได้ : น. ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ได้รับเงิน ทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน.
  26. ภาษีบำรุงท้องที่ : (กฎ) น. ภาษีซึ่งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมี กรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของ เอกชน มีหน้าที่ต้องเสียเป็นรายปีจากราคาปานกลางของที่ดินตามที่ ทางราชการได้ประกาศกําหนดไว้ เพื่อให้เป็นรายได้ขององค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่น ซึ่งที่ดินนั้นอยู่ในเขต.
  27. ภาษีมูลค่าเพิ่ม : (กฎ) น. ภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคล ที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นใน แต่ละขั้นตอนของการผลิต การจําหน่าย หรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา ๑๐๐ บาท ผลิตเป็นสินค้าขายในราคา ๑๕๐ บาท ดังนี้ ก็จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจํานวน ๕๐ บาท เท่านั้น. (อ. value-added tax).
  28. ภิกษุ : น. ชายที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา. (ส.; ป. ภิกฺขุ).
  29. ภิกษุณี : น. หญิงที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา. (ส.; ป. ภิกฺขุนี).
  30. ภีรุ, ภีรุก– : [พีรุกะ–] ว. กลัว, ขี้ขลาด. น. ผู้หญิง เช่น ภีรุอวตาร ว่า อวตารเป็นผู้หญิง. (แช่งนํ้า). (ป., ส.).
  31. ภุชงคประยาต : [พุชงคะ–] น. ชื่อฉันท์แบบหนึ่งมี ๑๒ คํา แบ่งเป็น ๒ วรรค มีลหุต้นวรรคและกลางวรรค. (ส.; ป. ภุชงฺคปฺปยาต).
  32. ภู่ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดซึ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายผึ้ง ต่างกันที่ขนปกคลุม ลําตัวมีลักษณะเป็นแฉก ไม่เป็นขนเดี่ยว ๆ อวัยวะของปากคู่หนึ่งยื่นยาว ออกมาคล้ายหนวด ขาหลังตรงบริเวณส้นเท้ามีหนามแหลมข้างละ ๑ อัน ไม่มีถุงเก็บเกสรเหมือนผึ้ง มักอาศัยอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่ หรือรวม ๒–๓ คู่ แต่ไม่เป็นกลุ่มใหญ่เหมือนผึ้งที่พบบ่อยอยู่ในสกุล Xylocopa วงศ์ Xylocopidae เช่น ชนิด X. latipes และ ชนิด X. caeruleus, แมลงภู่ ก็เรียก.
  33. ภู ๒ : น. เนินที่สูงขึ้นเป็นจอม, เขา.
  34. ภูตคาม : [พูตะ–] น. พืชพันธุ์อันอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด คือ พืชที่เกิดจากเหง้า ๑ ที่เกิดจากต้น ๑ ที่เกิดจากข้อ ๑ ที่เกิดจากยอด ๑ และที่เกิดจากเมล็ด ๑, คู่ กับ พืชคาม คือ พืชพันธุ์ที่แม้จะถูกพรากจากที่แล้ว ก็ยังจะเป็นได้อีก. (ป.; ส. ภูตคฺราม ว่า สิ่งทั้งปวง, สิ่งที่เกิดแล้วทั้งปวง).
  35. ภูต, ภูต– : [พูด, พูตะ–] น. ผี, มักใช้เข้าคู่กันเป็น ภูตผี. ว. ซึ่งเกิดแล้ว, ซึ่งเป็นแล้ว. (ป., ส.).
  36. ภูตรูป : [พูตะรูบ] น. รูปที่เกิดแล้ว ได้แก่ ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ซึ่ง คุมกันเข้าเป็นมนุษย์และสัตว์. (ป., ส.).
  37. ภูมิแพ้ : [พูม–] น. สภาพที่ร่างกายมีปฏิกิริยาผิดปรกติต่อสิ่งที่ตามธรรมดาเมื่อเข้าสู่ ร่างกายคนทั่ว ๆ ไปแล้วจะไม่มีอันตรายใด ๆ จะมีอันตรายก็เฉพาะในคน บางคนที่แพ้สิ่งนั้นเท่านั้น.
  38. ภูมิลำเนา : [พูม–, พูมิ–] (กฎ) น. ถิ่นที่อยู่อันเป็นแหล่งสําคัญ.
  39. ภูมิศาสตร์ประชากร : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักใน เรื่องเกี่ยวกับประชากรในถิ่นต่าง ๆ ของโลก โดยพิจารณาถึงสภาพทาง ภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องหรือมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรนั้น ๆ เช่น การกระจาย การย้ายถิ่นฐาน ความหนาแน่น.
  40. ภูมิอากาศ : น. อากาศประจำถิ่น, ลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคแห่งใด แห่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจเป็นเดือน เป็นปีหรือเป็นศตวรรษ ก็ได้.
  41. ภูษามาลา : น. ข้าราชการในราชสํานักมีหน้าที่ถวายทรงพระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกํา ทําสุกํา เปลื้องเครื่องสุกําศพพระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกําศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น เรียกว่า เจ้าพนักงานภูษามาลา, โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวงเรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงาน พระมาลา.
  42. เภท : น. การแบ่ง, การแตกแยก, การทำลาย, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส, เช่น สามัคคีเภท สังฆเภท; ส่วน, ภาค; ความแตกต่าง, ความแปลก; ชนิด, อย่าง. ก. แตก, หัก, ทําลาย, พัง. (ป., ส.).
  43. เภริ, เภรี : น. กลอง เช่น อินทเภรี ชัยเภรี, บางทีใช้เป็น ไภรี หรือ ไภริน ก็มี. (ป.).
  44. เภสัชกร : [เพสัดชะกอน] น. แพทย์ปรุงยา, ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็น ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรม.
  45. เภสัชกรรม : [เพสัดชะกํา] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยการเตรียม เครื่องยา ตัวยาจากธรรมชาติหรือการสังเคราะห์ให้เป็นยาสําเร็จรูป.
  46. เภสัชเคมี : [เพสัด–] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยการเตรียม การ สังเคราะห์ การวิเคราะห์ และการทําสารเคมีที่ใช้เป็นยาให้ได้มาตรฐาน.
  47. เภสัชพฤกษศาสตร์ : [เพสัดชะพฺรึกสะสาด] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่า ด้วยพืชที่ใช้เป็นยา.
  48. โภชนะห้า : [โพชะนะห้า] น. ข้าว ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก (ข้าวมัน หรือ ข้าวผัด ก็นับเข้า) ขนมสด (ขนมที่จะบูดเมื่อล่วงเวลาแล้ว เช่น แป้งจี่ ขนมด้วง ขนม ครก) ขนมแห้ง (ที่ไม่บูด เช่น จันอับ ขนมปัง) ปลา (รวมทั้งหอย กุ้ง และ สัตว์นํ้าเหล่าอื่นที่ใช้เป็นอาหาร) เนื้อ (เนื้อของสัตว์บกและนกที่ใช้เป็น อาหาร).
  49. : พยัญชนะตัวที่ ๓๓ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กม.
  50. มฆะ, มฆา, มาฆะ : [มะคะ, มะคา, มาคะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๐ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปโคมูตร วานร หรือ งอนไถ, ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้ ก็เรียก. (ป., ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | [5101-5150] | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8140

(0.2698 sec)